คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กิจการเดินรถ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5014/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของกิจการเดินรถและการใช้เอกสารประกอบการพิจารณาคดี
จำเลยที่ 2 นำรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุเข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ได้รับผลประโยชน์เป็นเงิน และจำเลยที่ 2 ยอมให้จำเลยที่ 3 นำรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุไปทำสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 4 กับยอมให้จำเลยที่ 3 พ่นสีตัวถังตราของจำเลยที่ 3 หมายเลขประจำรถ ชื่อเส้นทางก่อนส่งมอบรถให้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ประกอบกิจการรับขนคนโดยสารร่วมกันในลักษณะที่แบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 ด้วย
เอกสารที่แสดงให้เห็นถึงข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3ว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญ แม้จำเลยที่ 3จะไม่ประสงค์จะอ้างอิงและไม่ยอมเสียค่าอ้าง ทำให้ไม่สามารถรับฟังเป็นพยานเอกสารของจำเลยที่ 3 ได้ และเมื่อจำเลยที่ 3 ยื่นเอกสารดังกล่าวเข้าสู่สำนวนแล้ว แต่จำเลยที่ 3 เห็นว่าข้อความในเอกสารจะเป็นโทษแก่ฝ่ายตนเอง จึงกลับใจไม่เสียค่าอ้างเอกสาร เพื่อไม่ให้ศาลรับฟังข้อความในเอกสารนั้นก็ตาม แต่เมื่อศาลจำต้องใช้เอกสารนั้นวินิจฉัยประเด็นสำคัญแห่งคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311-1312/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของนายจ้างและลูกจ้าง กรณีรถร่วมเดินรถ และการมีส่วนร่วมในกิจการเดินรถ
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ได้รับสัมปทานเดินรถประจำทางในเส้นทางสายอำเภอเมืองภูเก็ตกับท่าฉัตรไชย ยินยอมให้จำเลยที่ 4 นำรถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งมีจำเลยที่ 5 เป็นคนขับเข้ามาเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 มีและใช้รถคันดังกล่าวนั้นในกิจการของจำเลยที่ 3 แล้ว แม้ตรงที่จำเลยที่ 5 ขับรถไปเกิดเหตุจะเป็นเส้นทางนอกสัมปทานของจำเลยที่ 3 แต่ก็ปรากฏว่าเป็นเส้นทางที่จำเลยที่ 3 ยินยอมให้รถคันดังกล่าววิ่งรับส่งคนโดยสารร่วมกับจำเลยที่ 3 ตลอดมาจำเลยที่ 3 จะอ้างว่ารถนั้นมิได้ร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 หาได้ไม่
จำเลยที่ 5 เป็นบุตรของจำเลยที่ 4 ได้ขับรถของจำเลยที่ 4 เข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 รับขนส่งคนโดยสารเก็บเงินค่าโดยสารตลอดมา อันเป็นการกระทำกิจการในทางหาประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยจำเลยที่ 4 ใช้ให้กระทำ ลักษณะการกระทำของจำเลยที่ 5 ดังกล่าว ไม่มีเหตุจะคาดหมายได้ว่าจำเลยที่ 5 ขับรถของจำเลยที่ 4 ออกรับจ้างด้วยกระทำให้เปล่า ย่อมถือเอาโดยปริยายว่ามีคำมั่นจะให้สินจ้าง พฤติการณ์ฟังได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 4 การที่จำเลยที่ 4 นำรถเข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ได้รับประโยชน์ในการนี้จากจำเลยที่ 4 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 5 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1653/2500)