คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กำหนดจ่ายเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าทดแทนที่ดินเวนคืน & ดอกเบี้ย กรณีศาลเพิ่มค่าทดแทน ต้องนับจากวันที่ครบกำหนดจ่ายเงิน
พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตภาษีเจริญ เขตจอมทอง เขตธนบุรีและเขตคลองสานกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533 มาตรา 4 ระบุให้อธิบดีกรมโยธาธิการเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน และการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเมื่อเป็นส่วนหนึ่งตามอำนาจหน้าที่ของกรมโยธาธิการจำเลยที่ 1 ในการดำเนินการ โดยมอบอำนาจหน้าที่ให้แก่อธิบดีกรมโยธาธิการจำเลยที่ 2 ลงชื่อในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และในการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์จำเลยที่ 2 ก็ทำในนามจำเลยที่ 1 การแจ้งการวางทรัพย์และขอให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างขนย้ายทรัพย์สินก็แจ้งเป็นหนังสือออกโดยกรมโยธาธิการ การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ก็แจ้งเป็นหนังสือที่ออกโดยจำเลยที่ 1 ตรงตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ให้เป็นอำนาจและ หน้าที่ของจำเลยที่ 1 ดังนี้ อำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2ที่ได้ดำเนินการไปย่อมต้องถือว่ากระทำในฐานะผู้แทนของ จำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการกำหนดเงินค่าทดแทนการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์และการฟ้องคดีของ ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไว้ โดยให้คณะกรรมการตามมาตรา 9 เป็นผู้กำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนก่อน เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนดราคาของ อสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนแล้ว ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจในราคาอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนด ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง เป็นลำดับต่อมาเพื่อให้รัฐมนตรีพิจารณาวินิจฉัย แล้วจึงถึงขั้นตอนการฟ้องคดีตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง คือ ในกรณีผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง หรือในกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสองก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับ แจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีหรือนับแต่วันที่พ้นกำหนด ดังกล่าวแล้วแต่กรณี โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขอ เงินค่าทดแทนเพิ่มในส่วนที่ดินที่ถูกเวนคืน ค่าต้นไม้ และ รั้ว โดยไม่ได้กล่าวอ้างว่าที่ดินโจทก์ในส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาลดลง เมื่อค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเป็นคนละส่วนคนละกรณีกันกับค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงสิทธิที่จะฟ้องเรียกค่าทดแทนไม่ว่าเป็นกรณีที่ดินที่ถูกเวนคืนหรือกรณีที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลง ก็ต้องดำเนินการผ่านขั้นตอนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 9 ประกอบด้วยมาตรา 25 วรรคหนึ่งและมาตรา 26 วรรคหนึ่งจึงจะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการตามมาตรา 9 คือ คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนอันทำให้ราคาลดลงให้แก่โจทก์ หากโจทก์ไม่พอใจการพิจารณาในส่วนนี้ของคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ โจทก์ต้องอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้พิจารณาวินิจฉัยกำหนดค่าทดแทนในส่วนนี้ให้แก่โจทก์เสียก่อน จึงจะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลเรียกค่าทดแทนในส่วนนี้ โจทก์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเพียงว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนค่าต้นไม้และค่ารั้วต่ำเกินไป ย่อมไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนในส่วนที่ดินโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนอันราคาลดลงด้วย เมื่อโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ในส่วนที่ดินโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนว่าราคาลดลงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องเงินค่าทดแทนในส่วนนี้จากจำเลย ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 11 วรรคหนึ่ง บัญญัติในกรณีที่มีการตกลง ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10 โดยให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จ่าย เงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เจ้าของหรือ ผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่ วันที่ทำสัญญาซื้อขาย และในมาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติในกรณี ที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุด ของดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารออมสิน ในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น ดังนี้ จำเลยทั้งสองจึงต้องจ่ายค่าที่ดินที่ถูกเวนคืนให้ โจทก์ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย แต่ในกรณีที่ศาลวินิจฉัยเพิ่มค่าทดแทนให้ ผู้มีสิทธิได้ รับค่าทดแทนย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยสำหรับค่าทดแทนนับแต่ วันที่ต้องมีการจ่ายเงินหรือวางเงินค่าทดแทน โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ กันในวันที่ 10 มิถุนายน 2535 ซึ่งจำเลยทั้งสองจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ให้โจทก์อย่างช้าภายในวันที่8 ตุลาคม 2535 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยสำหรับค่าทดแทนที่ศาลวินิจฉัยเพิ่มให้นับแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2535 แม้จำเลยทั้งสองจะจ่ายเงินค่าทดแทนให้โจทก์ในวันทำสัญญาซื้อขาย คือในวันที่ 10 มิถุนายน 2535 ก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสอง สมัครใจจ่ายให้ไปก่อนเอง ทั้งที่มีสิทธิจะจ่ายภายใน หนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย วันที่จำเลยทั้งสองจ่ายเงินให้โจทก์ไปดังกล่าวจึงมิใช่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนตามบทบัญญัติมาตรา 26 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6341/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ศาลมีอำนาจพิจารณาแก้ไขค่าทดแทนได้ และดอกเบี้ยเริ่มนับจากวันที่ครบกำหนดจ่ายเงิน
เมื่อจำเลยที่ 4 เป็นรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนพ.ศ. 2533 และยังเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวด้วยดังนี้ จำเลยที่ 4 จึงมีอำนาจควบคุมการดำเนินการเวนคืนและการกำหนดค่าทดแทนให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ทั้งตามมาตรา 9แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้จำเลยที่ 4 เป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นของอสังหาริมทรัพย์ ที่จะต้องเวนคืนและจำนวนเงินค่าทดแทน และมาตรา 27 ให้อำนาจสั่งคณะกรรมการดังกล่าวทบทวนราคาอสังหาริมทรัพย์และจำนวนเงินค่าทดแทนใหม่ได้ มาตรา 25 ให้อำนาจจำเลยที่ 4แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และยังเป็นผู้วินิจฉัยอุทธรณ์ด้วย เช่นนี้การกระทำของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกระทำในหน้าที่แทนกระทรวงคมนาคมจำเลยที่ 3ซึ่งเป็นต้นสังกัดที่มีอำนาจหน้าที่ในการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฉะนั้นเมื่อโจทก์เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวเห็นว่าการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ สำหรับที่ดินของโจทก์ที่ถูกกำหนดเป็นเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนดังกล่าวยังไม่เป็นธรรมและยังไม่พอใจในราคาอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่จำเลยที่ 4 วินิจฉัยซึ่งมาตรา 26 ก็กำหนดให้โจทก์ผู้ถูกเวนคืนมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ ดังนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ อำนาจพิจารณาวินิจฉัยของศาลเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์คู่ความก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ เมื่อราคาอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนและจำเลยเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 9 กำหนด หรือที่รัฐมนตรีวินิจฉัยอาจถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้โดยรัฐมนตรีหรือศาลแล้วแต่กรณีดังนั้นรัฐมนตรีหรือศาลจึงมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยทบทวนแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้อีกชั้นหนึ่ง และหากรัฐมนตรีหรือศาลพิจารณาวินิจฉัยแล้วเห็นสมควรกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนหรือจำนวนเงินค่าทดแทนมากกว่าที่คณะกรรมการตามมาตรา 9 กำหนดหรือที่รัฐมนตรีวินิจฉัยแล้วแต่กรณี ค่าทดแทนส่วนที่มากกว่าก็คือส่วนที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสามนั่นเอง เมื่อโจทก์ผู้ถูกเวนคืนได้ทำสัญญารับเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนกับจำเลยที่ 2 จึงถือได้ว่ามีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แล้วจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนจึงต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายใน 120 วันนับแต่วันทำสัญญาซื้อขาย ดังนั้นในวันครบกำหนด 120 วันดังกล่าว คือวันที่ต้องมีการจ่ายดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนจำนวนที่เพิ่มขึ้นตามมาตรา 26 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7212/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าทดแทนเวนคืน คำนวณจากวันที่ครบกำหนดจ่ายเงินตามสัญญาซื้อขาย ไม่ใช่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ
เมื่อศาลวินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นแก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 26 วรรคท้าย คดีนี้ไม่มีการวางเงินค่าทดแทน ดังนั้นวันที่เริ่มต้นคิดดอกเบี้ยคือวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทน ซึ่งมาตรา11 วรรคแรก บัญญัติว่าในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10 ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขาย โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายกันเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2531 จำเลยจึงต้องจ่ายเงินค่าที่ดินที่ถูกเวนคืนแก่โจทก์ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันที่ 8 มีนาคม 2531คือภายในวันที่ 6 กรกฎาคม 2531 ซึ่งเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคท้าย จำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2531 โจทก์ฎีกาว่าคณะกรรมการปรองดองและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยขาดความรอบคอบและไม่เป็นธรรมโดยโจทก์ไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอย่างไรบ้าง และที่ถูกต้องทั้งตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายควรจะเป็นอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้กล่าวโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7212/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าทดแทนเวนคืน คำนวณจากวันที่ครบกำหนดจ่ายเงินตามสัญญาซื้อขาย ไม่ใช่วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
เมื่อศาลวินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นแก่โจทก์โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคาร ออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคท้ายคดีนี้ไม่มีการวางเงินค่าทดแทนดังนั้นวันที่เริ่มต้นคิดดอกเบี้ยคือวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนซึ่งมาตรา11วรรคแรกบัญญัติว่าในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา10ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขายโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายกันเมื่อวันที่8มีนาคม2531จำเลยจึงต้องจ่ายเงินค่าที่ดินที่ถูกเวนคืนแก่โจทก์ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่8มีนาคม2531คือภายในวันที่6กรกฎาคม2531ซึ่งเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา26วรรคท้ายจำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับแต่วันที่6กรกฎาคม2531 โจทก์ฎีกาว่าคณะกรรมการปรองดองและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยขาดความรอบคอบและไม่เป็นธรรมโดยโจทก์ไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอย่างไรบ้างและที่ถูกต้องทั้งตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายควรจะเป็นอย่างไรจึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้กล่าวโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง