พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2500/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องไม่เป็นคำที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้า และต้องแสดงให้เห็นถึงการใช้จริงหรือความแพร่หลาย
โจทก์ในฐานะผู้มีส่วนได้เสีย อุทธรณ์คำสั่งคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่มีคำสั่งไม่เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อศาล และหากศาลพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าย่อมมีผลเป็นการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอยู่ในตัว โจทก์ฟ้องโดยมิได้อ้างว่าตนมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน เท่ากับมิได้อ้างว่าการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้นเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นโดยไม่จำต้องฟ้องเจ้าของเครื่องหมายการค้าเป็นจำเลยด้วยได้
แม้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมพ้นระยะเวลาตามกฎหมาย แต่โจทก์ยังมีสิทธิที่จะยื่นบัญชีระบุพยานไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษาได้อีก หากโจทก์ขออนุญาตต่อศาลโดยแสดงเหตุอันสมควรที่ต้องยื่นบัญชีระบุพยานเช่นนี้ พร้อมกับสำเนาเอกสารที่อ้างในบัญชีระบุพยานและสำเนาบัญชีระบุพยานดังกล่าวมาด้วย เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางใช้ดุลพินิจสั่งรับบัญชีระบุพยานของโจทก์เป็นพยาน จึงรับฟังเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานได้
การนำคำว่า "ชวนป๋วย" และ "ปี่แป่" ซึ่งเป็นชื่อสมุนไพรจีนที่มีคุณสมบัติใช้เป็นยาแก้ไอและขับเสมหะมาประกอบกับคำว่า "กอ" ที่หมายถึงน้ำเชื่อม และจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าคำว่า "ชวนป๋วยปี่แป่กอ" จึงเป็นการนำเอาคำที่เล็งถึงคุณสมบัติและลักษณะของสินค้ายาน้ำแก้ไอนั้นโดยตรงซึ่งไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะมาขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้ายาน้ำแก้ไอ จึงไม่ชอบที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว
แม้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมพ้นระยะเวลาตามกฎหมาย แต่โจทก์ยังมีสิทธิที่จะยื่นบัญชีระบุพยานไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนมีคำพิพากษาได้อีก หากโจทก์ขออนุญาตต่อศาลโดยแสดงเหตุอันสมควรที่ต้องยื่นบัญชีระบุพยานเช่นนี้ พร้อมกับสำเนาเอกสารที่อ้างในบัญชีระบุพยานและสำเนาบัญชีระบุพยานดังกล่าวมาด้วย เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางใช้ดุลพินิจสั่งรับบัญชีระบุพยานของโจทก์เป็นพยาน จึงรับฟังเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานได้
การนำคำว่า "ชวนป๋วย" และ "ปี่แป่" ซึ่งเป็นชื่อสมุนไพรจีนที่มีคุณสมบัติใช้เป็นยาแก้ไอและขับเสมหะมาประกอบกับคำว่า "กอ" ที่หมายถึงน้ำเชื่อม และจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าคำว่า "ชวนป๋วยปี่แป่กอ" จึงเป็นการนำเอาคำที่เล็งถึงคุณสมบัติและลักษณะของสินค้ายาน้ำแก้ไอนั้นโดยตรงซึ่งไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะมาขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าเพื่อใช้กับสินค้ายาน้ำแก้ไอ จึงไม่ชอบที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3827/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้มีดสปริงเป็นอาวุธในการกระทำชำเราเด็กหญิง: การพิจารณาการใช้จริงของอาวุธ
จำเลยนำอาวุธมีดสปริงที่จำเลยติดตัวอยู่ออกมาโดยมิได้ ง้างมีดสปริงออกในลักษณะที่สามารถใช้แทงทำร้ายได้ ทั้งมิได้ ใช้มีดสปริงขู่เข็ญบังคับให้ผู้เสียหายยอมให้จำเลยกระทำชำเรา ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ใช้มีดสปริงในการกระทำชำเราผู้เสียหาย จำเลยจึงมีความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3827/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้มีดสปริงในความผิดฐานกระทำชำเรา: การพิจารณาการใช้จริงเพื่อประกอบการลงโทษ
จำเลยนำอาวุธมีดสปริงที่จำเลยมีติดตัวอยู่ออกมาโดยมิได้ง้างมีดสปริงออกในลักษณะที่สามารถใช้แทงทำร้ายได้ทั้งมิได้ใช้มีดสปริงขู่เข็ญบังคับให้ผู้เสียหายยอมให้จำเลยกระทำชำเราถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ใช้มีดสปริงในการกระทำชำเราผู้เสียหายจำเลยจึงมีความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน15ปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา277วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนของเครื่องหมายการค้า ต้องดูความคล้ายคลึงในภาพรวมและการใช้จริง รวมถึงประเภทสินค้าและสภาพตลาด
หลักวินิจฉัย คดีพิพาทเรื่องเครื่องหมาย+ขอจดทะเบียนไม่ใช่วินิจฉัยแต่เพียงว่าเครื่องหมายทั้งสองจะต้องเหมือนกันทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ต้องวินิจฉัย+เครื่องหมายนั้นชวนให้เห็นเป็นลักษณทำนองเดียวกัน และเมื่อเทียบเคียงแล้วมีลักษณแตกต่างกันบ้างจะชี้ขาด+ไม่เหมือนกันไม่ได้ ต้องเทียบให้เห็นลักษณในเวลาใช้ตามปกติโดยสุจริตประกอบกับประเภทสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้น+สภาพแห่งท้องตลาด พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ + บังคับยี่ปุ่นเป็นคู่ความฎีกาได้ฉะเพาะปัญหาข้อกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2557/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความบ่งเฉพาะของเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ ต้องดูความหมายและการใช้จริง ไม่ใช่แค่พจนานุกรม
การที่จะพิจารณาว่าคำในภาษาต่างประเทศเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าอันจะทำให้ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) นอกจากจะพิจารณาว่าคำดังกล่าวมีคำแปลเป็นภาษาไทยว่าอย่างไรแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการใช้คำดังกล่าวในประเทศที่เป็นเจ้าของภาษานั้น ๆ และในประเทศไทยด้วยว่า คำดังกล่าวถูกนำมาใช้ในความหมายหรือในลักษณะใดด้วย หาใช่พิจารณาเฉพาะคำแปลที่ปรากฏในพจนานุกรมที่แปลเป็นภาษาไทยแต่เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาต่อไปว่าคำดังกล่าวเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงถึงขนาดทำให้เมื่อสาธารณชนเห็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวแล้วก็จะทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นได้ในทันที หรืออาจใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้ในทันทีว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวสื่อให้เห็นถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้ไม่ยาก จำเลยทั้งสองนำสืบว่าคำว่า SCOTCH เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง จึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะโดยอ้างสำเนาพจนานุกรมของ ดร. ว. เพียงฉบับเดียวว่า คำดังกล่าวมีคำแปลว่า ตัด เฉือน กรีด โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นมานำสืบสนับสนุนให้เห็นได้ว่า คำดังกล่าวมีความหมายเป็นที่เข้าใจกันในหมู่สาธารณชนทั่วไปว่าหมายถึง ตัด เฉือน กรีดจริง ฟังไม่ได้ว่าคำดังกล่าวเป็นคำที่แปลหรือมีความหมายว่าการตัด การเฉือน การกรีด โดยใช้กรรไกรเท่านั้น จึงไม่ใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้ากรรไกรโดยตรงและเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4593/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ลักษณะบ่งเฉพาะจากการใช้จริงและชื่อเสียงของสินค้า
เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "LASERJET" ของโจทก์แม้จะเป็นคำที่ไม่มีความหมายในพจนานุกรม แต่ก็เห็นได้ว่าเป็นการนำคำว่า "LASER" และ "JET" ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายเป็นที่รู้จักกันทั่วไปมาผสมกัน โดยสามารถเห็นรากศัพท์เดิมจากรูปลักษณะของคำ ทั้งเมื่อออกเสียงเรียกขานคำดังกล่าวก็จะทราบคำศัพท์ดังกล่าวอย่างชัดเจนทันที คำว่า "LASERJET" จึงไม่ใช่คำประดิษฐ์ และเมื่อจะพิจารณาต่อไปว่าคำดังกล่าวมีลักษณะบ่งเฉพาะหรือไม่ กล่าวคือ เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาประกอบกับสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนซึ่งจะเห็นได้จากพยานหลักฐานของโจทก์อย่างชัดเจนว่า โจทก์มุ่งเน้นที่จะใช้เครื่องหมายการค้านี้กับเครื่องพิมพ์เป็นหลัก สินค้าเครื่องพิมพ์นี้ จากพยานหลักฐานของโจทก์ คือ เอกสารแนะนำสินค้า ระบุถึงการทำงานของเครื่องพิมพ์สีเลเซอร์เจ็ททำนองว่าเป็นการใช้แสงเลเซอร์ในการทำงาน ดังนั้น คำว่า "LASERJET" นับเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าของโจทก์โดยตรง
เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้มีคำวินิจฉัยในประเด็นเรื่องลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้ไว้แล้ว โจทก์ย่อมอุทธรณ์คำวินิจฉัยดังกล่าวต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ ซึ่งการนำพยานหลักฐานมาสืบแสดงต่อศาล เป็นไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 85 เรื่องการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐานเมื่อโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานตามกฎหมายแล้ว ถือว่าเป็นพยานหลักฐานที่ชอบด้วยกฎหมาย และศาลสามารถหยิบยกขึ้นพิจารณาพิพากษาได้ เพราะไม่มีบทกฎหมายใดห้ามรับฟังพยานหลักฐานที่นำสืบในชั้นศาลโดยไม่ผ่านขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า แม้การพิจารณาของศาลในเรื่องนี้จะมีลักษณะเป็นการทบทวนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าว่าถูกต้องหรือไม่ก็ตามแต่ประเด็นสำคัญที่ศาลต้องพิจารณาก็คือ เครื่องหมายการค้าคำว่า "LASERJET" ของโจทก์ควรได้รับการจดทะเบียนหรือไม่นั้นเอง ซึ่งปัญหานี้รับฟังได้จากพยานหลักฐานของโจทก์ว่าสินค้าของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "LASERJET" มีการจำหน่ายเผยแพร่และโฆษณาในประเทศไทยเป็นเวลาต่อเนื่องกันไม่น้อยว่า 10 ปี นับเป็นเวลานานพอสมควร จนทำให้สาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องรู้จักและเข้าใจว่าสินค้าของโจทก์แตกต่างจากสินค้าของบุคคลอื่นตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 7 วรรคสาม และประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องหลักเกณฑ์การพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ จำเลยจึงต้องดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "LASERJET" ของโจทก์ต่อไป
เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้มีคำวินิจฉัยในประเด็นเรื่องลักษณะบ่งเฉพาะโดยการใช้ไว้แล้ว โจทก์ย่อมอุทธรณ์คำวินิจฉัยดังกล่าวต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้ ซึ่งการนำพยานหลักฐานมาสืบแสดงต่อศาล เป็นไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 85 เรื่องการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐานเมื่อโจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานตามกฎหมายแล้ว ถือว่าเป็นพยานหลักฐานที่ชอบด้วยกฎหมาย และศาลสามารถหยิบยกขึ้นพิจารณาพิพากษาได้ เพราะไม่มีบทกฎหมายใดห้ามรับฟังพยานหลักฐานที่นำสืบในชั้นศาลโดยไม่ผ่านขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า แม้การพิจารณาของศาลในเรื่องนี้จะมีลักษณะเป็นการทบทวนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าว่าถูกต้องหรือไม่ก็ตามแต่ประเด็นสำคัญที่ศาลต้องพิจารณาก็คือ เครื่องหมายการค้าคำว่า "LASERJET" ของโจทก์ควรได้รับการจดทะเบียนหรือไม่นั้นเอง ซึ่งปัญหานี้รับฟังได้จากพยานหลักฐานของโจทก์ว่าสินค้าของโจทก์ภายใต้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "LASERJET" มีการจำหน่ายเผยแพร่และโฆษณาในประเทศไทยเป็นเวลาต่อเนื่องกันไม่น้อยว่า 10 ปี นับเป็นเวลานานพอสมควร จนทำให้สาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องรู้จักและเข้าใจว่าสินค้าของโจทก์แตกต่างจากสินค้าของบุคคลอื่นตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 7 วรรคสาม และประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องหลักเกณฑ์การพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ จำเลยจึงต้องดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "LASERJET" ของโจทก์ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะบ่งเฉพาะของเครื่องหมายบริการ: การพิจารณาความหมายตามบริการที่เกี่ยวข้องและการพิสูจน์การใช้จริง
คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการโดยตรงนั้นต้องเป็นคำที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์ใกล้ชิดกับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการอย่างตรงไปตรงมาจนถึงขนาดที่ว่าทำให้สาธารณชนทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการทันที หรือหากสาธารณชนใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้ เพราะเป็นคำที่บรรยายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการนั้นโดยตรง เครื่องหมายบริการคำว่า MY CLOUD ของโจทก์มีลักษณะเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ธรรมดาประกอบด้วยสองภาคส่วน คือ ภาคส่วนคำว่า "MY" มีความหมายตามพจนานุกรม Oxford River Books English-Thai แปลว่า ของฉัน และภาคส่วน คำว่า "CLOUD" ซึ่งแม้คำนี้จะมีหลายความหมาย ทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ และในส่วนความหมายที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ก็มีความหมายที่แตกต่างกัน เมื่อการพิจารณาว่าคำในเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าหรือบริการโดยตรงหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาประกอบกับสินค้าหรือบริการที่ขอจดทะเบียน การที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการที่มีคำว่า "CLOUD" กับบริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทางคอมพิวเตอร์ สาธารณชนที่พบเห็นเครื่องหมายบริการของโจทก์ย่อมเข้าใจได้ในทันทีว่าเป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทางคอมพิวเตอร์ ดังนั้น คำว่า "CLOUD" จึงเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของบริการของโจทก์โดยตรง ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าคำว่า "CLOUD" เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของบริการของโจทก์โดยตรง การที่โจทก์นำคำดังกล่าวมาประกอบกับคำว่า "MY" ในลักษณะเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ธรรมดา แยกส่วนออกได้เป็นสองคำ โดยที่คำว่า "MY" มีความหมายว่า ของฉัน ซึ่งเป็นความหมายโดยทั่วไปไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับโจทก์ เมื่อนำมาใช้ประกอบกับคำว่า "CLOUD" จึงไม่ได้เป็นการนำคำที่มีความหมายตามพจนานุกรมมาใช้อย่างอำเภอใจ แต่กลับเป็นเครื่องหมายบริการที่ไม่มีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้บริการนั้นทราบหรือเข้าใจได้ว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างไปจากบริการอื่น เครื่องหมายบริการคำว่า MY CLOUD ของโจทก์โดยภาพรวมจึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 7 วรรคสอง (2) (เดิม)
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสาม (เดิม) บัญญัติว่า ชื่อ คำ หรือข้อความที่ไม่มีลักษณะตาม (1) หรือ (2) หากได้มีการจำหน่ายเผยแพร่ หรือโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นจนแพร่หลายแล้ว ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และพิสูจน์ได้ว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์นั้นแล้ว ก็ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ ในเรื่องนี้ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องการพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 กำหนดหลักเกณฑ์การพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะว่า สินค้าหรือบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นได้มีการจำหน่าย เผยแพร่หรือโฆษณาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอสมควร จนทำให้สาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักและเข้าใจว่าสินค้าหรือบริการดังกล่าวแตกต่างไปจากสินค้าหรือบริการอื่น เมื่อการนำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะจากการใช้นั้นต้องเป็นพยานหลักฐานที่พิสูจน์ให้เห็นว่าเครื่องหมายบริการที่โจทก์ขอจดทะเบียนนั้นมีความแตกต่างจากบริการอื่นก่อนวันที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียน พยานหลักฐานที่โจทก์อ้างส่งนั้นจึงต้องมีลักษณะเป็นทำนองที่แสดงให้เห็นถึงการจำหน่าย เผยแพร่ หรือโฆษณาบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการที่โจทก์ขอจดทะเบียนอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอสมควรก่อนวันที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียน กรณีจึงไม่อาจนำหลักฐานการโฆษณาเผยแพร่หลังจากวันที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการมาพิจารณาประกอบความมีลักษณะบ่งเฉพาะจากการใช้สำหรับคำขอจดทะเบียนคดีนี้ ประกอบกับในเอกสารโฆษณาบางส่วนก็เป็นการโฆษณาเครื่องหมายบริการคำว่า MY CLOUD ประกอบคำว่า WD แตกต่างจากเครื่องหมายบริการที่ขอจดทะเบียน เครื่องหมายบริการคำว่า MY CLOUD ของโจทก์จึงไม่เป็นเครื่องหมายที่ใช้กับบริการที่มีการจำหน่าย เผยแพร่ และโฆษณาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานพอสมควรจนทำให้สาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักและเข้าใจว่าบริการของโจทก์แตกต่างไปจากบริการของบุคคลอื่น อันถือได้ว่าเป็นเครื่องหมายบริการที่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันเกิดจากการใช้จนแพร่หลายตามมาตรา 80 ประกอบมาตรา 7 วรรคสาม (เดิม)
เมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าคำว่า "CLOUD" เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของบริการของโจทก์โดยตรง การที่โจทก์นำคำดังกล่าวมาประกอบกับคำว่า "MY" ในลักษณะเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ธรรมดา แยกส่วนออกได้เป็นสองคำ โดยที่คำว่า "MY" มีความหมายว่า ของฉัน ซึ่งเป็นความหมายโดยทั่วไปไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับโจทก์ เมื่อนำมาใช้ประกอบกับคำว่า "CLOUD" จึงไม่ได้เป็นการนำคำที่มีความหมายตามพจนานุกรมมาใช้อย่างอำเภอใจ แต่กลับเป็นเครื่องหมายบริการที่ไม่มีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้บริการนั้นทราบหรือเข้าใจได้ว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างไปจากบริการอื่น เครื่องหมายบริการคำว่า MY CLOUD ของโจทก์โดยภาพรวมจึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 80 ประกอบมาตรา 7 วรรคสอง (2) (เดิม)
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสาม (เดิม) บัญญัติว่า ชื่อ คำ หรือข้อความที่ไม่มีลักษณะตาม (1) หรือ (2) หากได้มีการจำหน่ายเผยแพร่ หรือโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นจนแพร่หลายแล้ว ตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และพิสูจน์ได้ว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์นั้นแล้ว ก็ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ ในเรื่องนี้ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องการพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 กำหนดหลักเกณฑ์การพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะว่า สินค้าหรือบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นได้มีการจำหน่าย เผยแพร่หรือโฆษณาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอสมควร จนทำให้สาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักและเข้าใจว่าสินค้าหรือบริการดังกล่าวแตกต่างไปจากสินค้าหรือบริการอื่น เมื่อการนำสืบพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ลักษณะบ่งเฉพาะจากการใช้นั้นต้องเป็นพยานหลักฐานที่พิสูจน์ให้เห็นว่าเครื่องหมายบริการที่โจทก์ขอจดทะเบียนนั้นมีความแตกต่างจากบริการอื่นก่อนวันที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียน พยานหลักฐานที่โจทก์อ้างส่งนั้นจึงต้องมีลักษณะเป็นทำนองที่แสดงให้เห็นถึงการจำหน่าย เผยแพร่ หรือโฆษณาบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการที่โจทก์ขอจดทะเบียนอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานพอสมควรก่อนวันที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียน กรณีจึงไม่อาจนำหลักฐานการโฆษณาเผยแพร่หลังจากวันที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการมาพิจารณาประกอบความมีลักษณะบ่งเฉพาะจากการใช้สำหรับคำขอจดทะเบียนคดีนี้ ประกอบกับในเอกสารโฆษณาบางส่วนก็เป็นการโฆษณาเครื่องหมายบริการคำว่า MY CLOUD ประกอบคำว่า WD แตกต่างจากเครื่องหมายบริการที่ขอจดทะเบียน เครื่องหมายบริการคำว่า MY CLOUD ของโจทก์จึงไม่เป็นเครื่องหมายที่ใช้กับบริการที่มีการจำหน่าย เผยแพร่ และโฆษณาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานพอสมควรจนทำให้สาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักและเข้าใจว่าบริการของโจทก์แตกต่างไปจากบริการของบุคคลอื่น อันถือได้ว่าเป็นเครื่องหมายบริการที่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันเกิดจากการใช้จนแพร่หลายตามมาตรา 80 ประกอบมาตรา 7 วรรคสาม (เดิม)