พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7344/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางเท้าและกันสาดในโครงการจัดสรรต่อเนื่องเกิน 10 ปี ทำให้เกิดภาระจำยอม
ที่ดินโฉนดที่โจทก์ซื้อมามีสภาพเป็นถนนในโครงการจัดสรรของเจ้าของที่ดินเดิมเพื่อใช้เข้าออกสู่ทางสาธารณะทั้งหมดและในขณะที่โจทก์ซื้อที่ดินมาอาคารของจำเลยมีทางเท้าและกันสาดอยู่ก่อนแล้ว โดยเจ้าของที่ดินเดิมประสงค์ให้ที่ดินที่โจทก์ซื้อมาเป็นแนวถนนของที่ดินที่แบ่งจัดสรรทุกแปลงรวมทั้งที่ดินของจำเลยด้วย และให้ทางเท้าและกันสาดด้านหน้าอาคารพาณิชย์ทุกหลังเป็นสาธารณูปโภคสำหรับผู้ซื้ออาคารพาณิชย์ในโครงการได้ใช้ร่วมกัน การที่จำเลยได้กระทำโดยสุจริตเพื่อการใช้ทางเท้าและกันสาดดังกล่าวมาก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินของโจทก์ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทั้งตามพฤติการณ์ของผู้ซื้ออาคารพาณิชย์ไม่อาจถือได้ว่าการใช้ที่ดินของจำเลยเป็นการใช้ที่ดินของโจทก์ส่วนที่พิพาทซึ่งมีสภาพเป็นพื้นที่ใช้สอยร่วมกันภายในโครงการจัดสรรที่มีมาแต่เดิมโดยการถือวิสาสะ จึงนับได้ว่ามีลักษณะเป็นการใช้สิทธิเป็นปรปักษ์ต่อโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน เมื่อจำเลยใช้มาเกินกว่า 10 ปีที่ดินของโจทก์จึงตกอยู่ในภาระจำยอมแก่ที่ดินของจำเลยเกี่ยวกับการใช้ทางเท้าและกันสาดนั้นโดยอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3225/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางต่อเนื่องเกิน 10 ปี แม้เดิมเป็นกรรมสิทธิ์รวม
บรรยายฟ้องว่า ได้ทางภารจำยอมมาโดยอายุความนั้นรายละเอียดเกี่ยวกับเนื้อที่ดินตามโฉนดต่าง ๆ ที่โจทก์ฟ้องและส่วนใดที่ได้ภารจำยอมในที่ดินของจำเลยเป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา แม้มิได้บรรยาย ฟ้องของโจทก์ก็ไม่เคลือบคลุม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 กำหนดว่าการที่จะมีภารจำยอมได้จะต้องมีที่ดินสองแปลง โดยที่ดินแปลงหนึ่งตกอยู่ในภารจำยอมของที่ดินอีกแปลงหนึ่ง และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 กำหนดว่าการที่จะได้ภารจำยอมโดยอายุความจะต้องเป็นการใช้เพื่อตน มิใช่เป็นการอาศัย ก่อนปี 2518 ทางพิพาทอยู่ในที่ดินของผู้มีชื่อซึ่งเป็นแปลงเดียวกันยังมิได้แบ่งแยก การใช้ทางพิพาทช่วงนี้จึงเป็นการใช้ในฐานะอาศัยเจ้าของที่ดิน ไม่เป็นการใช้สิทธิภารจำยอม ต่อมาภายหลังผู้มีชื่อได้แบ่งแยกที่ดินบางส่วนให้แก่โจทก์โดยพวกของโจทก์ได้ซื้อที่ดินจากโจทก์ และทางพิพาทอยู่ในที่ดินของจำเลย โจทก์กับพวกได้ใช้ทางพิพาทเดินเข้าออกสู่ทางสาธารณะเรื่อยมาเป็นระยะเวลาเกิน 10 ปีแล้วโดยไม่มีผู้ใดโต้แย้งทักท้วงและโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ใดทางพิพาทจึงตกเป็นทางภารจำยอมโดยอายุความได้สิทธิแก่โจทก์กับพวกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยการใช้ทางต่อเนื่องเกิน 10 ปี และการรุกล้ำแนวเขตทางเดิน
โจทก์ใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาให้เป็นทางภาระจำยอมติดต่อกันมาเป็นเวลากว่า 10 ปี ทางพิพาทจึงตกเป็นภาระจำยอมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1401 ประกอบมาตรา 1382 จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 กั้นรั้วสังกะสีในทางพิพาทอันเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ด้วย แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้บรรยายด้วยถ้อยคำว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยความสงบและด้วยเจตนาให้เป็นภาระจำยอมติดต่อกันเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่ก็ได้บรรยายไว้ชัดแจ้งว่าที่ดินของโจทก์โฉนดเลขที่60457 และ 70344 และที่ดินโฉนดเลขที่ 60458 ของจำเลยที่ 1 ซึ่งโอนขายให้แก่จำเลยที่ 2 เดิมเป็นของ ล. ก่อนที่ ล.จะจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่60458 ให้จำเลยที่ 1 ล.ได้แบ่งแยกที่ดินในนามเดิมโดยกันที่ดินส่วนหนึ่งกว้าง1 เมตร ยาว 12 เมตร ด้านทิศตะวันตก (ทางพิพาท) ให้เป็นภาระจำยอมต่อมาจำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับโอนขายที่ดินโฉนดเลขที่ 60458 นำช่างแผนที่ไปรังวัดที่ดินโฉนดเลขที่ 60458 ด้านทิศตะวันตกรุกล้ำแนวเขตที่ดินที่เป็นทางภาระจำยอมดังกล่าวแล้วกั้นรั้วสังกะสีปิดกั้นทางเดินทำให้ที่ดินที่เป็นภาระจำยอมนั้นลดและแคบลงคงเหลือกว้าง 1 เมตร ยาว 12 เมตร เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถใช้ทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้เช่นเคยปฏิบัติกันมาตามปกติที่เคยใช้เป็นทางภาระจำยอม กว้าง 2 เมตร ยาว 12 เมตร มานานไม่น้อยกว่า 20 ปีเศษข้อความที่ว่า ล.กันทางพิพาทให้เป็นภาระจำยอมและโจทก์ได้ใช้ทางพิพาทอย่างภาระจำยอมดังกล่าวเข้าออกสู่ทางสาธารณะตามปกติอย่างภาระจำยอมไม่น้อยกว่า 20 ปีเศษนั้น มีความหมายเช่นเดียวกับข้อความว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทโดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นภาระจำยอมเกินกว่า 10 ปี ถือได้ว่าฟ้องโจทก์บรรยายข้อความครบถ้วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 ประกอบมาตรา1382 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5114/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมโดยการใช้ต่อเนื่อง & สิทธิทางจำกัดเมื่อทราบข้อจำกัดการใช้ทาง
การที่โจทก์และครอบครัวใช้ทางพิพาทเป็นทางเดินเข้าออกสู่ทางสาธารณะตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา โดยจำเลยไม่ได้โต้แย้งหรือหวงห้ามไม่ให้ใช้ทางเดินแต่อย่างใด แต่กลับได้ความว่าจำเลยมีเจตนาให้ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมมาแล้วตั้งแต่ปี 2516 ดังนี้ การใช้ทางพิพาทของโจทก์จึงหาใช่ใช้โดยถือวิสาสะไม่ เมื่อโจทก์ได้ใช้ทางดังกล่าวเป็นทางเดินโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลากว่าสิบปีแล้วจึงได้ภาระจำยอม ตาม ป.พ.พ.มาตรา1401 ประกอบมาตรา 1382
โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวโจทก์รู้ดีอยู่แล้วว่าโจทก์ไม่อาจใช้รถยนต์แล่นเข้าออกผ่านทางพิพาทได้ คงใช้ทางพิพาทได้เฉพาะการเดินเข้าออกเท่านั้น ดังนี้เมื่อโจทก์ยอมรับสภาพการที่จะไม่ใช้รถยนต์เข้าออกในทางพิพาทขณะที่โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวมา ทั้งก่อนที่โจทก์จะซื้อรถยนต์โจทก์ก็รู้อยู่แล้วว่า โจทก์ไม่อาจนำรถยนต์เข้าออกที่ดินและตึกแถวของโจทก์ผ่านทางพิพาทได้ เท่ากับโจทก์ยอมรับสภาพที่จะต้องจอดรถยนต์ไว้ในสถานที่อื่น โจทก์จึงไม่อาจอ้างได้ว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นเพื่อการใช้รถยนต์
โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวโจทก์รู้ดีอยู่แล้วว่าโจทก์ไม่อาจใช้รถยนต์แล่นเข้าออกผ่านทางพิพาทได้ คงใช้ทางพิพาทได้เฉพาะการเดินเข้าออกเท่านั้น ดังนี้เมื่อโจทก์ยอมรับสภาพการที่จะไม่ใช้รถยนต์เข้าออกในทางพิพาทขณะที่โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวมา ทั้งก่อนที่โจทก์จะซื้อรถยนต์โจทก์ก็รู้อยู่แล้วว่า โจทก์ไม่อาจนำรถยนต์เข้าออกที่ดินและตึกแถวของโจทก์ผ่านทางพิพาทได้ เท่ากับโจทก์ยอมรับสภาพที่จะต้องจอดรถยนต์ไว้ในสถานที่อื่น โจทก์จึงไม่อาจอ้างได้ว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นเพื่อการใช้รถยนต์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3944/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางต่อเนื่องโดยไม่ขัดขวาง ย่อมได้สิทธิภารจำยอม แม้เจ้าของที่ดินยินยอมโดยทั่วไป
โจทก์ทั้งสิบซึ่งมีที่ดินและบ้านเรือนอยู่ด้านหลังที่ดินจำเลยและชาวบ้านใกล้เคียงได้ใช้ทางพิพาทซึ่งเป็นคันดินร่องสวนในที่ดินโฉนดเลขที่ 3818 ของจำเลยเดินออกสู่ถนนสาธารณะมาประมาณ 50 ปี โดยเจ้าของเดิมไม่ได้ห้ามปรามและเมื่อจำเลยซื้อที่ดินดังกล่าวมาก็ไม่ปรากฎว่าจำเลยได้ห้ามปรามยังคงให้เดินผ่านตลอดมา แม้จำเลยปลูกสร้างรั้วในที่ดินก็ยังเว้นทางเดินให้อยู่นอกรั้วที่จำเลยก่อสร้างเมื่อโจทก์ทั้งสิบและชาวบ้านเดินเข้าออกในทางพิพาทเกิน10 ปี ติดต่อกันโดยไม่ต้องขออนุญาตผู้ใด และเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของชาวบ้านในท้องถิ่นที่เอื้อเฟื้อกัน กรณีผู้ที่อยู่ในสวนลึกจะต้องอาศัยเดินผ่านสวนของผู้อื่นออกสู่ทางสาธารณะการยินยอมอนุญาตดังกล่าวเป็นการยินยอมอนุญาตโดยทั่วไปที่ไม่หวงห้ามหรือสงวนสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ของตน ยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน เป็นภารจำยอมที่เกิดขึ้นโดยสมัครใจ จึงมิใช่การอนุญาตด้วยความคุ้นเคยเป็นการเฉพาะตัวหรือเป็นการถือวิสาสะ ดังนี้โจทก์ทั้งสิบจึงได้สิทธิภารจำยอมในทางพิพาทโดยอายุความ ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจว่าการเดินเผชิญสืบในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวเป็นการเพียงพอที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาได้การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดเดินเผชิญสืบจึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกำหนดอัตราค่าทนายความในคดีไม่มีทุนทรัพย์ขั้นสูงในศาลชั้นต้นไว้ 3,000 บาท คดีนี้แม้มีโจทก์ 10 คน แต่ฟ้องรวมเป็นคดีเดียว โจทก์ทั้งสิบจึงมีสิทธิได้ค่าทนายความอย่างสูงเพียง 3,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5605/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความ: การใช้ที่ดินเป็นสนามเด็กเล่นต่อเนื่องกว่า 10 ปี ถือเป็นการได้สิทธิภารจำยอม
โจทก์ทั้งห้าสิบสี่ได้ร่วมกันใช้ที่ดินแปลงพิพาทเป็นสนามเด็กเล่นของเด็ก ๆ ที่อยู่ในที่ดินโจทก์ทั้งห้าสิบสี่ตามข้อตกลงที่จำเลยให้ไว้แก่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรในหมู่บ้านต่อเนื่องกันมากว่า 10 ปีแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ทั้งห้าสิบสี่ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่ซื้อมาจากจำเลยมีสิทธิภารจำยอมเหนือที่ดินแปลงพิพาท จึงได้ภารจำยอมโดยอายุความ เพื่อประโยชน์ในการที่จะใช้เป็นสนามเด็กเล่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมทางเดิน: การใช้ทางต่อเนื่องกว่า 10 ปี และสิทธิของผู้รับมรดก
