พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3697/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ถอนจำนำ: ผู้จำนำมีสิทธิไถ่ถอนได้เสมอจนกว่าจะมีการบังคับจำนำ แม้พ้นกำหนดตามสัญญา
โจทก์(ผู้จำนำ)ย่อมมีสิทธิไถ่ถอนทรัพย์ที่จำนำได้เสมอตราบใดที่จำเลย(ผู้รับจำนำ)ยังไม่บังคับจำนำ ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิไถ่ถอนเพราะพ้นกำหนดตามสัญญาและไม่มีบทบัญญัติใดบัญญัติว่าถ้ายังไม่บังคับจำนำ ผู้จำนำมีสิทธิไถ่ถอนเมื่อพ้นกำหนดไถ่ถอนตามสัญญาแล้วนั้น เห็นว่าได้มีบทบัญญัติอยู่ว่า การตกลงก่อนหนี้ถึงกำหนดชำระว่าถ้าไม่ชำระหนี้ให้ผู้รับจำนำเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่จำนำหรือจัดการแก่ทรัพย์สินนั้นเป็นประการอื่นนอกจากบทบัญญัติทั้งหลายว่าด้วยการบังคับจำนำ ข้อตกลงนั้นไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 756แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1471/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างที่มีกำหนดเวลาอย่างน้อย 3 ปี ไม่ถือเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
ข้อตกลงตามหนังสือสัญญาจ้างมีว่า "กำหนดสัญญาว่าจ้างอย่างน้อยเป็นเวลา 3 ปี" นั้น สัญญาจ้างหาสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนด 3 ปีไม่ แต่ยังมีผลต่อไปจนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญา สัญญาจ้างดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนอันจะเป็นเหตุให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น
เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษายกคำขอของโจทก์ในเรื่องสินจ้างแทนการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า โจทก์มิได้อุทธรณ์ เพียงแต่ขอมาในคำแก้อุทธรณ์ว่าขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าเป็นเงิน 30,000 บาทแก่โจทก์ ศาลฎีกาจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างดังกล่าวหาได้ไม่ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์
เมื่อศาลแรงงานกลางพิพากษายกคำขอของโจทก์ในเรื่องสินจ้างแทนการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า โจทก์มิได้อุทธรณ์ เพียงแต่ขอมาในคำแก้อุทธรณ์ว่าขอให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าเป็นเงิน 30,000 บาทแก่โจทก์ ศาลฎีกาจะพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างดังกล่าวหาได้ไม่ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามคำแก้อุทธรณ์ของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1283/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผัดผ่อนการไถ่ถอนที่ดินขายฝากของผู้ซื้อ ทำให้สิทธิการไถ่ถอนของผู้ขายไม่ระงับ แม้พ้นกำหนดสัญญา
ผู้ขายฝากขอไถ่ถอนที่ดินซึ่งขายฝากไว้ภายในกำหนดเวลาตามสัญญา ผู้ซื้อขอผัดผ่อนประวิงเวลาไปเรื่อย จนพ้นกำหนดไถ่ถอนคืน ดังนี้ จะถือว่าผู้ขายผิดนัดไม่ใช้สิทธิขอไถ่ถอนทรัพย์ที่ขายฝากภายในกำหนดหาได้ไม่ และไม่เป็นการขยายเวลาไถ่ถอนจากสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496 ด้วย (อ้างฎีกา 339/2502)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 707-708/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ฝากหลังกำหนด-ข่มขู่-ดอกเบี้ยสัญญาขายฝาก: ศาลฎีกาชี้ขาดสิทธิไถ่แม้หลังกำหนด, การข่มขู่ไม่ทำให้สิทธิสูญ, ดอกเบี้ยสัญญาขายฝากชอบด้วยกฎหมาย
สัญญาขายฝากทำเมื่อ 30 กันยายน 2498 กำหนดไถ่ใน 15 เดือน วันสุดท้ายที่จะไถ่ได้คือวันที่ 31 ธันวาคม 2499 แต่วันนั้นและวันที่ 1 - 2 มกราคม 2500 เป็นวันหยุดราชการ ผู้ขายฝากจึงมีสิทธิขอไถ่ได้ในวันที่ 3 มกราคม 2500 ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161
ผู้ขายฝากพร้อมที่จะไถ่ได้ในกำหนดแล้ว ผู้ซื้อฝากบิดพลิ้วและข่มขู่ให้ผู้ขายฝากทำหนังสือขึ้นว่าสัญญาขายฝากหมดกำหนดไถ่ถอนแล้ว และทรัพย์หลุดเป็นสิทธิแล้ว ซึ่งไม่ตรงกับความจริง นั้น หนังสือนั้นไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความว่าผู้ขายฝากสละสิทธิไถ่ถอน และไม่ทำให้ผู้ขายฝากหมดสิทธิไถ่ถอน
ขายฝากกัน 7 แสนบาท แต่ระบุในสัญญาเป็น 868,000 บาท โดยผู้ซื้อฝากคิดเอาผลประโยชน์อีกร้อยละ 2 ต่อเดือน ใน 1 ปี นั้น ย่อมทำได้ และเป็นสินไถ่ตามมาตรา 499 ที่ผู้ขายฝากต้องไถ่ในราคานี้ ไม่ฝ่าฝืนความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี
ผู้ขายฝากพร้อมที่จะไถ่ได้ในกำหนดแล้ว ผู้ซื้อฝากบิดพลิ้วและข่มขู่ให้ผู้ขายฝากทำหนังสือขึ้นว่าสัญญาขายฝากหมดกำหนดไถ่ถอนแล้ว และทรัพย์หลุดเป็นสิทธิแล้ว ซึ่งไม่ตรงกับความจริง นั้น หนังสือนั้นไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความว่าผู้ขายฝากสละสิทธิไถ่ถอน และไม่ทำให้ผู้ขายฝากหมดสิทธิไถ่ถอน
ขายฝากกัน 7 แสนบาท แต่ระบุในสัญญาเป็น 868,000 บาท โดยผู้ซื้อฝากคิดเอาผลประโยชน์อีกร้อยละ 2 ต่อเดือน ใน 1 ปี นั้น ย่อมทำได้ และเป็นสินไถ่ตามมาตรา 499 ที่ผู้ขายฝากต้องไถ่ในราคานี้ ไม่ฝ่าฝืนความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 543/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่า: การแจ้งล่วงหน้าก่อนหรือหลังครบกำหนดสัญญา
สัญญาเช่าที่มีข้อความว่า "เมื่อสัญญานี้ได้มีอายุอยู่จนครบกำหนด....ต่อแต่นั้นไปฝ่ายใดจะเลิกสัญญาต้องบอกกล่าวล่วงหน้า..1 เดือนนั้น การบอกเลิกสัญญานี้จะบอกล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดอายุสัญญาก็ได้ ไม่จำต้องบอกเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเงินกู้ที่มีเงื่อนไขขายที่ดิน สิทธิของโจทก์จำกัดเมื่อพ้นกำหนดสัญญา
สัญญากู้เงินกันมอบที่ดินให้ผู้ให้กู้ครอบครองทำกินต่างดอกเบี้ย และตามสัญญามีเงื่อนไขด้วยว่าถ้าผู้กู้ประสงค์จะขายที่ดินที่ประกันนั้นแก่ผู้ให้กู้ภายในกำหนด 6 ปี ผู้ให้กู้ยินยอมรับซื้อเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ถ้าพ้นกำหนด 6 ปี แล้ว ผู้กู้ต้องชำระหนี้เงินกู้ให้ผู้ให้กู้จนครบถ้วน หรือมิฉะนั้นก็ต้องมีการตกลงกันใหม่ ดังนี้เมื่อพ้นกำหนด 6 ปี แล้ว ผู้กู้ไม่ประสงค์จะขายที่ดิน แต่เลือกเอาทางชำระหนี้เงินกู้ได้ ผู้ให้กู้จะฟ้องขอให้ผู้กู้ขายที่ดินให้ตนเหมือนสัญญาจะซื้อขายธรรมดา ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไถ่ถอนการขายฝากภายในกำหนด และสิทธิในการฟ้องบังคับไถ่ถอน แม้ฟ้องเกินกำหนดสัญญา
คดีที่ศาลนัดชี้สองสถานไว้แต่ถึงวันนัด โจทก์จำเลยต่างแถลงไม่มีทางปรองดองกัน ขอให้นัดพิจารณาไป โจทก์รับเป็นฝ่ายนำสืบก่อน เพียงเท่านี้ หาใช่เป็นการชี้สองสถานตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 183 ไม่ ฉะนั้นคู่ความจึงมีสิทธิขอแก้ฟ้องหรือคำให้การได้ก่อนวันสืบพยาน
ขายฝาทรัพย์ไว้แก่เขาแล้วได้ติดต่อขอไถ่ถอนภายในกำหนดเขารับว่าจะรับการไถ่ถอน แต่ถึงกำหนด ก็ไม่มา ผู้ขายฝากจึงร้องต่ออำเภอท้องที่ และนำเงินไปเพื่อไถ่ถอนที่อำเภอก่อนครบกำหนดตามสัญญา ดังนี้ ถือได้ว่าผู้ขายฝากได้ใช้สิทธิไถ่การขายฝากภายในกำหนด โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ย่อมมีสิทธิฟ้องของให้ผู้รับซื้อฝากรับการไถ่ถอนการขายฝากได้ แม้จะฟ้องเมื่อเกินกำหนดสัญญาไปก็ดี
ขายฝาทรัพย์ไว้แก่เขาแล้วได้ติดต่อขอไถ่ถอนภายในกำหนดเขารับว่าจะรับการไถ่ถอน แต่ถึงกำหนด ก็ไม่มา ผู้ขายฝากจึงร้องต่ออำเภอท้องที่ และนำเงินไปเพื่อไถ่ถอนที่อำเภอก่อนครบกำหนดตามสัญญา ดังนี้ ถือได้ว่าผู้ขายฝากได้ใช้สิทธิไถ่การขายฝากภายในกำหนด โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ย่อมมีสิทธิฟ้องของให้ผู้รับซื้อฝากรับการไถ่ถอนการขายฝากได้ แม้จะฟ้องเมื่อเกินกำหนดสัญญาไปก็ดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 899/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่การขายฝากและการฟ้องร้องเมื่อเกินกำหนดสัญญา
คดีที่ศาลนัดชี้สองสถานไว้ แต่ถึงวันนัด โจทก์จำเลยต่างแถลงไม่มีทางปรองดองกัน ขอให้นัดพิจารณาไป โจทก์รับเป็นฝ่ายนำสืบก่อนเพียงเท่านี้ หาใช่เป็นการชี้สองสถานตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 183ไม่ ฉะนั้นคู่ความจึงมีสิทธิขอแก้ฟ้องหรือคำให้การได้ก่อนวันสืบพยาน
ขายฝากทรัพย์ไว้แก่เขาแล้วได้ติดต่อขอไถ่ถอนภายในกำหนดเขารับว่าจะรับการไถ่ถอน แต่ถึงกำหนด ก็ไม่มาผู้ขายฝากจึงร้องต่ออำเภอท้องที่ และนำเงินไปเพื่อไถ่ถอนที่อำเภอก่อนครบกำหนดตามสัญญา ดังนี้ ถือได้ว่าผู้ขายฝากได้ใช้สิทธิไถ่การขายฝากภายในกำหนดโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ผู้รับซื้อฝากรับการไถ่ถอนการขายฝากได้แม้จะฟ้องเมื่อเกินกำหนดสัญญาไปก็ดี
ขายฝากทรัพย์ไว้แก่เขาแล้วได้ติดต่อขอไถ่ถอนภายในกำหนดเขารับว่าจะรับการไถ่ถอน แต่ถึงกำหนด ก็ไม่มาผู้ขายฝากจึงร้องต่ออำเภอท้องที่ และนำเงินไปเพื่อไถ่ถอนที่อำเภอก่อนครบกำหนดตามสัญญา ดังนี้ ถือได้ว่าผู้ขายฝากได้ใช้สิทธิไถ่การขายฝากภายในกำหนดโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ผู้รับซื้อฝากรับการไถ่ถอนการขายฝากได้แม้จะฟ้องเมื่อเกินกำหนดสัญญาไปก็ดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไถ่ถอนที่ดินขายฝากเกินกำหนด สิทธิของผู้รับซื้อและผลของการผัดผ่อน
ขายฝากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กำหนดไถ่ถอนภายใน 5 ปี เมื่อจวนครบกำหนดเคยไปขอไถ่ถอนแก่ผู้รับซื้อไว้ 2 ครั้ง แต่ผู้รับซื้อขอผัดไปวันหลัง ผู้ขายก็ยินยอมจนเกินกำหนด 5 ปีแล้ว ผู้ซื้อก็ย่อมมีสิทธิปฏิเสธไม่ยอมให้ไถ่ถอนได้ เพราะผู้ชายละเลยไม่ใช่สิทธิของตนภายในกำหนดสัญญาเอง จะอ้างว่าผู้รับซื้อฝากใช้สิทธิ์ไม่สุจจริต เพื่อชนะคดีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 185/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไถ่ถอนที่ดินขายฝาก: ผู้ขายละเลยสิทธิในกำหนดสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิปฏิเสธได้
ขายฝากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกำหนดไถ่ถอนภายใน 5 ปีเมื่อจวนครบกำหนดเคยไปขอไถ่ถอนแก่ผู้รับซื้อไว้ 2 ครั้ง แต่ผู้รับซื้อขอผัดไปวันหลัง ผู้ขายก็ยินยอมจนเกินกำหนด 5 ปีแล้ว ผู้ซื้อก็ย่อมมีสิทธิปฏิเสธไม่ยอมให้ไถ่ถอนได้ เพราะผู้ขายละเลยไม่ใช่สิทธิของตนภายในกำหนดสัญญาเอง จะอ้างว่าผู้รับซื้อฝากใช้สิทธิ์ไม่สุจริตเพื่อชนะคดีไม่ได้