พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5804/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของบริษัทในเครือจากการซื้อขายต่อเนื่อง แม้ชื่อนิติบุคคลต่างกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้มอบให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนทำสัญญาซื้อขายคอนกรีตผสมเสร็จโดยตกลงราคาและสถานที่ส่งมอบตามชนิดและปริมาตรโดยให้เครดิตแก่จำเลยทั้งสาม 60 วัน ตามสัญญาซื้อขาย การส่งมอบและเรียกเก็บเงินจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้โจทก์ออกบิลเรียกเก็บในนามบริษัทจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 โจทก์ได้ส่งสินค้าให้แก่จำเลยทั้งสามหลายครั้งตามรายละเอียดในฟ้อง รวมเป็นเงินที่จำเลยทั้งสามต้องชำระแก่โจทก์ทั้งสิ้น 613,122.84 บาท ครบกำหนดชำระเงินแล้ว จำเลยทั้งสามไม่ชำระ โจทก์ทวงถามหลายครั้งจำเลยทั้งสามเพิกเฉย ขอให้จำเลยทั้งสามชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ตามคำบรรยายฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาเกี่ยวกับการซื้อขายและคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่ระบุให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 รับผิดต่อโจทก์แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม และเมื่อเป็นการซื้อขายที่กระทำต่อเนื่องกันจำเลยที่ 1 และที่ 3 ย่อมต่อสู้ได้ว่า มิได้สั่งซื้อหรือได้ชำระราคาส่วนใดไปแล้วเท่าใด
บริษัทจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันรับจ้างก่อสร้างโรงงาน จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีที่อยู่ที่เดียวกัน เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นบริษัทสาขาหรือบริษัทลูกของจำเลยที่ 3 ด้วย ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ดำเนินกิจการร่วมกันมาโดยตลอด จึงไม่อาจอ้างความเป็นนิติบุคคลแยกจากกันมาปฏิเสธความรับผิดได้
บริษัทจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันรับจ้างก่อสร้างโรงงาน จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีที่อยู่ที่เดียวกัน เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นบริษัทสาขาหรือบริษัทลูกของจำเลยที่ 3 ด้วย ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ดำเนินกิจการร่วมกันมาโดยตลอด จึงไม่อาจอ้างความเป็นนิติบุคคลแยกจากกันมาปฏิเสธความรับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมในหนี้จากการค้าที่ภริยาเกี่ยวข้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นภริยา ว. จำเลยและ ว.ทำกิจการโรงสีร่วมกัน ว.กู้ยืมเงินโจทก์ไปทำกิจการโรงสี เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในหนี้สินที่ทำการค้าร่วมกับ ว.ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1490
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6401/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องค่าหุ้นในกิจการร่วมกัน: ใช้ 10 ปีตามอายุความทั่วไป
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้นที่โจทก์นำมาลงหุ้นเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน เป็นการเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้น ไม่ใช่โจทก์ฟ้องในฐานะเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาเงินที่ได้ออกทดรองไปซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1) และกรณีนี้กฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามมาตรา 193/30 ซึ่งมีกำหนด 10 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8203/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนสามัญ-ความรับผิดร่วม: ละเมิดจากลูกจ้างในกิจการร่วมกัน
จำเลยที่2นำรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุไปร่วมกิจการเกินรถกับจำเลยที่3ในเส้นทางที่ได้รับสัมปทานจากทางราชการโดยจำเลยที่3ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากจำเลยที่2ร้อยละ13ของยอดรายได้ที่ยังไม่หักค่าใช้จ่ายและยอมให้จำเลยที่3นำรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุไปทำสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลยที่4กับยอมให้จำเลยที่3พ่นชื่อบริษัทจำเลยที่3ไว้ที่ข้างรถจึงถือว่าจำเลยที่2และที่3เป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการรับขนคนโดยสารด้วยกันในลักษณะหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนเมื่อจำเลยที1ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่2ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของห้างหุ้นส่วนดังกล่าวจำเลยที่3จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่2ในผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่1ด้วย