คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การเก็บรักษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อในการเก็บรักษาเช็ค และผลกระทบต่อการยกเว้นความรับผิดชอบจากลายมือชื่อปลอม
ธนาคารจำเลยได้จ่ายเงินตามเช็คพิพาทซึ่งลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอม เหตุแห่งความเสียหายในเรื่องนี้บังเกิดจากการปลอมลายมือชื่อโจทก์ผู้สั่งจ่ายเช็คและจำเลยได้จ่ายเงินตามเช็คปลอมฉบับนั้น แม้การเก็บรักษาสมุดเช็คไว้อย่างดีผู้ร้ายจะหาโอกาสลักเช็คไปปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายได้ยากก็ตาม แต่เมื่อความเสียหายเกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่ปลอมเช็ค การเก็บรักษาสมุดเช็คไว้อย่างดี จึงไม่ให้ผลโดยตรงที่จะให้บังเกิดการปลอมเช็คและนำไปขึ้นเงินได้สำเร็จ
โจทก์เก็บสมุดเช็คพิพาทไว้ในกระป๋องขนมปังบนโต๊ะทำงานของโจทก์ซึ่งโจทก์และพนักงานใช้เป็นที่ทำงานของห้างหุ้นส่วน มีคนเข้าออกภายในห้องหลายคน ส่วนใหญ่พนักงานทุกคนทราบว่าโจทก์เก็บเช็คไว้ในกระป๋องดังกล่าวการกระทำของโจทก์เพียงแต่ขาดความรอบคอบในการเก็บรักษาสมุดเช็คเท่านั้นถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำโดยประมาทอันจะถือว่าโจทก์เป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นต่อสู้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1008 และแม้โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบเมื่อเช็คพิพาทเกิดสูญหายและมีผู้ไม่สุจริตนำไปปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้กระทำโดยประมาทจำเลยจึงยังต้องรับผิดชำระเงินให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อวัตถุระเบิดโดยมีใบอนุญาต และการไม่มีข้อจำกัดในการนำไปเก็บรักษา ทำให้ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ
จำเลยได้รับใบอนุญาตแบบ ป.5 ให้มีและใช้วัตถุระเบิดในจังหวัดชุมพร โดยซื้อจากจังหวัดพระนคร จำเลยซื้อแล้วนำติดตัวไปจังหวัดสระบุรีก่อนแล้วนำไปจังหวัดชุมพร โดยผ่านจังหวัดพระนครอีก แต่จำเลยถูกจับเสียก่อนในเขตจังหวัดสระบุรี เช่นนี้ การกระทำของจำเลยไม่ใช่เป็นการย้ายวัตถุระเบิดตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 ไม่ต้องได้รับอนุญาตให้ย้ายวัตถุระเบิดจากเจ้าพนักงานอีก เพราะเป็นการซื้อโดยได้รับอนุญาตแล้วจะนำไป และใบอนุญาตแบบ ป.5 ก็มิได้กำหนดเงื่อนไขในการนำไปไว้แต่อย่างไร ทั้งไม่มีกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ในเรื่องนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิด