พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสถานะสภาจังหวัดเป็นสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาม พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และผลต่อตำแหน่งประธานสภา
แม้มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดพ.ศ. 2540 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2540มีผลให้ยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัดพ.ศ. 2498 ก็ตาม แต่มาตรา 82 วรรคหนึ่งและวรรคสองแห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้อันเป็นบทเฉพาะกาลได้บัญญัติรับรองให้สภาจังหวัดและสมาชิกสภาจังหวัดที่มีอยู่เดิมมีฐานะเป็นสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แล้วแต่กรณี จึงมีผลให้สภาจังหวัดศรีสะเกษมีฐานะเป็นสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษและสมาชิกสภาจังหวัดศรีสะเกษมีฐานะเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษโดยผลของกฎหมาย และแม้บทบัญญัติในส่วนนี้จะมิได้กล่าวไว้โดยแจ้งชัดว่าให้ประธานสภาจังหวัดและรองประธานสภาจังหวัดเป็นประธานสภาและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดก็ตาม แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายใดกำหนดให้มีการเลือกประธานสภาและรองประธาน สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดขึ้นใหม่หรือกำหนดให้ บุคคลหนึ่งบุคคลใดทำหน้าที่ประธานสภาและรองประธานสภาไปพลางก่อน แสดงว่ากฎหมายประสงค์ให้ประธานสภาจังหวัดและ รองประธานสภาจังหวัดซึ่งเป็นสมาชิกสภาจังหวัดอยู่ด้วยและ เปลี่ยนมาเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาม มาตรา 82 วรรคสอง มีฐานะเป็นประธานสภาและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดด้วย โจทก์ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานสภาจังหวัดศรีสะเกษในขณะที่พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดพ.ศ. 2540 ใช้บังคับย่อมเป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษโดยผลของกฎหมายหายังสิ้นสุดลงไม่ ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 ได้ประกาศเรียกประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ โดยมีระเบียบวาระการประชุม เกี่ยวกับผู้ทำหน้าที่เป็นประธานสภาชั่วคราวการเลือกประธานสภารองประธานสภาและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษและต่อมาได้มีการประชุมเลือก ว. เป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษและเลือก ช.กับย. เป็นรองประธานสภาฯ ต่อจากนั้น ว. ได้ดำเนินการประชุมต่อไปตามระเบียบวาระและที่ประชุมมีมติเลือก ณ. เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษนั้น แม้โจทก์จะอยู่ในที่ประชุม ด้วยแต่โจทก์มิได้เป็นผู้ดำเนินการประชุมตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง การประชุมเลือกประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษในวันดังกล่าวย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5527/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องแจ้งให้เจ้าของทราบ การครอบครองแทนไม่ถือเป็นการครอบครองปรปักษ์
ผู้ร้องครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ย. ผู้เป็นเจ้าของเท่ากับผู้ร้องถือแทน ย. ตลอดมาเมื่อ ย. ถึงแก่กรรมก็ต้องถือว่าถือแทนผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทของ ย. เมื่อไม่ได้ความว่าผู้ร้องได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเป็นการครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1381ก็ต้องถือว่าผู้ร้องยังคงครอบครองที่ดินพิพาทแทน ย.แม้ผู้ร้องจะครอบครองที่ดินพิพาทติดต่อกันมาเกินกว่า10ปีแล้วผู้ร้องก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3487/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินโฉนด เจ้าของรวม การเปลี่ยนแปลงสถานะเจ้าของ และผลต่อการต่อสู้คดี
