พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกต้องแสดงเจตนาชัดเจนเป็นหนังสือหรือสัญญาประนีประนอม การวินิจฉัยศาลชั้นต้นคลาดเคลื่อน
โจทก์กล่างอ้างในคำฟ้องว่า ล. สละมรดกส่วนของตนให้แก่โจทก์ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องการแบ่งปันมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกบันทึกคำให้การของ ล. ขึ้นวินิจฉัยว่ามีผลผูกพัน ล. เนื่องจากเป็นการประนีประนอมยอมความระหว่างทายาทผู้มีสิทธิตามมาตรา 850, 852 และมาตรา 1750 ทำให้ที่ดินมรดกส่วนของ ล. ตกแก่โจทก์ เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบ
บันทึกคำให้การของ ล. ในชั้นศาลที่ตอบทนายโจทก์ซักถามว่า "ที่ดินส่วนที่เหลือที่เป็นสิทธิของข้าฯ ที่จะได้ 5 ไร่นั้น ข้าฯ ได้ยกให้เป็นของโจทก์แล้ว ข้าฯไม่ติดใจที่จะเรียกร้องอีก" ข้อความดังกล่าวไม่ใช่การสละมรดก เพราะการสละมรดกต้องเป็นการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด ทั้งบันทึกคำให้การฉบับดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของ ล. ฝ่ายเดียว ถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา 1612 โจทก์จึงไม่มีสิทธิในที่ดินมรดกส่วนของ ล.
บันทึกคำให้การของ ล. ในชั้นศาลที่ตอบทนายโจทก์ซักถามว่า "ที่ดินส่วนที่เหลือที่เป็นสิทธิของข้าฯ ที่จะได้ 5 ไร่นั้น ข้าฯ ได้ยกให้เป็นของโจทก์แล้ว ข้าฯไม่ติดใจที่จะเรียกร้องอีก" ข้อความดังกล่าวไม่ใช่การสละมรดก เพราะการสละมรดกต้องเป็นการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด ทั้งบันทึกคำให้การฉบับดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของ ล. ฝ่ายเดียว ถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามมาตรา 1612 โจทก์จึงไม่มีสิทธิในที่ดินมรดกส่วนของ ล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกต้องทำตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด บันทึกคำให้การฝ่ายเดียวไม่ถือเป็นการสละมรดกที่มีผลผูกพัน
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า ล. สละมรดกส่วนของตนให้แก่โจทก์เท่านั้น คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องการแบ่งปันมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 การที่ศาลชั้นต้นหยิบยกมาตรา 1750 ขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ
บันทึกคำให้การของศาลชั้นต้นที่ ล. ตอบทนายโจทก์ซักถามว่า "ที่ดินส่วนที่เหลือเป็นสิทธิของข้าฯ ที่จะได้ 5 ไร่ นั้น ข้าฯ ได้ยกให้เป็นของโจทก์แล้ว ข้าฯ ไม่ติดใจที่จะเรียกร้องอีก" ข้อความดังกล่าวไม่ใช่การสละมรดก เพราะการสละมรดกตามความหมายใน ป.พ.พ. มาตรา 1612 ต้องเป็นการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด ทั้งบันทึกคำให้การฉบับดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของ ล. ฝ่ายเดียว ถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1612 โจทก์จึงไม่มีสิทธิในที่ดินมรดกส่วนของ ล.
บันทึกคำให้การของศาลชั้นต้นที่ ล. ตอบทนายโจทก์ซักถามว่า "ที่ดินส่วนที่เหลือเป็นสิทธิของข้าฯ ที่จะได้ 5 ไร่ นั้น ข้าฯ ได้ยกให้เป็นของโจทก์แล้ว ข้าฯ ไม่ติดใจที่จะเรียกร้องอีก" ข้อความดังกล่าวไม่ใช่การสละมรดก เพราะการสละมรดกตามความหมายใน ป.พ.พ. มาตรา 1612 ต้องเป็นการสละส่วนของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใด ทั้งบันทึกคำให้การฉบับดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาของ ล. ฝ่ายเดียว ถือไม่ได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1612 โจทก์จึงไม่มีสิทธิในที่ดินมรดกส่วนของ ล.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8267/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดก การครอบครองทรัพย์สินแทนทายาท และการแบ่งมรดกเมื่อมีทายาทจำกัด
จำเลยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกย่อมเป็นตัวแทนของทายาทคือโจทก์ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์1720 ดังนั้น การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกทั้งสองแปลงไว้ ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนโจทก์ด้วยตลอดมา จำเลยจะอ้างว่าจำเลยครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแต่ผู้เดียวโดยจำเลยไม่ได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือหาได้ไม่ หากจำเลยประสงค์จะครอบครองที่ดินแต่ผู้เดียว จำเลยจะต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือไปยังโจทก์ว่าจะไม่ครอบครองที่ดินแทนโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 จำเลยยังมิได้แบ่งปันที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นทรัพย์มรดกที่ยังอยู่ในระหว่างการจัดการ จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมไม่มีสิทธิอ้างอายุความมรดกขึ้นต่อสู้เพื่อที่จะบอกปัดไม่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ และเมื่อถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแทนโจทก์ด้วยตลอดมาเช่นนี้แล้วคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความมรดก โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้ามรดกมีโจทก์และจำเลยเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกเพียง 2 คน จำเลยมิได้ให้การปฎิเสธว่า ยังมีทายาทอื่นอันควรได้รับส่วนแบ่งด้วย จึงต้องฟังตามฟ้อง ดังนั้น การแบ่งที่ดินมรดกทั้งสองแปลง จึงต้องแบ่งให้แก่โจทก์และจำเลยเพียง 2 คน เพราะถือได้ว่าทายาทอื่นนอกจากนี้ไม่มีอีกแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5350/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งทนายโดยไม่ปรากฏใบแต่ง และการแบ่งมรดกในทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยา
แม้จะไม่ปรากฏใบแต่งทนายสำหรับ อ. แต่ อ.ได้เรียงคำฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์จนเสร็จการพิจารณาของศาลชั้นต้นโดยโจทก์ยอมรับเอาผลของการดำเนินกระบวนพิจารณานั้นตลอดมา และฝ่ายจำเลยก็มิได้คัดค้านประการใดมาแต่ต้น ตามพฤติการณ์น่าเชื่อว่าโจทก์ได้ให้ อ.เป็นทนายความของโจทก์ในคดีนี้แล้ว เมื่อปรากฏว่ายังไม่มีใบแต่งทนายสำหรับ อ.อยู่ในสำนวน ศาลก็มีอำนาจที่จะอนุญาตให้แก้ไขจัดทำเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 แม้ศาลชั้นต้นมิได้ให้แก้ไขข้อบกพร่องก่อนพิพากษาคดี แต่โจทก์ก็ได้ยื่นใบแต่งทนายแต่งตั้ง อ.เป็นทนายความในคดีพร้อมกับการยื่นอุทธรณ์ อันเป็นการแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว การดำเนินกระบวนพิจารณาของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ที่ ย.และ จ.ได้มาในระหว่างเป็นสามีภรรยากัน เมื่อ ย.ถึงแก่กรรม การสมรสย่อมสิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมาย ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาก็ต้องแบ่งกันฝ่ายละครึ่ง ดังนั้น จ.จึงยกที่ดินพิพาทให้จำเลยได้เฉพาะส่วนที่เป็นของ จ.เท่านั้น แต่ส่วนที่เป็นของ ย.ต้องเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม โจทก์ทั้งห้าและจำเลยเป็นบุตรของ ย.ซึ่งเป็นเจ้ามรดกโจทก์ทั้งห้าและจำเลยจึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 จ.เป็นคู่สมรส เป็นทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกเสมือนทายาทชั้นบุตร ตามมาตรา 1635 ที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของ ย.ต้องแบ่งออกเป็น 7 ส่วนเท่า ๆ กัน เพื่อแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งห้า จำเลยและ จ.คนละ 1 ส่วน
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า คดีขาดอายุความนั้น ในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้ยกอายุความขึ้นอ้างเป็นประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ ประเด็นเรื่องอายุความจึงมิใช่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ที่ ย.และ จ.ได้มาในระหว่างเป็นสามีภรรยากัน เมื่อ ย.ถึงแก่กรรม การสมรสย่อมสิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมาย ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาก็ต้องแบ่งกันฝ่ายละครึ่ง ดังนั้น จ.จึงยกที่ดินพิพาทให้จำเลยได้เฉพาะส่วนที่เป็นของ จ.เท่านั้น แต่ส่วนที่เป็นของ ย.ต้องเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม โจทก์ทั้งห้าและจำเลยเป็นบุตรของ ย.ซึ่งเป็นเจ้ามรดกโจทก์ทั้งห้าและจำเลยจึงเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 จ.เป็นคู่สมรส เป็นทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกเสมือนทายาทชั้นบุตร ตามมาตรา 1635 ที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของ ย.ต้องแบ่งออกเป็น 7 ส่วนเท่า ๆ กัน เพื่อแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งห้า จำเลยและ จ.คนละ 1 ส่วน
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า คดีขาดอายุความนั้น ในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้ยกอายุความขึ้นอ้างเป็นประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไว้ ประเด็นเรื่องอายุความจึงมิใช่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมียและผลกระทบต่อการแบ่งมรดก รวมถึงอายุความมรดก
บิดามารดาโจทก์อยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยเปิดเผยมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ความเป็นสามีภริยาและบุตรระหว่างบิดามารดาของโจทก์และโจทก์จึงต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งใช้ในขณะนั้น บิดามารดาโจทก์จึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายลักษณะผัวเมีย และโจทก์ย่อมเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา จำเลยมีเจตนาครอบครองที่ดินพิพาทไว้แทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกทุกคน ดังนั้น แม้โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของบิดาโจทก์ผู้ตายให้แบ่งมรดกแก่โจทก์เป็นเวลาเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367และไม่อาจยกอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754ขึ้นใช้ยันโจทก์ผู้เป็นทายาทของเจ้ามรดกได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1774/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินก่อนมรณะและผลกระทบต่อการแบ่งมรดก: การต่อสู้เรื่องพินัยกรรมและเจตนาโอนทรัพย์
โจทก์ฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกจากจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมและทายาทโดยพินัยกรรม การที่จำเลยให้การว่าที่พิพาทเจ้ามรดกยกให้แก่จำเลยก่อนที่เจ้ามรดกถึงแก่กรรม แม้จะให้การด้วยว่าพินัยกรรมปลอม ก็เป็นการต่อสู้ว่าไม่มีข้อกำหนดตามพินัยกรรม เพราะเจ้ามรดกได้โอนทรัพย์ตามพินัยกรรมไปในระหว่างมีชีวิตอยู่ ข้อกำหนดในพินัยกรรมเป็นอันเพิกถอน ซึ่งเป็นเรื่องที่ว่า ไม่มีพินัยกรรมเกี่ยวกับที่พิพาทนั่นเอง คำให้การของจำเลยจึงไม่ขัดกันแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินมรดกที่แบ่งโดยเจตนาของผู้ตาย การฟ้องแย่งคืนโฉนดจากผู้รับโอนจากการกระทำของผู้จัดการมรดก
โจทก์บรรยายฟ้องความว่า ที่ดินตามโฉนดทั้งสามฉบับจะ ต้องตกได้แก่โจทก์ทั้งสามตามลำดับตามคำสั่งของนางผิวจำเลยขอยืมโฉนดที่ดินดังกล่าวไปจากนายเงินผู้จัดการมรดกเพื่อนำไปค้ำประกันเงินกู้ จำนอง และจำนำต่อธนาคารและเอกชนแล้วไม่คืนให้ดังนี้ ที่ดินตามโฉนดดังกล่าวเป็นมรดก ของนางผิวนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นทายาทกับ นายเงินซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก มีความผูกพันกันในฐานะตัวการกับตัวแทน เมื่อนายเงินซึ่งเป็นตัวแทนให้จำเลยยืมโฉนดที่ดินไป แล้วไม่เรียกคืน โจทก์ซึ่งเป็นตัวการย่อมมีสิทธิติดตามและเอาโฉนดที่ดินคืนจากจำเลยได้โจทก์จึง มีอำนาจฟ้อง แม้ที่ดินที่นางผิวจดทะเบียนรับโอนมรดกจากนายเชยเป็น สินสมรสระหว่างนายเงินกับนางผิว แต่นางผิวได้สั่งด้วย วาจาแบ่งที่ดินให้บุตรทั้งแปดคนโดยกำหนดว่าที่ดินแปลงใดและตอนใดได้แก่บุตรคนใด โดยสั่งไว้ก่อนนางผิวถึงแก่กรรมกว่า 10 ปี โดยความเห็นชอบของนายเงินจาก นั้นบุตรทุกคนต่างเข้าครองที่ดินส่วนของตนตลอดมาโจทก์ทั้งสามจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ได้รับแบ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 เมื่อที่ดินซึ่งโจทก์ทั้งสามครอบครองอยู่ตรงกับโฉนดเลขที่ 15338,15339และ 8104 ตามลำดับ นายเงินก็ไม่มีสิทธิโอนที่ดินตามโฉนดดังกล่าวให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกอิสลามและการบังคับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ หากไม่ได้อยู่ในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล
แม้โจทก์และจำเลยจะเป็นอิสลามศาสนิกและเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับเรื่องมรดกอิสลามศาสนิกก็ตาม แต่ถ้ามิใช่เป็นคดีที่เกิดขึ้นในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูลแล้วก็จะนำลัทธิศาสนาอิสลามหรือกฎหมายอิสลามมาใช้บังคับในการแบ่งปันทรัพย์มรดกแทนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการแบ่งมรดกไม่ได้ เพราะเป็นการขัดต่อบทบัญญัติในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานีนราธิวาสยะลาและสตูล พ.ศ. 2489 ฉะนั้น ถ้าได้มีการนำวิธีการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามลัทธิศาสนาอิสลามมาใช้ในการแบ่งปันทรัพย์มรดกก็จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา 1750 ด้วย จึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
แม้จะได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกกันจริงตามวิธีการแบ่งในลัทธิศาสนาอิสลาม และโจทก์ตกลงยินยอมตามผลการแบ่งปันดังกล่าว แต่บันทึกการแบ่งปันนั้นมีแต่รายการทรัพย์สินไม่มีข้อตกลงใด ๆ และไม่มีผู้ใดลงชื่อในบันทึกนั้นเลย ดังนี้ ไม่เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1750 วรรค 2 จึงหามีผลสมบูรณ์อันจะบังคับกันระหว่างคู่กรณีได้ไม่ และเมื่อโจทก์กับจำเลยยังครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันตลอดมา ซึ่งยังถือไม่ได้ว่าได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกด้วยต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัดตามมาตรา 1750 วรรคแรก แล้ว ทรัพย์พิพาท จึงยังถือว่าครอบครองร่วมกันมาโดยมิได้มีการแบ่งปันตามกฎหมาย โจทก์ย่อมขอให้แบ่งได้ตามมาตรา 1748
แม้จะได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกกันจริงตามวิธีการแบ่งในลัทธิศาสนาอิสลาม และโจทก์ตกลงยินยอมตามผลการแบ่งปันดังกล่าว แต่บันทึกการแบ่งปันนั้นมีแต่รายการทรัพย์สินไม่มีข้อตกลงใด ๆ และไม่มีผู้ใดลงชื่อในบันทึกนั้นเลย ดังนี้ ไม่เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1750 วรรค 2 จึงหามีผลสมบูรณ์อันจะบังคับกันระหว่างคู่กรณีได้ไม่ และเมื่อโจทก์กับจำเลยยังครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันตลอดมา ซึ่งยังถือไม่ได้ว่าได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกด้วยต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัดตามมาตรา 1750 วรรคแรก แล้ว ทรัพย์พิพาท จึงยังถือว่าครอบครองร่วมกันมาโดยมิได้มีการแบ่งปันตามกฎหมาย โจทก์ย่อมขอให้แบ่งได้ตามมาตรา 1748
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 406/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกกรณีทายาทบวชเป็นพระ และสิทธิของภริยาผู้รับมรดกแทนที่
จ. กับ ข. ซึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว มีบุตร 6 คน บุตรของ จ.ข. ทุกคนเว้น ธ. ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุ ได้ร่วมกันครอบครองมรดกตลอดมา ก. บุตรของ จ.ข ตายหลัง จ.ข. มรดกของจ.ข. ที่ ก. ได้รับจึงตกเป็นของโจทก์ที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาของ ก. ในฐานะผู้รับมรดกของ ก. หาใช่ในฐานะผู้รับมรดกแทนที่ ก. ไม่ แต่เมื่อพิเคราะห์ฟ้องของโจทก์แล้ว เป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์ที่ 3 ขอรับมรดกของ ก.นั่นเอง โจทก์ที่ 3 จึงมีสิทธิขอแบ่งทรัพย์มรดก
ธ. ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุอยู่ก่อน ข. เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตลอดมาเป็นเวลา 20 ปีแล้ว ไม่ได้เข้ามาร่วมครอบครองทรัพย์มรดก คงมีแต่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 (ซึ่งเป็นบุตรของ จ.ข. เจ้ามรดก) และโจทก์ที่ 3 (ซึ่งเป็นภริยาของ ก.ซึ่งเป็นบุตรของ จ.ข. และถึงแก่ความตายไปแล้ว) จำเลย และ ส. ครอบครองร่วมกันมา โจทก์ทั้ง 3 จำเลย และ ส. ย่อมมีสิทธิในทรัพย์มรดกรายนี้เท่า ๆ กัน จึงให้แบ่งทรัพย์มรดกออกเป็น 5 ส่วน (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7-8/2510)
ธ. ซึ่งบวชเป็นพระภิกษุอยู่ก่อน ข. เจ้ามรดกถึงแก่ความตายตลอดมาเป็นเวลา 20 ปีแล้ว ไม่ได้เข้ามาร่วมครอบครองทรัพย์มรดก คงมีแต่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 (ซึ่งเป็นบุตรของ จ.ข. เจ้ามรดก) และโจทก์ที่ 3 (ซึ่งเป็นภริยาของ ก.ซึ่งเป็นบุตรของ จ.ข. และถึงแก่ความตายไปแล้ว) จำเลย และ ส. ครอบครองร่วมกันมา โจทก์ทั้ง 3 จำเลย และ ส. ย่อมมีสิทธิในทรัพย์มรดกรายนี้เท่า ๆ กัน จึงให้แบ่งทรัพย์มรดกออกเป็น 5 ส่วน (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7-8/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1187/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินมรดกก่อนแบ่ง: สัญญาไม่เป็นโมฆะ แต่ศาลไม่บังคับโอนทั้งหมด
พระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งทรงให้จัดแบ่งมรดกของเจ้ามรดกให้แก่ทายาทตามส่วน ย่อมใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
ทายาทคนหนึ่งเอาที่ดินกองมรดกยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทไปขายทั้งหมดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาทอื่นผู้ซื้อจะขอให้ศาลบังคับทายาทผู้ขายโอนขายที่ดินกองมรดกทั้งหมด ศาลย่อมไม่อาจบังคับให้ได้ แต่สัญญาจะซื้อขายนั้นไม่เป็นโมฆะ ศาลจึงไม่ตัดสิทธิที่จะไปว่ากล่าวเอาแก่ทายาทผู้ขายในส่วนอันเป็นของทายาทผู้ขายนั้นโดยเฉพาะ
ทายาทคนหนึ่งเอาที่ดินกองมรดกยังมิได้แบ่งปันกันระหว่างทายาทไปขายทั้งหมดโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาทอื่นผู้ซื้อจะขอให้ศาลบังคับทายาทผู้ขายโอนขายที่ดินกองมรดกทั้งหมด ศาลย่อมไม่อาจบังคับให้ได้ แต่สัญญาจะซื้อขายนั้นไม่เป็นโมฆะ ศาลจึงไม่ตัดสิทธิที่จะไปว่ากล่าวเอาแก่ทายาทผู้ขายในส่วนอันเป็นของทายาทผู้ขายนั้นโดยเฉพาะ