พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2698/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาต้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น การโต้แย้งข้อเท็จจริงถือเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
การอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ จะต้องเป็นการอุทธรณ์เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น อุทธรณ์ของผู้ร้องที่ว่าผู้ร้องได้มอบอำนาจให้ ศ. เข้าร่วมประมูลและทำหนังสือสัญญาซื้อขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เพียงแต่ผู้ร้องมิได้นำหนังสือมอบอำนาจมาแสดงต่อศาลนั้น เป็นอุทธรณ์ที่โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงส่วนที่ผู้ร้องอุทธรณ์ต่อไปว่า แม้ ศ. ไม่มีอำนาจกระทำการดังกล่าวแต่ผู้ร้องก็ได้รับทราบการกระทำทั้งหมดของ ศ. และมิได้คัดค้านเท่ากับเป็นการให้สัตยาบันในผลแห่งการที่ตัวแทนได้กระทำลงไปนั้นก็เป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงเพื่อนไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย เพราะต้องรับฟังข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า ศ. เป็นตัวแทนของผู้ร้องหรือไม่ผลเท่ากับเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงนั่นเอง การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6109/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นเจ้าของที่ดินพิพาทเป็นหลัก: คดีมีทุนทรัพย์หรือไม่ และข้อจำกัดการอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยปักเสาและทำกำแพงคอนกรีตรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ แม้จะมีคำขอบังคับให้จำเลยรื้อถอนกำแพงคอนกรีตออกไปและทำให้ที่ดินกลับคืนสู่สภาพเดิม อันเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่เมื่อจำเลยให้การว่า จำเลยกั้นรั้วล้อมรอบที่ดินของจำเลยเอง มิได้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ ตามคำฟ้องและคำให้การมีประเด็นโต้เถียงความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งเป็นประเด็นหลักดังนั้น ตามคำฟ้องที่ขอให้จำเลยรื้อถอนกำแพงคอนกรีตออกไปและทำให้ที่ดินกลับคืนสู่สภาพเดิม จึงเป็นผลอันเนื่องมาจากว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ เพราะศาลจะบังคับตามคำขอนี้ได้ก็ต้องวินิจฉัยเสียก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นของฝ่ายใด จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1412/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลระหว่างพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ: คำสั่งที่ไม่ชอบและข้อจำกัดการอุทธรณ์
คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ที่ขอให้ส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เป็นคำสั่งก่อนศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 28/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์หลังมีคำพิพากษา ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขวางค่าฤชาธรรมเนียมและชำระหนี้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 แม้จะเป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสามในเรื่องขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยทั้งสามและให้จำเลยทั้งสามนำพยานเข้าสืบต่อไป มิใช่อุทธรณ์ในเนื้อหาของคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ตาม จำเลยทั้งสามก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวคือ จำเลยทั้งสามต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง หาใช่ไม่ต้องนำเงินมาชำระหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลไม่ เพราะการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสามกระทำขึ้นภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว เมื่อมีการอุทธรณ์เช่นนี้ย่อมทำให้การบังคับคดีล่าช้าออกไป อาจเสียหายแก่โจทก์ผู้ชนะคดีได้ จำเลยทั้งสามผู้อุทธรณ์จึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวให้ครบถ้วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7382/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเอกสารและการอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
