พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5740/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเวนคืน: เจ้าของที่ดินเท่านั้นที่มีสิทธิ, ผู้ครอบครองต้องมีการอยู่อาศัยหรือทำประโยชน์แล้ว
เงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนและเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงนั้น เป็นการชดเชยความเสียหายอันเนื่องมาจากการบังคับเอาที่ดินมาจากเจ้าของที่ดินและเป็นการชดเชยความเสียหาย อันเนื่องมากจากที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนราคาลดลงตามลำดับผู้ที่ถูกบังคับเอาที่ดินไป และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงคือเจ้าของที่ดิน โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 ซึ่งอ้างว่าได้ชำระเงินที่จะซื้อจะขายที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ที่ 1 ไปก่อนบางส่วน และได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่ถูกเวนคืนแล้วนั้นยังไม่ได้เป็นเจ้าของหรือเจ้าของร่วมในที่ดินที่ถูกเวนคืน และไม่ได้โต้แย้งสิทธิความเป็นเจ้าของที่ดินในที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นและเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง
ผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตาม พรบว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคท้าย นั้น ต้องเป็นผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายที่อยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขายหรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอสังหาริมทรัพย์นั้น แต่ขณะที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับที่ดินที่ถูกเวนคืนยังเป็นที่ดินว่างเปล่า โจทก์ที่ 2 ยังมิได้อยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขายหรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในที่ดินที่เวนคืน จึงไม่ใช่บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากที่ดินทั้งสี่แปลงที่ถูกเวนคืนที่จะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 21 วรรคท้าย
ผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตาม พรบว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคท้าย นั้น ต้องเป็นผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายที่อยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขายหรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในอสังหาริมทรัพย์นั้น แต่ขณะที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับที่ดินที่ถูกเวนคืนยังเป็นที่ดินว่างเปล่า โจทก์ที่ 2 ยังมิได้อยู่อาศัยหรือประกอบการค้าขายหรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในที่ดินที่เวนคืน จึงไม่ใช่บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากที่ดินทั้งสี่แปลงที่ถูกเวนคืนที่จะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 21 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5469/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคุ้มครองชั่วคราวต้องเป็นไปตามคำฟ้อง การขอคุ้มครองเกินคำฟ้องเป็นเหตุให้ศาลยกคำร้อง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาททั้ง4แปลงให้กลับไปใช้โฉนดที่ดินเดิมเลขที่3472แต่ระบุเนื้อที่เพียง17ไร่เศษมิใช่18ไร่เศษตามเนื้อที่ในโฉนดเดิมเนื่องจากที่ดินถูกการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเวนคืนแล้วจำนวน2ไร่เศษทั้งตามคำขอท้ายฟ้องก็มิได้เรียกให้จำเลยใช้ค่าเสียหายหรือให้จำเลยนำเงินค่าเวนคืนที่ดินจำนวน22,837,000บาทมาส่งมอบแก่โจทก์แต่อย่างใดเช่นนี้การที่โจทก์ขอคุ้มครองชั่วคราวโดยขอให้จำเลยนำเงินค่าเวนคืนที่ดินจำนวนดังกล่าวไปฝากธนาคารแล้วนำสมุดเงินฝากมาวางศาลจึงเป็นการขอคุ้มครองประโยชน์เกินกว่าคำขอในคำฟ้องของโจทก์แม้ผลแห่งคดีในที่สุดโจทก์ชนะศาลก็จะพิพากษาเพิกถอนการได้มาซึ่งที่โฉนดของจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เท่านั้นไม่มีผลบังคับไปถึงเงินค่าเวนคืนจำนวนดังกล่าวซึ่งจำเลยได้รับไปจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยตามที่โจทก์ร้องขอคุ้มครองได้กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา254(2)และมาตรา264ที่โจทก์จะขอคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้ขายเดิมในการคัดค้านการเวนคืน
แม้นาง ต.ได้ซื้อบ้านพิพาทจากนาง ม.โดยไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือ ต่อมานาง ต.ได้ขายบ้านดังกล่าวให้แก่โจทก์โดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายไว้ต่อกัน และเมึ่อซื้อบ้านพิพาทดังกล่าวแล้วโจทก์ได้เช่าที่ดินซึ่งบ้านพิพาทตั้งอยู่จากนาง ข.เพื่ออยู่อาศัยตลอดมา ถือว่า โจทก์ได้รับมอบการครอบครองบ้านพิพาทจากผู้ขาย และได้เข้าครอบครองแล้ว ย่อมได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา1367 การที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นบุตรนาง ม.เจ้าของบ้านพิพาทเดิมมิได้ครอบครองบ้านดังกล่าวไปคัดค้านการจ่ายเงินทดแทนการเวนคืนบ้านพิพาทจากกรมทางหลวงจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 5 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้เพิกถอนคำคัดค้านและห้ามจำเลยทั้งสองเข้าเกี่ยวข้องกับบ้าน-พิพาทได้