คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กำไรสุทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายค่าไฟฟ้าที่เป็นส่วนตัวและเพื่อกิจการ การปันส่วนเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ
ตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 65 ตรี บัญญัติว่า "รายการต่อไปนี้ ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ...(3) รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว... (13) รายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ" หมายความว่า รายจ่ายที่จะนำมาคำนวณเพื่อหากำไรสุทธิได้นั้นต้องเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นโดยเฉพาะเท่านั้น มิใช่รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ประกอบกิจการโรงงานหล่อดอกยางรถยนต์และจำหน่ายยางรถยนต์ โดยใช้อาคาร 2 ชั้น ชั้นหนึ่งใช้ประกอบกิจการ ส่วนอีกชั้นใช้เป็นที่อยู่อาศัยของหุ้นส่วนโจทก์ ไฟฟ้าที่ใช้ในอาคารสถานประกอบของโจทก์จึงแยกเป็น 2 มิเตอร์ เป็นชื่อโจทก์ 1 มิเตอร์ และ จ. หุ้นส่วนโจทก์อีก 1 มิเตอร์ ดังนั้น ค่าไฟฟ้ามิเตอร์ของ จ. หุ้นส่วนโจทก์เป็นค่าไฟฟ้าสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทอำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนของโจทก์และครอบครัว มิได้ใช้สำหรับงานในกิจการของโจทก์ และไม่ได้ใช้เพื่อดูแลทรัพย์สินที่ใช้ในกิจการโดยเฉพาะ จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวที่มิใช่เป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ซึ่งนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ตาม ป.รัษฎากรณ 65 ตรี (3) และ (13)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายจ่ายค่าไฟฟ้าส่วนตัวที่ใช้ร่วมกับกิจการ การปันส่วนรายจ่ายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิ
ค่าไฟฟ้าสำหรับมิเตอร์ที่ใช้สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่หุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์และครอบครัวที่พักอาศัยอยู่ที่ชั้น 2 ของอาคารสถานประกอบการของโจทก์ เป็นค่าไฟฟ้าสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทอำนวยความสะดวกสบายแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนของโจทก์และครอบครัว มิได้ใช้สำหรับงานในกิจการของโจทก์ และไม่ได้ใช้เพื่อดูแลทรัพย์สินที่ใช้ในกิจการของโจทก์ จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวที่มิใช่เป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะซึ่งนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แต่เมื่อรายจ่ายค่าไฟฟ้าจากมิเตอร์นั้นมีรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวระคนปนกับรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการของโจทก์โดยเฉพาะ ไม่สามารถแบ่งแยกออกได้ชัดเจนว่ารายจ่ายส่วนใดมีจำนวนใด การที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ใช้วิธีปันส่วนโดยแบ่งค่าไฟฟ้าให้หักรายจ่ายได้ร้อยละ 50 นั้น นับว่าถูกต้องสมควรและเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว
การพิจารณาว่าเป็นรายจ่ายต้องห้ามนำมาคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี หรือไม่ ต้องพิเคราะห์ถึงลักษณะของรายจ่าย หลักเกณฑ์และวิธีการจ่าย ผู้รับรายจ่ายตลอดจนเหตุผลความจำเป็นและหลักฐานในการจ่ายประกอบด้วยซึ่งต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆ ไปว่ารายจ่ายนั้นเป็นรายจ่ายต้องห้ามหรือไม่ จำนวนเท่าใด ตามความเป็นจริง ไม่จำต้องถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามทั้งจำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยอาศัยรายรับก่อนหักรายจ่าย และการคำนวณเงินเพิ่มจากประมาณการกำไรสุทธิที่ขาดไป
การที่จำเลยไม่มาพบและส่งบัญชีเอกสารสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 ตามหมายเรียกให้แก่เจ้าพนักงานตรวจสอบของกรมสรรพากรโจทก์ทำให้เจ้าพนักงานตรวจสอบไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวได้ เจ้าพนักงานประเมินจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 71 (1) แห่งป.รัษฎากร ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่านั้น ย่อมทำให้จำเลยไม่มีสิทธิเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโดยคำนวณจากยอดกำไรสุทธิ แต่ต้องเสียโดยคำนวณจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ในอัตราร้อยละ 5คิดเป็นภาษีจำนวน 9,997,338.10 บาท เมื่อนำภาษีจำนวน 9,997,338.10 บาทมาคำนวณกลับเป็นกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว จำเลยจะมีกำไรสุทธิจำนวน 33,324,460.33 บาท กึ่งหนึ่งของกำไรสุทธิเท่ากับ 16,662,230.17 บาทเมื่อคูณด้วยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วคิดเป็นภาษีที่จำเลยต้องชำระสำหรับรอบระยะเวลาหกเดือนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 67 ทวิ จำนวน 4,998,669.05 บาทถือได้ว่าเป็นการคำนวณภาษีสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือนที่ถูกต้องแล้ว และเมื่อปรากฏว่าจำเลยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาหกเดือน (แบบ ภ.ง.ด. 51) ระบุว่า ไม่มีรายได้และภาษีที่ต้องชำระจึงเป็นกรณีที่จำเลยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโดยไม่มีเหตุสมควรจำเลยจึงต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตาม ป.รัษฎากร มาตรา 67 ตรี คิดเป็นเงินเพิ่ม999,733.81 บาท ส่วนเบี้ยปรับตามที่เจ้าพนักงานประเมินเนื่องจากการที่จำเลยมิได้ชำระภาษีของรอบระยะเวลาหกเดือนตาม มาตรา 22 จำนวน4,998,669.05 บาท นั้น ป.รัษฎากร มาตรา 67 ตรี ได้กำหนดบทลงโทษโดยให้ผู้เสียภาษีชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับอีกจึงเป็นการซ้ำซ้อนประกอบกับการเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 จะต้องเป็นกรณีการยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและมีการตรวจสอบไต่สวนแล้วจึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจพบดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 19 และ 20 เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้จำเลยเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 แห่ง ป.รัษฎากร อีก
การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วไม่เคยโต้แย้งคัดค้าน ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับการประเมินดังกล่าว ทั้งเมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ แม้คดีนี้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์ที่มาศาลเป็นฝ่ายชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อเห็นว่า ข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย โดยศาลอาจสืบพยานตามที่เห็นจำเป็นอันเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์ และจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้ ตามที่บัญญัติไว้ในป.วิ.พ.มาตรา 205 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 เมื่อปรากฏว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลก็มีอำนาจพิพากษาเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโจทก์ในส่วนนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การคำนวณกำไรสุทธิ และการเรียกเก็บเบี้ยปรับซ้ำซ้อน
การที่จำเลยไม่มาพบและส่งบัญชีเอกสารสำหรับรอบระยะเวลา บัญชีปี 2538 ตามหมายเรียกให้แก่เจ้าพนักงานตรวจสอบ ของกรมสรรพากรโจทก์ ทำให้เจ้าพนักงานตรวจสอบไม่สามารถ คำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวได้ เจ้าพนักงานประเมินจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 71(1) แห่งประมวลรัษฎากร ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล ของจำเลยในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่านั้น ย่อมทำให้จำเลยไม่มีสิทธิเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโดยคำนวณจากยอดกำไรสุทธิ แต่ต้องเสียโดยคำนวณจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ในอัตราร้อยละ 5 ในรอบระยะเวลาบัญชี ปีพิพาท จำเลยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล ของรอบระยะเวลาหกเดือน (แบบ ภ.ง.ด.51) ระบุว่า ไม่มีรายได้และภาษีที่ต้องชำระ แต่เจ้าพนักงานได้ประเมิน ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว ในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ตาม มาตรา 71 แห่งประมวลรัษฎากร คิดเป็นภาษีจำนวน 9,997,338.10 บาท ดังนั้น เมื่อนำภาษีจำนวน 9,997,338.10 บาท มาคำนวณกลับเป็นกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวจำเลยจะมีกำไรสุทธิจำนวน 33,324,460.33 บาท กึ่งหนึ่ง ของกำไรสุทธิเท่ากับ 16,662,230.17 บาท เมื่อคูณด้วย อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วคิดเป็นภาษีที่จำเลยต้องชำระ สำหรับรอบระยะเวลาหกเดือนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ทวิ จำนวน 4,998,669.05 บาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นการคำนวณ ภาษีสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือนที่ถูกต้องแล้ว จึงเป็นกรณีที่จำเลยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกิน ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการ ที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโดยไม่มีเหตุสมควรจำเลยจึงต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของกึ่งหนึ่งของจำนวน เงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรี ส่วนเบี้ยปรับที่เจ้าพนักงานประเมิน เนื่องจากการที่จำเลยมิได้ชำระภาษีของรอบระยะเวลาหกเดือนตาม มาตรา 22 นั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรีได้กำหนดบทลงโทษโดยให้ผู้เสียภาษีชำระเงินเพิ่มใน อัตราร้อยละ 20 ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมิน ได้ประเมินให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับอีกจึงเป็นการซ้ำซ้อน ประกอบกับการเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 จะต้องเป็น กรณีการยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและมีการตรวจสอบไต่สวนแล้วจึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจพบดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 20 เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้จำเลยเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22แห่งประมวลรัษฎากรอีก การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน เกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วไม่เคยโต้แย้งคัดค้าน ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับการประเมินดังกล่าว ทั้งเมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการ ประเมินโดยไม่มีอำนาจ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับ แก่โจทก์ แม้คดีนี้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาแต่ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์ที่มาศาลเป็นฝ่ายชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อเห็นว่า ข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายโดยศาลอาจสืบพยานตามที่เห็นจำเป็นอันเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์ และจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 205 วรรคแรก ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528มาตรา 17 เมื่อปรากฏว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลก็มีอำนาจพิพากษาเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโจทก์ในส่วนนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การรับจ้างทำของและการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
จากสาระสำคัญของสัญญาที่ระบุว่าโจทก์ต้องจัดหาพร้อมทั้งติดตั้งหินอ่อนจนสำเร็จโดยช่างที่มีฝีมือชำนาญและเมื่องานสำเร็จแล้วจะต้องมีการตรวจรับงานแล้วผู้ว่าจ้างจึงจะให้สินจ้างโจทก์ตอบแทนหากต่อมาเกิดความเสียหายโจทก์ยังต้องมีหน้าที่ทำการแก้ไขซึ่งจะเห็นได้ว่าเป็นการแก้ไขในผลงานของโจทก์หลังจากที่โจทก์ได้ทำการติดตั้งเสร็จแล้วมิได้เกี่ยวข้องกับตัวหินอ่อนที่โจทก์เป็นผู้ผลิตส่งมอบให้แก่ลูกค้าย่อมเป็นการสนับสนุนให้เห็นว่าเข้าลักษณะของสัญญาจ้างทำของสัญญาพิพาทจึงเป็นสัญญารับจ้างทำของตามบัญชีอัตราภาษีการค้าแห่งประมวลรัษฎากรโจทก์จึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องเสียภาษีการค้าในการรับจ้างทำของโดยโจทก์ไม่ได้รับลดหย่อนภาษีการค้าในการค้าประเภทนี้เนื่องจากบัตรส่งเสริมการลงทุนลดหย่อนให้เฉพาะการค้าประเภทการขายของเท่านั้น โจทก์ชำระภาษีการค้าโดยมิได้มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังนั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอคืนภาษีการค้าโดยไม่ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อนเพราะตามมาตรา30แห่งประมวลรัษฎากรกรณีที่จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์นั้นได้แก่กรณีที่มีการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเมื่อโจทก์มีอำนาจฟ้องขอคืนภาษีการค้าโดยไม่ต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อนปัญหาว่าโจทก์ได้อุทธรณ์ภาษีการค้าหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ โจทก์นำหินอ่อนที่โจทก์ผลิตเพื่อขายและทำหน้าที่ติดตั้งให้แก่ลูกค้าด้วยนั้นตามมาตรา79ทวิ(3)แห่งประมวลรัษฎากรให้ถือว่าเป็นการขายเพื่อป้องกันมิให้หลบเลี่ยงการเสียภาษีอากรและให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับและต้องเสียภาษีการค้าประเภทการค้า1การขายของและเมื่อสัญญาพิพาทเป็นสัญญารับจ้างทำของการที่โจทก์เป็นผู้ผลิตหินอ่อนและเป็นผู้นำหินอ่อนที่โจทก์ผลิตไปรับจ้างทำของด้วยเครื่องมือเครื่องใช้ค่าแรงและอื่นๆโดยโจทก์คิดเป็นราคาเดียวกันในสินจ้างไม่แยกราคาเป็นค่าวัสดุกับค่าแรงจึงถือว่าเป็นการรับจ้างทำของตามประเภทการค้า4แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้าอีกประเภทหนึ่งซึ่งการค้าประเภทนี้ระบุรายการประกอบการค้าว่าการรับจ้างทำของรวมทั้งการขายส่วนประกอบและวัตถุพลอยได้ประมวลรัษฎากรก็มิได้บัญญัติห้ามว่าเมื่อผู้ประกอบการค้าต้องเสียภาษีการค้าประเภทหนึ่งไปแล้วไม่ต้องเสียภาษีการค้าประเภทอื่นที่เข้าลักษณะอื่นด้วยอีกฉะนั้นโจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้าประเภทการค้า4การรับจ้างทำของชนิด1(ฉ)ด้วยเงินได้จำนวน23,441,571.50บาทเป็นรายรับจากการรับจ้างทำของและตามบัตรส่งเสริมการลงทุนโจทก์ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะรายได้จากการขายของเงินได้จำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินได้ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและต้องแยกคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างหากจากเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี รายรับของโจทก์ตามสัญญาพิพาทต้องเสียภาษีการค้าตามประเภทการค้า4การรับจ้างทำของชนิด1(ฉ)การที่จำเลยที่1ได้รับชำระภาษีการค้าไว้จากโจทก์จึงเป็นการรับชำระเนื่องจากโจทก์มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกภาษีการค้าที่ชำระไปแล้วและดอกเบี้ยตามคำขอท้ายฟ้องคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายทรัพย์สินในราคาที่สูงเกินปกติ และค่าดอกเบี้ยที่ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ มีผลต่อการคำนวณกำไรสุทธิ
ทั้งในคำอุทธรณ์การประเมินของโจทก์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และในคำฟ้องของโจทก์ได้อ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งบอกค่าเสื่อมราคาในรอบระยะเวลาบัญชีปี2523เพียง14,700,159.77บาทแทนที่จะเป็น18,700,159.77บาทจึงเป็นผลทำให้ยอดค่าเสื่อมราคาที่กล่าวข้างต้นสูงกว่าจำนวนเงินที่ระบุในข้อ2.1.1ไป4,000,000บาทโดยโจทก์ไม่ได้ระบุถึงความเป็นมาของยอดค่าเสื่อมราคาจำนวน18,700,157.77บาทว่าได้มาอย่างไรและยอดค่าเสื่อมราคาจำนวน14,700,157.77บาทไม่ถูกต้องอย่างไรการกล่าวอ้างของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการกล่าวอ้างลอยๆจำเลยไม่สามารถสู้คดีได้ถูกต้องฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม โจทก์ได้ยอมรับว่าโจทก์ได้ให้บริการรับประทานอาหารฟรีแก่พนักงานของโจทก์บนเรือขุดแร่กรณีย่อมถือได้ว่าพนักงานที่ทำงานบนเรือขุดแร่ได้รับประโยชน์ในทางทรัพย์สินเพิ่มพูนขึ้นเนื่องจากการทำงานนอกเหนือไปจากเงินเดือนที่พนักงานจะได้รับแสดงให้เห็นว่าโจทก์ยอมรับว่าการเลี้ยงอาหารแก่พนักงานบนเรือดังกล่าวถือเป็นประโยชน์เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการจ้างแรงงานค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงถือเป็นเงินได้ของพนักงานของโจทก์ซึ่งได้รับอันเนื่องมาจากการจ้างแรงงานตามมาตรา40(1)แห่งประมวลรัษฎากรและเงินได้ในส่วนดังกล่าวถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา39แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาคำนวณหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณที่จ่ายและนำส่งต่อจำเลย เรือขุดแร่ของท.ที่มีการซื้อขายในคดีนี้ได้ถูกออกแบบเป็นพิเศษโดยเฉพาะเพื่อใช้งานสำหรับขุดแร่บริเวณที่ท.ได้รับสัมปทานโดยเฉพาะเมื่อการทำแร่จะต้องได้รับสัมปทานและท.ถูกเพิกถอนสัมปทานไปแล้วท. จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะต่อรองอะไรกับโจทก์หรือผู้ซื้อทรัพย์สินรายใดได้ส่วนหนังสือแจ้งราคาเรือที่ต่อใหม่ของบริษัทม. ก็ปรากฏว่ามีมาถึงโจทก์หลังจากที่โจทก์ได้ทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สินไปแล้วการยืนยันราคาเรือก็เป็นการยืนยันย้อนหลังแสดงว่าในการทำหนังสือสอบถามราคาไปก็เพียงแต่จะเป็นการสร้างหลักฐานขึ้นมาประกอบการซื้อทรัพย์นั้นไม่มีเจตนาจะให้มีการต่อเรือกันจริงหนังสือที่ทางบริษัทม. แจ้งมายังโจทก์จึงไม่น่าเชื่อถือสำหรับข้อที่โจทก์อ้างว่าหลังจากซื้อเรือขุดแร่จากท. แล้วได้ประกันภัยในราคาที่ใกล้เคียงกับราคาที่ซื้อมาของโจทก์โจทก์คงอ้างแต่เพียงลอยๆโดยไม่แสดงหลักฐานใดๆนอกจากนี้การกำหนดราคาเอาประกันภัยไม่อาจถือเป็นราคาอันสมควรได้เพราะคู่สัญญาประกันภัยสามารถตกลงวงเงินเอาประกันภัยเท่าใดก็ได้เพียงแต่หากเกิดความเสียหายก็จะชดใช้ให้ตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้นดังนั้นราคาทรัพย์สินที่เอาประกันภัยจึงมิใช่ราคาตลาดของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยและไม่อาจเชื่อถือได้ส่วนที่โจทก์อ้างว่าราคาที่โจทก์และท.ทำการตกลงซื้อขายนั้นเป็นราคาของมูลค่าทรัพย์สินตามปกติที่อาจสามารถซื้อขายกันได้หาได้มีลักษณะเป็นการซื้อขายทรัพย์สินที่มีราคาสูงเกินปกติโดยไม่มีเหตุอันสมควรแต่ประการใดนั้นจากการตรวจสอบของเจ้าพนักงานของจำเลยได้ความว่าในการลงบัญชีทรัพย์ที่ซื้อมาโดยที่สัญญาซื้อขายทรัพย์สินระบุเป็นรายการใหญ่ๆต้องหาวิธีลงบัญชีเพื่อแยกเป็นรายการย่อยๆจึงได้ใช้ดัชนีมาร์ชแอนด์สตีแว่นมาเพื่อคำนวณหามูลค่าทรัพย์สินเพื่อใช้ลงบัญชีดัชนีมาร์ชแอนด์สตีเว่นเป็นการคำนวณค่าใช้จ่ายในการแต่งเรือย้อนหลังไป1ปีมีอัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ16การเปรียบเทียบจะอยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันแต่กรณีของโจทก์ทรัพย์สินที่โจทก์ซื้อผ่านการใช้งานมาแล้วประมาณ4ปีการนำดัชนีราคาดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับกรณีของโจทก์จึงไม่ถูกต้องราคาต้นทุนทรัพย์สินตามบัญชีท.มีราคา221,934,959.44บาทซึ่งเป็นราคาที่ท.ได้หักค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินและได้นำไปใช้หักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลของท. ไปแล้วและท. หักค่าเสื่อมราคาโดยใช้วิธีเส้นตรงในอัตราร้อยละ10ต่อปีซึ่งเป็นการหักค่าใช้จ่ายในอัตราต่ำอยู่แล้วการที่โจทก์ซื้อทรัพย์สินของท.มาในราคา332,800,000บาทจึงเป็นราคาที่สูงเกินปกติโดยไม่มีเหตุอันสมควร ตามสัญญาซื้อขายทรัพย์สินหนี้สินและสัญญาเพิ่มเติมเพื่อขายและซื้อทรัพย์สินและหนี้สินมีการระบุรายละเอียดรายการทรัพย์สินและหนี้สินที่โจทก์ซื้อจากท. ไว้โดยไม่มีการระบุว่ามีการซื้อขายเจ้าหนี้ระยะยาวรายของบริษัทซ. และบริษัทซ. ไว้แต่อย่างใดดังนั้นการที่โจทก์จ่ายดอกเบี้ยแทนท.ไปโดยค่าดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นค่าดอกเบี้ยของหนี้สินระยะยาวซึ่งโจทก์มิได้ผูกพันด้วยค่าดอกเบี้ยที่โจทก์จ่ายไปจึงเป็นรายจ่ายที่ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพราะเป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์ตามมาตรา65ตรี(13)แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์จึงนำรายจ่ายดังกล่าวมาคิดคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีของตัวการ: หลักการคำนวณกำไรสุทธิและการประเมินภาษีที่ถูกต้อง
ไม่ว่า พ.ตัวแทนของโจทก์จะมีสิทธิยื่นเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคสองประกอบมาตรา 71 (1) หรือไม่ก็ตาม แต่สำหรับโจทก์ซึ่งเป็นตัวการที่ต้องรับผิดในการเสียภาษีโดยตรงนั้นต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 66 และมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวคือ ต้องเสียภาษีในกำไรสุทธิตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ หากจะเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 66 วรรคสอง ประกอบมาตรา 71 (1) ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถจะคำนวณกำไรสุทธิได้ ที่โจทก์อ้างว่าบัญชีงบดุล บัญชีกำไรขาดทุน และหลักฐานทางบัญชีต่าง ๆ ของโจทก์ได้จัดทำกันที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนโจทก์ในประเทศไทยไม่อาจทราบรายการต่าง ๆ ตามสมุดบัญชีงบดุล และงบกำไรขาดทุนของโจทก์โดยถูกต้องได้ และโจทก์ยังให้บริการแก่บริษัทต่าง ๆ ในต่างประเทศอีกหลายประเทศนั้น ไม่เพียงพอให้รับฟังว่าโจทก์ไม่สามารถจะคำนวณกำไรสุทธิได้ ฉะนั้น การที่ พ.ตัวแทนของโจทก์ยื่นรายการและเสียภาษีดังกล่าวแทนโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา 66 และมาตรา 67 เจ้าพนักงานประเมินชอบที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีให้ถูกต้องได้
โจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้กล่าวอ้างว่า เจ้าพนักงานประเมินคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ไม่ถูกต้องเพราะหักรายจ่ายแก่โจทก์ไม่ครบถ้วน เนื่องจากโจทก์ยังมีรายจ่ายอื่นอยู่ การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าการประเมินไม่ชอบเพราะการคำนวณกำไรสุทธิไม่ถูกต้อง เนื่องจากโจทก์ยังมีรายจ่ายอื่นอยู่อีก แต่เจ้าพนักงานประเมินไม่ได้นำมาหักออกให้ จึงเป็นข้ออุทธรณ์ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษี-อากรกลาง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลต่างประเทศ: การหักรายจ่าย, การคำนวณกำไรสุทธิ, และการลดเบี้ยปรับ
โจทก์เป็นบริษัทจำกัดที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศเมื่อประกอบกิจการซึ่งถือได้ว่าประกอบกิจการในประเทศไทยก็มีหน้าที่ต้องยื่นรายการและเสียภาษีสำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลที่คำนวณจากฐานกำไรสุทธิซึ่งได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำในประเทศไทยในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยค่าใช้จ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา65ทวิมาตรา65ตรีและคิดตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา66และมาตรา67หากจะเสียภาษีในอัตราร้อยละ5ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆตามมาตรา66วรรคสองประกอบมาตรา71(1)ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้เมื่อโจทก์ยังสามารถที่จะคำนวณกำไรสุทธิเพื่อยื่นรายการและเสียภาษีได้แต่โจทก์ยื่นรายการและเสียภาษีในอัตราร้อยละ5ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆจึงไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา66และมาตรา67เจ้าพนักงานประเมินชอบที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีให้ถูกต้องได้ การที่บัญชีงบดุลบัญชีกำไรขาดทุนและหลักฐานการทำบัญชีต่างๆของโจทก์ได้จัดทำกันที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ในต่างประเทศลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนโจทก์ในประเทศไทยไม่อาจทราบรายการต่างๆตามสมุดบัญชีงบดุลและงบกำไรขาดทุนของโจทก์โดยถูกต้องได้และโจทก์ยังให้บริการแก่บริษัทต่างๆในต่างประเทศอีกหลายประเทศนั้นยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่าโจทก์ไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิได้ โจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ไม่ถูกต้องเพราะหักรายจ่ายไม่ครบถ้วนเนื่องจากโจทก์ยังมีรายจ่ายอื่นอยู่ดังนั้นการที่โจทก์ยกข้อความดังกล่าวขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เชื่อว่าโจทก์ไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงการชำระภาษีจึงลดเบี้ยปรับลงเหลือร้อยละ50เป็นดุลพินิจที่เหมาะสมแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: การคำนวณกำไรสุทธิและอำนาจการประเมินของเจ้าพนักงาน
ไม่ว่าพ. ตัวแทนของโจทก์จะมีสิทธิยื่นเสียภาษีในอัตราร้อยละ5ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆตามประมวลรัษฎากรมาตรา76ทวิวรรคสองประกอบมาตรา71(1)หรือไม่ก็ตามแต่สำหรับโจทก์ซึ่งเป็นตัวการที่ต้องรับผิดในการเสียภาษีโดยตรงนั้นต้องอยู่ในบังคับของมาตรา66และมาตรา67แห่งประมวลรัษฎากรกล่าวคือต้องเสียภาษีในกำไรสุทธิตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีเงินได้หากจะเสียภาษีในอัตราร้อยละ5ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆตามประมวลรัษฎากรมาตรา66วรรคสองประกอบมาตรา71(1)ต้องเป็นกรณีที่โจทก์ไม่สามารถจะคำนวณกำไรสุทธิได้ที่โจทก์อ้างว่าบัญชีงบดุลบัญชีกำไรขาดทุนและหลักฐานทางบัญชีต่างๆของโจทก์ได้จัดทำกันที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ในประเทศสวิซเซอร์แลนด์ ลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนโจทก์ในประเทศไทยไม่อาจทราบรายการต่างๆตามสมุดบัญชีงบดุลและงบกำไรขาดทุนของโจทก์โดยถูกต้องได้และโจทก์ยังให้บริการแก่บริษัทต่างๆในต่างประเทศอีกหลายประเทศนั้นไม่เพียงพอให้รับฟังว่าโจทก์ไม่สามารถจะคำนวณกำไรสุทธิได้ฉะนั้นการที่พ. ตัวแทนของโจทก์ยื่นรายการและเสียภาษีดังกล่าวแทนโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา66และมาตรา67เจ้าพนักงานประเมินชอบที่จะประเมินให้โจทก์เสียภาษีให้ถูกต้องได้ โจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานประเมินคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ไม่ถูกต้องเพราะหักรายจ่ายแก่โจทก์ไม่ครบถ้วนเนื่องจากโจทก์ยังมีรายจ่ายอื่นอยู่การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าการประเมินไม่ชอบเพราะการคำนวณกำไรสุทธิไม่ถูกต้องเนื่องจากโจทก์ยังมีรายจ่ายอื่นอยู่อีกแต่เจ้าพนักงานประเมินไม่ได้นำมาหักออกให้จึงเป็นข้ออุทธรณ์ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลางศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5652/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเงินกู้จากบริษัทในเครือถือเป็นรายจ่ายที่นำมาหักคำนวณกำไรสุทธิได้ และการหักเงินภาษีที่ชำระแล้ว
โจทก์กู้เงินจากบริษัทในเครือของโจทก์เพื่อนำเงินมาประกอบกิจการโดยต้องเสียดอกเบี้ยให้บริษัทในเครือจริง จึงเป็นรายจ่ายที่นำมาคำนวณกำไรสุทธิได้ มิใช่รายจ่ายซึ่งโจทก์กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริงตามประมวลรัษฏากร มาตรา 65 ทวิ (9)
การที่โจทก์ชำระหนี้ค่าภาษีบางส่วนให้แก่จำเลยแล้ว ศาลย่อมมีคำพิพากษาให้นำเงินภาษีบางส่วนที่โจทก์ชำระแล้วมาหักออกจากเงินภาษีที่โจทก์ต้องชำระทั้งหมดได้
of 5