ในวันนัดพร้อม คู่ความทั้งสองฝ่ายแถลงรับข้อเท็จจริงว่าแผนที่พิพาทของเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรีถูกต้องตรงกับความเป็นจริง ศาลชั้นต้นจึงให้เลื่อนนัดชี้สองสถานไป ครั้งถึงวันนัดชี้สองสถาน จำเลยแถลงคัดค้านเรื่องเนื้อที่ตามแผนที่พิพาทจึงขอให้เจ้าพนักงานที่ดินจัดทำแผนที่พิพาทใหม่ แต่โจทก์ไม่ยินยอม ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งให้ยกเลิกการทำแผนที่พิพาทกลาง ต่อมาโจทก์ได้อ้างพนักงานที่ดินผู้จัดทำแผนที่พิพาทมาเป็นพยานต่อศาล เพื่อเบิกความยืนยันถึงรายละเอียดและวิธีการจัดทำแผนที่พิพาทดังกล่าว พร้อมกันนั้นทนายโจทก์ได้ส่งเอกสารแผนที่พิพาทมาเป็นพยานต่อศาลด้วย กรณีจึงเห็นได้ว่า โจทก์เพียงแต่อ้างแผนที่พิพาทเป็นเอกสารฉบับหนึ่งเท่านั้น ซึ่งศาลจะรับฟังหรือไม่ก็แล้วแต่ดุลพินิจของศาลทั้งการอ้างเอกสารเป็นพยานของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเอกสารที่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือศาลต้องรับรองความถูกต้องเสียก่อน ฉะนั้น การที่จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการรับฟังพยานเอกสาร ถือเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น เมื่อคดีจำเลยต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ให้โดยอาจเข้าใจว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ก็ย่อมเป็นการไม่ชอบตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1) และถือว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ดังนี้ ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจึงไม่อาจรับรองให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเรื่องนี้ได้อีก ทั้งศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาของจำเลยได้ด้วยเพราะเป็นฎีกาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8824/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดทุนทรัพย์พิพาทแยกตามสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันแต่ละราย ทำให้การอุทธรณ์ในส่วนที่มีมูลค่าต่ำกว่า 200,000 บาท ต้องห้ามตามกฎหมาย
สิทธิของโจทก์มีมูลมาจากสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันสองรายซึ่งแยกต่างหากจากกันได้ การคิดทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ จึงต้องแยกพิจารณาตามสิทธิเรียกร้องที่โจทก์รับช่วงสิทธิมาจากผู้เอาประกันแต่ละราย เมื่อคดีในส่วนสินค้ากากเมล็ดทานตะวันมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 41
จำเลยอุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานฟังได้ว่า สินค้ากากเมล็ดทานตะวันไม่ได้สูญหายหรือเสียหายในระหว่างการขนส่ง เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่วินิจฉัยว่า สินค้าดังกล่าวสูญหายและเสียหายในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลย เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
จำเลยอุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานฟังได้ว่า สินค้ากากเมล็ดทานตะวันไม่ได้สูญหายหรือเสียหายในระหว่างการขนส่ง เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางที่วินิจฉัยว่า สินค้าดังกล่าวสูญหายและเสียหายในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลย เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายหุ้นส่วนจำกัด: สิทธิการอุทธรณ์เฉพาะจำเลยที่ 2 เมื่อศาลชั้นต้นยกฟ้อง
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวน เมื่อจำเลยที่ 1เป็นหนี้ภาษีอากร โจทก์จึงนำหนี้ภาษีอากรของจำเลยที่ 1 มาฟ้องจำเลยที่ 2แต่เพียงผู้เดียวขอให้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9ได้ การที่โจทก์นำหนี้ภาษีอากรของจำเลยที่ 1 มาฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ย่อมอุทธรณ์เฉพาะคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ได้โดยไม่จำเป็นต้องอุทธรณ์คดีสำหรับจำเลยที่ 1 ด้วย เพียงแต่การพิจารณาคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 9 ตามที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 บัญญัติไว้ กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 89 ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์อ้างว่า โจทก์จะอุทธรณ์เพื่อให้จำเลยที่ 2 ล้มละลายแต่ลำพังไม่ได้และไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์และฎีกาในคดีทรัพย์มรดก สิทธิเช่าซื้อที่ดิน และการตกทอดทางมรดก
คดีที่โจทก์ฟ้องและจำเลยฟ้องแย้งจะอุทธรณ์ฎีกาได้เพียงใดหรือไม่ต้องแยกพิจารณาคนละส่วน
ฟ้องโจทก์ระบุว่าอาวุธปืนพิพาทมีราคา 20,000 บาท ในชั้นอุทธรณ์จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องโจทก์แต่เพียงว่าอาวุธปืนพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดก ฉะนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องโจทก์จึงมีเพียง20,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224วรรคหนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยก็ถือว่าไม่ชอบ และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ตามสัญญาเช่าซื้อที่ ส.ทำไว้ให้แก่สำนักงานปฏิรูปที่ดินระบุว่าหากผู้เช่าซื้อถึงแก่กรรมในระหว่างเช่าซื้อ ที่ดินที่เช่าซื้อนี้จะต้องตกอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ซึ่งบัญญัติให้ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม ฯลฯทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีการออกกฎกระทรวงตามกฎหมายมาตราดังกล่าว ส่วนระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการโอนและการตกทอดทางมรดก สิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อที่ดินในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2535 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 30 วรรคหนึ่งของ พ.ร.บ.ดังกล่าว แต่เพิ่งมีการประกาศใช้บังคับในราชกิจจานุเบกษาภายหลังที่ ส.ถึงแก่ความตาย แต่เมื่อสิทธิการเช่าซื้อที่ดินพิพาทได้ตกทอดแก่ทายาทของ ส.ทันทีเมื่อ ส.ถึงแก่ความตายก่อนระเบียบดังกล่าวประกาศใช้แล้ว ระเบียบดังกล่าวจึงนำมาบังคับใช้กับคดีนี้ไม่ได้ จำเลยที่ 1 มารดาของ ส. และจำเลยที่ 2 และที่ 3บุตรของ ส.เป็นทายาทโดยธรรมของ ส.ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกในสิทธิการเช่าที่ซื้อที่ดินร่วมกับโจทก์ซึ่งเป็นภริยาของโจทก์ด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 และตามพ.ร.บ.เพื่อการเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 39
ฟ้องโจทก์ระบุว่าอาวุธปืนพิพาทมีราคา 20,000 บาท ในชั้นอุทธรณ์จำเลยทั้งสามอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องโจทก์แต่เพียงว่าอาวุธปืนพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดก ฉะนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องโจทก์จึงมีเพียง20,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224วรรคหนึ่ง แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยก็ถือว่าไม่ชอบ และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ตามสัญญาเช่าซื้อที่ ส.ทำไว้ให้แก่สำนักงานปฏิรูปที่ดินระบุว่าหากผู้เช่าซื้อถึงแก่กรรมในระหว่างเช่าซื้อ ที่ดินที่เช่าซื้อนี้จะต้องตกอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ซึ่งบัญญัติให้ที่ดินที่บุคคลได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะทำการแบ่งแยกหรือโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม ฯลฯทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และเมื่อไม่ปรากฏว่ามีการออกกฎกระทรวงตามกฎหมายมาตราดังกล่าว ส่วนระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการโอนและการตกทอดทางมรดก สิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อที่ดินในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2535 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 30 วรรคหนึ่งของ พ.ร.บ.ดังกล่าว แต่เพิ่งมีการประกาศใช้บังคับในราชกิจจานุเบกษาภายหลังที่ ส.ถึงแก่ความตาย แต่เมื่อสิทธิการเช่าซื้อที่ดินพิพาทได้ตกทอดแก่ทายาทของ ส.ทันทีเมื่อ ส.ถึงแก่ความตายก่อนระเบียบดังกล่าวประกาศใช้แล้ว ระเบียบดังกล่าวจึงนำมาบังคับใช้กับคดีนี้ไม่ได้ จำเลยที่ 1 มารดาของ ส. และจำเลยที่ 2 และที่ 3บุตรของ ส.เป็นทายาทโดยธรรมของ ส.ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกในสิทธิการเช่าที่ซื้อที่ดินร่วมกับโจทก์ซึ่งเป็นภริยาของโจทก์ด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 และตามพ.ร.บ.เพื่อการเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2300/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์และผลกระทบต่อการอุทธรณ์คดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่าที่ดินและบ้านพิพาทซึ่งโจทก์ให้จำเลยอยู่อาศัยเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท และห้ามจำเลยกับบริวาร เข้าเกี่ยวข้อง จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินเป็นของบุตรจำเลยส่วนบ้านพิพาทเป็นของจำเลย จึงต้องถือว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิในบ้านพิพาทแล้ว และศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดทุนทรัพย์บ้านพิพาทไว้ในราคา 70,000 บาท ดังนี้ แม้จะเป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสี่พันบาท แต่เมื่อจำเลยต่อสู้กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทว่าเป็นของตน จึงเป็นกรณีที่ราคาทรัพย์พิพาทในชั้นอุทธรณ์เกินห้าหมื่นบาท ฉะนั้นจึงไม่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9117/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาถึงที่สุดและการอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับคำให้การ การดำเนินการหลังจากศาลชั้นต้นพิจารณาคดีเสร็จสิ้น
คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับคำให้การของจำเลยเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ทันทีตามมาตรา 228(3)แต่เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลชั้นต้นคงดำเนินการพิจารณาต่อไป และศาลอุทธรณ์ก็มิได้สั่งให้ศาลชั้นต้นงดการพิจารณาไว้ก่อนตามมาตรา 228 วรรคสองจนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีไปแล้ว โดยจำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงเสร็จเด็ดขาดถึงที่สุดแล้ว ดังนั้น การที่จะให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดีไม่ว่าศาลชั้นต้นจะสั่งรับหรือไม่รับคำให้การของจำเลยย่อมไม่อาจจะทำให้ผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วเปลี่ยนแปลงไปได้อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัย