คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กำหนดเวลายื่น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4636/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปกปิดรายชื่อเจ้าหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ ทำให้เจ้าหนี้ไม่ทราบกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ ศาลรับคำขอรับชำระหนี้ไว้พิจารณา
ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้ในมูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายสินค้าซึ่งลูกหนี้ได้สั่งซื้อเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2543 ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2544โดยลูกหนี้ทราบชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้ในขณะยื่นคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการเป็นอย่างดีการที่ลูกหนี้มิได้ระบุชื่อและที่อยู่ของเจ้าหนี้ในบัญชีเจ้าหนี้ จึงเป็นการจงใจปกปิดรายชื่อเจ้าหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 90/6 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้เพราะเป็นเหตุให้ศาลไม่อาจส่งสำเนาคำร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการแก่เจ้าหนี้ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจแจ้งคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและกำหนดเวลาให้เจ้าหนี้เสนอคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เมื่อเจ้าหนี้ไม่ทราบคำสั่งตั้งผู้ทำแผนและกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ก่อนหน้านี้กรณีมีเหตุตามกฎหมายที่จะรับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไว้พิจารณาแม้จะยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 90/26

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีล่วงหน้าก่อนกำหนดเวลายื่นรายการ การประเมินภาษีย้อนหลังขัดต่อมาตรา 18 ทวิ
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา18ทวิวรรคแรกกำหนดให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีอากรก่อนถึงกำหนดสำหรับภาษีการค้าที่ใช้บังคับอยู่ขณะนั้นมาตรา85ทวิและมาตรา86กำหนดให้ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีและยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่15ของเดือนถัดไปเว้นแต่อธิบดีจะกำหนดเป็นอย่างอื่นโดยกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการสามารถขยายหรือเลื่อนกำหนดออกไปได้อีกถ้าอธิบดีหรือรัฐมนตรีเห็นเป็นการสมควรตามความจำเป็นแก่กรณีตามมาตรา3อัฏฐเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าในช่วงปี2527ถึง2529ไม่มีประกาศให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาออกไปการที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีการค้าดอกเบี้ยค้างรับเมื่อวันที่27กรกฎาคม2531โดยประเมินเป็นภาษีการค้าสำหรับเดือนภาษีในปี2527ถึง2529จึงเป็นการประเมินภายหลังจากพ้นกำหนดเวลายื่นรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีในปี2527ถึง2529ไปแล้วซึ่งเป็นการประเมินย้อนหลังมิใช่ประเมินล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการจึงเป็นการประเมินที่ขัดต่อมาตรา18ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2712/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าก่อนกำหนดเวลายื่นรายการเป็นไปตามมาตรา 18 ทวิ มิใช่การประเมินย้อนหลัง
มาตรา 18 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ โดยให้ภาษีที่ประเมินเรียกเก็บดังกล่าวเป็นเครดิตของผู้ต้องเสียภาษีในการคำนวณภาษีด้วย ซึ่งแสดงว่าเป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีตั้งแต่ยังไม่ถึงกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 84และมาตรา 85 ทวิ (บทบัญญัติเดิม) เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินภาษีการค้าดอกเบี้ยค้างรับและค่าบริการค้างรับดังกล่าวเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม2531 โดยประเมินเป็นภาษีการค้าสำหรับเดือนตุลาคม 2526 ถึงเดือนกันยายน 2527 และเดือนตุลาคม 2527 ถึงเดือนกันยายน 2528 จึงเป็นการประเมินหลังจากพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีในปี พ.ศ. 2526 และ พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2528 ไปแล้วและเป็นการประเมินย้อนหลังมิใช่เป็นการประเมินล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ จึงเป็นการประเมินที่ขัดต่อมาตรา 18 ทวิโดยชัดแจ้ง การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีล่วงหน้าต้องกระทำก่อนกำหนดเวลายื่นรายการ หากประเมินหลังกำหนดแล้วถือเป็นการประเมินย้อนหลังและขัดต่อกฎหมาย
