คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การใช้งาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2867/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดูหมิ่น: คำกล่าวอ้างถึงการใช้งานผู้อื่น มิใช่การเหยียดหยามโดยตรง
คำว่า "ดูหมิ่น" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานอธิบายว่า หมายถึง ดูถูกเหยียดหยาม ทำให้อับอาย เป็นที่เกลียดชังของประชาชน โดยถ้อยคำดังกล่าวจะต้องเป็นการเหยียดหยามผู้อื่น หาใช่ตัวผู้กล่าวเองไม่ คำกล่าวของจำเลยในที่ประชุมกรรมการโรงเรียนซึ่งผู้เสียหายเป็นประธานการประชุมที่ว่า "ประธานใช้ครูอย่างขี้ข้า" นั้น จำเลยมิได้เหยียดหยามตัวผู้เสียหายว่ามีสถานภาพอย่างขี้ข้าหรือผู้รับใช้ แต่เป็นการพูดถึงสถานภาพของครูในโรงเรียน รวมทั้งจำเลยว่าเป็นผู้รับใช้ของผู้เสียหาย เป็นการพูดถึงเรื่องที่เกิดขึ้นแก่ตนเองและครูในโรงเรียนว่าถูกผู้เสียหายใช้งานเยี่ยงคนรับใช้ แม้จำเลยใช้คำว่า "ขี้ข้า" ซึ่งเป็นถ้อยคำเปรียบเทียบที่ไม่สุภาพมากล่าวในที่ประชุม แต่เมื่อคำว่า "ขี้ข้า" ในที่นี้จำเลยหมายถึง ตัวจำเลยเองและครูในโรงเรียนที่ถูกผู้เสียหายใช้งาน มิใช่หมายถึงตัวผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ใช้งาน ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวจึงมิใช่เป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายซึ่งหน้าตามความหมายใน ป.อ. มาตรา 393

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2753/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงรถกระบะเป็นรถยนต์นั่ง และการถือว่าการดัดแปลงสิ้นสุดเมื่อนำไปใช้บนถนน
การที่จำเลยได้ดัดแปลงสภาพรถยนต์กระบะโดยติดตั้งหลังคาติดต่อเป็นเนื้อเดียวกันในลักษณะถาวร ด้านข้างคนขับมีประตูและด้านหลังคนขับมีที่นั่ง 2 ที่ แม้ที่นั่งดังกล่าวยังไม่มีการร้อยนอต เพียงแต่ใช้ไม้รองและใช้ลวดมัดแทน ก็ตาม สภาพของรถยนต์ภายหลังดัดแปลงตรงตามนิยามคำว่า "รถยนต์นั่ง" ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ตอนที่ 5 ครบถ้วน ทั้งได้ความว่าจำเลยนำรถยนต์ไปใช้ขับบนท้องถนนแล้วเช่นนี้ จึงถือว่าการดัดแปลงสิ้นสุดลงตามความในมาตรา 144 จัตวา (1) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2547)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7774/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนเครื่องหมายการค้า และการพิสูจน์การใช้งานเครื่องหมายการค้า
การฟ้องเพื่อติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินตาม ป.พ.พ.มาตรา1336 เป็นการใช้อำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ ส่วนสิทธิในเครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นสิทธิในนามธรรม การใช้สิทธิฟ้องคดีจึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองแก่สิทธิดังกล่าวไว้โดยเฉพาะอันได้แก่พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า CITIZEN ที่จำเลยได้จดทะเบียนไว้ โดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย เป็นการฟ้องคดีตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) กรณีมิใช่เป็นการฟ้องร้องบังคับเอาแก่สิทธิในเครื่องหมายการค้าโดยตรง แต่เป็นการใช้สิทธิในทางเยียวยาให้มีการแก้ไขให้กลับสู่สถานะเดิมอันเป็นบุคคลสิทธิและเป็นสิทธิเรียกร้องประเภทหนึ่ง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 เดิม ซึ่งมีกำหนด 10 ปี มาใช้บังคับโดยอนุโลม และต้องเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันที่มีการโต้แย้งสิทธิตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว คือนับตั้งแต่วันที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทเป็นต้นไป แต่โจทก์มาฟ้องคดีเมื่อเกินกำหนด 10 ปี คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ