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายประกอบเอกสารกับภาพถ่ายท้ายฟ้องอันถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องไว้แล้วว่า เดิม พ.สามีจำเลยจัดสรรแบ่งขายที่ดินตามโฉนดเลขที่ 2800 ให้แก่คนทั่วไปโดยที่ดินส่วนหนึ่งคือที่ดินพิพาทหรือทางพิพาทตามโฉนดเลขที่10514 ได้เว้นไว้สำหรับทำทางเดินและทางรถกว้าง 2 วา ตามแผนที่โฉนดท้ายฟ้องหมายเลข 2 โจทก์ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะกว่า 10 ปี และบรรยายต่อไปว่าจำเลยได้ให้คนปักเสาขึงลวดหนามกั้นเขตที่ดินโจทก์ และปักเสา 3 ต้น ขวางถนนเข้าบ้านโจทก์ตามภาพถ่ายหมายเลข 4 และ 5 ตามลำดับ ทำให้โจทก์รับความเสียหายเสื่อมประโยชน์โดยไม่อาจทำประตูเข้าออกบ้านได้ ฟ้องของโจทก์บรรยายชัดเจนซึ่งสภาพแห่งข้อหาปิดกั้นทางภาระจำยอม คำขอบังคับให้จำเลยรื้อรั้วและเสาที่กั้นเขตที่ดิน กั้นทางเข้าออก ตลอดถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
เดิม พ.ประสงค์ให้ทางพิพาทเป็นแนวถนนของที่ดินที่แบ่งจัดสรรทุกแปลงรวมทั้งที่ดินของโจทก์ด้วย เมื่อโจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่อาศัยและใช้ทางพิพาทตลอดมากว่า 10 ปี โดยจำเลยไม่ได้แสดงการสงวนสิทธิในที่ดินพิพาทหรือทางพิพาทไว้โจทก์จึงได้ภาระจำยอมในทางพิพาทตลอดแนวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 จำเลยผู้รับมรดกทางพิพาทอันเป็นภารยทรัพย์จึงจำต้องรับภาระจำยอมดังกล่าว ไม่มีสิทธิปิดกั้นรุกล้ำแนวทางพิพาทหรือประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตามมาตรา 1390
หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล โจทก์อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิได้อยู่แล้ว โจทก์จะขอรื้อถอนเองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำขอส่วนนี้ของโจทก์จึงชอบแล้ว มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด
เดิม พ.ประสงค์ให้ทางพิพาทเป็นแนวถนนของที่ดินที่แบ่งจัดสรรทุกแปลงรวมทั้งที่ดินของโจทก์ด้วย เมื่อโจทก์ได้ปลูกบ้านอยู่อาศัยและใช้ทางพิพาทตลอดมากว่า 10 ปี โดยจำเลยไม่ได้แสดงการสงวนสิทธิในที่ดินพิพาทหรือทางพิพาทไว้โจทก์จึงได้ภาระจำยอมในทางพิพาทตลอดแนวตาม ป.พ.พ. มาตรา 1401 จำเลยผู้รับมรดกทางพิพาทอันเป็นภารยทรัพย์จึงจำต้องรับภาระจำยอมดังกล่าว ไม่มีสิทธิปิดกั้นรุกล้ำแนวทางพิพาทหรือประกอบกรรมใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกตามมาตรา 1390
หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล โจทก์อาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดการให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิได้อยู่แล้ว โจทก์จะขอรื้อถอนเองโดยให้ศาลบังคับให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายหาได้ไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำขอส่วนนี้ของโจทก์จึงชอบแล้ว มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2655/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางภาระจำยอมโดยการใช้ต่อเนื่อง ทางสาธารณะ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ทางพิพาทเป็นทางเดินสาธารณะอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินโจทก์ โจทก์ได้ใช้ทางเดินดังกล่าวออกสู่ถนนนานเกินกว่าสิบปีจนทางเดินตกเป็นทางภาระจำยอม ดังนี้ ศาลพิพากษาว่าทางพิพาทเป็นทาง-สาธารณะตามที่บรรยายฟ้องมาได้ ไม่นอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4272/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละสิทธิเครื่องหมายการค้าผ่านการเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจและการใช้ต่อเนื่องโดยบริษัทใหม่
การที่บิดาโจทก์เลิกประกอบกิจการส่วนตัวในการค้าขายใบชาซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทที่ตนจดทะเบียนไว้มาประกอบกิจการค้าใบชาโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวในรูปของบริษัทจำเลย ตลอดจนการใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทกับใบชาของบริษัทจำเลยในลักษณะที่แสดงว่าบริษัทจำเลยเป็นเจ้าของสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดังปรากฎที่กล่องบรรจุใบชา นั้น ถือได้ว่าบิดาโจทก์ได้สละสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทโดยยอมให้เป็นทรัพย์สินของบริษัทจำเลยแล้วตั้งแต่ขณะบิดาโจทก์เลิกประกอบการค้าใบชาเป็นการส่วนตัวมาประกอบการค้าใบชาในรูปบริษัทจำเลยโดยมีตนเป็นกรรมการผู้จัดการ แม้หลักฐานการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทจะปรากฎชื่อบิดาโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าว โดยบิดาโจทก์ยังมิได้ไปจดทะเบียนโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นให้จำเลยเพื่อให้สมบูรณ์ตามมาตรา33 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นก็ตาม แต่ก็ถือไม่ได้ว่าบิดาโจทก์ยังคงเป็นเจ้าของสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทต่อไป การที่ปรากฎชื่อบิดาโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทตามหลักฐานการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า มีผลเพียงเท่ากับบิดาโจทก์เป็นผู้ถือสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้แทนจำเลยเท่านั้น เมื่อต่อมาบิดาโจทก์ถึงแก่กรรม สิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทจึงไม่เป็นทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ทายาท การที่ ว. และโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกไปขอจดทะเบียนต่ออายุเครื่องหมายการค้าพิพาท จึงมีผลเป็นเพียงการถือสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทไว้แทนจำเลยเช่นเดียวกัน เมื่อจำเลยเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทและใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าใบชาที่จำเลยผลิตออกจำหน่ายตั้งแต่ พ.ศ.2494 ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งไม่ปรากฎว่าโจทก์เคยทำการค้าขายใบชาโดยใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทแต่อย่างใด จำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์และย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทที่โจทก์ยื่นจดทะเบียนต่ออายุดังกล่าวได้ตามมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยการใช้ต่อเนื่องแม้กรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือ การใช้แทนโจทก์ทำให้ระยะเวลาต่อเนื่องนับรวมได้
แม้โจทก์จะเพิ่งปลูกบ้านในที่ดินโฉนดเลขที่ 58 เมื่อปลายปี2519 ซึ่งเชื่อได้ว่าโจทก์ได้ใช้ทางเดินพิพาทด้วยตนเองเดินออกสู่ถนนทางสาธารณะตั้งแต่นั้นมาจนกระทั่งจำเลยปิดกั้นทางเดินพิพาทเมื่อเดือนเมษายน 2528 รวมเวลาที่โจทก์ใช้ทางเดินพิพาทด้วยตนเองไม่ถึง 10 ปี ก็ตาม แต่โจทก์ก็รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 58มาจาก ฟ.ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของเดิมมาตั้งแต่ปี2515ซึ่งฟ.และครอบครัวได้ใช้ทางเดินพิพาทเดินออกถนนสาธารณะมาตั้งแต่ปี 2515ตลอดมา การใช้ทางเดินพิพาทของ ฟ. และครอบครัวก่อนที่โจทก์จะเข้ามาปลูกบ้านในที่ดินจึงเป็นการใช้แทนโจทก์ เมื่อรวมระยะเวลาตั้งแต่ ฟ. และครอบครัวใช้ทางเดินพิพาทแทนโจทก์ ในปี2515 ตลอดมาจนกระทั่งโจทก์ใช้ทางเดินพิพาทด้วยตนเองในปี2519 ต่อ ๆ มาจนจำเลยปิดกั้นทางเดินพิพาทเมื่อเดือนเมษายน2528 ก็เป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว ทางเดินพิพาทจึงตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 58 ของโจทก์