พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6975/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง, อายุความ, การโต้แย้งคำสั่งศาล, และการดำเนินการตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาเพียงว่าทนายจำเลยแถลงโต้แย้งคัดค้านเฉพาะคำสั่งที่อนุญาตตามคำร้องฉบับลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2541 เท่านั้น ดังนั้น การที่ทนายจำเลยเพียงแต่จดแจ้งข้อโต้แย้งคัดค้านไว้ในคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์ฉบับลงวันที่ 5 มกราคม 2542 ถือไม่ได้ว่าทนายจำเลยโต้แย้งคำสั่งศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 26 และมาตรา 226 จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องตามคำร้องฉบับดังกล่าว
ในส่วนที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่าภายหลังจากแจ้งยกเลิกการเป็นสมาชิกบัตรแก่จำเลยแล้วจำเลยนำเงินมาชำระหนี้คืนโจทก์ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2540 เป็นเงินจำนวน 54,200 บาท เป็นการเพิ่มเติมฟ้องในสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นที่จำเลยในการต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ซึ่งการชำระหนี้บางส่วนย่อมทำให้อายุความสะดุดหยุดลง การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยไม่ได้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยทราบล่วงหน้าก่อนมีคำสั่งจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 181 (1) แต่อย่างไรก็ดี เมื่อจำเลยให้การว่าคดีขาดอายุความ แม้จะไม่มีการเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าว ศาลก็สามารถหยิบยกเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงโดยการชำระหนี้บางส่วนซึ่งปรากฏในทางพิจารณาแล้วขึ้นวินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความได้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
ในส่วนที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่าภายหลังจากแจ้งยกเลิกการเป็นสมาชิกบัตรแก่จำเลยแล้วจำเลยนำเงินมาชำระหนี้คืนโจทก์ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2540 เป็นเงินจำนวน 54,200 บาท เป็นการเพิ่มเติมฟ้องในสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นที่จำเลยในการต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ซึ่งการชำระหนี้บางส่วนย่อมทำให้อายุความสะดุดหยุดลง การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยไม่ได้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยทราบล่วงหน้าก่อนมีคำสั่งจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 181 (1) แต่อย่างไรก็ดี เมื่อจำเลยให้การว่าคดีขาดอายุความ แม้จะไม่มีการเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าว ศาลก็สามารถหยิบยกเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงโดยการชำระหนี้บางส่วนซึ่งปรากฏในทางพิจารณาแล้วขึ้นวินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความได้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6541/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการพิจารณาคดีมโนสาเร่ที่ผิดระเบียบ การรับฟังพยานหลักฐานโดยไม่ให้โอกาสโต้แย้ง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาคดีไม่มีข้อยุ่งยากอย่างคดีมโนสาเร่ ซึ่งกฎหมายให้ศาลดำเนินการพิจารณาไปโดยไม่ชักช้า แต่ต้องมิให้เป็นการเสียหายแก่การต่อสู้คดีตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 196 เมื่อปรากฏว่าจำเลยมาศาลในวันที่กำหนดไว้ในหมายเรียกและยื่นคำให้การเป็นหนังสือพร้อมกับฟ้องแย้งมาในคำให้การด้วย ศาลชั้นต้นชอบที่จะตรวจดูคำให้การและฟ้องแย้งนั้น แล้วสั่งให้รับไว้หรือคืนไปหรือสั่งไม่รับตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสี่ เสียก่อน หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฟ้องแย้งและยังคงให้ดำเนินการพิจารณาอย่างคดีมโนสาเร่ต่อไป ศาลชั้นต้นก็ต้องสอบถามคำให้การของโจทก์ทั้งสองก่อนว่าโจทก์ทั้งสองจะยื่นคำให้การแก้ฟ้องแย้งเป็นหนังสือหรือจะให้การด้วยวาจาหรือไม่ตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 193 วรรคสาม การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การอย่างเดียวโดยยังไม่มีคำสั่งฟ้องแย้งของจำเลยว่า รับหรือไม่รับหรือคืนแก่จำเลย และดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ทั้งสองจนเสร็จสิ้นแล้วจึงมีคำสั่งรับฟ้องแย้งของจำเลยในภายหลัง และดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยโดยไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้แจ้งคำสั่งรับฟ้องแย้งของจำเลยให้โจทก์ทั้งสองทราบและสอบถามโจทก์ทั้งสองว่าจะให้การแก้ฟ้องแย้งด้วยวาจาหรือกำหนดให้โจทก์ทั้งสองแก้ฟ้องแย้งด้วยวาจาหรือไม่ หรือโจทก์ทั้งสองไม่ให้การแก้ฟ้องแย้งหรือไม่ จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ และการที่ศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานของจำเลยซึ่งนำสืบภายหลังว่าจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองครบถ้วนแล้ว โดยโจทก์ทั้งสองไม่มีโอกาสนำสืบแสดงพยานหลักฐานให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในการพิจารณาคดีและการพิจารณาพยานหลักฐาน เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนคำพิพากษาและคำสั่งนั้นเสียได้ แม้โจทก์ทั้งสองจะไม่ได้มีคำขอเช่นนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบมาตรา 195, 243, 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงประเภทคดีจากปลดเปลื้องทุกข์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ กรณีโต้แย้งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนโดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่คำนวณเป็นราคาเงินได้ แต่เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้คัดค้าน ผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท คดีจึงเปลี่ยนเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็นคดีมีทุนทรัพย์ มิใช่คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้อีกต่อไป เมื่อทุนทรัพย์คดีนี้ไม่เกิน 300,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ศาลจังหวัดชอบที่จะมีคำสั่งให้โอนคดีเรื่องนี้ไปยังศาลแขวงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1809/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ภาษีและการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: ข้อจำกัดการอุทธรณ์และการประเมินภาษี
เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินแก่โจทก์โดยแยกเป็นเรื่องแจ้งการประเมินเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย 1 ฉบับภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ฉบับ ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย 1 ฉบับ และภาษีการค้า 2 ฉบับ รวมเป็น 7 ฉบับ แต่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รวมมาในฉบับเดียวกัน โดยข้อความในอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวล้วนเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับภาษีการค้า ส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น โจทก์ได้กล่าวโต้แย้งไว้ในอุทธรณ์แต่เพียงว่า เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ แต่มิได้กล่าวว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ทั้งไม่มีข้อความใดที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์โต้แย้งคัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) (9) (13) (18) แห่งป.รัษฎากร จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในประเด็นเรื่องรายจ่ายต้องห้ามต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในประเด็นนี้ ก็หามีผลให้อุทธรณ์ในประเด็นนี้กลายเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธินำประเด็นนี้มาฟ้องต่อศาล
มาตรา 67 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการตามมาตรา 68 จึงให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดทำประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วยื่นรายการเพื่อชำระภาษีจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยให้ยื่นชำระภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว และหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควรก็จะต้องรับผิดตามมาตรา 67 ตรีซึ่งกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาด แล้วแต่กรณี จึงถือได้ว่าการฝ่าฝืนมาตรา 67 ทวิ ได้มีบทบัญญัติกำหนดความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้วอีกประการหนึ่งมาตรา 67 ทวิ นี้เป็นเรื่องของการประมาณการและหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 เจ้าพนักงานประเมินจะทราบและประเมินให้ชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มได้ทันทีเมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบภงด.50 เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่จำต้องออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 กรณีจึงมิใช่เรื่องแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องและมีการออกหมายเรียกไต่สวนตรวจสอบแล้วจึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจพบดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 19 และมาตรา 20เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22
