พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวของห้างหุ้นส่วนจำกัดเมื่อมีข้อขัดแย้งภายในและการจำกัดอำนาจผู้จัดการ
ตามคำร้องขอของผู้ร้องอ้างว่า ข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. กำหนดให้ พ. หรือ ณ. คนใดคนหนึ่งต้องลงลายมือชื่อร่วมกับผู้ร้องและประทับตราของห้างจึงจะมีอำนาจกระทำการแทนห้างได้ แต่ พ. และ ณ. ขัดขวางและกระทำการเป็นปฏิปักษ์ไม่ยอมลงลายมือชื่อร่วมกับผู้ร้องในหนังสือมอบอำนาจเพื่อให้ตัวแทนของห้างไปดำเนินการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่ผู้ที่ฉ้อโกงห้าง หากให้ห้างอยู่ในสภาพเช่นนี้ต่อไปจะทำให้ผู้เป็นหุ้นส่วนเสียหาย และข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างไม่มีวิธีการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว ซึ่งตามคำร้องขอเช่นนี้เป็นกรณีที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้แทนชั่วคราวของห้างโดยให้ผู้ร้องแต่ผู้เดียวลงลายมือชื่อและประทับตราของห้าง มีอำนาจกระทำการแทนห้างเพื่อผู้ร้องจะได้กระทำกิจการต่างๆ ในนามของห้างได้ อันเป็นการแก้ไขอุปสรรคขัดข้องของห้างมิให้เกิดความเสียหายที่เกิดจากหุ้นส่วนผู้จัดการคนอื่น แม้ข้อเท็จจริงตามคำร้องขอจะไม่ใช่กรณีตำแหน่งผู้แทนของห้างว่างลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 73 บัญญัติไว้ แต่เมื่อไม่มีบทกฎหมายยกมาปรับแก่คดีนี้ได้ทั้งไม่มีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ในกรณีนี้จึงต้องอาศัยเทียบมาตรา 73 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งตามมาตรา 4 วรรคสอง มาวินิจฉัยคดี และหากได้ความจริงตามคำร้องขอ ศาลก็สามารถตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนชั่วคราวตามบทกฎหมายดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3667/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายในคดีเยาวชน: กฎหมายเฉพาะเหนือกว่ากฎหมายทั่วไป
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ. 2534 มาตรา 6 บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับแก่คดีเยาวชนและครอบครัวเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ เมื่อตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ ได้มีบทบัญญัติในมาตรา 83 ว่า ในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวจำเลยจะมีทนายความแก้คดีแทนไม่ได้ แต่ให้จำเลยมีที่ปรึกษากฎหมายเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทำนองเดียวกันกับทนายความได้ ในกรณีที่จำเลยไม่มีที่ปรึกษากฎหมาย ให้ศาลแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายให้ เว้นแต่จำเลยนั้นไม่ต้องการและศาลเห็นว่า ไม่จำเป็นแก่คดี จะไม่แต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายก็ได้ ดังนั้น การแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติดังกล่าว มิอาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 มาใช้บังคับได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2545 เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2545)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2545 เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2545)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3667/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายในคดีเยาวชน: ศาลต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เยาวชนฯ แม้คดีมีโทษประหาร
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289อันเป็นคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต ซึ่งศาลชั้นต้นต้องถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ให้ศาลตั้งให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคแรก ก็ตามแต่ก็เป็นบทบัญญัติสำหรับดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดา ส่วนศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวนั้นพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 6 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ เมื่อมาตรา 83แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ ที่ระบุให้จำเลยมีที่ปรึกษากฎหมายเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทำนองเดียวกับทนายความ หากจำเลยไม่มีที่ปรึกษากฎหมายก็ให้ศาลแต่งตั้งให้เว้นแต่จำเลยไม่ต้องการและศาลเห็นว่าไม่จำเป็นแก่คดีจะไม่ตั้งที่ปรึกษากฎหมายก็ได้นั้น ถือเป็นกฎหมายเฉพาะย่อมยกเว้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 ซึ่งเป็นบททั่วไปจึงไม่อาจนำมาใช้ในกรณีนี้ได้ ดังนั้น ที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า จำเลยไม่ต้องการที่ปรึกษากฎหมาย และศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องตั้งที่ปรึกษากฎหมาย จึงให้นัดสืบพยาน... จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 83 ครบถ้วนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3667/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายในคดีเยาวชน: บทเฉพาะย่อมยกเว้นบททั่วไป