เมื่อปรากฏว่าคดีโจทก์ในประเด็นที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1)ขาดอายุความแล้ว คดีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 41 (1) ในส่วนที่เกี่ยวกับประเด็นที่ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยหรือไม่เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ และจำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยสุจริตหรือไม่อีกต่อไป เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีของโจทก์ที่ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตามมาตรา 41 (1) ต้องเปลี่ยนแปลงไป
จำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้แล้ว ต้องถือว่าจำเลยเป็นเจ้าของมีสิทธิที่จะใช้เครื่องหมายการค้านั้นสำหรับสินค้าจำพวกที่ได้จดทะเบียนไว้ดังกล่าว ดังนี้ เมื่อโจทก์อ้างว่าจำเลยมิได้ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทซึ่งได้จดทะเบียนไว้นั้นเลย อันเป็นมูลที่จะเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้ จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้กล่าวอ้างที่จะต้องนำสืบพิสูจน์ให้ได้ว่าจำเลยมิได้ใช้เครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง แม้จะเป็นการนำสืบในเชิงปฏิเสธ ก็ยังคงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบให้ได้ความดังกล่าวอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1230/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง แม้ใช้รถส่วนตัว ยินยอมให้ลูกจ้างใช้รถตลอดเวลาถือเป็นการใช้งานในทางการจ้าง
จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกหกล้อ และเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 3 โดยจ้างจำเลยที่ 3 เป็นคนขับรถไปรับจ้างบรรทุกสินค้าพืชไร่ต่างๆ ตามปกติจำเลยที่ 3 เอารถไปเก็บไว้ที่บ้านของจำเลยที่ 3 เสมอโดยความยินยอมของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2. วันเกิดเหตุจำเลยที่ 3 ขับรถยนต์บรรทุกมันสำปะหลังไปส่ง แล้วนำรถไปเก็บที่บ้านของจำเลยที่ 3 ต่อมาตอนกลางคืนจำเลยที่ 3ขับรถดังกล่าวไปส่งผู้ป่วยที่โรงพยาบาลจังหวัดนครราชสีมาขากลับจากโรงพยาบาลจำเลยที่ 3 จึงขับไปชนรถยนต์ของโจทก์เสียหาย ดังนี้ ถึงแม้เหตุจะเกิดขึ้นในระหว่างที่จำเลยที่ 3 ขับรถไปธุระส่วนตัวโดยจำเลยที่ 1 และ จำเลยที่ 2 ไม่ทราบก็ตาม แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 3 นำรถคันเกิดเหตุไปเก็บไว้ที่บ้านของจำเลยที่ 3 ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 3 นำรถออกไปใช้ได้ตลอดเวลา ตราบใดที่รถยังไม่กลับไปอยู่กับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างก็ย่อมต้องถือว่าจำเลยที่ 3 ขับรถไปในทางการที่จ้าง จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในผลละเมิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 701/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์: การพิจารณาจากวัตถุประสงค์การผลิตและการใช้งานจริง
คำว่า "ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในทางการแพทย์หรือทันตกรรม" ตามบัญชีที่ 3 หมวด 2 (4) ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นและลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 43) พ.ศ. 2516 ซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับนั้น มิได้มีบทวิเคราะห์ศัพท์ไว้ว่าหมายถึงผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง จึงต้องวินิจฉัยจากสภาพความเป็นจริงของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ว่าได้ผลิตขึ้นมุ่งประสงค์ใช้ในทางการแพทย์หรือทันตกรรมหรือไม่ ส่วนการที่ผู้ใช้บางคนจะนำเอาไปใช้ในกิจการอย่างอื่นผิดปกติวิสัยก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง กฎหมายมิได้จำกัดว่าผลิตภัณฑ์ที่จะเข้าข่ายตามบัญชีที่ 3 หมวด 2 (4) จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในทางการแพทย์หรือทันตกรรมโดยเฉพาะใช้ในกิจการอย่างอื่นไม่ได้เลย ดังนั้น ถ้วยยา กล่องใส่เครื่องมือแพทย์ ปากคีบ และจานรูปไต ที่โจทก์ผลิตขึ้นโดยมีลักษณะเฉพาะและใช้วัสดุในการผลิตเป็นพิเศษแสดงให้เห็นว่าผลิตขึ้นเพื่อจำหน่ายเป็นเครื่องใช้สำหรับการแพทย์และทันตกรรมเท่านั้น จึงถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ตามบัญชีที่ 3 หมวด 2 (4) ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 701/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์: การพิจารณาจากวัตถุประสงค์การผลิตและการใช้งานจริง
