พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 493/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลายื่นฎีกา: จำเลยต้องเตรียมการด้านการเงินล่วงหน้า แม้ศาลไม่อนุญาต
จำเลยอ้างว่าเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องชำระและนำมาวางศาลมีจำนวนสูงถึง200,000 บาท และจำเลยประสบปัญหาด้านการเงินนั้น ได้ความว่า จำเลยรับทราบผลคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก่อนวันครบกำหนดเวลายื่นฎีกาถึง 14 วัน ย่อมมีเวลาเพียงพอที่จะหาเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องชำระและนำมาวางศาลได้ทัน การที่จำเลยไม่สามารถยื่นฎีกาได้ภายในกำหนดจึงเป็นความบกพร่องของตัวจำเลยและทนายจำเลยเอง มิใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะยกขึ้นมากล่าวอ้างเพื่อขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ได้ แม้ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาเมื่อวันครบกำหนดยื่นฎีกา ก็มิใช่เหตุที่จำเลยจะอ้างว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นไม่ชอบ ทั้งนี้เพราะจำเลยควรต้องเตรียมการสำหรับกรณีดังกล่าวไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4833/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์: เหตุผลด้านการเงินและการเตรียมอุทธรณ์ไม่เพียงพอ
จำเลยได้ให้การต่อสู้คดีและนำพยานมาสืบหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์มาแต่ต้น พยานหลักฐานของโจทก์มีอยู่อย่างไรจำเลยย่อมทราบดี ระยะเวลาที่จะทำคำฟ้องอุทธรณ์มายื่นต่อศาลก็มีถึง 1 เดือน หากจำเลยขวนขวายที่จะยื่นอุทธรณ์ในกำหนดเวลาดังกล่าวก็สามารถกระทำได้ แต่จำเลยก็หาได้กระทำไม่ส่วนที่จำเลยอ้างว่า ไม่สามารถจะหาเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนโจทก์และค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์มาวางศาลได้ทันนั้น เห็นว่า ข้ออ้างดังกล่าวมิใช่เหตุที่จะนำมาอ้างเพื่อขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้ เพราะถ้าจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลแล้ว จำเลยก็ยังสามารถยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินดังกล่าวต่อศาลได้ด้วย เช่นนี้ ข้ออ้างตามคำร้องของจำเลยจึงไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3402/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกมูลนิธิเนื่องจากฝ่าฝืนวัตถุประสงค์และไม่โปร่งใสทางการเงิน
มูลนิธิสงเคราะห์เด็กอนาถา ผู้คัดค้านตั้งมาประมาณ 6 ปี มีทรัพย์สินประมาณ20 ล้านบาท เคยบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยและการกุศลต่าง ๆ รวมทั้งสร้างอาคารเรียนแต่ผู้คัดค้านทำบัญชีงบดุลเกี่ยวกับทรัพย์สินรายได้ประจำปีเพียงปีเดียวแล้วไม่เคยทำอีกเลย และอ้างว่าได้ดำเนินการโดยสุจริตตลอดมา เห็นว่า บัญชีงบดุลเกี่ยวกับทรัพย์สินรายได้ประจำปีของผู้คัดค้านเป็นวิธีการหนึ่งหรือมาตรการหนึ่งที่จะตรวจสอบถึงการดำเนินการและรายได้ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายและตราสารในการตั้งมูลนิธิหรือไม่ เมื่อผู้คัดค้านมิได้กระทำเช่นนี้แล้วจะตรวจสอบและทราบได้อย่างไร ดังนั้นการกระทำและพฤติการณ์การหารายได้ของผู้คัดค้านที่ทำการเรี่ยไรโดยขายดอกไม้และภาพถ่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ.2487 จึงเป็นการหาทรัพย์สินโดยนอกเหนือจากบทบัญญัติ ข้อ 6 ในหมวด 3และเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติ ข้อ 45 ของตราสารของผู้คัดค้าน กรณีต้องด้วยมาตรา 93 (3)แห่ง ป.พ.พ. เดิม ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้เลิกมูลนิธิผู้คัดค้านได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงประชาชนเพื่อประโยชน์ทางการเงินถือเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
จำเลยทำการหลอกลวงประชาชนโดยวิธีประกาศโฆษณา ณ ที่หน้าที่ทำการของจำเลย และโดยทางหนังสือพิมพ์หลายครั้ง ทั้งมีผู้เสียหายหลายคนมาสมัครไปทำงานในต่างประเทศกับจำเลยตามที่จำเลยหลอกลวงคนละวันคนละเวลากันและจ่ายเงินให้แก่จำเลยไปคนละวันคนละเวลากัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานฝ่าฝืนระเบียบการเงินอย่างร้ายแรง กรณีไม่นำเงินฝากตามกำหนด
จำเลยได้กำหนดระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดหาวัสดุอุปกรณ์การเกษตรเป็นเงินสดว่า ให้หัวหน้าหน่วยอำเภอเป็นผู้เก็บรักษาเงินสดที่ได้จากการจัดหาวัสดุอุปกรณ์และเป็นผู้รับผิดชอบส่งเงินสดที่มีจำนวนตั้งแต่ 1,000 บาท ขึ้นไปฝากธนาคารหรือส่งให้สาขา โจทก์เป็นหัวหน้าหน่วยสินเชื่ออำเภอสุไหงปาดีมีหน้าที่รับผิดชอบด้านการเงิน จึงต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวอย่างเคร่งรัด มิฉะนั้นแล้วจะส่งผลกระทบกระเทือนไปถึงความเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อกิจการธนาคารของจำเลย จนอาจทำให้ไม่สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ การที่โจทก์รับเงินจากลุกค้าการเกษตรไว้จำนวน 1,074 บาท แม้จะเกินจำนวนที่โจทก์สามารถเก็บรักษาไว้ได้โดยไม่ต้องส่งฝากเข้าบัญชีเงินฝากของสาขาเพียง 74 บาท แต่เมื่อโจทก์ส่งฝากเข้าบัญชีสาขาล่าช้าถึง 5 วัน ทั้งที่โจทก์สามารถนำเงินไปฝากได้ทันทีตามกำหนดนั้น ถือได้ว่าโจทก์จงใจฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอย่างขัดแจ้งอันเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (3) จำเลยสามารถเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3806/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีฝ่าฝืนระเบียบการเงิน นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
จำเลยได้กำหนดระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดหาวัสดุอุปกรณ์การเกษตรเป็นเงินสดว่า ให้หัวหน้าหน่วยอำเภอเป็นผู้เก็บรักษาเงินสดและส่งฝากเงินสดที่มีจำนวนตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไปเข้าธนาคารหรือสาขา โจทก์เป็นหัวหน้าหน่วยสินเชื่ออำเภอมีหน้าที่รับผิดชอบด้วยการเงิน รับเงินจากลูกค้าการเกษตรไว้จำนวน1,074 บาท แม้จะเกินจำนวนที่โจทก์สามารถเก็บรักษาไว้ได้เพียง 74 บาท แต่โจทก์ส่งฝากเข้าบัญชีสาขาล่าช้าถึง 5 วันดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์จงใจฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยอันเป็นกรณีร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) จำเลยสามารถเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1962/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงให้ลงลายมือชื่อในเอกสารจำนอง และปลอมแปลงเอกสารสิทธิเพื่อหวังผลประโยชน์ทางการเงิน
จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายให้หลงเชื่อลงลายมือชื่อในแบบพิมพ์เอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับสัญญาจำนองที่ดินและหนังสือเรื่องราวจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม แม้จะยังไม่ได้กรอกข้อความลงในเอกสารนั้น การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการหลอกลวงให้ผู้เสียหายทำเอกสารสิทธิแล้ว เพราะจำเลยอาจนำไปกรอกข้อความให้ครบถ้วนบริบูรณ์ว่าผู้เสียหายเจตนาทำสัญญาจำนองที่ดินได้จำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341และเมื่อจำเลยนำเอกสารดังกล่าวไปกรอกข้อความให้ผิดจากความประสงค์ของผู้เสียหายโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้เสียหายและผู้เสียหายไม่ยินยอมแล้วจำเลยนำไปยื่นต่อธนาคารและสำนักงานที่ดินเพื่อเป็นการจำนองที่ดินของผู้เสียหายค้ำประกันเงินกู้ที่จำเลยเป็นหนี้ธนาคารอยู่การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 และ 268 ด้วยแต่การกระทำของจำเลยมีเจตนาเดียวเพื่อให้ได้เงินจากธนาคารจึงเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตามมาตรา 268 ประกอบด้วยมาตรา 265 อันเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1888/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดวินัยร้ายแรง กรณีฝ่าฝืนระเบียบการเงินและเบิกจ่าย
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยทำหน้าที่ด้านการเงิน ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ที่มีความสำคัญมาก โจทก์ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการเงินของจำเลยโดยเคร่งครัด ทั้งต้องปฏิบัติด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและระมัดระวังอย่างยิ่งการที่โจทก์ทำหน้าที่ด้านการเงินมา 20 ปีเศษแล้ว ย่อมจะทราบข้อบังคับเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินเป็นอย่างดี ปรากฏว่ามีข้อบังคับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 21) พ.ศ.2524 ว่าด้วยการเบิกและจ่ายเงิน ในส่วนที่ 3 ข้อ 17 กำหนดไว้ชัดเจนว่า 'ในการจ่ายเงินให้กับเจ้าหนี้เป็นจำนวนตั้งแต่พันบาทขึ้นไปให้สั่งจ่ายเป็นเช็คในนามเจ้าหน้าที่' แต่โจทก์หาได้ปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ไม่กลับจ่ายเงินสดเป็นเงินทอนและมิได้บันทึกการทอนเงินไว้เป็นหลักฐานในใบเสร็จกรณีจึงถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการเงินของจำเลยผู้เป็นนายจ้างอย่างแจ้งชัดและเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีที่ร้ายแรงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47(3) จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้จัดการโรงพิมพ์ฐานละเลยหน้าที่ควบคุมการเงิน ทำให้เงินขาดหายไป ถือเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน
ตามฟ้องของโจทก์ตั้งประเด็นให้จำเลยรับผิดใช้เงินในฐานะเป็นลูกจ้างและตัวแทนของโจทก์ ซึ่งมีผลเท่ากับกล่าวว่าจำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน โดยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้ตกลงจ้างทำให้เงินของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างขาดหายไปหรือจำเลยผิดสัญญาตัวแทน โดยทำให้โจทก์ซึ่งเป็นตัวการเสียหาย แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องไม่ชัดเจนว่า จำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงานหรือผิดสัญญาตัวแทน แต่เมื่อโจทก์บรรยายข้อเท็จจริงมาให้เป็นที่เข้าใจตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไรแล้ว ก็ตกเป็นหน้าที่ของศาลที่จะนำตัวบทกฎหมายมาปรับแก่คดีได้ โจทก์หาได้ตั้งประเด็นฟ้องจำเลยว่ากระทำละเมิดต่อโจทก์ฟ้องของโจทก์จึงไม่ใช่เรื่องฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากมูลละเมิด
ระเบียบการปฏิบัติงานของโจทก์กำหนดหน้าที่ของผู้จัดการโรงพิมพ์ข้อ 3 มีว่า 'ผู้จัดการเป็นผู้อำนวยการและรับผิดชอบในกิจการทั่วไป'นอกจากนี้ก็ได้วางระเบียบแบ่งงานไว้เป็นหมวดต่าง ๆ มีหมวดกลางหมวดคลัง และหมวดโรงงาน ซึ่งทุกหมวดจะต้องอยู่ในอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาและควบคุมดูแลของผู้จัดการทั้งสิ้น โดยได้บัญญัติไว้ในระเบียบข้อ 45 ว่า 'ให้ผู้จัดการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งกำหนดวิธีปฏิบัติงานในโรงพิมพ์การศาสนาเป็นการภายในได้โดยไม่ขัดแย้งต่อระเบียบนี้' ในเรื่องระเบียบเกี่ยวแก่การเงินก็ได้บัญญัติไว้ในระเบียบข้อ 18 ว่า 'เงินรายได้ของโรงพิมพ์เมื่อได้รับไว้เกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไป ให้นำส่งกองศาสนสมบัติกรมการศาสนา' และได้บัญญัติวิธีรักษาเงินไว้ในข้อ 21 ว่า 'เงินของโรงพิมพ์การศาสนาให้เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยโดยมีผู้จัดการหรือผู้ทำการแทนผู้จัดการ หัวหน้าหมวดคลัง และหัวหน้าหมวดโรงงานเป็นคณะกรรมการรักษากุญแจตู้นิรภัยร่วมกัน เมื่องบบัญชีเงินสดประจำวันให้มีการตรวจนับตัวเงินเมื่อตรวจนับถูกต้องตามบัญชีเงินสดแล้ว ให้นำเก็บไว้ในตู้นิรภัย แล้วตีตราประตูห้องเก็บตู้นิรภัยไว้ด้วย ฯลฯ'ดังนี้ จะเห็นได้ว่าโจทก์ได้กำหนดหน้าที่ของผู้จัดการไว้ให้มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเงินของโจทก์โดยใกล้ชิดด้วย เช่นต้องมีการตรวจบัญชีเงินสดและนับตัวเงินสดทุกวัน เป็นต้น ดังนั้นการที่ พ. สมุหบัญชีรับเงินเป็นตัวเงินสดไว้ถึง124,552 บาทแล้วไม่นำส่งโจทก์ได้นั้น ย่อมแสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่โจทก์จ้าง กล่าวคือไม่ควบคุมตรวจบัญชีเงินสดเป็นการกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามจำนวนเงินของโจทก์ที่ขาดหายไปได้
กรณีที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่ลูกหนี้ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215 ซึ่งเป็นบทบัญญัติของลักษณะหนี้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ไม่
ระเบียบการปฏิบัติงานของโจทก์กำหนดหน้าที่ของผู้จัดการโรงพิมพ์ข้อ 3 มีว่า 'ผู้จัดการเป็นผู้อำนวยการและรับผิดชอบในกิจการทั่วไป'นอกจากนี้ก็ได้วางระเบียบแบ่งงานไว้เป็นหมวดต่าง ๆ มีหมวดกลางหมวดคลัง และหมวดโรงงาน ซึ่งทุกหมวดจะต้องอยู่ในอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาและควบคุมดูแลของผู้จัดการทั้งสิ้น โดยได้บัญญัติไว้ในระเบียบข้อ 45 ว่า 'ให้ผู้จัดการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจออกคำสั่งกำหนดวิธีปฏิบัติงานในโรงพิมพ์การศาสนาเป็นการภายในได้โดยไม่ขัดแย้งต่อระเบียบนี้' ในเรื่องระเบียบเกี่ยวแก่การเงินก็ได้บัญญัติไว้ในระเบียบข้อ 18 ว่า 'เงินรายได้ของโรงพิมพ์เมื่อได้รับไว้เกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไป ให้นำส่งกองศาสนสมบัติกรมการศาสนา' และได้บัญญัติวิธีรักษาเงินไว้ในข้อ 21 ว่า 'เงินของโรงพิมพ์การศาสนาให้เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยโดยมีผู้จัดการหรือผู้ทำการแทนผู้จัดการ หัวหน้าหมวดคลัง และหัวหน้าหมวดโรงงานเป็นคณะกรรมการรักษากุญแจตู้นิรภัยร่วมกัน เมื่องบบัญชีเงินสดประจำวันให้มีการตรวจนับตัวเงินเมื่อตรวจนับถูกต้องตามบัญชีเงินสดแล้ว ให้นำเก็บไว้ในตู้นิรภัย แล้วตีตราประตูห้องเก็บตู้นิรภัยไว้ด้วย ฯลฯ'ดังนี้ จะเห็นได้ว่าโจทก์ได้กำหนดหน้าที่ของผู้จัดการไว้ให้มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลเกี่ยวกับการเงินของโจทก์โดยใกล้ชิดด้วย เช่นต้องมีการตรวจบัญชีเงินสดและนับตัวเงินสดทุกวัน เป็นต้น ดังนั้นการที่ พ. สมุหบัญชีรับเงินเป็นตัวเงินสดไว้ถึง124,552 บาทแล้วไม่นำส่งโจทก์ได้นั้น ย่อมแสดงว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่โจทก์จ้าง กล่าวคือไม่ควบคุมตรวจบัญชีเงินสดเป็นการกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามจำนวนเงินของโจทก์ที่ขาดหายไปได้
กรณีที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่ลูกหนี้ผิดสัญญาไม่ชำระหนี้ ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 215 ซึ่งเป็นบทบัญญัติของลักษณะหนี้ หาใช่เป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องเรียนการเงินโรงเรียน ไม่ถึงขั้นหมิ่นประมาท หากไม่มีเจตนาใส่ความ และข้อความไม่ทำให้เสียชื่อเสียง
จำเลยซึ่งเป็นครู ได้มีหนังสือร้องเรียนขอให้ตั้งกรรมการสอบสวนการเงินและการบริหารของโรงเรียน ผู้จัดการและอาจารย์ใหญ่เพื่อความบริสุทธิ์และเพื่อชื่อเสียงของสถาบันโรงเรียนว่ารายรับรายจ่ายถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่ แม้คำร้องจะมีชื่อโจทก์ให้กรรมการสอบสวนบัญชีด้วยก็ตามคำร้องนั้นก็มิได้กล่าวหาว่าโจทก์ทุจริตฉ้อโกงเงิน และก็ไม่ได้กล่าวหาว่าบุคคลทั้งสามนี้ร่วมมือกันทุจริตการเงินของโรงเรียน ไม่มีลักษณะเป็นการใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง
จำเลยได้มีหนังสืออ้างถึงหนังสือฉบับแรก ขอให้ตั้งกรรมการสอบสวนโดยด่วน และให้อายัดเอกสารต่าง ๆ ไว้เพื่อรักษาความยุติธรรม เป็นการร้องเรียนด้วยความบริสุทธิ์ใจไม่มีใครบังคับเพื่อรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม เพื่อชื่อเสียงของโรงเรียน เป็นการแสดงข้อความและความคิดเห็นโดยสุจริตและชอบธรรมเพื่อให้การสอบสวนเป็นไปโดยยุติธรรม เพราะจำเลยได้ยื่นคำร้องเรียนไปนานแล้ว จำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
จำเลยได้มีหนังสืออ้างถึงหนังสือฉบับแรก ขอให้ตั้งกรรมการสอบสวนโดยด่วน และให้อายัดเอกสารต่าง ๆ ไว้เพื่อรักษาความยุติธรรม เป็นการร้องเรียนด้วยความบริสุทธิ์ใจไม่มีใครบังคับเพื่อรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม เพื่อชื่อเสียงของโรงเรียน เป็นการแสดงข้อความและความคิดเห็นโดยสุจริตและชอบธรรมเพื่อให้การสอบสวนเป็นไปโดยยุติธรรม เพราะจำเลยได้ยื่นคำร้องเรียนไปนานแล้ว จำเลยไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท