พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3876/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีค่าจ้างทำของ: การพิจารณา 'ทำเพื่ออุตสาหกรรม' เพื่อกำหนดอายุความ 2 หรือ 5 ปี
จำเลยว่าจ้างโจทก์ผลิตฟอยล์อะลูมิเนียมให้เป็นซองเพื่อบรรจุสินค้าเกลืออีเล็คโคสของจำเลย มิใช่เป็นการผลิตฟอยล์อะลูมิเนียมให้จำเลยนำไปผลิตเป็นสินค้า จึงไม่เป็นการที่ได้ทำเพื่ออุตสาหกรรมของฝ่ายจำเลย แต่เป็นเรื่องโจทก์ผู้เป็นพ่อค้าได้เรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของ ทำของจากจำเลย จึงอยู่ในกำหนดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2527/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความจำเลยร่วม: เริ่มนับจากวันที่หมายเรียกเข้า ไม่ใช่ฟ้องเริ่มต้น
แม้โจทก์จะได้ฟ้องจำเลยให้รับผิดใช้ค่าเสียหายอันเนื่องมาแต่มูลละเมิดภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคแรกแล้วก็ตามแต่เมื่อได้ขอให้ศาลหมายเรียกห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3)ปรากฏว่าล่วงพ้นกำหนดอายุความดังกล่าวแล้ว สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยร่วมจึงเป็นอันขาดอายุความฟ้องร้องเพราะกำหนดอายุความย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแก่ลูกหนี้แต่ละคนโดยเฉพาะ
กรณีดังกล่าวจำเลยร่วมย่อมมีสิทธิเสมือนว่าตนถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 58วรรคแรกหาได้มีสิทธิเท่ากับจำเลยไม่ จำเลยร่วมจึงมีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้และกำหนดอายุความสำหรับจำเลยร่วมต้องถือตามวันที่โจทก์ขอให้หมายเรียกเข้ามาในคดีมิใช่ถือตามคำฟ้องเริ่มต้นคดี
กรณีดังกล่าวจำเลยร่วมย่อมมีสิทธิเสมือนว่าตนถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 58วรรคแรกหาได้มีสิทธิเท่ากับจำเลยไม่ จำเลยร่วมจึงมีสิทธิยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้และกำหนดอายุความสำหรับจำเลยร่วมต้องถือตามวันที่โจทก์ขอให้หมายเรียกเข้ามาในคดีมิใช่ถือตามคำฟ้องเริ่มต้นคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 642/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความขาดเมื่อรับสภาพหนี้พ้นกำหนด และการรับสภาพหนี้ที่ไม่ถือเป็นสัญญา
การรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 นั้นต้องเป็นการรับสภาพหนี้ภายในกำหนดอายุความ
การที่จำเลยเพียงแต่มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่เท่าใดและขอให้โจทก์ช่วยจัดการให้ ป.ชำระหนี้ที่ค้างให้แก่จำเลย แล้วจำเลยจะชำระหนี้ส่วนที่เหลือให้โจทก์ โดยโจทก์ก็มิได้กระทำการอย่างใดอันเป็นการสนองรับข้อเสนอของจำเลยดังกล่าวหาใช่เป็นเรื่องการรับสภาพความรับผิดโดยสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 188 วรรคท้ายไม่ (อ้างฎีกาที่ 756/2510)
การที่จำเลยเพียงแต่มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่เท่าใดและขอให้โจทก์ช่วยจัดการให้ ป.ชำระหนี้ที่ค้างให้แก่จำเลย แล้วจำเลยจะชำระหนี้ส่วนที่เหลือให้โจทก์ โดยโจทก์ก็มิได้กระทำการอย่างใดอันเป็นการสนองรับข้อเสนอของจำเลยดังกล่าวหาใช่เป็นเรื่องการรับสภาพความรับผิดโดยสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 188 วรรคท้ายไม่ (อ้างฎีกาที่ 756/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 756/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีค่าเช่าและการสะดุดหยุดของอายุความ: การผ่อนชำระหลังอายุความพ้นกำหนด
ในการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดี ศาลต้องสืบพยานตามประเด็นในข้อพิพาท ซึ่งหมายถึงปัญหาใด ๆ ไม่ว่าปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่คู่ความฝ่ายหนึ่งยกขึ้นอ้างและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งไม่รับ และศาลจดลงไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท แล้วพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีไปตามนั้น จำเลยให้การแก้ฟ้องเดิมของโจทก์ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความโจทก์เพิ่มเติมฟ้องว่า คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ เพราะจำเลยได้ชำระหนี้ให้โจทก์สองคราวเป็นการชำระหนี้บางส่วนอายุความสะดุดหยุดลงจำเลยให้การปฏิเสธไม่รับรอง คดีจึงมีประเด็นว่าจำเลยได้ชำระหนี้ให้ดังโจทก์อ้างหรือไม่ ซึ่งโจทก์ย่อมนำสืบได้ และโจทก์มีหน้าที่นำสืบได้ตามประเด็นนี้เท่านั้น โจทก์จะนำสืบถึงการที่จำเลยชำระหนี้คราวอื่นอีกไม่ได้ เป็นการสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
สิทธิเรียกร้องเอาค่าเช่าค้างโดยบุคคลจำพวกที่ค้าในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6) มีอายุความ 2 ปี และจะฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าเช่าค้างตามหนังสือรับสภาพหนี้ก็ต้องฟ้องภายใน 2 ปีนับแต่วันรับสภาพหนี้
การรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172ต้องเป็นการรับสภาพหนี้ภายในกำหนดอายุความ ถ้าเป็นระยะเวลาที่พ้นกำหนดอายุความแล้ว ก็ไม่มีอะไรจะสะดุดหยุดลงอีก
สิทธิเรียกร้องเอาค่าเช่าค้างโดยบุคคลจำพวกที่ค้าในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(6) มีอายุความ 2 ปี และจะฟ้องขอให้จำเลยชำระค่าเช่าค้างตามหนังสือรับสภาพหนี้ก็ต้องฟ้องภายใน 2 ปีนับแต่วันรับสภาพหนี้
การรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172ต้องเป็นการรับสภาพหนี้ภายในกำหนดอายุความ ถ้าเป็นระยะเวลาที่พ้นกำหนดอายุความแล้ว ก็ไม่มีอะไรจะสะดุดหยุดลงอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้าง: การพิจารณาช่วงเวลาการจ่ายเงินเพื่อกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เงินเดือนมีลักษณะเป็นเงินค่าจ้าง ทำงานนั่นเอง แต่มีลักษณะจ่ายเป็นรายเดือนจึงเรียกว่าเงินเดือน
กำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (8) กับมาตรา 166 มีความสำคัญอยู่ที่ว่า เงินค่าจ้างนั้น มีกำหนดจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลาหรือไม่ หากจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลา ก็เข้ามาตรา 166 หากไม่มีกำหนดระยะเวลาก็เข้ามาตรา 165 (8)
กำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (8) กับมาตรา 166 มีความสำคัญอยู่ที่ว่า เงินค่าจ้างนั้น มีกำหนดจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลาหรือไม่ หากจ่ายเป็นกำหนดระยะเวลา ก็เข้ามาตรา 166 หากไม่มีกำหนดระยะเวลาก็เข้ามาตรา 165 (8)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 807/2484
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการแก้ไขสำเนาอุทธรณ์ และผลกระทบต่อการยื่นอุทธรณ์ใหม่เกินกำหนดอายุความ
เขียนสำเนาฟ้องอุทธรณ์ไม่เรียบร้อย โดยเขียนแทรกระหว่างบรรทัดเต็มเป็นพืดไป ศาลสั่งให้ทำมายื่นใหม่แต่ไม่ทำตามกำหนด ศาลสั่งไม่รับฟ้องอุทธรณ์นั้นแล้ว จะทำมายื่นใหม่เมื่อพ้นกำหนดอายุความอุทธรณ์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1036/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดต่อส่วนตัว: มาตรา 80 เป็นบทกำหนดอายุความส่วนตัวที่สั้นกว่ามาตรา 78
คดีความผิดต่อส่วนตัว ถ้าพ้นกำหนดอายุความตามมาตรา 78 แล้ว แม้ปรากฎว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าทุกข์นำคดีมาฟ้องภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้ทำก็ดี ก็ยังต้องถือว่าคดีขาดอายุความกฎหมายอาญา ม.80 เป็นบทอยู่ภายในบังคับของกฎหมายอาญา ม.78 โดยเป็นแต่บทกำหนดอายุความส่วนตัวให้สั้นเข้ามา
อ้างฎีกาที่ 596/2474
อ้างฎีกาที่ 596/2474
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีความผิดส่วนตัว ต้องพิจารณาอายุความทั่วไปตาม ม.78 ควบคู่กับ ม.80
อายุความฟ้องร้องคดี เรื่องความผิดส่วนตัวนั้นต้องถืออายุความใหญ่ทั่วไปตาม ม.78 เป็นหลัก หาได้ถืออายุความตาม ม.80 อย่างเดียวไม่ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฉ้อโกงแต่เหตุเกิดเมื่อ 20 ปีมาแล้วดังนี้ คดีขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15978/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิด vs. ประกันภัย: การกำหนดอายุความที่ถูกต้องสำหรับลูกหนี้ร่วม
การวินิจฉัยว่าคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ขาดอายุความหรือไม่ ศาลฎีกาจะต้องวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงก่อนว่าวันที่โจทก์ที่ 2 มีสิทธิบังคับตามสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามฟ้องอันเป็นวันเริ่มนับอายุความนั้น เริ่มต้นตั้งแต่เมื่อใด จึงจะสามารถวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายต่อไปว่าคดีโจทก์ที่ 2 ขาดอายุความหรือไม่ เมื่อฎีกาของโจทก์ที่ 2 เป็นฎีกาที่ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกา เมื่อโจทก์ที่ 2 เรียกให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 90,000 บาท ซึ่งทุนทรัพย์ระหว่างโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เป็นมูลหนี้ที่แบ่งแยกจากกันได้ คดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 ทุนทรัพย์ที่พิพาทจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ภายหลังเกิดเหตุโจทก์ที่ 2 ให้การปฏิเสธต่อพนักงานสอบสวนว่ามิได้เป็นฝ่ายขับรถโดยประมาท แสดงว่าโจทก์ทั้งสองทราบอยู่แล้วว่าโจทก์ที่ 2 มิได้เป็นฝ่ายขับรถโดยประมาทก่อให้เกิดเหตุในคดีนี้ ทั้งในวันเกิดเหตุโจทก์ทั้งสองได้พบกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองที่สถานีตำรวจภูธรหนองแค โจทก์ทั้งสองจึงทราบถึงตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2544 โจทก์ที่ 1 ย่อมใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในทางละเมิดต่อจำเลยทั้งสามได้นับแต่วันดังกล่าว โดยไม่จำต้องรอให้ศาลในคดีส่วนอาญามีคำพิพากษาว่าโจทก์ที่ 2 มิได้เป็นฝ่ายกระทำโดยประมาทแต่อย่างใด โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ฟ้องโจทก์ที่ 1 ในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงขาดอายุความ
ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องการใช้สิทธิเรียกร้องของผู้เสียหายที่จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 3 ให้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคหนึ่ง จะนำอายุความในมูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับกับจำเลยที่ 3 มิได้ เหตุเกิดวันที่ 11 สิงหาคม 2544 โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องคดีวันที่ 12 มีนาคม 2546 คดีโจทก์ทั้งสองในส่วนของจำเลยที่ 3 จึงไม่ขาดอายุความ ทั้งโจทก์ทั้งสองฟ้องให้จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัย แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่ละคนต้องชำระหนี้ตามฟ้องให้โจทก์ทั้งสองโดยสิ้นเชิงเพียงครั้งเดียว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 ซึ่งมาตรา 295 บัญญัติให้กำหนดอายุความของลูกหนี้ร่วมคนใด ก็ย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแต่เฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น ดังนี้ แม้ฟ้องของโจทก์ทั้งสองสำหรับจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยได้ขาดอายุความไปแล้วก็เป็นคุณเฉพาะแก่จำเลยที่ 2 เท่านั้น หามีผลถึงจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ไม่ และการที่คดีขาดอายุความสำหรับจำเลยที่ 2 ก็ไม่ใช่เหตุทำให้หนี้ดังกล่าวระงับไป ดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความ 1 ปี ยกฟ้องถึงจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยด้วยนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ปัญหาข้อที่ว่าจะใช้บทบัญญัติอายุความละเมิดหรืออายุความประกันวินาศภัยมาใช้บังคับนั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้
ภายหลังเกิดเหตุโจทก์ที่ 2 ให้การปฏิเสธต่อพนักงานสอบสวนว่ามิได้เป็นฝ่ายขับรถโดยประมาท แสดงว่าโจทก์ทั้งสองทราบอยู่แล้วว่าโจทก์ที่ 2 มิได้เป็นฝ่ายขับรถโดยประมาทก่อให้เกิดเหตุในคดีนี้ ทั้งในวันเกิดเหตุโจทก์ทั้งสองได้พบกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองที่สถานีตำรวจภูธรหนองแค โจทก์ทั้งสองจึงทราบถึงตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้วเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2544 โจทก์ที่ 1 ย่อมใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในทางละเมิดต่อจำเลยทั้งสามได้นับแต่วันดังกล่าว โดยไม่จำต้องรอให้ศาลในคดีส่วนอาญามีคำพิพากษาว่าโจทก์ที่ 2 มิได้เป็นฝ่ายกระทำโดยประมาทแต่อย่างใด โจทก์ที่ 1 ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง ฟ้องโจทก์ที่ 1 ในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงขาดอายุความ
ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง เป็นเรื่องการใช้สิทธิเรียกร้องของผู้เสียหายที่จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน แต่คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยที่ 3 ให้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุนซึ่งมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคหนึ่ง จะนำอายุความในมูลละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับกับจำเลยที่ 3 มิได้ เหตุเกิดวันที่ 11 สิงหาคม 2544 โจทก์ทั้งสองยื่นฟ้องคดีวันที่ 12 มีนาคม 2546 คดีโจทก์ทั้งสองในส่วนของจำเลยที่ 3 จึงไม่ขาดอายุความ ทั้งโจทก์ทั้งสองฟ้องให้จำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัย แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 แต่ละคนต้องชำระหนี้ตามฟ้องให้โจทก์ทั้งสองโดยสิ้นเชิงเพียงครั้งเดียว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 ซึ่งมาตรา 295 บัญญัติให้กำหนดอายุความของลูกหนี้ร่วมคนใด ก็ย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแต่เฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น ดังนี้ แม้ฟ้องของโจทก์ทั้งสองสำหรับจำเลยที่ 2 ผู้เอาประกันภัยได้ขาดอายุความไปแล้วก็เป็นคุณเฉพาะแก่จำเลยที่ 2 เท่านั้น หามีผลถึงจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ไม่ และการที่คดีขาดอายุความสำหรับจำเลยที่ 2 ก็ไม่ใช่เหตุทำให้หนี้ดังกล่าวระงับไป ดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความ 1 ปี ยกฟ้องถึงจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยด้วยนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ปัญหาข้อที่ว่าจะใช้บทบัญญัติอายุความละเมิดหรืออายุความประกันวินาศภัยมาใช้บังคับนั้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้