ที่จำเลยที่3ฎีกาว่าจำเลยที่4ต้องรับผิดไม่เกิน250,000บาทในนามของจำเลยที่3นั้นไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ความรับผิดในจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่จำเลยที่3ต้องใช้ให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ลดลงเนื่องจากโจทก์มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่จำเลยที่3ได้เต็มจำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2691/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดตามสัญญาประกันภัยกรณีรถบรรทุกที่ใช้ในกิจการร่วมกัน ถือเป็นการจ้างงานและจำเลยร่วมต้องรับผิด
จำเลยที่ 2 เป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุกับจำเลยร่วม จำเลยที่ 3 เป็นภรรยาจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 นำรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุในกิจการของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกัน การที่จำเลยที่ 3 ว่าจ้างให้ ป. ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปส่งข้าวเปลือกที่จังหวัดปทุมธานี ระหว่างทางเกิดชนกับรถยนต์ปิกอัพที่ม.ขับมา เป็นการจ้างเพื่อประโยชน์ในการประกอบธุรกิจร่วมกันของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของ ป. ด้วยจำเลยร่วมจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 855/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมสามีภริยาจากกิจการร่วมกัน และการกันส่วนของสินสมรสในชั้นบังคับคดี
ภริยากู้เงินโจทก์ ศาลพิพากษาให้ชำระหนี้แก่โจทก์ 6,500 บาทตามยอม เป็นหนี้ซึ่งสามีมากับภริยาเมื่อมากู้เงินด้วยเพื่อนำไปใช้ในการขับรถรับจ้างบรรทุกของ ถือว่าเกิดจากการงานที่สามีภริยาทำด้วยกันเป็นหนี้ร่วมตามมาตรา1482(3) สามีขอให้กันส่วนของตนในสินสมรสที่โจทก์บังคับคดีไม่ได้
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกคำร้องขอให้กันส่วนของสามีในสินบริคณห์ในชั้นบังคับคดี เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ไม่ต้องห้ามฎีกา
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกคำร้องขอให้กันส่วนของสามีในสินบริคณห์ในชั้นบังคับคดี เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ไม่ต้องห้ามฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 314/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดชอบต่อการซื้อขายที่ดินร่วมกัน แม้ไม่ได้ยินยอมโดยตรง
การที่จำเลยกับพวกได้ร่วมกันซื้อที่ดินมาจัดสรรแบ่งขายเป็นแปลง ๆ ด้วยความประสงค์ที่จะหากำไรมาแบ่งปันกัน เป็นการกระทำที่เป็นหุ้นส่วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1012
การที่หุ้นส่วนของจำเลยยอมให้โจทก์ขายช่วงที่ดินและยอมรับเงินนั้นไว้ เมื่อได้จัดทำไปในทางที่เป็นธรรมดาของการค้าของห้างหุ้นส่วน จำเลยย่อมจะต้องมีความผูกพันและรับผิดชอบร่วมด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1050
การที่หุ้นส่วนของจำเลยยอมให้โจทก์ขายช่วงที่ดินและยอมรับเงินนั้นไว้ เมื่อได้จัดทำไปในทางที่เป็นธรรมดาของการค้าของห้างหุ้นส่วน จำเลยย่อมจะต้องมีความผูกพันและรับผิดชอบร่วมด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1050
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 987/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิเรียกร้องของหุ้นส่วนในกิจการร่วมกัน และการไม่ถือเป็นการละเมิดต่อบริษัทที่รับช่วงกิจการ
จำเลยมีหุ้นส่วนอยู่ในกิจการไฟฟ้าร่วมกับ ส. ต่อมาบริษัทโจทก์ก่อตั้งขึ้นโดยรับเอากิจการไฟฟ้านั้นไปเป็นของบริษัทโจทก์ ส.เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัทโจทก์และเป็นประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัทโจทก์เสนอขายกิจการไฟฟ้านั้นให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอ้างว่า ส.ในฐานะส่วนตัวไม่มีอำนาจเอากิจการไฟฟ้าซึ่งจำเลยมีหุ้นส่วนร่วมกับ ส.ไปเสนอขายโดยมิได้รับความยินยอมจากจำเลย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจึงยับยั้งการซื้อกิจการไฟฟ้าของบริษัทโจทก์ การกระทำของจำเลยดังนี้ไม่เป็นการละเมิดต่อบริษัทโจทก์เพราะจำเลยกล่าวอ้างแสดงสิทธิของตนตามความจริงและเพื่อรักษาสิทธิของตนโดยชอบ