พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1766/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีธุรกิจเฉพาะ: การได้มาซึ่งอาคารจากการก่อสร้างเองถือเป็นการได้มาภายหลัง ทำให้ต้องเสียภาษีหากขายภายใน 5 ปี
ตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 มาตรา 3 (6) วรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณีที่ที่ดินและอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างได้มาไม่พร้อมกัน กำหนดเวลา 5 ปี ให้ถือตามระยะเวลาการได้มาซึ่งที่ดิน หรืออาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้มาภายหลัง" ความหมายของการได้มาซึ่งอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตามบทบัญญัติดังกล่าว ย่อมต้องหมายความรวมถึงการได้มาโดยเจ้าของที่ดินก่อสร้างเอง หรือซื้อมา หรือรับโอนมาด้วยประการใด ๆ ดังนั้น การที่โจทก์ลงทุนปลูกสร้างอาคารลงในที่ดินของโจทก์เอง ก็ต้องถือว่าโจทก์ได้อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างมาภายหลังจากได้ที่ดินมาแล้ว เมื่อโจทก์ขายที่ดินและอาคารดังกล่าวไปภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่ได้อาคารมาโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีธรุกิจเฉพาะสำหรับที่ดินและอาคารนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4982/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส-ทรัพย์สินส่วนตัว: การได้มาซึ่งที่ดินระหว่างสมรสโดยการยกให้ และสิทธิในการอ้างว่าไม่ใช่ทรัพย์มรดก
แม้ผู้ร้องจะได้ที่ดินพิพาทมาในระหว่างสมรส กับผู้ตาย แต่ปรากฏว่าเป็นกรณีได้รับยกให้ที่ดิน ภายหลังจากประกาศใช้ พระราชบัญญัติให้ใช้ บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 เมื่อไม่ปรากฏมี หนังสือยกให้โดยระบุให้เป็นสินสมรส ก็ต้องถือว่า เป็นการยกที่ดินให้เป็นสินส่วนตัวแก่ผู้ร้อง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1471(3) การที่ผู้ร้องเป็นภริยาของผู้ตายซึ่งเป็นหนี้ โจทก์ตามคำพิพากษาอันเป็นความรับผิดในฐานะ ทายาทผู้รับมรดกของผู้ตายซึ่งจะต้องรับผิด ในหนี้สินดังกล่าวต่อโจทก์เมื่อผู้ร้องได้รับมรดก ของผู้ตายเท่านั้น เมื่อผู้ร้องไม่ได้รับมรดกและ โจทก์ก็มิได้ฟ้องผู้ร้องให้รับผิดต่อโจทก์ในฐานะหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา โจทก์เพิ่งมานำสืบ ในชั้นร้องขัดทรัพย์ว่าผู้ตายกู้ยืมเงินโจทก์ไปใช้จ่าย ในครอบครัวและเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร จะให้ฟังว่าผู้ร้องต้องรับผิดในฐานะที่เป็นหนี้ร่วม ระหว่างผู้ร้องกับผู้ตายหาได้ไม่ ตามคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้อง ผู้ร้องได้บรรยายให้ปรากฏชัดแล้วว่า ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์นำยึดคดีนี้ ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ตายทั้งมิใช่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันระหว่างผู้ตายกับผู้ร้องแต่เป็นทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ร้องและ ต. ร่วมกันแสดงว่าผู้ร้องได้อ้างแล้วว่าทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดมิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตาย เมื่อผู้ร้องมิใช่เป็นผู้รับมรดกของผู้ตาย ผู้ร้องในฐานะทายาทก็ไม่ต้องรับผิด ต่อโจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยยกคำร้องของ ผู้ร้องโดยอ้างว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ปล่อย ทรัพย์พิพาทจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4474/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งที่ดินโดยการชำระหนี้ การครอบครองปรปักษ์ และสิทธิในการครอบครองที่ดิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทตามหนังสือแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) จาก ป. และจ. ป. และ จ. ได้มอบสิทธิครอบครองที่พิพาทและหนังสือแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 ให้แก่โจทก์เข้าครอบครองอย่างเป็นเจ้าของตลอดมา จำเลยทั้งสี่ให้การต่อสู้คดีว่า ป. และ จ. ได้กู้เงินโจทก์และมอบที่พิพาทให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ย คดีจึงมีประเด็นพิพาทว่าโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาทหรือไม่ การที่โจทก์นำสืบว่า ป. กู้เงินโจทก์ และมอบ ส.ค.1 ที่พิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกัน หากไม่ชำระเงินกู้คืนภายในกำหนด ป.ยินยอมสละสิทธิที่พิพาทแก่โจทก์ ต่อมา ป. ไม่ชำระเงินคืนภายในกำหนดจึงยกที่พิพาทชำระหนี้ โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมา การนำสืบของโจทก์ดังกล่าวจึงมีความหมายว่า โจทก์ได้ซื้อที่พิพาทจาก ป. ในราคาเท่ากับจำนวนเงินที่ ป. กู้เงินโจทก์ไป เป็นการนำสืบให้เห็นถึงที่มาของที่พิพาทว่าโจทก์ได้ที่พิพาทมาอย่างไรซึ่งเป็นการนำสืบในประเด็นเดียวกันว่าโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาทหรือไม่นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น โจทก์เป็นผู้ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของ โดย จ.ผู้มีสิทธิครอบครองเดิมมิได้เกี่ยวข้องกับที่พิพาทแล้วการที่ จ. ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ก.สำหรับที่พิพาทตามที่เจ้าพนักงานแนะนำเพื่อโอนที่พิพาทให้โจทก์ มิใช่เพื่อยึดถือที่พิพาทเป็นของ จ. เองจ. ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ป. ได้กู้เงินโจทก์ และไม่ชำระเงินคืนภายในกำหนดจึงยกที่พิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญา โจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมาโดยความสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ โจทก์ย่อมเป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเดินทางและภาระจำยอม: การได้มา การสูญเสีย และผลกระทบต่อผู้รับโอน
เดิมที่ดินโฉนดเลขที่ 610 เป็นของบิดาจำเลยที่ 1 เคยให้โจทก์ทั้งสองเช่าบางส่วน เมื่อบิดาจำเลยที่ 1 ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1ได้รับมรดกที่ดินแปลงดังกล่าวแล้วนำไปแบ่งขายให้แก่โจทก์ทั้งสอง ขณะที่เช่าที่ดินกับบิดาจำเลยที่ 1 บิดาจำเลยที่ 1 อนุญาตให้โจทก์ทั้งสองเดินผ่านที่ดินพิพาทหลังจากนั้นจำเลยที่ 1 ก็ได้ให้โจทก์ทั้งสองเดินผ่านที่ดินพิพาทดังกล่าว การที่โจทก์ทั้งสองใช้สิทธิเดินผ่านที่ดินพิพาท จึงเป็นการได้รับอนุญาตให้มีสิทธิเดินผ่านจากบิดาจำเลยที่ 1 และตัวจำเลยที่ 1 นั่นเอง โจทก์ทั้งสองมิได้เดินในที่พิพาทโดยอาศัยอำนาจแห่งตนและขณะนั้นที่ดินดังกล่าวยังเป็นที่ดินแปลงเดียวกันอยู่กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องการมีสิทธิเหนือที่ดินแปลงหนึ่งเพื่อประโยชน์ของที่ดินอีกแปลงหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 เพิ่งจะซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 16กุมภาพันธ์ 2524 โจทก์ที่ 2 ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์2527 นับถึงวันฟ้องวันที่ 31 มกราคม 2534 ยังไม่ครบ 10 ปี ถึงแม้หากโจทก์ทั้งสองจะใช้สิทธิโดยอำนาจแห่งตนโดยพลการเดินผ่านที่ดินพิพาทของจำเลยที่ 1ตั้งแต่ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 ก็หาอาจได้สิทธิภาระจำยอมในทางเดินในที่ดินพิพาทดังกล่าวไม่
ที่โจทก์ที่ 2 อ้างว่าในการซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1เคยทำสัญญาไว้ว่า เมื่อซื้อที่ดินแล้วจะเปิดทางให้ทำถนนนั้น ก็ปรากฏว่าสัญญาดังกล่าวกระทำกันระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ส. มิได้กระทำกับโจทก์ที่ 2 ซึ่งโจทก์ที่ 2 เองก็เบิกความว่าขณะทำสัญญาดังกล่าวโจทก์ที่ 2 ได้หย่าขาดกับ ส.แล้ว และมิได้มีการจดทะเบียนให้ทางเดินในที่ดินพิพาทเป็นทางเดินภาระจำยอมไว้ ทั้งสัญญาซื้อขายดังกล่าวก็เป็นบุคคลสิทธิ บังคับได้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ส.ไม่มีเหตุที่โจทก์ที่ 2 จะนำสัญญาดังกล่าวมาบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตามเพื่อประโยชน์ของโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาได้
ขณะที่โจทก์ที่ 2 สร้างถนนคอนกรีตบางส่วนบนที่ดินพิพาทนั้นจำเลยที่ 1 อนุญาตให้โจทก์ที่ 2 ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเดินอยู่ การสร้างถนนคอนกรีตของโจทก์ที่ 2 จึงเป็นการสร้างโดยได้รับอนุญาต เมื่อจำเลยที่ 2ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่อนุญาตให้โจทก์ที่ 2 ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเดินต่อไปอีก โจทก์ที่ 2 จึงต้องรื้อถนนคอนกรีตส่วนนี้ออก เมื่อโจทก์ที่ 2 ไม่ยินยอมรื้อจำเลยที่ 2 จึงชอบที่จะฟ้องแย้งบังคับโจทก์ที่ 2 ให้รื้อถนนคอนกรีตดังกล่าวได้
ที่โจทก์ที่ 2 อ้างว่าในการซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1เคยทำสัญญาไว้ว่า เมื่อซื้อที่ดินแล้วจะเปิดทางให้ทำถนนนั้น ก็ปรากฏว่าสัญญาดังกล่าวกระทำกันระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ส. มิได้กระทำกับโจทก์ที่ 2 ซึ่งโจทก์ที่ 2 เองก็เบิกความว่าขณะทำสัญญาดังกล่าวโจทก์ที่ 2 ได้หย่าขาดกับ ส.แล้ว และมิได้มีการจดทะเบียนให้ทางเดินในที่ดินพิพาทเป็นทางเดินภาระจำยอมไว้ ทั้งสัญญาซื้อขายดังกล่าวก็เป็นบุคคลสิทธิ บังคับได้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ส.ไม่มีเหตุที่โจทก์ที่ 2 จะนำสัญญาดังกล่าวมาบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติตามเพื่อประโยชน์ของโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาได้
ขณะที่โจทก์ที่ 2 สร้างถนนคอนกรีตบางส่วนบนที่ดินพิพาทนั้นจำเลยที่ 1 อนุญาตให้โจทก์ที่ 2 ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเดินอยู่ การสร้างถนนคอนกรีตของโจทก์ที่ 2 จึงเป็นการสร้างโดยได้รับอนุญาต เมื่อจำเลยที่ 2ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทไม่อนุญาตให้โจทก์ที่ 2 ใช้ที่ดินพิพาทเป็นทางเดินต่อไปอีก โจทก์ที่ 2 จึงต้องรื้อถนนคอนกรีตส่วนนี้ออก เมื่อโจทก์ที่ 2 ไม่ยินยอมรื้อจำเลยที่ 2 จึงชอบที่จะฟ้องแย้งบังคับโจทก์ที่ 2 ให้รื้อถนนคอนกรีตดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งที่ดินโดยการยกให้ และการครอบครองปรปักษ์ ทำให้ที่ดินนั้นไม่เป็นทรัพย์มรดก
คำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยไปให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่า ป. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยมาประมาณ 13 ปี และจำเลยครอบครองต่อเนื่องเรื่อยมาซึ่งไม่เป็นความจริง จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยและ ด. ได้ครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตลอดมาจนกระทั่ง ด. ถึงแก่กรรมจำเลยก็ครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมา รวมเวลากว่า 13 ปี ที่ดินพิพาทจึงไม่ใช่ทรัพย์มรดกของป. ซึ่งศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทที่ดินพิพาทเป็นมรดกหรือไม่ ดังนั้นการนำสืบของจำเลยเกี่ยวกับการได้มาซึ่งที่ดินพิพาทเพื่อแสดงให้เห็นว่าที่ดินพิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกของป. จึงเป็นการนำสืบตามประเด็นข้อพิพาทในคำฟ้องและคำให้การ หาใช่นำสืบนอกคำให้การไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6515/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยไม่สุจริตและผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์แล้ว โจทก์ซื้อที่ดินดังกล่าวมาโดยไม่สุจริต ไม่ได้เสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยไม่สุจริต กล่าวคือ โจทก์อ้างว่าซื้อที่ดินมาตามโฉนด แต่โจทก์ไม่ได้มาดูที่ดินหรือสอบถามเสียก่อนว่ามีอาณาเขตจากไหนถึงไหน มียุ้งฉางอยู่ก่อนโดยอาศัยสิทธิอย่างไรและมีการล้อมรั้วลวดหนามเป็นอย่างไร ซึ่งผิดวิสัยของบุคคลที่จะซื้อที่ดิน อันเป็นการแสดงโดยแจ้งชัดถึงการได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าวโดยไม่สุจริตของโจทก์ คำให้การของจำเลยดังกล่าวชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสองจึงมีประเด็นที่จำเลยจะสืบตามข้อสู้ได้ว่าโจทก์ได้สิทธิมาโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ.1299 วรรคสอง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยและพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีมา ย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4596/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินจากการขายทอดตลาด: การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์สมบูรณ์หลังศาลฎีกาตัดสิน
ผู้ทอดตลาดได้เคาะไม้ในการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลย ตามคำสั่งศาลแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้สู้ราคาแล้ว แต่จำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลยกเลิกการขายทอดตลาด ซึ่งเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการขายทอดตลาดอยู่จนกระทั่งศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ให้ยกคำร้องของจำเลยเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2537 ทำให้ข้อโต้แย้งดังกล่าวถึงที่สุดทั้งผู้ร้องได้ชำระเงินครบถ้วนเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2537การขายทอดตลาดจึงเสร็จสมบูรณ์ในวันดังกล่าวเมื่อการขายทอดตลาดยังไม่เสร็จสมบูรณ์ในวันที่ผู้ทอดตลาดเคาะไม้ขายให้แก่ผู้ร้องเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2533กรรมสิทธิ์ในที่ดินจึงยังคงเป็นของจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิได้ซึ่งผลประโยชน์ในตลาดที่ปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าวอันเป็นดอกผลในที่ดิน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจเก็บรวบรวมดอกผลนั้นไว้ในกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7487/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองและการสืบทอดมรดก
จ.ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี แล้ว จ.จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สิทธิอันเป็นสิทธิอย่างหนึ่งที่เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 และ 1600 จึงตกทอดได้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุตรของ จ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การได้มา การระงับ และการพิสูจน์สิทธิ
คำฟ้องโจทก์ได้ความว่า เดิมโจทก์ได้แบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดแจ้งขอจับจองและได้รับใบจองในชื่อจำเลย แต่จำเลยและผู้ร้องสอดไม่ได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ โจทก์จึงเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมาโดยไม่มีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิ อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทยังเป็นของโจทก์อยู่ แม้โดยพฤตินัยจำเลยและผู้ร้องสอดจะไม่ได้รบกวนโต้แย้งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทของโจทก์ทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองก็ตาม แต่โจทก์ยังมีคำขอห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาทด้วย โดยจำเลยและผู้ร้องสอดต่างยืนยันในคำให้การและคำร้องว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องสอดที่ให้จำเลยมีชื่อเป็นผู้เข้าทำกิน ซึ่งเป็นการโต้แย้งการเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทของโจทก์ตามป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยเจตนายึดถือเพื่อตนตลอดมานาน 20 ปี แม้โจทก์เคยยกที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องสอดและผู้ร้องสอดให้จำเลยไปขอออกใบจองจนกระทั่งได้รับหนังสือสำคัญแบบแจ้งการครอบครองแทนผู้ร้องสอดแล้วก็ตาม เมื่อการขอจับจองไม่ชอบด้วยกฎหมายและจำเลยกับผู้ร้องสอดไม่เคยเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ผู้ร้องสอดจึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทยังคงเป็นของโจทก์
โจทก์เป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยเจตนายึดถือเพื่อตนตลอดมานาน 20 ปี แม้โจทก์เคยยกที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องสอดและผู้ร้องสอดให้จำเลยไปขอออกใบจองจนกระทั่งได้รับหนังสือสำคัญแบบแจ้งการครอบครองแทนผู้ร้องสอดแล้วก็ตาม เมื่อการขอจับจองไม่ชอบด้วยกฎหมายและจำเลยกับผู้ร้องสอดไม่เคยเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ผู้ร้องสอดจึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทยังคงเป็นของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท: การได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผลกระทบต่อผู้รับโอน
ห. เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมิได้ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ครอบครองที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องและนำสืบพยานหลักฐานเท็จต่อศาลชั้นต้นในคดีแพ่งว่าได้ครอบครองปรปักษ์จนได้กรรมสิทธิ์ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งแสดงว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 1คดีถึงที่สุด คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีที่มีผลเป็นอย่างเดียวกับคำพิพากษาและเป็นคดีฝ่ายเดียวโจทก์ในฐานะทายาทของ ห. มิได้เป็นคู่ความในคดีนั้น จึงเป็นบุคคลภายนอกย่อมมีสิทธิพิสูจน์ได้ว่ามีสิทธิดีกว่าจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 การที่จำเลยที่ 1โอนที่ดินพิพาทที่ตนไม่มีกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่ 2 จึงไม่ก่อให้เกิดกรรมสิทธิ์ขึ้นมาเป็นของจำเลยที่ 2 ผู้รับโอน แม้จำเลยที่ 2จะเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตก็ตามจำเลยที่ 2 ก็ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามกฎหมายอันจะอ้างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 มาต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ ห. ได้