คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กำหนดรายรับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 550/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการกำหนดรายรับย้อนหลังเพื่อประเมินภาษีการค้าตาม ปร. 87 ทวิ (7) และ 88 ทวิ (1)
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงไปควบคุมรายรับของโจทก์เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการกำหนดรายรับให้ถูกต้อง ตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นการกระทำโดยอาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ (7) และการกำหนดรายรับของผู้ประกอบการค้าด้วยวิธีดังกล่าว กฎหมายมิได้จำกัดว่าให้ทำได้เฉพาะรายรับของปีปัจจุบันเท่านั้น หากเจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าปีใดผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาดทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป เจ้าพนักงานประเมินก็ย่อมมีอำนาจกำหนดรายรับของผู้ประกอบการค้าสำหรับในปีนั้นได้เพื่อจะนำมาประเมินภาษีตามมาตรา 87 และการประเมินดังกล่าวมาตรา 88 ทวิ (1) บัญญัติให้กระทำได้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า หรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง ถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้า ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับของโจทก์ด้วยวิธีควบคุมรายรับดังกล่าวแล้วประเมินภาษีย้อนหลังไปภายใน 5 ปี (นับแต่ปีที่ควบคุมรายรับ) จึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 550/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการกำหนดรายรับย้อนหลังเพื่อประเมินภาษีการค้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้องเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงไปควบคุมรายรับของโจทก์เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการกำหนดรายรับให้ถูกต้องตามความเป็นจริงซึ่งเป็นการกระทำโดยอาศัยอำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 วิ (7)และการกำหนดรายรับของผู้ประกอบการค้าด้วยวิธีดังกล่าวกฎหมายมิได้จำกัดว่าให้ทำได้เฉพาะรายรับของปีปัจจุบันเท่านั้น หากเจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าปีใดผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาดทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไปเจ้าพนักงานประเมินก็ย่อมมีอำนาจกำหนดรายรับของผู้ประกอบการค้าสำหรับในปีนั้นได้เพื่อจะนำมาประเมินภาษีตามมาตรา 87 และการประเมินดังกล่าวมาตรา 88 ทวิ (1)บัญญัติให้กระทำได้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า หรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลังถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้า ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินกำหนดรายรับของโจทก์ด้วยวิธีควบคุมรายรับดังกล่าวแล้วประเมินภาษีย้อนหลังไปภายใน 5 ปี(นับแต่ปีที่ควบคุมรายรับ)จึงชอบด้วยกฎหมาย