คำว่า "ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในทางการแพทย์หรือทันตกรรม" ตามบัญชีที่ 3 หมวด2(4) ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นและลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่43)พ.ศ.2516 ซึ่งจะต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 1.5 ของรายรับนั้น มิได้มีบทวิเคราะห์ศัพท์ไว้ว่าหมายถึงผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง จึงต้องวินิจฉัยจากสภาพความเป็นจริงของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ว่าได้ผลิตขึ้นมุ่งประสงค์ใช้ในทางการแพทย์หรือทันตกรรมหรือไม่ ส่วนการที่ผู้ใช้บางคนจะนำเอาไปใช้ในกิจการอย่างอื่นผิดปกติวิสัยก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง กฎหมายมิได้จำกัดว่าผลิตภัณฑ์ที่จะเข้าข่ายตามบัญชีที่ 3 หมวด 2(4)จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในทางการแพทย์หรือทันตกรรมโดยเฉพาะใช้ในกิจการอย่างอื่นไม่ได้เลย ดังนั้น ถ้วยยา กล่องใส่เครื่องมือแพทย์ ปากคีบ และจานรูปไต ที่โจทก์ผลิตขึ้นโดยมีลักษณะเฉพาะและใช้วัสดุในการผลิตเป็นพิเศษแสดงให้เห็นว่าผลิตขึ้นเพื่อจำหน่ายเป็นเครื่องใช้สำหรับการแพทย์และทันตกรรมเท่านั้น จึงถือได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ตามบัญชีที่ 3 หมวด 2(4) ท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความรุนแรงของการทำร้ายร่างกายจนถึงขั้นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(3) โดยพิจารณาจากผลกระทบต่อการใช้งานอวัยวะ
คำว่า อวัยวะอื่นใด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(3)หมายถึง อวัยวะส่วนสำคัญ เช่น แขน ขา มือ เท้า นิ้วดังระบุไว้ในตอนต้น
ฟันทั้งหมดในปากรวมกันก็เป็นอวัยวะส่วนสำคัญ ถ้าฟันหักไปหลายซี่ เป็นเหตุให้ส่วนที่เหลืออยู่ใช้การไม่ได้ตามสภาพของฟัน เช่นเคี้ยวอาหารไม่ได้ไปแถบหนึ่งก็ถือได้ว่าเป็นการเสียอวัยวะส่วนสำคัญอันเป็นอันตรายสาหัสเพียงแต่ได้ความว่าฟันแท้บนด้านหน้าหักไป 3 ซี่จะถือว่าเป็นการเสียอวัยวะส่วนสำคัญยังมิได้เว้นแต่โจทก์จะนำสืบให้เห็นว่าเมื่อถูกทำร้ายแล้วผู้เสียหายใช้ฟันที่เหลืออยู่เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามนัยที่กล่าวข้างต้น (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2508)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 442/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด พ.ร.บ.มาตราชั่งตวงวัดเกิดจากเครื่องชั่งชำรุดจากการใช้งาน มิใช่ความผิดจำเลย
มาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.มาตราชั่งตวงวัด พ.ศ.2466 ซึ่งถือว่าผู้ใดผู้หนึ่ง ในกิจการต่อเนื่องกับผู้อื่นหรือในพาณิชยกิจใด ๆ กระทำการชั่งตวงวัดโดยใช้เครื่องชั่งเครื่องตวง เครื่องวัด หรือสิ่งใดซึ่งไม่ถูกต้องตามความประสงค์ทุกประการของ พ.ร.บ.นี้ หรือผู้ใดผู้หนึ่งมีเครื่องชั่ง เครื่องตวงเครื่องวัดดังที่กล่าวมานั้นไว้ในความปกครองของตน เพื่อใช้ในกิจการต่อเนื่องกับผู้อื่นหรือในพาณิชยกิจใด ๆ มีความผิดนั้น หากตามข้อเท็จจริงปรากฎว่า ความผิดพลาดเกิดในตัวเครื่องชั่งเองเนื่องจากใช้มานาน เพียงเท่านี้ไม่ทำให้จำเลยผู้มีเครื่องชั่งนั้นกลับมีความผิดขึ้นมาตามมาตรานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1332/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายกระสุนปืนที่ใช้ในการสงคราม หากมีการนำไปใช้โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปราบปรามอาชญากรรม จะไม่ถือว่าเป็นกระสุนที่ใช้เฉพาะในการสงคราม
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยมีกระสุนปืนสำหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงคราม ขอให้ลงโทษ เมื่อทางพิจารณาได้ความว่า ทางราชการได้จ่ายกระสุนปืนแบบนี้ให้ตำรวจใช้ในการปราบโจรผู้ร้ายเป็นการเอาไปใช้นอกจากการสงคราม ดังนี้
ก็ไม่มีทางที่จะชี้ขาดว่าเป็นกระสุนที่ใช้เฉพาะแต่ในการสงคราม