พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3344/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกัน การโต้แย้งสิทธิ และการเพิกถอนทะเบียน
การที่จำเลยไปยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งมีส่วนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้ จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้กระทำการอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง ภายใน 5 ปีนับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นตามมาตรา 40 ทั้งนี้ไม่ว่าโจทก์จะได้ยื่นคำคัดค้านต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 35 ไว้หรือไม่ก็ตาม เพราะตามบทบัญญัติ มาตรา 67 วรรคหนึ่ง มิได้มีข้อกำหนดจำกัดสิทธิของโจกท์ว่าจะต้องยื่นคำคัดค้านต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ก่อนฟ้องคดี
เมื่อพฤติการณ์ของจำเลยชี้ให้เห็นว่าจำเลยจงใจลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้ราคาสินค้า จะแตกต่างกันอย่างมาก ก็ไม่ใช่เหตุผลที่จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในกรณีนี้ได้ เพราะผู้ซื้ออาจหลงผิดไปว่าเป็นสินค้า ลดราคาของโจทก์ได้ เมื่อพิจารณาประกอบกับข้อที่ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับโจทก์ จึงนับได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือ หลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ จึงไม่ใช่เครื่องหมายการค้าที่จะพึงรับจดทะเบียนให้ได้ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 6 (33) และ 13 (2)
เมื่อพฤติการณ์ของจำเลยชี้ให้เห็นว่าจำเลยจงใจลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แม้ราคาสินค้า จะแตกต่างกันอย่างมาก ก็ไม่ใช่เหตุผลที่จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในกรณีนี้ได้ เพราะผู้ซื้ออาจหลงผิดไปว่าเป็นสินค้า ลดราคาของโจทก์ได้ เมื่อพิจารณาประกอบกับข้อที่ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกับโจทก์ จึงนับได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือ หลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ จึงไม่ใช่เครื่องหมายการค้าที่จะพึงรับจดทะเบียนให้ได้ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 6 (33) และ 13 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8992/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าของร่วมที่ดินในการขอเป็นคู่ความเพื่อคุ้มครองสิทธิเมื่อถูกโต้แย้งจากการจดทะเบียนโอนที่ดิน
จำเลยร่วมกันปลอมหนังสือมอบอำนาจไปเป็นหลักฐานการจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่กัน การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิ ทำให้ผู้ร้องสอดซึ่งเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินพิพาทได้รับความเสียหายในผลแห่งคดีหากศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยเป็นฝ่ายชนะผู้ร้องสอดจึงมีสิทธิร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องสอดที่มีอยู่ในที่ดินพิพาทนั้นแม้ท้ายคำร้องขอจะระบุว่า ขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ ก็ต้องถือว่าเป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้ความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) โดยอาศัยคำฟ้องของโจทก์เป็นของผู้ร้องสอด หาใช่เป็นคำร้องสอดเข้าเป็นคู่ความตามมาตรา 57(2) ไม่และศาลมีอำนาจที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตามมาตรา 57(1) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8124/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกโฉนดที่ดิน: การโต้แย้งสิทธิและการพิจารณาหลักเกณฑ์การครอบครองก่อนกฎหมายหวงห้าม
โจทก์ยื่นคำขอรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินต่อจำเลย จำเลยเห็นว่าที่ดินของโจทก์เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะออกโฉนดที่ดินให้ได้จึงประกาศจะแจกโฉนดที่ดินให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2524 โดยกำหนดว่าถ้าผู้ใดจะคัดค้านให้ยื่นคำคัดค้านภายใน 30 วัน นับแต่วันประกาศ หากกระทรวงการคลังได้รับแจ้งจากจำเลยตั้งแต่ปี 2526 แล้วมิได้คัดค้านอย่างใดจนบัดนี้ต้องถือว่าไม่ติดใจคัดค้านเพราะเนิ่นนานเกินสมควรแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยปฏิเสธไม่ยอมแจกโฉนดที่ดินให้โจทก์โดยอ้างว่ากระทรวงการคลังยังไม่ตอบไม่ขัดข้องและอ้างหนังสือสั่งการของกรมที่ดินแจ้งทางปฏิบัติเกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดินซึ่งเป็นเรื่องภายใน ถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 727/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเกี่ยวกับที่ดินที่งอกริมตลิ่งและการพิสูจน์สิทธิในที่ดิน การบรรยายฟ้องต้องชัดเจนถึงการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้ขอออกโฉนดที่ดินที่งอกริมตลิ่งในที่ดินของตน เจ้าพนักงานที่ดินไปทำการรังวัดที่ดินของโจทก์ตามฟ้อง จำเลยได้คัดค้านการขอออกโฉนดที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย หากนำที่ดินที่จำเลยคัดค้านนั้นไปให้ผู้อื่นเช่า โจทก์จะได้ค่าเช่าไม่ต่ำกว่าเดือนละ 3,000บาท กับมีคำขอบังคับ 2 ประการ คือ ให้ขับไล่จำเลยกับบริวารและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินของโจทก์และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเดือนละ 3,000 บาท ตามฟ้องดังกล่าว แสดงว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิโจทก์ในการรังวัดขอออกโฉนดที่ดินแล้วและตามคำคัดค้านกับบันทึกถ้อยคำของจำเลยเอกสารท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องก็ระบุชัดว่า จำเลยได้ครอบครองที่ดินที่งอกริมตลิ่งมานาน 4 ปี แล้ว ก็เป็นการโต้แย้งสิทธิในที่ดินที่งอกริมตลิ่งว่าเป็นของฝ่ายใดเพียงใด ข้อหาตามฟ้องเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3997/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริต และการแจ้งความร้องทุกข์ ไม่ถือเป็นการละเมิด
จำเลยที่ 1 ฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งให้ขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าซื้อที่ดินพิพาทมาจากผู้มีชื่อ เป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 โต้แย้งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทกัน ส่วนการที่จำเลยที่ 2 รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ก็โดยอาศัยหลักฐานการครอบครองที่ดินพิพาทอันได้แก่ ส.ค.1 เป็นการใช้สิทธิตามที่ ป.วิ.อ.มาตรา 2 (7) และมาตรา 3ให้อำนาจไว้ และเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นผู้เสียหายมีสิทธิแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีได้ ส่วนการที่พนักงานสอบสวนกระทำการสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดมาดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิด ก็เป็นเรื่องที่พนักงานสอบสวนได้กระทำไปตามอำนาจแห่งบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อำนาจไว้อันเป็นเรื่องการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนเอง หากโจทก์จะต้องเสียหายจากการไปที่สถานีตำรวจหรือจะต้องเสียหายประการใด ก็เป็นผลโดยตรงอันเนื่องมาจากการวินิจฉัยของพนักงานสอบสวน สำหรับการที่จำเลยที่ 1 ฟ้องคดีโจทก์เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนากลั่นแกล้งเพื่อให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 เชื่อโดยสุจริตใจว่าหลักฐานการครอบครองที่ดินพิพาท ส.ค.1 เป็นหลักฐานการครอบครองซึ่งจำเลยที่ 1 เห็นว่าตนมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงใช้สิทธิทางศาลโดยสุจริตฟ้องโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 ที่ให้ผู้ถูกโต้แย้งสิทธิใช้สิทธิฟ้องร้องผู้โต้แย้งสิทธิทางศาลได้ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อกระทำผิดต่อกฎหมาย หรือไม่ได้ใช้สิทธิอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย จึงมิได้เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2437/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: มูลคดีคือต้นเหตุการโต้แย้งสิทธิ ไม่ใช่สถานที่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น
คำว่า มูลคดี ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 หมายถึงต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้อง แต่ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิไล่เบี้ยดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 31 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 อันเนื่องมาแต่มูลเหตุละเมิดที่จำเลยได้ก่อขึ้นเท่านั้น การที่กรมการประกันภัยโจทก์ซึ่งได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นดังกล่าวที่สำนักงานคุ้มครองผู้เอาประกันภัยซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลแขวงพระโขนงซึ่งเป็นศาลชั้นต้น จึงมิใช่ต้นเหตุพิพาทอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิต่อโจทก์ คงเป็นเพียงสิทธิที่โจทก์จะใช้สิทธิไล่เบี้ยตามที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น มูลคดีจึงมิได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลแขวงพระโขนง โจทก์จะเสนอคำฟ้องของตนต่อศาลแขวงพระโขนงหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2437/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: มูลคดีคือต้นเหตุการโต้แย้งสิทธิ ไม่ใช่สถานที่จ่ายค่าเสียหาย
คำว่า มูลคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4 หมายถึงต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้อง แต่ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิไล่เบี้ยดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 31วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ. 2535 อันเนื่องมาแต่มูลเหตุละเมิดที่ละเมิดที่จำเลยได้ก่อขึ้นเท่านั้น การที่กรมการประกันภัยโจทก์ซึ่งได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นดังกล่าวที่สำนักงานคุ้มครองผู้เอาประกันภัยซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลแขวงพระโขนงซึ่งเป็นศาลชั้นต้น จึงมิใช่ต้นเหตุพิพาทอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิต่อโจทก์ คงเป็นเพียงสิทธิที่โจทก์จะใช้สิทธิไล่เบี้ยตามที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น มูลคดีจึงมิได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลแขวงพระโขนง โจทก์จะเสนอคำฟ้องของตนต่อศาลแขวงพระโขนงหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2437/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: มูลคดีคือต้นเหตุการโต้แย้งสิทธิ ไม่ใช่การจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น
ที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4บัญญัติให้เสนอคำฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มีมูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่นั้นคำว่ามูลคดีหมายถึงต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้องแต่ตามคำฟ้องของโจทก์ที่ว่าโจทก์ได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ป. ที่สำนักงานคุ้มครองผู้เอาประกันภัยซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลแขวงพระโขนง เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิไล่เบี้ยตามมาตรา31วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ.2535อันเนื่องมาแต่มูลเหตุละเมิดที่จำเลยได้ก่อขึ้นการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นดังกล่าวมิใช่ต้นเหตุพิพาทอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิแห่งโจทก์คงเป็นเพียงสิทธิที่โจทก์จะใช้สิทธิไล่เบี้ยตามที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้นมูลคดีนี้จึงมิได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลแขวงพระโขนง โจทก์จึงเสนอคำฟ้องต่อศาลแขวงพระโขนงหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2437/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: มูลคดีคือต้นเหตุการโต้แย้งสิทธิ ไม่ใช่สถานที่จ่ายค่าเสียหาย
คำว่ามูลคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4หมายถึงต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้องแต่ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิไล่เบี้ยดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา31วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ.2535อันเนื่องมาแต่มูลเหตุละเมิดที่ละเมิดที่จำเลยได้ก่อขึ้นเท่านั้นการที่กรมการประกันภัยโจทก์ซึ่งได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นดังกล่าวที่สำนักงานคุ้มครองผู้เอาประกันภัยซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลแขวงพระโขนงซึ่งเป็นศาลชั้นต้นจึงมิใช่ต้นเหตุพิพาทอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิต่อโจทก์คงเป็นเพียงสิทธิที่โจทก์จะใช้สิทธิไล่เบี้ยตามที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้นมูลคดีจึงมิได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลแขวงพระโขนง โจทก์จะเสนอคำฟ้องของตนต่อศาลแขวงพระโขนงหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8780/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง – การปฏิบัติตามหน้าที่ราชการ – การทิ้งฟ้องฎีกา
การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานที่ดินจังหวัดผู้มีหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินได้รับคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของโจทก์ไว้ แล้วไม่ดำเนินการโอนให้แก่โจทก์เนื่องจากจำเลยต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลที่ให้รอการโอนกรรมสิทธิ์ไว้ก่อนอันเป็นการกระทำตามหน้าที่โดยชอบและเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของทางราชการ ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำการอย่างใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์แล้ว ต้องถือว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลฎีกา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2เพราะเหตุโจทก์ทิ้งฟ้องฎีกา จึงไม่ถูกต้อง แต่เมื่อคดีมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาจึงสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2 เพราะเหตุโจทก์ทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2), 132 (1) และมาตรา 247
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์แล้ว ต้องถือว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลฎีกา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2เพราะเหตุโจทก์ทิ้งฟ้องฎีกา จึงไม่ถูกต้อง แต่เมื่อคดีมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาจึงสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2 เพราะเหตุโจทก์ทิ้งฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2), 132 (1) และมาตรา 247