จำเลยได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมีโฉนดซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยจนได้กรรมสิทธิ์แล้วก็เท่ากับว่าจำเลยได้ครอบครองปรปักษ์ในส่วนที่โจทก์เองเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย แม้ภายหลังโจทก์จะรับโอนที่ดินจากผู้มีกรรมสิทธิ์รวมคนอื่นจนโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดดังกล่าวเพียงคนเดียวก็ไม่ถือว่าโจทก์เป็นบุคคลภายนอกตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง จำเลยจึงยกเอาการได้ที่ดินพิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์ใช้ต่อสู้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2584/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสจากการยกที่ดินโดยไม่ระบุเป็นสินส่วนตัว แม้กฎหมายแก้ไข ก็ไม่ทำให้สินสมรสเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัว
จำเลยเป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของ ส. ในระหว่างสมรสเมื่อ พ.ศ. 2508 มารดาจำเลยยกที่ดินซึ่งเป็นส่วนของตนตามโฉนดที่พิพาท ให้แก่จำเลยโดยไม่ระบุว่าให้เป็นสินส่วนตัว ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับส. ตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มาตรา 1464 และมาตรา 1466 แม้ต่อมาบทบัญญัติบรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1471 และมาตรา1474 จะบัญญัติแตกต่างจากบทบัญญัติบรรพ 5 เดิม ก็ไม่ ทำให้ที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสอยู่แต่เดิมเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวของจำเลย เพราะกฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่ได้บัญญัติให้เปลี่ยนแปลงไปดังกรณีสินเดิม ส. จึงมีอำนาจทำพินัยกรรมยกที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ทั้งสองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1481.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องจักรทำให้เปลี่ยนสถานะเป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ การโอนกรรมสิทธิ์จึงต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย
เครื่องจักรที่ได้จดทะเบียนกรรมสิทธิ์ตาม พระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. 2514 แล้ว ย่อมเปลี่ยนสถานะจาสังหาริมทรัพย์ธรรมดากลายมาเป็นสังหาริ่มทรัพย์ชนิดพิเศษ การโอนกรรมสิทธิ์จึงต้องทำการจดทะเบียนให้ถูกต้องตาม พระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักรฯ ด้วย มิฉะนั้นถือว่าไม่สมบูรณ์
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า จำเลยที่ 2 ตกลงขายเครื่องจักรผลิตปุ๋ยเคมีให้โจทก์ แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรดังกล่าวให้แก่โจทก์ ดังนี้กรรมสิทธิ์ในตัวเครื่องจักรจึงยังไม่เปลี่ยนมือไปยังโจทก์ ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ไปหลอกลวงโจทก์เพื่อขอรับหนังสือสำคัญการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรและโจทก์หลงเชื่อมอบหนังสือสำคัญดังกล่าวให้ไป อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงนั้น แม้หากจะเป็นจริง การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ยังไม่เข้าองค์ประกอบเป็นความผิด เพราะหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนนั้นยังเป็นของจำเลยที่ 2 และเมื่อจำเลยที่ 2 นำไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรให้จำเลยที่ 1 ต่อเจ้าพนักงานจึงมิใช่เป็นการแจ้งความเท็จ หรือกล่าวเท็จเพื่อให้เจ้าหน้าที่จดแจ้งข้อความลงในเอกสารตามฟ้องของโจทก์
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า จำเลยที่ 2 ตกลงขายเครื่องจักรผลิตปุ๋ยเคมีให้โจทก์ แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรดังกล่าวให้แก่โจทก์ ดังนี้กรรมสิทธิ์ในตัวเครื่องจักรจึงยังไม่เปลี่ยนมือไปยังโจทก์ ที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 ไปหลอกลวงโจทก์เพื่อขอรับหนังสือสำคัญการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรและโจทก์หลงเชื่อมอบหนังสือสำคัญดังกล่าวให้ไป อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงนั้น แม้หากจะเป็นจริง การกระทำของจำเลยทั้งสองก็ยังไม่เข้าองค์ประกอบเป็นความผิด เพราะหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนนั้นยังเป็นของจำเลยที่ 2 และเมื่อจำเลยที่ 2 นำไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรให้จำเลยที่ 1 ต่อเจ้าพนักงานจึงมิใช่เป็นการแจ้งความเท็จ หรือกล่าวเท็จเพื่อให้เจ้าหน้าที่จดแจ้งข้อความลงในเอกสารตามฟ้องของโจทก์