คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การเคหะแห่งชาติ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3614/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการจ้างและอายุงานต่อเนื่องเมื่อมีการโอนลูกจ้างจากธนาคารอาคารสงเคราะห์มายังการเคหะแห่งชาติ
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ข้อ 5 กำหนดให้โอนทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และความรับผิดชอบของธนาคารอาคารสงเคราะห์เฉพาะที่เกี่ยวกับธุรกิจตามมาตรา 27(1) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 ให้แก่การเคหะแห่งชาติจำเลยและในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน สิทธิ อาคาร และหนี้นั้น ให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์และจำเลยทำความตกลงกัน ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้คณะรัฐมนตรีชี้ขาดและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 577 วรรคแรกนายจ้างจะโอนสิทธิของตนให้แก่บุคคลภายนอกก็ได้เมื่อลูกจ้างยินยอมพร้อมใจด้วย การโอนสิทธิการจ้างเช่นนี้ฐานะความเป็นลูกจ้างของลูกจ้างย่อมไม่สิ้นสุดลง เมื่อโจทก์มาทำงานกับจำเลยก็เพราะผลของการโอนตามประกาศของคณะปฏิวัติมิใช่โจทก์มาสมัครเข้าทำงานกับจำเลยใหม่ ฐานะความเป็นลูกจ้างของโจทก์ย่อมไม่สิ้นสุดลง และตามข้อ 5 ของประกาศคณะปฏิวัติระบุชัดว่า ให้โอนความรับผิดชอบของธนาคารอาคารสงเคราะห์มายังจำเลยด้วย ดังนั้น เมื่อมิได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่น การนับอายุการทำงานของโจทก์จึงต้องนับต่อเนื่องกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 547-548/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนย้ายพนักงานจากธนาคารอาคารสงเคราะห์มายังการเคหะแห่งชาติ และการคำนวณอายุงานเพื่อประโยชน์ในการจ่ายเงินสงเคราะห์
การที่โจทก์ทั้งสองมาทำงานที่การเคหะแห่งชาติ เพราะประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ข้อ 5 ให้โอนกิจการของธนาคารอาคารสงเคราะห์เฉพาะที่เกี่ยวกับธุรกิจตามมาตรา 27(1)และ (2) ตามพ.ร.บ. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 ให้แก่การเคหะแห่งชาติเมื่อมิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น การนับอายุการทำงานจึงต้องนับต่อเนื่องกันไป แต่เนื่องจากข้อบังคับของจำเลยกำหนดให้จ่ายเงินสงเคราะห์แก่พนักงานหรือลูกจ้างประจำเท่านั้น
เมื่อโจทก์ที่ 1 มีฐานะเป็นลูกจ้างประจำของธนาคารอาคารสงเคราะห์อยู่แล้วก่อนโอนมาเป็นลูกจ้างประจำของจำเลย จึงต้องนับอายุการทำงานติดต่อกัน ส่วนโจทก์ที่ 2เมื่อโอนมาเป็นลูกจ้างของจำเลยนั้นยังเป็นลูกจ้างชั่วคราวอยู่ เพิ่งจะได้รับแต่งตั้งเป็นลูกจ้างประจำภายหลังจึงต้องนับอายุการทำงานตั้งแต่วันได้รับแต่งตั้งเป็นลูกจ้างประจำ.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2189-2190/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเคหะแห่งชาติมีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรหรือไม่ และต้องอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายคุ้มครองแรงงานหรือไม่
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ข้อ 28 กำหนดว่า "ในการดำเนินกิจการของการเคหะแห่งชาติให้คำนึงถึงประโยชน์ของรัฐและประชาชน" เป็นหลักของรัฐวิสาหกิจทั้งหลายของรัฐควรต้องคำนึงอยู่แล้ว หาใช่เป็นข้อแสดงวัตถุประสงค์ว่าไม่ประสงค์เพื่อแสวงกำไรอย่างเด็ดขาดไม่ กิจการของการเคหะแห่งชาติจำเลยจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2964/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากประพฤติตนไม่เหมาะสม แม้ไม่ร้ายแรงถึงขั้นประพฤติชั่วร้ายแรง
โจทก์เป็นลูกจ้างการเคหะแห่งชาติจำเลยตำแหน่งคนงานทำความสะอาดแฟลต ได้เข้าไปในห้องและร่วมประเวณีกับ ส. โดยไม่ปรากฏการข่มขืน ยังไม่เป็นการกระทำผิดฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง แต่เป็นการไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง โจทก์ไม่มีหน้าที่เข้าไปในห้องของผู้เช่าอาศัยในอาคาร โจทก์อ้างตำแหน่งหน้าที่ไปกระทำการดังกล่าวเป็นการเสื่อมเสียแก่จำเลย ซึ่งตามข้อบังคับของจำเลยถือว่าเป็นการผิดวินัยฐานประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีขับไล่และการดำรงตำแหน่งทางการเมืองควบคู่ตำแหน่งในหน่วยงานของรัฐ
ว. เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติโดยธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพ.ศ.2515 ต่อมามีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบทเฉพาะกาล มาตรา 234 ที่มิให้นำ มาตรา 102,103 ของรัฐธรรมนูญดังกล่าวมาใช้บังคับแก่การดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผลจึงมีว่า ว. ย่อมจะดำรงตำแหน่งการเมืองและตำแหน่งหรือหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐได้ในคราวเดียวกัน ว. จึงไม่เป็นผู้ที่ไม่อาจทำงานเต็มเวลาให้แก่การเคหะแห่งชาติตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ข้อ 22(3) และ (5)ว. จึงอาจดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติต่อไปและมีสิทธิที่จะมอบอำนาจให้ น. ฟ้องคดีแทนได้
แม้โจทก์จะได้โอนขายกรรมสิทธิ์อาคารห้องพิพาทให้แก่ผู้อื่นไปแล้วแต่โจทก์ยังมีหน้าที่ต้องส่งมอบอาคารหลังพิพาทให้แก่ผู้ซื้อเพื่อการรื้อถอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 461 เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากอาคารที่เช่า โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้