พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12595/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด: เริ่มนับเมื่อรู้เหตุละเมิดและตัวผู้ต้องชดใช้ค่าเสียหาย แม้การละเมิดสิ้นสุดลงแล้ว
โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิดจากการที่จำเลยขออายัดที่ดินของโจทก์ไว้ มูลละเมิดจึงเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ขออายัดที่ดินโจทก์ไว้เท่านั้น หาใช่การกระทำโดยละเมิดต่อโจทก์ต่อเนื่องกันตลอดมาจนถึงวันที่จำเลยถอนอายัดไม่ ฟ้องโจทก์จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ไม่สามารถขายที่ดินได้เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2537 ย่อมแสดงว่าโจทก์รู้เหตุละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนนับแต่นั้น โจทก์นำคดีมาฟ้องเกินกำหนด 1 ปี คดีจึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1613/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องชอบด้วยกฎหมาย แม้มีการชำระค่าอ้างล่าช้า และการอายัดชั่วคราวในคดีไม่มีทุนทรัพย์
นอกจากหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องจะมีข้อความแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องแล้ว ยังมีข้อความเรื่องการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องร่วมกันลงชื่อในหนังสือดังกล่าว จึงฟังได้ว่าวันที่มีการบอกกล่าวการโอนนั้น จำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องก่อน แล้วจึงบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้โดยทำเป็นหนังสือไว้ในเอกสารฉบับเดียวกัน การโอนสิทธิเรียกร้อง และการบอกกล่าวการโอนดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย แม้จะปรากฏว่าในวันต่อมาจำเลยที่ 1 กับผู้ร้องได้ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวขึ้นอีกฉบับหนึ่ง ก็ไม่เป็นเหตุให้การบอกกล่าวการโอนนั้นเสียไป
กฎหมายเพียงแต่กำหนดให้ผู้อ้างเอกสารมีหน้าที่ชำระค่าอ้างตั้งแต่เมื่อส่งเอกสารเป็นต้นไป มิใช่ว่าหากไม่ชำระทันทีแล้วจะรับฟังเอกสารนั้น ๆ ไม่ได้ การที่ผู้ร้องเพิ่งชำระค่าอ้างขณะยื่นคำแก้อุทธรณ์โดยไม่ปรากฏเหตุว่ามีเจตนาฝ่าฝืนคำสั่งศาล แต่พฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นเพราะหลงลืมมาทราบภายหลังเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดี การชำระค่าอ้างดังกล่าวนับว่าผู้ร้องได้จัดการแก้ไขข้อหลงลืมแล้วไม่ทำให้การรับฟังพยานหลักฐานของผู้ร้องถึงกับเสียไป
คดีขอให้ถอนคำสั่งอายัดชั่วคราวเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ การที่โจทก์อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาว่าจะอายัดได้หรือไม่ก็เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
กฎหมายเพียงแต่กำหนดให้ผู้อ้างเอกสารมีหน้าที่ชำระค่าอ้างตั้งแต่เมื่อส่งเอกสารเป็นต้นไป มิใช่ว่าหากไม่ชำระทันทีแล้วจะรับฟังเอกสารนั้น ๆ ไม่ได้ การที่ผู้ร้องเพิ่งชำระค่าอ้างขณะยื่นคำแก้อุทธรณ์โดยไม่ปรากฏเหตุว่ามีเจตนาฝ่าฝืนคำสั่งศาล แต่พฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นเพราะหลงลืมมาทราบภายหลังเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาคดี การชำระค่าอ้างดังกล่าวนับว่าผู้ร้องได้จัดการแก้ไขข้อหลงลืมแล้วไม่ทำให้การรับฟังพยานหลักฐานของผู้ร้องถึงกับเสียไป
คดีขอให้ถอนคำสั่งอายัดชั่วคราวเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ การที่โจทก์อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาว่าจะอายัดได้หรือไม่ก็เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 457/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่โอนให้แก่โจทก์ แม้มีการอายัดเงินแต่สิทธิเรียกร้องได้โอนไปแล้ว การชำระเงินจึงไม่เป็นการละเมิด
การที่จำเลยที่ 3 ฟ้องจำเลยที่ 2 และขอให้ศาลอายัดเงินที่จำเลยที่ 2 จะได้รับจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจ้างทำของไว้ก่อนพิพากษา และศาลมีคำสั่งให้อายัดไว้ก่อนพิพากษาตามคำขอของจำเลยที่ 3 ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ส่งเงินค่าจ้างทำของไปยังศาลตามหมายอายัดชั่วคราว และในที่สุดจำเลยที่ 3 ได้รับเงินดังกล่าวไปจากศาลนั้น เมื่อปรากฏว่าเงินค่าจ้างทำของนี้เดิมเป็นสิทธิเรียกร้องของห้างหุ้นส่วนจำกัดบุญลาภและบุตร ซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาจ้างทำของกับจำเลยที่ 1 และต่อมาห้างหุ้นส่วนจำกัดบุญลาภและบุตรโดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการได้โอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้แก่โจทก์ไปก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งให้อายัดแล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัดบุญลาภและบุตรและจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องดังกล่าวต่อจำเลยที่ 1 อีกต่อไป คำสั่งให้อายัดจึงไม่มีผลบังคับจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ปฏิเสธหรือโต้แย้งหนี้ตามคำสั่งให้อายัดแต่กลับส่งเงินไปยังศาลก็เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำดังกล่าวของตนเอง หาทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้เงินค่าจ้างทำของจากจำเลยที่ 1 ตามที่โจทก์ได้รับโอนมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัดบุญลาภและบุตร ต้องเสื่อมเสียไปแต่อย่างใดไม่ การกระทำของจำเลยดังกล่าวมาไม่ทำให้โจทก์เสียหายจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดเป็นการขอให้ชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จำกัดเฉพาะทรัพย์สินของลูกหนี้ การอายัดทรัพย์สินที่โอนไปแล้วต้องมีการเพิกถอนก่อน
ไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขออายัดที่ดินที่ได้โอนไปเป็นของบุคคลอื่นแล้ว เว้นแต่จะได้มีการเพิกถอนการโอนที่ดินดังกล่าวก่อน ตราบใดที่ยังมิได้มีการเพิกถอนการโอน ผู้รับโอนก็ยังเป็นเจ้าของอยู่ตราบนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจยึดหรืออายัดที่ดินดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินของผู้ร้อง แม้มีคำพิพากษาค้างอยู่ ผู้ร้องยังมีสิทธิคัดค้านการอายัดได้ หากสิทธิถูกโต้แย้ง
ปัญหาที่ว่าผู้ร้องไม่ใช่เจ้าของที่ดิน ไม่มีอำนาจคัดค้านขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งอายัดที่ดินนั้น เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ก็ตาม โจทก์ชอบที่จะยกขึ้นว่าในชั้นฎีกาได้
ที่ดินมีโฉนดมีชื่อผู้ร้องเป็นเจ้าของอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้อายัดแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าที่ดินนี้ยังคงเป็นของ ป. ตามผลของคำพิพากษาอีกคดีหนึ่งอยู่ก็ตาม ตราบใดยังไม่มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาคดีนั้นผู้ร้องก็ยังมีสิทธิในที่ดินนั้นอยู่เมื่อสิทธิเช่นว่านี้ถูกโต้แย้งโดยการที่โจทก์ขอให้อายัดที่ดินดังกล่าวไว้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
กรณีที่ศาลพิพากษาให้ ป. โอนขายที่ดินให้จำเลยนั้นจะถือว่าเป็นทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกำหนดชำระแก่จำเลยยังไม่ได้ เพราะ ป. จะชำระหนี้ส่วนของตนคือโอนที่ดินให้จำเลยก็ต่อเมื่อจำเลยชำระหนี้ตอบแทนคือชำระราคาที่ดินให้ ป. ด้วย ฉะนั้นตราบใดที่จำเลยยังมิได้เสนอที่จะชำระราคาที่ดินและกำหนดเวลาให้ ป. โอนที่ดินนั้นให้ตนแล้ว จะถือว่าหนี้ที่ ป. จะต้องโอนที่ดินให้จำเลยถึงกำหนดชำระยังมิได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอให้อายัดที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(1)
ที่ดินมีโฉนดมีชื่อผู้ร้องเป็นเจ้าของอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้อายัดแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าที่ดินนี้ยังคงเป็นของ ป. ตามผลของคำพิพากษาอีกคดีหนึ่งอยู่ก็ตาม ตราบใดยังไม่มีการบังคับคดีตามคำพิพากษาคดีนั้นผู้ร้องก็ยังมีสิทธิในที่ดินนั้นอยู่เมื่อสิทธิเช่นว่านี้ถูกโต้แย้งโดยการที่โจทก์ขอให้อายัดที่ดินดังกล่าวไว้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งอายัดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
กรณีที่ศาลพิพากษาให้ ป. โอนขายที่ดินให้จำเลยนั้นจะถือว่าเป็นทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกำหนดชำระแก่จำเลยยังไม่ได้ เพราะ ป. จะชำระหนี้ส่วนของตนคือโอนที่ดินให้จำเลยก็ต่อเมื่อจำเลยชำระหนี้ตอบแทนคือชำระราคาที่ดินให้ ป. ด้วย ฉะนั้นตราบใดที่จำเลยยังมิได้เสนอที่จะชำระราคาที่ดินและกำหนดเวลาให้ ป. โอนที่ดินนั้นให้ตนแล้ว จะถือว่าหนี้ที่ ป. จะต้องโอนที่ดินให้จำเลยถึงกำหนดชำระยังมิได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจขอให้อายัดที่ดินดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(1)