พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1168/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาการเสียภาษีป้ายตามนิยามของ พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์การใช้ป้ายและการเชื่อมโยงของป้าย
แม้ป้ายข้อความยินดีรับบัตร SYNERGY โลโก้ESSOและเครื่องหมายลูกศรบอกทางเข้าซึ่งติดตั้งอยู่บริเวณทางเข้าสถานีบริการน้ำมันของโจทก์จะอยู่ในกรอบพลาสติกนูนแยกขอบเขตของแต่ละป้ายได้ แต่ก็อยู่ในโครงเหล็กแผ่นเดียวกันถือว่าเป็นป้ายแผ่นเดียวกัน โจทก์ทำขึ้นเพื่อเชิญชวนลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิกบัตร SYNERGY เข้าใช้บริการของโจทก์ จึงเป็นการใช้ป้ายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อโฆษณาและหารายได้ ถือว่าเป็นป้ายตามคำนิยามศัพท์ มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 ต้องเสียภาษีป้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหมิ่นประมาท: การบรรยายฟ้อง & การเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหาย เพราะการเป็นผู้เสียหายจะต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย โดยมิได้กล่าวไว้อย่างชัดแจ้งว่าศาลอุทธรณ์ภาค 2วินิจฉัยเรื่องผู้เสียหายไม่ถูกต้องอย่างไร และการเป็นผู้เสียหายจะต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 195, 225ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกล่าวใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่ 3และใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่ 3 โดยวิธีการโฆษณาด้วยเอกสาร เป็นการบรรยายฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว ส่วนเรื่องที่ว่าบุคคลที่ 3 เป็นใครจำเลยกระทำการหมิ่นประมาทโจทก์ในลักษณะของการโฆษณาอย่างไรแค่ไหนเพียงใดจำเลยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาหมิ่นประมาทตามฟ้องที่ไหนเมื่อใดนั้น เป็นราย-ละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ในความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้น เมื่อจำเลยผิดตาม ป.อ.มาตรา 328 แล้ว ก็ไม่จำต้องยกมาตรา 326 ขึ้นปรับบทลงโทษอีก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกล่าวใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่ 3และใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่ 3 โดยวิธีการโฆษณาด้วยเอกสาร เป็นการบรรยายฟ้องที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว ส่วนเรื่องที่ว่าบุคคลที่ 3 เป็นใครจำเลยกระทำการหมิ่นประมาทโจทก์ในลักษณะของการโฆษณาอย่างไรแค่ไหนเพียงใดจำเลยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาหมิ่นประมาทตามฟ้องที่ไหนเมื่อใดนั้น เป็นราย-ละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ในความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้น เมื่อจำเลยผิดตาม ป.อ.มาตรา 328 แล้ว ก็ไม่จำต้องยกมาตรา 326 ขึ้นปรับบทลงโทษอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโฆษณาหลอกลวงต้องเป็นการโฆษณาต่อประชาชนทั่วไป ไม่ใช่บุคคลที่รู้จักกันดี จึงไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน
จำเลยทั้งสองโฆษณาหลอกลวงผู้ที่มาเข้าโบสถ์ว่าจำเลยทั้งสองเป็นหุ้นส่วนในบริษัท ท. สามารถส่งคนงานไปทำงานต่างประเทศได้แต่บุคคลเหล่านั้นต่างเป็นคนหมู่บ้านหรือท้องถิ่นเดียวกันนับถือศาสนาคริสต์ ด้วยกัน ปฏิบัติศาสนกิจที่โบสถ์เดียวกันจำเลยทั้งสองเป็นครูย่อมเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่บ้าน การโฆษณาต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งรู้จักจำเลยเป็นอย่างดี ย่อมมิใช่โฆษณาต่อบุคคลทั่วไปโดยไม่จำกัดว่าเป็นบุคคลใด จึงยังไม่เป็นการโฆษณาต่อประชาชนอันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3462/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกประชุมผู้ถือหุ้นโดยวิธีโฆษณา และความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อการละเมิดของลูกจ้าง
คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175 อาจกระทำได้โดยทางใดทางหนึ่งใน 2 ทาง คือ ลงพิมพ์โฆษณาอย่างน้อยสองคราวในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ฉบับหนึ่งก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน หรือส่งทางไปรษณีย์ไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เมื่อจำเลยผู้เป็นกรรมการของบริษัทเลือกลงพิมพ์โฆษณาแล้ว ก็ไม่จำเป็นจะต้องส่งคำบอกกล่าวทางไปรษณีย์อีกแม้ในการเรียกประชุมใหญ่ครั้งก่อน ๆ จำเลยได้ส่งคำบอกกล่าวทางไปรษณีย์ถึงโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น แต่การเรียกประชุมใหญ่ครั้งนี้จำเลยบอกกล่าวโดยลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ ก็เป็นสิทธิของจำเลยที่จะกระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ถือไม่ได้ว่าเป็นการไม่สุจริต
ฎีกาว่าคะแนนเสียงในการประชุมใหญ่วิสามัญมีคะแนนเสียงไม่ถึง3 ใน 4 หรือ 2 ใน 3 ของคะแนนเสียงทั้งหมด เป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.
ฎีกาว่าคะแนนเสียงในการประชุมใหญ่วิสามัญมีคะแนนเสียงไม่ถึง3 ใน 4 หรือ 2 ใน 3 ของคะแนนเสียงทั้งหมด เป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของฟ้องอาญาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา: การบรรยายองค์ประกอบความผิดต้องชัดแจ้งให้จำเลยเข้าใจ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานหมิ่นประมาทโดยโฆษณาด้วยเอกสารหนังสือพิมพ์ โดยกล่าวในฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ข่าวภาพ จำเลยสมคบร่วมกันกระทำความผิดหมิ่นประมาทโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ให้ข่าว และกล่าวข้อความหมิ่นประมาทโจทก์แก่ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ข่าวภาพ โดยจำเลยที่ 1 ตั้งใจก่อให้เกิดการลงพิมพ์โฆษณาหมิ่นประมาทโจทก์ โดยให้ผู้สื่อข่าวนำข้อความที่หมิ่นประมาทโจทก์นั้น ไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ข่าวภาพ และหนังสือพิมพ์ข่าวภาพได้ลงพิมพ์โฆษณาข้อความหมิ่นประมาทโจทก์แล้ว ดังนี้ ถือว่าฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1253/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์การพิมพ์เผยแพร่และการโฆษณา จำเป็นต้องพิสูจน์การกระทำร่วมกันหรือความรู้เห็นของผู้พิมพ์
+++พิมพ์หนังสือที่มีผู้มาจ้างโดยเจ้าของสิขสิทธิหนังสือนี้ได้อนุญาตให้พิมพ์+++แล้วดังนี้ เจ้าของโรงพิมพ์ยังไม่มีผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ ความผิดที่เกิดขึ้นด้วยการ+++โฆษนาสิ่งพิมพ์นั้น ถ้าไม่ปรากฏว่าผู้พิมพ์โฆษนา+++ด้วยแล้ว ผู้พิมพ์โฆษนายังไม่มีความผิด
ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา ม. +++
คดีที่พะยานให้การไว้ 2 ครั้ง ++++ ไต่สวนมูลฟ้องครั้ง 1 ในการพิจารณาครั้ง 1 เมื่อ++สงสัยในคำให้การชั้น พิจารณาศาลอาจดูคำให้การ ขั้นไต่สวนมูลฟ้องเป็นการอธิบายความหมายให้แจ่มแจ้งได้
ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา ม. +++
คดีที่พะยานให้การไว้ 2 ครั้ง ++++ ไต่สวนมูลฟ้องครั้ง 1 ในการพิจารณาครั้ง 1 เมื่อ++สงสัยในคำให้การชั้น พิจารณาศาลอาจดูคำให้การ ขั้นไต่สวนมูลฟ้องเป็นการอธิบายความหมายให้แจ่มแจ้งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4596/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าต้องมีชื่อเสียงแพร่หลาย การโฆษณาทางอินเทอร์เน็ตและเคเบิลทีวีอาจไม่เพียงพอ
โจทก์อุทธรณ์ว่า ผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำขอเลขที่ 479038 มีเจตนาไม่สุจริต แต่ปรากฏว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางจะรับอุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนนี้ขึ้นมาด้วย ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็ไม่รับวินิจฉัยให้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ในการพิจารณาเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปนั้น ย่อมจะต้องพิจารณาจากการจำหน่ายสินค้า การใช้ หรือการโฆษณาเครื่องหมายจนเป็นที่แพร่หลายทำให้สาธารณชนทั่วไป หรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักเป็นอย่างดี และเครื่องหมายนั้นจะต้องมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้บริโภค
พยานหลักฐานของโจทก์เท่าที่นำสืบมานั้น ส่วนใหญ่เป็นหลักฐานในปี 2545 และเป็นการโฆษณาสินค้าบนอินเทอร์เน็ต รวมถึงการออกรายการในโทรทัศน์ระบบเคเบิล ซึ่งไม่แน่ว่าสาธารณชนทั่วไป หรือแม้แต่สาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องกับกีฬากอล์ฟในประเทศไทย หรือผู้บริโภคทั่วไปจะเข้าถึงการโฆษณาและการออกรายการดังกล่าวหรือไม่ พยานหลักฐานของโจทก์เท่าที่นำสืบมาจึงยังไม่พอรับฟังได้ว่าเครื่องหมายการค้า/บริการของโจทก์คำว่า "Golf Channel" เป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป
ในการพิจารณาเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปนั้น ย่อมจะต้องพิจารณาจากการจำหน่ายสินค้า การใช้ หรือการโฆษณาเครื่องหมายจนเป็นที่แพร่หลายทำให้สาธารณชนทั่วไป หรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักเป็นอย่างดี และเครื่องหมายนั้นจะต้องมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในหมู่ผู้บริโภค
พยานหลักฐานของโจทก์เท่าที่นำสืบมานั้น ส่วนใหญ่เป็นหลักฐานในปี 2545 และเป็นการโฆษณาสินค้าบนอินเทอร์เน็ต รวมถึงการออกรายการในโทรทัศน์ระบบเคเบิล ซึ่งไม่แน่ว่าสาธารณชนทั่วไป หรือแม้แต่สาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องกับกีฬากอล์ฟในประเทศไทย หรือผู้บริโภคทั่วไปจะเข้าถึงการโฆษณาและการออกรายการดังกล่าวหรือไม่ พยานหลักฐานของโจทก์เท่าที่นำสืบมาจึงยังไม่พอรับฟังได้ว่าเครื่องหมายการค้า/บริการของโจทก์คำว่า "Golf Channel" เป็นเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป