พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4625-4701/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวเลิกจ้างต้องแจ้งให้ทราบจริงและมีผลเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างครั้งถัดไป การคำนวณสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าต้องถูกต้อง
จำเลยมีหนังสือบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์แต่โจทก์ทราบการบอกกล่าว เลิกจ้างภายหลังดังนี้ต้องถือว่าจำเลยบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ในวันที่โจทก์ได้ทราบการบอกกล่าวเลิกจ้างและเป็นผลให้เลิกสัญญาจ้างกันเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 การบอกกล่าวเลิกจ้างของจำเลยที่ประสงค์ให้มีผลเลิกสัญญาก่อนกำหนดนี้จึงไม่ชอบ
จำเลยบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 29 มิถุนายน 2541 โจทก์ทราบการบอกกล่าวเลิกจ้างในวันที่ 1 กรกฎาคม 2541 เป็นผลให้เลิกสัญญาจ้างกันในวันที่ 30 สิงหาคม2541 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้าง 61 วัน แต่โจทก์ได้รับค่าจ้างเดือนสุดท้ายคือเดือนกรกฎาคม 2541 และได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในเดือนดังกล่าวไปแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเฉพาะเดือนสิงหาคม 2541 จำนวน 30 วัน การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้โจทก์ยังมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้าง 61 วัน เป็นการพิพากษาให้เกินสิทธิที่โจทก์มีสิทธิได้รับและเกินคำขอท้ายฟ้อง จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52 โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยหลังวันที่ 30 พฤษภาคม 2526 สิทธิได้รับค่าชดเชยหรือค่าชดเชยกับเงินบำเหน็จที่ต้องจ่ายเพิ่มในกรณีค่าชดเชยต่ำกว่าเงินบำเหน็จจะมีจำนวนเท่าใดย่อมเป็นไปตามข้อบังคับโรงงานน้ำตาลกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2527 ข้อ 12 ส่วนมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติให้กระทรวงการคลังพิจารณาสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่างๆกับให้นำเงินที่ได้จากการขายโรงงานน้ำตาลซึ่งเหลือจากการชำระหนี้ไปจ่ายเป็นค่าชดเชยและเงินบำเหน็จแก่พนักงานเป็นเพียงการอนุมัติให้กระทรวงการคลังสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และนำเงินที่เหลือไปจ่ายเป็นค่าชดเชยและเงินบำเหน็จแก่พนักงานที่มีสิทธิได้รับตามข้อบังคับโรงงานน้ำตาลกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2527 ข้อ 12 หาได้อนุมัติให้พนักงานมีสิทธิได้รับค่าชดเชยและเงินบำเหน็จเพิ่มขึ้นหรือผิดแผกไปจากที่กำหนดไว้ตามข้อบังคับดังกล่าวข้อ 12 ไม่
จำเลยบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์ในวันที่ 29 มิถุนายน 2541 โจทก์ทราบการบอกกล่าวเลิกจ้างในวันที่ 1 กรกฎาคม 2541 เป็นผลให้เลิกสัญญาจ้างกันในวันที่ 30 สิงหาคม2541 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้าง 61 วัน แต่โจทก์ได้รับค่าจ้างเดือนสุดท้ายคือเดือนกรกฎาคม 2541 และได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในเดือนดังกล่าวไปแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเฉพาะเดือนสิงหาคม 2541 จำนวน 30 วัน การที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้โจทก์ยังมีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้าง 61 วัน เป็นการพิพากษาให้เกินสิทธิที่โจทก์มีสิทธิได้รับและเกินคำขอท้ายฟ้อง จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52 โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยหลังวันที่ 30 พฤษภาคม 2526 สิทธิได้รับค่าชดเชยหรือค่าชดเชยกับเงินบำเหน็จที่ต้องจ่ายเพิ่มในกรณีค่าชดเชยต่ำกว่าเงินบำเหน็จจะมีจำนวนเท่าใดย่อมเป็นไปตามข้อบังคับโรงงานน้ำตาลกรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2527 ข้อ 12 ส่วนมติคณะรัฐมนตรีที่อนุมัติให้กระทรวงการคลังพิจารณาสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่างๆกับให้นำเงินที่ได้จากการขายโรงงานน้ำตาลซึ่งเหลือจากการชำระหนี้ไปจ่ายเป็นค่าชดเชยและเงินบำเหน็จแก่พนักงานเป็นเพียงการอนุมัติให้กระทรวงการคลังสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และนำเงินที่เหลือไปจ่ายเป็นค่าชดเชยและเงินบำเหน็จแก่พนักงานที่มีสิทธิได้รับตามข้อบังคับโรงงานน้ำตาลกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2527 ข้อ 12 หาได้อนุมัติให้พนักงานมีสิทธิได้รับค่าชดเชยและเงินบำเหน็จเพิ่มขึ้นหรือผิดแผกไปจากที่กำหนดไว้ตามข้อบังคับดังกล่าวข้อ 12 ไม่