คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การได้สิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ทางพิพาทเกิน 10 ปี ไม่ถือเป็นการได้สิทธิภาระจำยอม หากขาดเจตนาและลักษณะตามกฎหมาย
โจทก์ทั้งหกใช้ทางพิพาทโดยขออาศัยสิทธิของเจ้าของทางพิพาทเดิม แม้จะใช้ทางพิพาทตลอดมาเกิน 10 ปี ก็ไม่ถือว่าเป็นการใช้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาจะให้ได้สิทธิภาระจำยอม ทางพิพาทจึงไม่ตกอยู่ในภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6559/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการคัดค้านการยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย ขึ้นอยู่กับสถานะการได้สิทธิในทรัพย์สินนั้น
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาทรายเดียวกันในคดีแพ่ง ซึ่งถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยไม่ใช่ของผู้ร้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของผู้ร้อง แม้ที่ดินพิพาทจะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และผู้ร้องเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท ผู้ร้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเกษตรกรเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทนั้น แต่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้รอการพิจารณาคำร้องขอเข้าอยู่อาศัยและทำประโยชน์ของผู้ร้องไว้ เพราะที่ดินพิพาทถูกยึด ผู้ร้องจึงยังไม่ได้รับสิทธิให้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ยังไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิร้องขอให้มีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีและให้ถอนการยึดตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 158 ต้องยกคำร้องขอ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยว่ากรณีเป็นการร้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามฎีกาของผู้ร้องต่อไป เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยการใช้ทางต่อเนื่อง: การได้สิทธิภาระจำยอมจากการใช้ทางเป็นเวลาหลายสิบปี
จำเลยยินยอมให้โจทก์เดินและใช้เกวียนลากเข็นข้าวผ่านนาของจำเลยมาเป็นเวลาหลายสิบปี เฉพาะเวลาหมดฤดูทำนา ทางพิพาทนั้นก็ตกอยู่ในภาระจำยอมที่จะต้องให้โจทก์เดินผ่านได้เมื่อสิ้นฤดูทำนาแล้วตลอดไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7207/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์เป็นเหตุให้สิทธิผู้รับโอนบกพร่องหรือไม่ และเขตอำนาจศาลในคดีฟ้องขับไล่
ข้ออุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง แม้จะเป็นการอุทธรณ์ในเรื่องอำนาจฟ้องโจทก์อันเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่การจะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ล้วนต้องฟังข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติในเบื้องต้นเสียก่อนว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ซึ่งจะต้องมีการใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 เมื่อจำเลยทั้งสองอุทธรณ์โต้แย้งมาว่าจำเลยทั้งสองได้สิทธิในที่ดินพิพาท โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองมีการใช้สิทธิทางศาลมาก่อน ข้อที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างการได้สิทธิในที่ดินพิพาทจึงเป็นเพียงการอนุมานของจำเลยทั้งสองแต่เพียงฝ่ายเดียวเพื่อให้เป็นคุณแก่ตนในชั้นอุทธรณ์โดยอาศัยข้อเท็จจริงเพียงว่าจำเลยทั้งสองได้ครอบครองที่ดินพิพาทมาเป็นเวลาประมาณ 30 ปีแล้วเท่านั้น ซึ่งยังไม่อาจรับฟังในชั้นนี้ได้ว่าเป็นการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ และในขณะเดียวกันก็ไม่อาจรับฟังได้ว่า ฉ. เจ้าของที่ดินพิพาทคนเดิมเสียสิทธิในที่ดินพิพาทเพราะเหตุดังกล่าวให้แก่จำเลยทั้งสองอันจะทำให้สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้รับโอนต้องบกพร่องไปด้วยแต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอันจะนำไปสู่การวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ แต่ยังไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวให้เป็นที่ยุติและเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองได้ เพราะไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทในคดีที่จะนำไปสู่กระบวนพิจารณาด้วยพยานหลักฐาน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 เห็นว่า อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลชั้นต้น และยกอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองมา จึงชอบแล้ว
คดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่ ไม่ว่าโจทก์จะเรียกค่าเสียหายเป็นค่าเช่าในจำนวนเท่าใด ก็เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์ ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวและอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลแขวงตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 17 ส่วนเรื่องจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมานั้น เป็นเพียงข้อพิจารณาที่นำไปสู่ข้อจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง เท่านั้น