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 83 ให้แต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายให้จำเลยในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ไม่ว่าความผิดที่จำเลยถูกฟ้องนั้นมีอัตราโทษประหารชีวิตหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่จำเลยไม่ต้องการที่ปรึกษากฎหมายและศาลเห็นว่าที่ปรึกษากฎหมายไม่จำเป็นแก่คดี บทกฎหมายดังกล่าวถือได้ว่าเป็นกฎหมายเฉพาะย่อมยกเว้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 อันเป็นกฎหมายทั่วไป และไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังกล่าวซึ่งขัดหรือแย้งต่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาใช้ได้
จำเลยอายุเกินสิบแปดปีบริบูรณ์แล้วขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง แต่ขณะกระทำความผิดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 จำเลยมีอายุไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ จึงต้องดำเนินคดีในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 5 การแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายให้จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 83 การที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง จดรายงานกระบวนพิจารณาว่า จำเลยให้การรับสารภาพ และไม่ต้องการที่ปรึกษากฎหมายจำเลย ศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องตั้งที่ปรึกษากฎหมายจำเลย จึงให้นัดสืบพยานประกอบคำรับสารภาพ เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 83 แล้ว
จำเลยอายุเกินสิบแปดปีบริบูรณ์แล้วขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง แต่ขณะกระทำความผิดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 จำเลยมีอายุไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ จึงต้องดำเนินคดีในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 5 การแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายให้จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 83 การที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง จดรายงานกระบวนพิจารณาว่า จำเลยให้การรับสารภาพ และไม่ต้องการที่ปรึกษากฎหมายจำเลย ศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องตั้งที่ปรึกษากฎหมายจำเลย จึงให้นัดสืบพยานประกอบคำรับสารภาพ เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 83 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3607/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งคณะกรรมการลูกจ้างไม่ชอบด้วยข้อบังคับสหภาพแรงงานเนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบ จึงไม่มีหน้าที่จัดประชุมหารือ
ตามข้อบังคับสหภาพแรงงานธนาคารเอเซีย ข้อ 27 กำหนดว่า การประชุมคณะกรรมการสหภาพแรงงานจะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการทั้งหมด ซึ่งหมายถึงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนคณะกรรมการที่จดทะเบียนไว้สหภาพแรงงานธนาคารเอเซียมีคณะกรรมการสหภาพแรงงานที่จดทะเบียนไว้ 16 คน เมื่อการประชุมคณะกรรมการสหภาพแรงงานเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการลูกจ้างมีกรรมการสหภาพแรงงานร่วมเข้าประชุมจำนวน 7 คน จึงไม่ครบองค์ประชุม คณะกรรมการลูกจ้างที่ได้รับการแต่งตั้งซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วย จึงเป็นคณะกรรมการลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจึงไม่มีหน้าที่ต้องจัดให้มีการประชุมหารือระหว่างจำเลยกับคณะกรรมการลูกจ้างตาม มาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 72/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: พิจารณาประโยชน์สูงสุดของกองมรดกและทายาทโดยธรรม
ในการจัดตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้าไม่มีข้อกำหนด พินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และโดยคำนึงถึงเจตนาของผู้ตาย ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบ ด้วยกฎหมายของผู้ตาย มีบุตรด้วยกัน 3 คน ซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ อยู่ในความปกครองของผู้ร้อง ผู้ร้องและบุตรทั้งสามเป็นทายาท โดยธรรมผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงในกองมรดกและผู้ตาย เป็นผู้ดำเนินการให้ผู้ร้องได้สัญชาติไทยตามผู้ตาย แม้จะ ปรากฏว่าผู้ร้องเคยถูกดำเนินคดีฐานเข้าเมืองโดยไม่ได้ รับอนุญาตและมีคำพิพากษาให้ออกนอกราชอาณาจักรมาแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับข้อห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดก การตั้งให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกจึงเป็นประโยชน์สูงสุดแก่กองมรดกตามความมุ่งหมายของกฎหมายแล้ว เมื่อกรณีมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตายการที่จะให้ผู้คัดค้านที่ 2 จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องจึงมีข้อแสดงให้เห็นเบื้องต้นว่าไม่อาจที่จะจัดการร่วมกันได้ ผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรส ซึ่งต้องระวังรักษา ประโยชน์ของบุตรผู้เยาว์อีกสามคนที่เป็นทายาทโดยธรรม ในลำดับที่ (1) ส่วนผู้คัดค้านทั้งสี่เป็นทายาทโดยธรรม ในลำดับที่ (3) ซึ่งไม่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย จึงไม่สมควรที่จะตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก ร่วมกับผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ การแต่งตั้งทนายความ และการซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดโดยสุจริต
จำเลยร่วมที่ 4 ถูกหมายเรียกให้เข้ามาในคดีตามคำร้องขอของโจทก์ เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) จำเลยร่วม ที่ 4 จึงมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ ทั้งมี สิทธิที่อาจนำพยานหลักฐานใหม่มาแสดงคัดค้านเอกสารที่ได้ยื่นไว้ถามค้านพยานที่ได้สืบมาแล้ว และคัดค้านพยานหลักฐานของโจทก์ที่ได้สืบไปแล้วก่อนที่ตนได้ร้องสอด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 58 วรรคหนึ่งแต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยร่วมที่ 4 มิได้แต่งตั้ง ส. ให้เป็นทนายความของตน การที่ ส. แถลงยอมรับว่าจำเลยร่วมที่ 4เป็นบริวารของจำเลยและแถลงไม่ติดใจสืบพยาน จึงย่อมไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2แทนจำเลยร่วมที่ 4 ได้ การกระทำของ ส. เป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นเชื่อว่า ส. มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาแทนจำเลยร่วมที่ 4 ได้ อันเป็นการไม่ชอบ จึงไม่ได้แจ้งคำสั่งให้จำเลยร่วมที่ 4 ทราบต่อ ๆ มาอีกจึงถือได้ว่าเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ใหม่ตามมาตรา 243(2) ประกอบ มาตรา 247 แม้โจทก์จะเคยเป็นทนายความแก้ต่างให้แก่ น.ในคดีที่จำเลยฟ้อง น. กับพวก ขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แต่คดีดังกล่าวจำเลยถอนฟ้อง น. ไปแล้วและไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นฟ้อง น. ในภายหลังเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกแสดงว่า จำเลยไม่ติดใจโต้แย้งสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของ น. อีกต่อไป การที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลยังฟังไม่ได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต โจทก์จึงได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7499/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะเจ้าพนักงานคุมประพฤติ: การแต่งตั้ง, การปฏิบัติหน้าที่, และการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยเป็นลูกจ้างชั่วคราวได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการในกรมคุมประพฤติ เป็นพนักงานคุมประพฤติตามคำสั่งกระทรวงยุติธรรม จำเลยเป็นพนักงานคุมประพฤติประจำศาลและได้รับมอบหมายจากหัวหน้าสำนักงานคุมประพฤติประจำศาลให้ไปสืบเสาะความประพฤติของ ว. เมื่อตาม พ.ร.บ.วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตาม ป.อาญา พ.ศ.2522 มาตรา 4 บัญญัติว่า "พนักงานคุมประพฤติ" หมายความว่าผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 5 บัญญัติให้รัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนพนักงานคุมประพฤติตามพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา 10 บัญญัติว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ให้พนักงานคุมประพฤติเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และไม่มีบทบัญญัติบทใดบัญญัติให้การแต่งตั้งพนักงานคุมประพฤติต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาดังนั้น คำสั่งแต่งตั้งจำเลยให้เป็นพนักงานคุมประพฤติจึงไม่จำต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา แม้จำเลยไม่ได้ลงชื่อรับทราบคำสั่งแต่งตั้งดังกล่าว แต่จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ต่อมา ถือได้ว่าจำเลยทราบคำสั่งแล้ว จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานตาม ป.อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5512/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: ผู้มีสิทธิรับมรดกและการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายที่เกิดกับ ต. เป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายผู้คัดค้านยื่นคำร้องว่าผู้คัดค้านเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ผู้คัดค้านเพียงผู้เดียวและตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดก ดังนี้เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมไว้เช่นนี้ที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่ผู้เดียวจึงชอบแล้ว ส่วนที่ผู้คัดค้านขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้องนั้นเมื่อผู้คัดค้านไม่ได้ขอมาในคำคัดค้านก็ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3127/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกและการคุ้มครองสิทธิทายาท
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอต่อศาลขอให้ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกนั้น ประเด็นแห่งคดีมีเพียงว่า มีเหตุที่จะแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ และจำเลยเป็นบุคคลต้องห้ามในการที่จะเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ดังนั้นแม้จำเลยเบิกความในคดีแพ่งดังกล่าวว่า เจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมไว้ซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริงก็ตาม คำเบิกความดังกล่าวก็หาใช่ข้อสำคัญในคดีนั้นแต่อย่างใดไม่เพราะสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นทายาทในการที่จะรับมรดกยังมีอยู่ แม้เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแล้วก็ตาม หากจำเลยละเลยหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามอำนาจหน้าที่ จำเลยย่อมถูกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ โจทก์ยังคงมีสิทธิรับมรดกอยู่เช่นเดิม คดีโจทก์ไม่มีมูลความผิดฐานเบิกความเท็จ