ป.รัษฎากร มาตรา 18 ทวิ ให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ ทั้งมาตรา 18 ทวิวรรคสอง ยังบัญญัติให้ภาษีที่ประเมินเรียกเก็บนั้น ให้ถือเป็นเครดิตของผู้ต้องเสียภาษีในการคำนวณภาษีอีกด้วย ซึ่งบ่งชี้ว่าเป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีตั้งแต่ยังไม่ถึงกำหนดเวลายื่นรายการ กรณีภาษีการค้าตามบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นบังคับว่าให้ผู้ประกอบการค้ายื่นแบบแสดงรายการการค้าตามแบบที่อธิบดีกำหนดเป็นรายเดือนภาษี ไม่ว่าจะมีรายรับในเดือนภาษีหรือไม่ก็ตาม และในการยื่นแบบแสดงรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีใดนั้น ก็จะต้องยื่นภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือในกรณีอื่นก็จะต้องแสดงรายการชำระภาษีภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ยิ่งไปกว่านั้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการต่าง ๆ ดังกล่าวยังสามารถขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาออกไปได้อีก ถ้าเป็นกรณีที่อธิบดีหรือรัฐมนตรีเห็นเป็นการสมควรตามความจำเป็น แต่กรณีตามมาตรา 3 อัฏฐ จึงเป็นที่เห็นได้ว่าตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแสดงว่ากำหนดเวลายื่นรายการนั้นกฎหมายได้กำหนดไว้แน่นอน ทั้งนี้ไม่ว่าผู้ประกอบการค้าจะมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าหรือไม่ก็ตาม ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีทุกเดือนภาษีภายในวันที่ 15ของเดือนถัดจากเดือนภาษีและต้องยื่นตามแบบที่อธิบดีกำหนด หากมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าก็ให้ยื่นชำระพร้อมกับยื่นรายการภายในกำหนดเวลาดังกล่าวเช่นกัน เมื่อเจ้าพนักงานประเมินของจำเลย ประเมินภาษีการค้าดอกเบี้ยค้างรับเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2531 โดยเป็นภาษีการค้าสำหรับเดือนธันวาคม 2526 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2528 จึงเป็นการประเมินหลังจากพ้นกำหนดเวลายื่นรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีใน พ.ศ. 2527,2528 ซึ่งกำหนดเวลาไว้แน่นอนแล้วก่อนการประเมินไปแล้ว และเป็นการประเมินย้อนหลัง มิใช่ประเมินล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ จึงเป็นการประเมินที่ขัดต่อมาตรา 18ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 438/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าก่อนกำหนดเวลายื่นรายการขัดต่อกฎหมาย ประเมินภาษีย้อนหลังมิใช่ล่วงหน้า
กำหนดเวลายื่นรายการเพื่อเสียภาษีการค้านั้น ประมวลรัษฎากรมาตรา 84,85 ทวิ และมาตรา 86 ได้กำหนดไว้ว่า ผู้ประกอบการค้าจะต้องยื่นแบบแสดงรายการทุกเดือนภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนภาษี และต้องยื่นตามแบบที่อธิบดีกำหนดไม่ว่าจะมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าหรือไม่ก็ตาม หากมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าก็ให้ยื่นชำระพร้อมกับยื่นรายการภายในกำหนดเวลาดังกล่าว กำหนดเวลายื่นรายการนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้เฉพาะเมื่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลานั้นออกไปตามมาตรา 3 อัฎฐ ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ในปี 2527 และ 2528 ได้มีประกาศให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลายื่นรายการเพื่อเสียภาษีการค้าออกไปกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในเดือนใดของปี 2527 และ 2528ดังกล่าว จึงถึงกำหนดเวลายื่นรายการภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปไม่ว่าจะมีรายรับหรือไม่ก็ตาม เมื่อการประเมินภาษีตามมาตรา 18 ทวิเป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีตั้งแต่ยังไม่ถึงกำหนดเวลายื่นรายการดังนั้น การที่เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินภาษีการค้าดอกเบี้ยค้างรับที่โจทก์ยังไม่ได้รับเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2531 โดยประเมินเป็นภาษีการค้าสำหรับเดือนธันวาคม 2526 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2528จึงเป็นการประเมินหลังจากพ้นกำหนดเวลายื่นรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีในปี 2527 และ 2528 ไปแล้ว และเป็นการประเมินย้อนหลังมิใช่ประเมินล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ เป็นการประเมินที่ขัดต่อประมวลรัษฎากร มาตรา 18 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3462/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าล่วงหน้าขัดต่อกฎหมาย หากประเมินหลังกำหนดเวลายื่นรายการ
กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าเพื่อเสียภาษีการค้านั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 17 วรรคแรก,84 วรรคแรก,85 ทวิ,86 ได้กำหนดไว้แน่นอน ทั้งนี้ไม่ว่าผู้ประกอบการค้าจะมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าหรือไม่ก็ตาม ก็จะต้องยื่นแบบแสดงรายการทุกเดือนภาษีภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนภาษีและต้องยื่นตามแบบที่อธิบดีกำหนด หากมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าก็ให้ยื่นชำระพร้อมกับยื่นรายการภายในกำหนดเวลาดังกล่าวเช่นกันกำหนดเวลายื่นรายการนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้เฉพาะเมื่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลานั้นออกไป ตามมาตรา 3 อัฏฐ เมื่อไม่ปรากฏว่าในปี 2528 ได้มีประกาศให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาออกไปกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในเดือนใดของปี 2528ดังกล่าวจึงถึงกำหนดเวลายื่นรายการภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปไม่ว่าจะมีรายรับเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตามกำหนดเวลายื่นรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีในปี 2528 นั้น จึงถึงกำหนดแล้วก่อนเจ้าพนักงานประเมินของ จำเลยจะประเมินภาษีการค้าโจทก์เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2531 กำหนดเวลายื่นรายการหาได้ขยายมาจนถึงปี 2531 ไม่ และตามมาตรา 18 ทวิ วรรคแรกให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ ทั้งมาตรา 18 ทวิ วรรคสอง ยังบัญญัติให้ภาษีที่ประเมินเรียกเก็บดังกล่าว ให้ถือเป็นเครดิตของผู้ต้องเสียภาษีในการคำนวณภาษีอีกด้วย ซึ่งบ่งชี้ว่าเป็นการประเมินเรียกเก็บล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ ดังนั้นการประเมินภาษีตามมาตรา 18 ทวิ จึงต้องเป็นการประเมินสำหรับเดือนหรือปีภาษีที่ยังไม่ถึงกำหนดเวลายื่นรายการเมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินภาษีการค้าดอกเบี้ยค้างรับที่ปรากฏในงบดุลสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2528ของโจทก์เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2531 โดยมิได้ระบุให้ชัดแจ้งว่าเป็นการประเมินภาษีการค้าของเดือน และปีภาษีใด จึงถือได้ว่าเป็นการประเมินภาษีการค้าของเดือนธันวาคม 2528 และเป็นการประเมินหลังจากพ้นกำหนดเวลายื่นรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีในปี 2528 ไปแล้ว เป็นการประเมินย้อนหลังมิใช่ประเมินล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ จึงเป็นการประเมินที่ขัดต่อมาตรา 18 ทวิ โดยชัดแจ้ง กรณีเช่นนี้หาใช่เป็นกรณีที่โจทก์ยังไม่ได้รับดอกเบี้ยกำหนดเวลายื่นรายการจึงหาได้มีอยู่ก่อนการประเมินอันจะเป็นผลให้การประเมินภาษีกรณีนี้เป็นการประเมินก่อนกำหนดเวลายื่นรายการไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1387/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีล่วงหน้าต้องก่อนกำหนดเวลายื่นรายการ การประเมินหลังกำหนดเวลาเป็นโมฆะ
การประเมินเรียกเก็บภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 18 ทวิจะต้องประเมินก่อนถึงกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการตามมาตรา 17และมาตรา 84 เว้นแต่อธิบดีหรือรัฐมนตรีเห็นเป็นการสมควรตามความจำเป็นให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการตามมาตรา 3 อัฏฐการที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลย ประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าดอกเบี้ยค้างรับที่เกิดขึ้นสำหรับวันที่ 1 มกราคม 2527ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2528 จากโจทก์ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2531จึงเป็นการประเมินหลังจากพ้นกำหนดเวลายื่นรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีในปี พ.ศ. 2527 และ 2528 เป็นการประเมินย้อนหลังมิใช่กรณีประเมินล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ ทั้งไม่ปรากฏว่ารอบระยะเวลาบัญชี ปี พ.ศ. 2527 และ 2528 ได้มีประกาศของอธิบดีหรือรัฐมนตรีให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการแต่อย่างใด การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงมิชอบขัดต่อบทบัญญัติ มาตรา 18 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1039/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าก่อนกำหนดเวลายื่นรายการขัดต่อมาตรา 18 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ และภาษีที่ประเมินเรียกเก็บดังกล่าวถือเป็นเครดิตของผู้ต้องเสียภาษีในการคำนวณภาษีตามมาตรา 18 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับภาษีการค้า ผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการค้าพร้อมชำระภาษีการค้าเป็นรายเดือนภาษีภายในวันที่ 15ของเดือนถัดไป ตามมาตรา 17 วรรคแรก,84,85 ทวิ และ 86 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่อธิบดี หรือรัฐมนตรีเห็นสมควรให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการออกไปอีกตามมาตรา 3 อัฏฐ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ปี พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2528มีการประกาศให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าออกไป กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในเดือนใดของปี พ.ศ. 2527และ พ.ศ. 2528 จึงถึงกำหนดเวลายื่นรายการภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะมีรายรับเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม กำหนดเวลายื่นรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีในปี พ.ศ. 2527 และ 2528 นั้น จึงถึงกำหนดแล้วก่อนการประเมิน กำหนดเวลายื่นรายการหาได้ขยายมาจนถึงปีพ.ศ. 2531 ไม่ การที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินเรียกเก็บภาษีการค้าโจทก์จากดอกเบี้ยค้างรับเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2531โดยประเมินเป็นภาษีการค้าสำหรับเดือนมกราคม 2527 ถึงเดือนธันวาคม2528 จึงเป็นการประเมินหลังจากพ้นกำหนดเวลายื่นรายการการค้าสำหรับเดือนภาษีในปี พ.ศ. 2527 และ 2528 ไปแล้ว และเป็นการประเมินย้อนหลัง มิใช่ประเมินล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ จึงเป็นการประเมินที่ขัดต่อมาตรา 18 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ทราบประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ถือว่าทราบกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้แจ้งซ้ำ
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ให้บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายทราบในคำโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ต้องถือว่าเจ้าหนี้ทุกคนได้ทราบประกาศแล้ว ไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะต้องแจ้งเรื่องการยื่นคำขอรับชำระหนี้ให้โจทก์ทราบอีกชั้นหนึ่ง.