มาตรา 67 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการตามมาตรา 68 จึงให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดทำประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วยื่นรายการเพื่อชำระภาษีจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยให้ยื่นชำระภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว และหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควรก็จะต้องรับผิดตามมาตรา 67 ตรีซึ่งกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาด แล้วแต่กรณี จึงถือได้ว่าการฝ่าฝืนมาตรา 67 ทวิ ได้มีบทบัญญัติกำหนดความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้วอีกประการหนึ่งมาตรา 67 ทวิ นี้เป็นเรื่องของการประมาณการและหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 เจ้าพนักงานประเมินจะทราบและประเมินให้ชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มได้ทันทีเมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบภงด.50 เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่จำต้องออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 กรณีจึงมิใช่เรื่องแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องและมีการออกหมายเรียกไต่สวนตรวจสอบแล้วจึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจพบดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 19 และมาตรา 20เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่โต้แย้งคำสั่งศาลระหว่างพิจารณา และการรับฟังพยานหลักฐานจากเอกสารที่เจ้าหน้าที่รับรอง
การชี้สองสถานของศาลชั้นต้น หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นสั่งไม่ชอบอย่างไรก็ชอบที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ เพราะคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งนั้นต่อไป ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2) เมื่อจำเลยมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยจึงไม่อาจฎีกาในปัญหานี้ได้
การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้มีการนำชี้หรือทำแผนที่พิพาทประกอบคดีซึ่งหากจำเลยมีความจำนงที่จะดำเนินการเช่นนั้น ก็ชอบที่จะแสดงความจำนงต่อศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 แต่จำเลยมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จำเลยจึงฎีกาว่าศาลชั้นต้นไม่ได้มีการนำชี้หรือทำแผนที่พิพาทประกอบคดีเป็นการไม่ชอบไม่ได้
แบบแจ้งการครอบครองที่ดินแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แม้จะเป็นสำเนาเอกสารก็ตาม แต่เมื่อเอกสารดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินรับรองความถูกต้องแล้วและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ซักค้านหรือนำสืบให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินนั้นไม่มีหน้าที่รับรองเอกสารดังกล่าวอย่างไร ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้มีการนำชี้หรือทำแผนที่พิพาทประกอบคดีซึ่งหากจำเลยมีความจำนงที่จะดำเนินการเช่นนั้น ก็ชอบที่จะแสดงความจำนงต่อศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 แต่จำเลยมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จำเลยจึงฎีกาว่าศาลชั้นต้นไม่ได้มีการนำชี้หรือทำแผนที่พิพาทประกอบคดีเป็นการไม่ชอบไม่ได้
แบบแจ้งการครอบครองที่ดินแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แม้จะเป็นสำเนาเอกสารก็ตาม แต่เมื่อเอกสารดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินรับรองความถูกต้องแล้วและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ซักค้านหรือนำสืบให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินนั้นไม่มีหน้าที่รับรองเอกสารดังกล่าวอย่างไร ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งคำสั่งศาลและการรับฟังพยานหลักฐานเอกสาร การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาท
การชี้สองสถานของศาลชั้นต้น หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นสั่งไม่ชอบอย่างไรก็ชอบที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เพราะคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งนั้นต่อไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) เมื่อจำเลยมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวจำเลยจึงไม่อาจฎีกาในปัญหานี้ได้ การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้มีการนำชี้หรือทำแผนที่พิพาทประกอบคดีซึ่งหากจำเลยมีความจำนงที่จะดำเนินการเช่นนั้นก็ชอบที่จะแสดงความจำนงต่อศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 แต่จำเลยมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จำเลยจึงฎีกาว่าศาลชั้นต้นไม่ได้มีการนำชี้หรือทำแผนที่พิพาทประกอบคดีเป็นการไม่ชอบไม่ได้ แบบแจ้งการครอบครองที่ดินแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์และหนังสือรับรองการทำประโยชน์แม้จะเป็นสำเนาเอกสารก็ตาม แต่เมื่อเอกสารดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินรับรองความถูกต้องแล้วและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ซักค้านหรือนำสืบให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินนั้นไม่มีหน้าที่รับรองเอกสารดังกล่าวอย่างไร ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7225/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาหนี้สินล้มละลายของลูกหนี้ร่วมแต่ละราย และการโต้แย้งคำสั่งศาลที่ไม่ปฏิบัติตาม
การพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่อาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือไม่ หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ร่วมคนใดล้มละลายหรือไม่ เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคนไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่น
คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีล้มละลายที่ให้งดสืบพยานจำเลยที่เหลือเพราะทนายความจำเลยทั้งสามไม่มาศาลและไม่มีพยานมาสืบเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 153 คู่ความจะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ จึงจะอุทธรณ์ฎีกาได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยที่เหลือเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2539 เวลา 10 นาฬิกาเมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีโอกาสเพียงพอที่จะโต้แย้งคำสั่งได้ แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้โต้แย้งไว้ ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะอุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและให้สืบพยานจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่อไปอีกไม่ได้
คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีล้มละลายที่ให้งดสืบพยานจำเลยที่เหลือเพราะทนายความจำเลยทั้งสามไม่มาศาลและไม่มีพยานมาสืบเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 153 คู่ความจะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ จึงจะอุทธรณ์ฎีกาได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยที่เหลือเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2539 เวลา 10 นาฬิกาเมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีโอกาสเพียงพอที่จะโต้แย้งคำสั่งได้ แต่จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้โต้แย้งไว้ ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะอุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและให้สืบพยานจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่อไปอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชัดแจ้ง: การฎีกาโดยไม่โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ทำให้ฎีกานั้นไม่เป็นไปตามรูปแบบที่กฎหมายกำหนด
ฎีกาของโจทก์ทั้งเก้ามิได้กล่าวคัดค้านโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค3ว่าวินิจฉัยข้อเท็จจริงข้อใดตอนใดผิดถูกอย่างใดเพียงแต่กล่าวทบทวนคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อุทธรณ์ภาค3และเนื้อหาสาระในฎีกาแทบจะเหมือนกับที่กล่าวไว้ในอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 565/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมและการมีสิทธิอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงประเด็นเดียวว่าจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าตามฟ้องหรือไม่ จำเลยได้แถลงโต้แย้งด้วยวาจาขอให้ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องสัญญาเช่าต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไว้ด้วยศาลชั้นต้นมิได้ชี้ขาดคำคัดค้านของจำเลย แต่กลับมีคำสั่งให้จำเลยยื่นบันทึกข้อโต้แย้งต่อศาลภายใน 7 วัน ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมอีกว่า สัญญาเช่าท้ายฟ้องเป็นสัญญาเช่าต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาหรือไม่ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องดังกล่าวว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลง ให้ยกคำร้อง จึงเป็นการชี้ขาดคำคัดค้านตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183 วรรคสามจำเลยต้องโต้แย้งไว้ตามมาตรา 226 วรรคสอง จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ได้ แม้จำเลยจะระบุในท้ายคำร้องไว้ว่าให้ถือคำร้องฉบับดังกล่าวเป็นคำโต้แย้งคำสั่งศาลเพื่อสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาต่อไปก็ตามก็เป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งชี้ขาด ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2) จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2459/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังเอกสารสำเนาแทนต้นฉบับ: จำเลยต้องโต้แย้งการไม่มีอยู่จริง หรือความไม่ถูกต้องของเอกสาร เพื่อให้ศาลไม่รับฟัง
จำเลยเพียงแต่โต้แย้งไว้ในคำให้การว่าเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข5(ซึ่งต่อมาในชั้นพิจารณาศาลหมายจ.6)เป็นเอกสารที่โจทก์ทำขึ้นฝ่ายเดียวจำเลยไม่ขอรับรองโดยจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านว่าเอกสารดังกล่าวไม่มีต้นฉบับหรือว่าต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วนหรือสำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา125(เดิม)จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้คัดค้านเอกสารหมายจ.6ไว้แล้วศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารดังกล่าวซึ่งเป็นสำเนาแทนต้นฉบับได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตามมาตรา93