คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การโอนทรัพย์สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7419/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสให้บุตรนอกกฎหมาย การให้ตามหน้าที่ธรรมจรรยาและการพิจารณาฐานะของคู่สมรส
โจทก์ฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมที่ ว. โอนบ้านและที่ดินพิพาทอันเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และ ว. ให้จำเลยซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายของ ว. โดยเสน่หาโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ศาลชั้นต้นชี้สองสถานและกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ และทรัพย์ที่โอนเป็นสินสมรสหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกเป็นประเด็นขึ้นวินิจฉัยว่า การให้ดังกล่าวเป็นการให้ตามหน้าที่ธรรมจรรยาและพอสมควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวอันเป็นประเด็นต่อเนื่องที่รวมอยู่ในประเด็นหลักที่ว่าทรัพย์ที่โอนเป็นสินสมรสหรือไม่ จึงมิใช่เป็นการพิพากษานอกประเด็น
แม้ ว. ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องอุปการะเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมาย แต่โดยทางธรรมจรรยาซึ่งเป็นความรู้สึกผิดชอบภายในจิตใจที่เกิดจากพื้นฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของผู้เป็นบิดาว. ย่อมมีความผูกพันที่จะให้การเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเกิดมาโดยปราศจากความผิดใด ๆ โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพและอนาคตของจำเลยเป็นสำคัญซึ่ง ว. ก็ได้จัดให้จำเลยได้รับการศึกษาและดูแลจำเลยตลอดมาจนกระทั่งว. ถึงแก่ความตาย การที่ ว. โอนบ้านและที่ดินพิพาทเพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของจำเลยและ ศ. ซึ่งเป็นมารดาของจำเลย โดยบ้านและที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินส่วนน้อยเมื่อเทียบกับทรัพย์สินทั้งหมดที่ ว. มีอยู่ร่วมกับโจทก์ จึงเป็นการให้ตามหน้าที่ธรรมจรรยาอันพอสมควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8298/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: การกระทำโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้รายหนึ่งได้เปรียบ
ลูกหนี้เปิดบัญชีฝากเงินกระแสรายวันไว้กับผู้คัดค้านต่อมาลูกหนี้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับผู้คัดค้าน ในวงเงิน 200,000 บาท และทำสัญญาจำนำสิทธิที่จะถอนเงินฝากจากบัญชีฝากประจำจำนวน 200,000 บาท ให้แก่ผู้คัดค้านไว้เป็นประกัน พร้อมทำหนังสือมอบอำนาจให้ผู้คัดค้าน เบิกถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำเป็นส่วนหนึ่งของการชำระหนี้ เมื่อใดก็ได้ ขณะที่ลูกหนี้นำเงินเข้าฝากประจำและทำสัญญา กู้เบิกเงินเกินบัญชีกับผู้คัดค้านนั้น ลูกหนี้ยังไม่ได้ เป็นหนี้ผู้คัดค้าน ลูกหนี้จะเป็นหนี้ผู้คัดค้านหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่าลูกหนี้เบิกเงินเกินบัญชีไปจากหรือไม่ดังนั้นแม้จะกระทำการดังกล่าวในระหว่างที่ลูกหนี้ถูกโจทก์ฟ้องขอให้ล้มละลาย แต่ในขณะนั้นผู้คัดค้านก็ยังไม่อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้ในอันที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ซึ่งผู้ร้อง จะร้องขอให้เพิกถอนตามมาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 ได้ และเมื่อปรากฏว่าลูกหนี้เป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีแก่ผู้คัดค้านในเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิถอนเงินฝากประจำของลูกหนี้หักกลบลบหนี้กับหนี้ที่ลูกหนี้เบิกเงินเกินบัญชีจากผู้คัดค้านได้ตามมาตรา 102 ทั้งนี้โดยไม่จำต้องอาศัยความยินยอมของลูกหนี้อีก ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 115 ได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6967/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ต้องมีนิติสัมพันธ์ก่อนการโอนทรัพย์สิน
การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ ที่จะต้องถูกเพิกถอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 ต้องเป็นการโอนหรือการกระทำในระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้นให้แก่เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วก่อนการโอนหรือการกระทำ และการโอนหรือการกระทำนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของลูกหนี้เสียเปรียบ ที่ว่าต้องเป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วก่อนการโอนหรือการกระทำนั้นหมายความว่า เจ้าหนี้กับลูกหนี้นั้นมีนิติสัมพันธ์กันมาก่อนอันเป็นการก่อสิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ต่อไปได้
ขณะที่ลูกหนี้ทำสัญญาค้ำประกันสัญญาขายลดตั๋วเงินของ ว. ต่อผู้คัดค้าน ว. ยังมิได้นำตั๋วเงินมาขายลดให้แก่ผู้คัดค้าน หนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินจึงยังไม่เกิดขึ้น อันจะเป็นผลให้ผู้คัดค้านมีความผูกพันในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้นับแต่วันทำสัญญาค้ำประกัน การที่ลูกหนี้จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่ผู้คัดค้านในวันเดียวกัน แล้ว ว. จึงนำตั๋วสัญญาใช้เงินมาขายลดให้แก่ผู้คัดค้านและรับเงินจากผู้คัดค้านไป จึงถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่แล้วก่อนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท ผู้ร้องไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาท ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4417/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการฉ้อฉล: ฟ้องไม่เคลือบคลุมแม้ไม่ได้ระบุทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้หรือลำดับการใช้สิทธิเรียกร้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นหนี้โจทก์ได้ทำนิติกรรมโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยทั้งสองทราบดีว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบไม่ได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนดังกล่าว ดังนี้เป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ในเรื่องเพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237 โดยไม่จำต้องบรรยายว่าจำเลยที่ 1 จะมีหรือไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากที่พิพาทหรือไม่ และโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องก่อนหรือหลังจำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทให้จำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2375/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส สินส่วนตัว และการเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย
จำเลยกับ ล. อยู่กินด้วยกันเมื่อปี 2507 แล้วจึงได้จดทะเบียนการสมรสเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2519 ล. ซื้อ ที่พิพาทเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2518 แล้วจึงออกโฉนด ที่ดินเมื่อวันที่19 มกราคม 2522 โดย มีชื่อ ล. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ดังนี้ที่พิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ได้ มาก่อนที่จำเลยกับ ล. จดทะเบียนการสมรสกัน หาใช่เป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ได้ มาระหว่างสมรสอันจะทำให้เป็นสินสมรสตาม ที่ ป.พ.พ. มาตรา 1466เดิม บัญญัติไว้ไม่ ที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่จำเลยกับ ล. ทำมาหาได้ ร่วมกันก่อนจดทะเบียนการสมรสกัน จำเลยกับ ล. จึงเป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกันคนละส่วน เมื่อได้ จดทะเบียนการสมรสที่พิพาทย่อมเป็นสินเดิมของแต่ละฝ่าย อันเป็นสินบริคณห์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา14621463(1) เดิม ซึ่งตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ บทบัญญัติบรรพ 5แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 ให้ถือว่าสินเดิมของแต่ละฝ่ายดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่ายนั้นตาม บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ จำเลยกับ ล. ไม่ได้ทำสัญญาก่อนสมรสเป็นอย่างอื่น ล. ซึ่ง เป็นสามีจึงเป็นผู้จัดการที่พิพาทอันเป็นสินบริคณห์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1468 เดิม และตาม พ.ร.บ. ให้ใช้ บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งป.พ.พ. ที่ได้ตรวจ ชำระใหม่ มาตรา 7 ฉะนั้นการที่ ล.จดทะเบียนขายฝากที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน2524 ในขณะที่จำเลยกับ ล. ยังเป็นสามีภรรยากันอยู่ จึงถือได้ว่าจำเลยยินยอมให้ ล. ขายฝากที่พิพาทอันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยกึ่งหนึ่งด้วย เมื่อผู้คัดค้านยอมรับว่าจำเลยขายฝากที่พิพาทเฉพาะ ส่วนของจำเลยให้แก่ผู้คัดค้านซึ่ง เป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ศาลมีอำนาจที่จะสั่งเพิกถอนการโอนที่พิพาทเฉพาะ ส่วนของจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115 การเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 115 เป็นไปโดย ผลของคำพิพากษา ตราบใด ที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอนก็ยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่าได้ มีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้รับโอนต้อง รับผิดในเรื่องดอกเบี้ย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3179-3180/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย พิจารณาเจตนาให้เจ้าหนี้ได้เปรียบ
การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ ของลูกหนี้ที่จะขอให้เพิกถอนได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา115 จะต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้มุ่งหมายให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่ก่อนแล้ว ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น เมื่อปรากฏว่า ผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ซื้อหรือผู้รับโอนไม่ได้เป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อน ผู้ร้องก็ไม่มีอำนาจขอให้เพิกถอนการโอนตามมาตราดังกล่าว
จำเลยโอนขายที่ดินพิพาทเอาเงินมาชำระหนี้ตามเช็คให้แก่ผู้คัดค้านที่ 2 เพื่อให้ถอนคำร้องทุกข์ ไม่ดำเนินคดีกับจำเลยในข้อหาออกเช็คโดยเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คมิใช่เป็นการกระทำที่จำเลยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านที่ 2 ได้เปรียบ เจ้าหนี้อื่น ผู้ร้องไม่มีอำนาจขอให้ศาลสั่งเพิกถอนตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115
จำเลยชำระหนี้ให้ผู้คัดค้านที่ 3 เพื่อเอาโฉนดที่ถูกยึดไว้เป็นประกันหนี้คืนมาโอนขายให้ผู้คัดค้านที่ 2เป็นการชำระหนี้โดยลูกหนี้มุ่งหมายให้ผู้คัดค้านที่ 3ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 115 เพราะจำเลยมีทางขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่เรียกให้ผู้คัดค้านที่ 3 ส่งโฉนดได้อยู่แล้วตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 74 ผู้ร้องมีอำนาจขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการที่จำเลย ชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 268/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องฐานฉ้อโกงและโกงเจ้าหนี้ต้องชัดเจนถึงการหลอกลวงและเจตนาทุจริต การรับรองความเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ไม่เป็นความจริงและโอนทรัพย์สินประกันหนี้เป็นเหตุแห่งความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์โดยนำบ้านมาเป็นประกันเงินกู้ และจำเลยที่ 1 รับรองในสัญญากู้ว่าบ้านดังกล่าวเป็นของตน โจทก์หลงเชื่อจึงได้มอบเงินกู้ให้จำเลยที่ 1 ไป ดังนี้ ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าความจริงเป็นอย่างไร เพื่อที่จะแสดงให้เข้าใจได้ว่าจำเลยร่วมกันหลอกลวงโจทก์ตรงไหน และที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 รับรองต่อโจทก์ว่าจะไม่โอนบ้านให้ผู้อื่นจนกว่าจะชำระหนี้แก่โจทก์ครบถ้วนก็เป็นเรื่องอนาคต ซึ่งเป็นเพียงจำเลยที่ 1 ให้คำรับรองไว้ต่อโจทก์เท่านั้น หาเข้าลักษณะความผิดฐานฉ้อโกงไม่
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าบ้านที่จำเลยที่ 1 นำมาระบุไว้เป็นประกันในการกู้เงินจากโจทก์มิใช่เป็นของจำเลยที่ 1 ดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 โอนบ้านดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการทำให้โจทก์เจ้าหนี้ของจำเลยมิได้รับขำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน จำเลยทั้งสองจึงไม่มีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
(วรรคแรก วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 25/2519)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017-1018/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิไถ่ถอนการขายฝากไม่ถือเป็นการโอนทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ จึงไม่ผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350
การที่จำเลยสละสิทธิไถ่ถอนการขายฝากไม่ใช่เป็นการย้ายหรือซ่อนเร้นหรือโอนให้แก่ผู้อื่นซึ่งทรัพย์ใด จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรบกวนการครอบครองของผู้อื่น แม้การโอนทรัพย์สินยังไม่สมบูรณ์ ก็ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362
ที่ดินและบ้านพิพาทจะเป็นของผู้ใดไม่สำคัญ เมื่อจำเลยครอบครองอยู่เดิมแล้วสละการครอบครองให้ผู้เสียหายเป็นการตีใช้หนี้ไป การยกที่ดินและบ้านตีใช้หนี้จะสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่ก็ตาม แต่ผู้เสียหายก็ได้ไปซึ่งการครอบครอง จำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าผู้เสียหายครอบครองอยู่โดยชอบ หากจำเลยเห็นว่าผู้เสียหายไม่มีสิทธิในทรัพย์พิพาท ก็ชอบที่จะดำเนินการตามกฎหมายเพื่อรักษาสิทธิของตน ไม่มีอำนาจเข้าไปรบกวนการครอบครองของเขา เมื่อจำเลยยังขืนเข้าไปอยู่อาศัยก็เป็นการรบกวนการครอบครองของผู้เสียหายโดยปกติสุข จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 (อ้างฎีกาที่ 1/2512)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ที่รู้ว่าทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ หน้าที่การนำสืบของโจทก์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 มีข้อความระบุว่าจะต้องเป็นนิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำลงโดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ การรู้ดังกล่าวนี้จะต้องรู้อยู่ขณะที่ทำนิติกรรมการโอน และฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างถึงเหตุดังกล่าวนี้ ฝ่ายจำเลยให้การปฏิเสธจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบให้รับฟังได้
of 2