คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การโอนทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7039/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจดจำนองในคดีล้มละลาย ต้องพิเคราะห์สถานะเจ้าหนี้ก่อนการโอนทรัพย์และผลกระทบต่อเจ้าหนี้รายอื่น
การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ ที่จะต้องถูกเพิกถอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ต้องเป็นการโอนหรือการกระทำให้แก่เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วก่อนการโอนหรือการกระทำและทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ เสียเปรียบ ปรากฏว่าการทำสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและการจดทะเบียนจำนองตลอดจนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์จำนองระหว่างผู้ขายและจำเลยที่ 2 ได้กระทำในวันเดียวกันและต่อเนื่องกัน และยังปรากฏว่าธนาคารผู้คัดค้านจ่ายเงินกู้ยืมให้แก่จำเลยที่ 2 หลังจากจดทะเบียนจำนองแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 อยู่แล้วก่อนจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้าง
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทราคา 2,250,000 บาท และจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ก่อสร้างอาคารในที่ดินพิพาทอีกเป็นเงิน 1,700,000 บาทจำเลยที่ 2 กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านเพื่อนำมาชำระค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ยังค้างชำระอยู่เพียง 2,000,000 บาท โดยทำสัญญาจำนองที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ที่กู้ยืมมา เห็นได้ว่า ราคาที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างมีจำนวนสูงกว่าหนี้จำนองมาก การที่จำเลยที่ 2 กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านมาชำระค่าที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้าง ทำให้จำเลยที่ 2 มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นย่อมเป็นผลดีแก่เจ้าหนี้อื่นของจำเลยที่ 2 จึงไม่มีกรณีที่ผู้คัดค้านจะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ผู้ร้องไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 115 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดทรัพย์และการเพิกถอนการฉ้อฉลในชั้นบังคับคดี ศาลมีอำนาจพิจารณาได้
ในชั้นร้องขัดทรัพย์ ศาลที่ออกหมายบังคับคดีจะชี้ขาดได้แต่เพียงว่าสมควรปล่อยทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้หรือไม่เท่านั้น และถ้าหากได้ความจริงว่าผู้ร้องขัดทรัพย์ได้รับโอนทรัพย์นั้นมาโดยไม่สุจริต เป็นการหลีกเลี่ยงการการชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ศาลก็มีอำนาจชี้ขาดให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ได้อยู่แล้ว ฉะนั้นโจทก์จึงไม่จำต้องฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนชื่อผู้ร้องทั้งสองออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้และชอบที่ศาลจะมีคำสั่งไม่รับฟ้องแย้งของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5706/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเสร็จสิ้นเมื่อใด: การได้รับเงินค่าขายทอดตลาดเป็นสำคัญ แม้มีการโอนทรัพย์แล้ว
แม้ผู้ซื้อทรัพย์ได้จัดการโอนทรัพย์ที่ซื้อได้มาเป็นของผู้ซื้อทรัพย์แล้วก็ตาม แต่ไม่อาจถือได้ว่าการบังคับคดีได้เสร็จสิ้นลงตั้งแต่วันรับโอนดังกล่าวเพราะตราบใดที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายังไม่ได้รับเงินค่าขายทอดตลาดแล้ว ย่อมถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 853/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย ต้องเป็นการโอนให้เจ้าหนี้เดิมเพื่อให้ได้เปรียบเหนือเจ้าหนี้อื่น
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯ มาตรา 115 ได้นั้น การโอนนั้นจะต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้ว และการโอนเช่นนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของจำเลยเสียเปรียบ แต่การโอนตามสัญญาซื้อขายผู้ซื้อมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อน จึงไม่มีกรณีที่ผู้ซื้อจะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ย่อมนำมาตรา 115 มาเพิกถอนการโอนตามสัญญาซื้อขายไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1897/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์หลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
การที่ลูกหนี้ (จำเลย) ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. ซึ่งเป็นสามีมิได้จดทะเบียนสมรสกันมอบอำนาจให้ ส. ขายที่ดินและบ้านพิพาททั้งส่วนที่เป็นมรดกของ พ. และส่วนที่เป็นของตนให้แก่ผู้คัดค้านขณะที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้(จำเลย) แล้ว สัญญาซื้อขายระหว่างลูกหนี้ (จำเลย) กับผู้คัดค้านเฉพาะที่เกี่ยวกับทรัพย์พิพาทอันเป็นส่วนของลูกหนี้ (จำเลย)ย่อมเป็นนิติกรรมอันฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 22,24 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอนการโอนทรัพย์พิพาทอันเป็นส่วนของลูกหนี้ (จำเลย) เสียได้ และเมื่อนิติกรรมดังกล่าวตกเป็นโมฆะแล้ว คู่สัญญาคือลูกหนี้(จำเลย) ผู้ขายและผู้คัดค้านผู้ซื้อย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิมโดยผลแห่งกฎหมายไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสั่งให้มีการชดใช้เงินในกรณีที่ไม่สามารถกลับคืนสู่ฐานะเดิมอีกและถึงแม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ขอให้เพิกถอนการโอนโดยอ้างมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาด้วยและผู้คัดค้านอ้างว่าได้รับโอนทรัพย์พิพาทมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน เมื่อได้ความว่าลูกหนี้ (จำเลย) โอนทรัพย์ให้ผู้คัดค้านหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ (จำเลย)เด็ดขาดแล้วก็ต้องปรับตามมาตรา 24 เพราะคำว่า การโอนทรัพย์สินหรือกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งลูกหนี้ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น หมายถึงการโอนที่กระทำกันก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์หาใช่การโอนที่กระทำกันหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ (จำเลย) ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1774/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้ว่าการโอนทรัพย์ก่อนเสียชีวิตทำให้พินัยกรรมเป็นโมฆะ ไม่ถือว่าเป็นการให้การขัดแย้งกัน
โจทก์ฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกจากจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมและทายาทโดยพินัยกรรม การที่จำเลยให้การว่าที่พิพาทเจ้ามรดกยกให้แก่จำเลยก่อนที่เจ้ามรดกถึงแก่กรรม แม้จะให้การด้วยว่าพินัยกรรมปลอมก็เป็นการต่อสู้ว่าไม่มีข้อกำหนดตามพินัยกรรมเพราะเจ้ามรดกได้โอนทรัพย์ตามพินัยกรรมไปในระหว่างมีชีวิตอยู่ ข้อกำหนดในพินัยกรรมเป็นอันเพิกถอน ซึ่งเป็นเรื่องที่ว่าไม่มีพินัยกรรมเกี่ยวกับที่พิพาทนั่นเอง คำให้การของจำเลยจึงไม่ขัดกันแต่อย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 322/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกตามพินัยกรรม: ผู้จัดการมรดกมีอำนาจฟ้องเพิกถอนการโอนทรัพย์ที่ขัดต่อพินัยกรรม
โจทก์ทั้งสองและ อ.เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม แต่อ.เป็นสามีจำเลยและมาเป็นพยานจำเลยซึ่งแสดงให้เห็นว่า อ.ไม่ต้องการฟ้องจำเลย ดังนี้ โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยให้โอนทรัพย์พิพาทกลับคืนแก่กองมรดกเพื่อจัดแบ่งให้เป็นไปตามพินัยกรรมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1715 วรรคสอง (อ้างฎีกาที่ 1674/2516)
เมื่อเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมไว้และตั้งผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรมด้วยการแบ่งมรดกของผู้ตายแก่ทายาทจะ ต้องกระทำโดยผู้จัดการมรดก และผู้จัดการมรดกก็จะต้องจัดการแบ่งมรดกตามที่ผู้ตายได้ระบุไว้ในพินัยกรรมด้วย ถ้าการแบ่งมรดกแก่ทายาทมิได้เป็นการแบ่งโดยผู้จัดการมรดกและเป็นการแบ่งที่มิได้เป็นไปตามพินัยกรรม แม้เจ้าพนักงานที่ดินจะจดทะเบียนลงชื่อจำเลยมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกที่พิพาทแล้ว โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกก็ยังฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเสียได้ จำเลยต้องคืนให้แก่ผู้จัดการมรดกเพื่อจะนำไปจัดการแบ่งมรดกให้เป็นไปตามพินัยกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 978/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของร่วมในที่ดิน สินสมรส การโอนทรัพย์โดยไม่ได้รับความยินยอมของคู่สมรส และผลกระทบต่อผู้รับโอน
หญิงมีสามีขายที่ดินสินบริคณห์ได้เฉพาะส่วนของหญิง เมื่อสามีสละละทิ้งตน แต่การโอนไม่ผูกพันส่วนของสามี ผู้รับโอนต่อๆ ไปจะอ้าง มาตรา 1299 มายันสามีซึ่งไม่มีชื่อในโฉนดด้วยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้: นิติกรรมโมฆะและสิทธิในการยึดทรัพย์
ลูกหนี้ตามคำพิพากษาทำนิติกรรมต่อกรมการอำเภอขายนาพิพาทของตน 2 แปลงให้แก่บุคคลภายนอกโดยสมรู้เจตนาลวงเพื่อป้องกันมิให้เจ้าหนี้ยึดทรัพย์ ดังนี้ถือว่านิติกรรมนั้นเกิดจากเจตนาลวงจึงตกเป็นโมฆะเสียเปล่าตาม ป.พ.พ. ม.118 และ 133 โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะยึดนาพิพาท 2 แปลงมาขายทอดตลาดได้โดยไม่ต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนตามนัยแห่งคำพิพากษาฎีกาที่ 329/2480.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 712/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ก่อนล้มละลาย แม้ทรัพย์พังเสียหาย ผู้รับโอนไม่ต้องรับผิดใช้ราคา
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการโอนซึ่งผู้ล้มละลายโอนทรัพย์ให้แก่ผู้อื่นไป ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ม.114 เมื่อปรากฎว่าทรัพย์ที่โอนนั้นพังสลายไปแล้ว โดยถูกพายุพัดพังซึ่งเห็นได้ว่าถึงอย่างไรก็ต้องพังสลายไป ผู้รับโอนย่อมไม่ต้องรับผิดชดใช้ราคา
of 2