พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8534/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยนอกประเด็นเรื่องการเช่าในคดีบุกรุก ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และบังคับคดีตามศาลชั้นต้น
จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า โจทก์ยินยอมให้จำเลยทั้งสองเข้าไปปลูกสร้างอาคารในที่ดินของโจทก์ ไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นเรื่องการเช่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกประเด็นเรื่องการเช่าขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเห็นควรวินิจฉัยตามประเด็นที่ถูกต้อง โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิจารณาพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5112/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องครอบครองที่ดิน: การนำสืบเรื่องการเช่าไม่เป็นมูลฟ้อง พ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไม่เกี่ยวข้่อง
ฟ้องโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทได้ให้จำเลยอยู่อาศัย ที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยเช่าก็เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ อาจยินยอมให้จำเลยอยู่อาศัยโดยไม่มีค่าตอบแทนหรือจำเลยอาจต้องเสียค่าตอบแทนอันมีลักษณะเป็นการเช่า ซึ่งก็มีความหมายอยู่ในตัวว่าจำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ และจำเลยก็ให้การยืนยันว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ไม่เคยอาศัยสิทธิอยู่อาศัยของโจทก์ โจทก์ไม่เคยเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาท ดังนี้เมื่อโจทก์ไม่ได้อ้างถึงการเช่าเป็นมูลฟ้อง กรณีจึงไม่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4115/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อที่ดินคืนของผู้เช่าตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เมื่อผู้รับโอนไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมาย
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทใช้ทำนาโดยเช่าจาก ส.เจ้าของเดิมมานาน โจทก์ทำนาในที่ดินพิพาทตลอดมา จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลซึ่งในขณะนั้นปรากฏว่าโจทก์ยังเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทและทำนาอยู่ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาจากเจ้าของเดิมผู้ให้เช่า แม้จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลก็ตาม จำเลยที่ 1 ก็ย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทจากเจ้าของเดิมเพราะผู้ขายที่ดินพิพาทที่แท้จริงก็คือเจ้าของเดิม ศาลเป็นแต่เพียงดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทตามบทบัญญัติของกฎหมายเท่านั้น มิได้มีผลไปลบล้างบทบัญญัติพิเศษในกฎหมายอื่นนอกเหนือจากที่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะไม่ การรับโอนของจำเลยที่ 1จึงเป็นการรับโอนที่ดินพิพาทตามความในมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 กล่าวคือ การเช่านาย่อมไม่ระงับไปเพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์นาที่เช่า ผู้รับโอนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ของผู้โอนที่มีต่อผู้เช่านาตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว จำเลยที่ 1 ผู้รับโอนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่เจ้าของเดิมซึ่งเป็นผู้ให้เช่ามีต่อโจทก์ผู้เช่า ดังนั้น โจทก์จึงได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 53 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว กล่าวคือ จำเลยที่ 1 ซึ่งมีฐานะเป็นผู้ให้เช่านาเมื่อประสงค์จะขายนาคือที่ดินพิพาทก็มีหน้าที่ต้องแจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่านาทราบโดยทำเป็นหนังสือแสดงความจำนงจะขายนาพร้อมทั้งระบุราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงินยื่นต่อประธาน คชก.ตำบล เพื่อแจ้งให้โจทก์ผู้เช่านาทราบภายในสิบห้าวันเสียก่อน ถ้าโจทก์ผู้เช่านาไม่ซื้อตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 53 วรรคสาม จำเลยที่ 1 จึงจะขายให้จำเลยที่ 3 ได้ต่อไป เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทก่อนตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 มาตรา 54 เมื่อโจทก์ได้ร้องต่อ คชก.ตำบล เพื่อขอซื้อที่ดินพิพาทตามสิทธิในกฎหมายดังกล่าว และ คชก.ตำบล ก็ได้มีมติให้โจทก์มีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3 โดยฝ่ายจำเลยทั้งสามมิได้อุทธรณ์มติของ คชก.ตำบลแต่อย่างใด นับว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนครบถ้วนตามมาตรา 54 ดังกล่าวแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3 ได้
การที่จำเลยที่ 3 อ้างว่า โจทก์ได้ชำระค่าเช่าที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 3 โดยการชำระผ่าน ย. แสดงว่าโจทก์สละสิทธิในการที่จะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3 และเป็นการแสดงเจตนาเช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3 ใหม่นั้นการชำระค่าเช่านั้นเป็นหน้าที่ของผู้เช่าต้องปฎิบัติตามกฎหมายคือตราบใดที่โจทก์ยังเป็นผู้เช่า ยังไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่านาคือค่าเช่าที่ดินพิพาทเป็นคนละส่วนกันกับสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามบทบัญญัติของมาตรา 54 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว การที่โจทก์ชำระค่าเช่านาคือค่าเช่าที่ดินพิพาทจึงมิใช่ข้อที่จะตัดสิทธิของโจทก์ว่าเป็นการสละสิทธิที่จะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3 และการที่โจทก์ยื่นคำร้องต่อ คชก.ตำบล เพื่อขอซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3 นั้น ก็เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายหาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ ทั้งเป็นการแสดงให้เห็นชัดเจนอยู่ในตัวว่า โจทก์มิได้มีความประสงค์ที่จะสละสิทธิในการซื้อที่ดินพิพาทด้วย
ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 54 ได้กำหนดให้ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้นตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้นแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ประมูลซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดในราคา 900,000 บาท และในวันเดียวกันนั้นได้โอนขายให้จำเลยที่ 3จำเลยที่ 3 ซื้อที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่ 1 ในราคา 1,500,000 บาท แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าในขณะที่จำเลยที่ 3 รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 นั้น ที่ดินพิพาทมีราคาตลาดเท่ากับราคาที่จำเลยที่ 3 ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 คือราคา 1,500,000 บาท ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 3 ในราคาดังกล่าวตามมติของ คชก.ตำบลจึงชอบแล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์ไม่กำหนดเวลาให้โจทก์ชำระราคาไว้นั้น ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขโดยกำหนดเวลาให้โจทก์ชำระราคาด้วย
การที่จำเลยที่ 3 อ้างว่า โจทก์ได้ชำระค่าเช่าที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 3 โดยการชำระผ่าน ย. แสดงว่าโจทก์สละสิทธิในการที่จะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3 และเป็นการแสดงเจตนาเช่าที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3 ใหม่นั้นการชำระค่าเช่านั้นเป็นหน้าที่ของผู้เช่าต้องปฎิบัติตามกฎหมายคือตราบใดที่โจทก์ยังเป็นผู้เช่า ยังไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าเช่านาคือค่าเช่าที่ดินพิพาทเป็นคนละส่วนกันกับสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามบทบัญญัติของมาตรา 54 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว การที่โจทก์ชำระค่าเช่านาคือค่าเช่าที่ดินพิพาทจึงมิใช่ข้อที่จะตัดสิทธิของโจทก์ว่าเป็นการสละสิทธิที่จะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3 และการที่โจทก์ยื่นคำร้องต่อ คชก.ตำบล เพื่อขอซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 3 นั้น ก็เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายหาใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ ทั้งเป็นการแสดงให้เห็นชัดเจนอยู่ในตัวว่า โจทก์มิได้มีความประสงค์ที่จะสละสิทธิในการซื้อที่ดินพิพาทด้วย
ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 54 ได้กำหนดให้ผู้เช่านามีสิทธิซื้อนาจากผู้รับโอนนั้นตามราคาและวิธีการชำระเงินที่ผู้รับโอนซื้อไว้หรือตามราคาตลาดในขณะนั้นแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่ากัน เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ประมูลซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดในราคา 900,000 บาท และในวันเดียวกันนั้นได้โอนขายให้จำเลยที่ 3จำเลยที่ 3 ซื้อที่ดินพิพาทไว้จากจำเลยที่ 1 ในราคา 1,500,000 บาท แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าในขณะที่จำเลยที่ 3 รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 นั้น ที่ดินพิพาทมีราคาตลาดเท่ากับราคาที่จำเลยที่ 3 ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 คือราคา 1,500,000 บาท ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 3 ในราคาดังกล่าวตามมติของ คชก.ตำบลจึงชอบแล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์ไม่กำหนดเวลาให้โจทก์ชำระราคาไว้นั้น ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขโดยกำหนดเวลาให้โจทก์ชำระราคาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7348/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาโอนสิทธิการเช่า: ความรับผิดของผู้ขายเมื่อไม่ดำเนินการยื่นเรื่องขออนุมัติการโอนก่อนกำหนด
จำเลยทำสัญญาว่าจะโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์ภายในวันที่22สิงหาคม2534ซึ่งจำเลยทราบดีว่าการโอนสิทธิการเช่านั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากการรถไฟแห่งประเทศไทยเสียก่อนโดยต้องใช้เวลาในการยื่นเรื่องราวจนได้รับอนุมัติอย่างน้อย1เดือนแต่จำเลยมิได้ดำเนินการยื่นเรื่องราวขอโอนก่อนวันครบกำหนดที่จะต้องโอนตามสัญญาเดิมดังนั้นจะอ้างว่าโจทก์บ่ายเบี่ยงเรื่องค่าธรรมเนียมการต่ออายุสัญญาเช่าซึ่งค่าธรรมเนียมดังกล่าวต้องชำระในวันโอนหากไม่ยื่นเรื่องราวขอโอนเสียก่อนก็ไม่อาจอนุมัติให้โอนได้หากจำเลยขออนุมัติให้โอนไว้แล้วโจทก์ไม่ยอมชำระค่าธรรมเนียมจึงจะถือได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเมื่อจำเลยยังมิได้ยื่นเรื่องราวขอโอนไว้ก่อนจึงไม่มีเหตุที่การรถไฟแห่งประเทศไทยจะปฏิเสธแต่เมื่อโจทก์และจำเลยขอโอนสิทธิการเช่าในวันครบกำหนดโอนแล้วได้รับการปฏิเสธย่อมถือได้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ปฏิเสธการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวแก่โจทก์แล้วจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ สัญญาระบุว่าค่าต่อสัญญาเช่ากับค่าธรรมเนียมการโอนสิทธิการเช่าผู้จะรับโอนเป็นผู้ชำระซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระเมื่อโจทก์เคยขอให้จำเลยร้องขอลดค่าธรรมเนียมการต่ออายุสัญญาเช่าจึงมีการรั้งรอที่จะยื่นเรื่องราวขอโอนสิทธิการเช่านั้นว่าโจทก์มีส่วนในความล่าช้าของการดำเนินการอยู่ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5851/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้สิทธิเหนือพื้นดิน การใช้ประโยชน์ที่ดิน และการไม่ตกเป็นภารจำยอมจากบุคคลภายนอก
สัญญาให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดินกำหนดไว้ว่า "ผู้ใช้ (จำเลย)มีสิทธิปรับปรุงที่ดินโดยถม ขุดดินมาถม ทำสะพาน ถนนเชื่อมต่อกับที่ดินของผู้ใช้ (จำเลย) หรือผู้ใกล้เคียง หรือออกสู่ถนนได้" ดังนั้น จำเลยซึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิเหนือพื้นดินจึงมีสิทธิตามสัญญาที่จะทำถนนบนที่ดินได้ แม้ตามสัญญาให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดินในตอนต้นจะกำหนดว่าผู้ใช้ (จำเลย) จะต้องใช้สิทธิเหนือพื้นดินตามสัญญาเพื่อเป็นสวัสดิการสำหรับพนักงานของผู้ใช้ (จำเลย) เท่านั้นก็ตามแต่ข้อความในตอนท้ายได้กำหนดไว้ด้วยว่า "รวมทั้งการใช้ถนนผ่านเข้าออกเพียงบางส่วนเพื่อสะดวกในกิจการของผู้ใช้ได้ด้วย"โดยที่การขนส่งคนทางอากาศ ครัวการบินและกิจการที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการดังกล่าวเป็นกิจการตามวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้ ดังนั้นที่จำเลยใช้ถนนคอนกรีตบนที่ดินตามสัญญาให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดินเป็นทางเข้าออกบางส่วนสำหรับการลำเลียงอาหารฝ่ายโภชนาการของจำเลยไปยังเครื่องบินของจำเลยก็ดี ที่จำเลยอนุญาตให้พนักงานสายการบินอื่นใช้ถนนคอนกรีตดังกล่าวเป็นทางผ่านไปยังครัวการบินของจำเลยก็ดีถือได้ว่าเป็นการใช้ที่ดินตามสัญญาให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดินเป็นถนนผ่านเข้าออกเพียงบางส่วนเพื่อความสะดวกในกิจการของจำเลยตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจำเลยมีสิทธิทำได้โดยชอบ หาได้เป็นการผิดสัญญาไม่ จำเลยได้จัดให้มีพนักงานรักษาความปลอดภัยเฝ้าทางเข้าออกของถนนบนที่ดินที่จำเลยเช่าจากโจทก์ตลอดเวลา บุคคลภายนอกที่จะใช้ถนนดังกล่าวได้มีเฉพาะพนักงานของบริษัทสายการบินอื่นที่เป็นลูกค้าของจำเลย ซึ่งมาติดต่อธุรกิจกับจำเลย ส่วนบุคคลอื่นจะใช้ถนนดังกล่าวได้เฉพาะเมื่อมาติดต่อภายในอาคารของจำเลยทั้งจะต้องลงเวลาเข้าออกและติดบัตรผู้มาติดต่อไว้ด้วย และจะใช้ถนนดังกล่าวเป็นทางผ่านไม่ได้ บุคคลภายนอกที่ไม่มีธุรกิจกับจำเลยจะใช้ถนนดังกล่าวไม่ได้ ดังนั้นการที่บุคคลภายนอกใช้ถนนบนที่ดินที่จำเลยเช่าจากโจทก์นั้น เป็นการใช้โดยอาศัยสิทธิของจำเลย ทั้งไม่ปรากฏว่าบุคคลภายนอกที่ใช้ถนนเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์อื่นแต่อย่างใด ดังนั้นแม้บุคคลภายนอกจะได้ใช้ถนนบนที่ดินที่จำเลยเช่าจากโจทก์เป็นเวลานานเท่าใด ถนนบนที่ดินที่จำเลยเช่าจากโจทก์ก็ไม่ตกอยู่ในภาระจำยอมการที่จำเลยให้บุคคลภายนอกใช้ถนนจึงหาได้เป็นการไม่สงวนทรัพย์สินที่เช่าเสมอกับที่วิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเองไม่ โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเช่าและการบอกเลิกสัญญาเช่า: การบอกเลิกสัญญาเช่าที่ชอบด้วยกฎหมายหลังสิ้นสุดสัญญาเดิม
แม้สัญญาเช่าตึกแถวพิพาทระหว่างโจทก์กับ ส. จะได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่ก็ไม่มีกฎหมายบังคับให้การเปลี่ยนแปลงผู้เช่าจากผู้เช่าเดิมมาเป็นผู้เช่าใหม่ต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จดทะเบียนการเช่าดังกล่าวรับทราบด้วย โจทก์จำเลยและ ส. ลงลายมือชื่อรับทราบการเปลี่ยนแปลงผู้เช่าตึกแถวพิพาทจาก ส. มาเป็นจำเลยถือว่าโจทก์และ ส.ได้บอกกล่าวการโอนและให้ความยินยอมการโอนสิทธิการเช่าเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306วรรคหนึ่งแล้ว แม้หนังสือเลิกการเช่าของโจทก์ที่ส่งไปยังจำเลยเป็นระยะเวลาน้อยกว่ากำหนดเวลาที่ต้องชำระค่าเช่าระยะหนึ่งซึ่งไม่ชอบด้วยมาตรา566แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อเกินกว่าชั่วกำหนดเวลาดังกล่าวถือว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าโดยชอบแล้วจึงมีสิทธิฟ้องขับไล่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3463/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมสาธารณูปโภค: การเช่าที่ดินสาธารณูปโภคกระทบสิทธิการใช้ประโยชน์และอำนาจเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้าง
แม้ที่ดินที่โจทก์จะปลูกสร้างอาคาร ผู้จัดสรรที่ดินยังมิได้ยกให้เป็นที่สาธารณะ แต่ที่ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่มีสภาพเป็นสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นในที่ดินที่ได้รับอนุญาตจัดสรร จึงต้องด้วยบทบัญญัติของประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 ที่บัญญัติว่าสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเหนือการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตให้ถือว่าตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จัดสรรและให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์คนต่อไปที่จะบำรุงรักษาให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นโดยตลอดไปและจะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกไม่ได้การที่ผู้จัดสรรที่ดินนำที่ดินสาธารณูปโภคดังกล่าวไปให้โจทก์เช่าเพื่อปลูกสร้างอาคารถือเป็นการกระทำที่เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกเมื่อที่ดินนั้นเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินอันมีสภาพเป็นสาธารณูปโภค จำเลยที่ 1 และที่ 2ย่อมมีสิทธิตามกฎหมายที่จะเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างที่ออกให้แก่โจทก์ได้ ทั้งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 ซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ก็ย่อมมีอำนาจให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ได้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3675/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำวินิจฉัยคชก.จังหวัด: นับแต่วันมีคำวินิจฉัย แม้ผู้ถูกวินิจฉัยยังไม่ทราบ
พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา57 กำหนดระยะเวลาให้คู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคชก.จังหวัด ยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยได้อย่างช้าที่สุดไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัย กำหนดระยะเวลาดังกล่าวไม่คำนึงถึงว่าผู้อุทธรณ์ได้ทราบถึงคำวินิจฉัยนั้นแล้วหรือไม่ เมื่อ คชก.จังหวัด มีคำวินิจฉัย วันที่ 29 พฤษภาคม 2533 แต่โจทก์ยื่นอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยในวันที่ 13 สิงหาคม 2533 ซึ่งพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่ คชก.จังหวัดมีคำวินิจฉัย โจทก์จึงไม่มีอำนาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1737/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเช่าต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า และสิทธิการเช่าไม่สามารถโอนได้โดยอัตโนมัติ แม้มีข้อตกลงระหว่างผู้เช่ากับบุคคลภายนอก
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่ 1เช่าที่ดินของ ม.มาปลูกสร้างโรงเรียน แล้วจำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายฝากอาคารเรียนพร้อมอุปกรณ์แก่โจทก์ และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาเช่าอาคารเรียนพร้อมอุปกรณ์จากโจทก์ โดยมีข้อตกลงว่าหากไม่ไถ่คืนยอมให้สิทธิอันพึงมีตามสัญญาเช่าที่ดินระหว่างจำเลยที่ 2 กับ ม.เจ้าของที่ดินตกเป็นของโจทก์ ครบกำหนดจำเลยที่ 1ไม่ไถ่คืน อาคารเรียนพร้อมอุปกรณ์ตกเป็นของโจทก์ แต่ข้อตกลงที่จำเลยที่ 2 ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า ไม่มีผลให้สิทธิการเช่าของจำเลยที่ 2 ผู้เช่าโอนไปยังโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ดินหรือค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่าที่ดินจากจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกง vs. ฉ้อโกงประชาชน: การเช่าพระเครื่องแอบอ้างสมเด็จพระเทพฯ และความผิดฐานฉ้อโกง
ผู้เสียหาย 4 คนได้ทราบว่าที่วัด พ. มีพระเครื่องซึ่งเป็นของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีให้เช่าบูชา โดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดดังกล่าวเป็นผู้นำออกให้เช่าผู้เสียหายทั้งสี่จึงไปเช่าพระเครื่องจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1รับรองว่าพระเครื่องดังกล่าวเป็นพระเครื่องที่ได้มาจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ซึ่งความจริงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ไม่เคยทรงจัดสร้างพระเครื่องดังกล่าวและไม่เคยทรงพระราชทานแก่จำเลยที่ 1 เพื่อให้จำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไปแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้โฆษณาให้ประชาชนทั่วไปทราบถึงการให้เช่าพระเครื่อง หากเป็นเรื่องที่ผู้เสียหายทั้งสี่ทราบข่าวมาเองแล้วมาติดต่อขอเช่าพระเครื่องจากจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน คงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 341 เท่านั้น อย่างไรก็ตาม แม้จะได้ความว่าจำเลยที่ 1 นำเงินที่ได้จากการให้เช่าพระเครื่องส่วนหนึ่งไปปรับปรุงซ่อมศาลากรรมฐานของวัดดังกล่าว แต่พฤติการณ์การกระทำผิดของจำเลยที่ 1 เป็นการร้ายแรงนำความเสื่อมเสียมาสู่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีและพุทธศาสนาจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะรอการลงโทษให้จำเลยที่ 1.