คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กู้เบิกเงินเกินบัญชี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2940/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการเป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ต้องแสดงการส่งมอบเงินจริง แม้มีการหักทอนบัญชีก็ไม่เพียงพอ
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อความที่ระบุไว้ว่าไม่ได้มีการส่งมอบเงินกันในวันทำสัญญากู้ แต่กลับมีรายการแสดงการเป็นเจ้าหนี้ของเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี อันมีที่มาจากบัญชีเดินสะพัดกระแสรายวัน บัญชีดังกล่าวจึงใช้เป็นหลักฐานว่าโจทก์ได้ชำระเงินที่ น. กู้เบิกเงินเกินบัญชีไปจากโจทก์แล้ว เป็นเอกสารสำคัญที่โจทก์ต้องนำมาสืบ แม้โจทก์จะมีผู้รับมอบอำนาจมาเบิกความประกอบการหักทอนบัญชีเพื่อให้เห็นว่ามีหนี้ค้างชำระกันจำนวนเท่าใด ก็ยังไม่อาจรับฟังได้ว่า น. เป็นหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4284/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดดอกเบี้ยกู้เบิกเงินเกินบัญชี: การคิดดอกเบี้ยไม่ตรงวันสิ้นเดือนไม่ผิดสัญญา หากไม่ได้คิดดอกเบี้ยทบต้นก่อนกำหนด
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า กำหนดชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุกเดือนภายในวันสิ้นเดือน ในเวลาทำงานของผู้ให้กู้แต่ถ้าวันกำหนดชำระดอกเบี้ยเช่นว่านี้ตรงกับวันหยุดของผู้ให้กู้ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันทำงานที่ถัดไป เป็นข้อตกลงกำหนดเวลา ให้จำเลยผู้กู้เบิกเงินเกินบัญชีชำระดอกเบี้ยแต่ละเดือน หากจำเลย ไม่ชำระดอกเบี้ยภายในกำหนดเวลาดังกล่าวก็ให้ถือว่าจำเลยผิดนัด ชำระดอกเบี้ยซึ่งโจทก์มีสิทธินำดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้าเป็นต้นเงินสำหรับคิดดอกเบี้ยในเดือนถัดไปตามประเพณีของธนาคาร แต่โจทก์และจำเลยมิได้ถือปฏิบัติเคร่งครัดว่าโจทก์จะต้องคิดดอกเบี้ยใน วันสิ้นเดือน หากโจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ตรงวันสิ้นเดือน โจทก์ก็มิได้ คิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยในระยะเวลาไม่ถึงรอบบัญชีรายเดือน เมื่อจำเลยยอมรับว่าโจทก์ได้คิดดอกเบี้ยจากจำเลยถูกต้องตามสัญญา การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ตรงกับวันสิ้นเดือน จึงไม่ผิดจากข้อตกลงในสัญญา
ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเพียงว่า ให้จำเลยใช้ ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยมิได้ระบุชั้นศาล ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ชัดแจ้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3953/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยกู้เบิกเงินเกินบัญชี, การปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคาร, การคำนวณหนี้ที่ถูกต้องตามบัญชี
++ เรื่อง บัญชีเดินสะพัด ค้ำประกัน จำนอง ++
++ จำเลยทำสัญญากู้เงินเกินบัญชีแล้วมีการเดินสะพัดทางบัญชีในบัญชีกระแสรายวันตลอดมาโดยมีการทำบันทึกต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหลายครั้ง เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาแล้ว แม้ยังไม่มีการทำบันทึกต่ออายุสัญญาครั้งต่อไป แต่โจทก์ยังยอมให้จำเลยเบิกถอนเงินออกจากบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อมาอีก จึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันให้สัญญาเดินสะพัดดังกล่าวยังมีผลต่อไปอีกโดยไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดสัญญา การที่ต่อมาโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกฉบับหนึ่งโดยให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันในบัญชีกระแสรายวันเดิม และต่อมาโจทก์กับจำเลยได้ตกลงทำบันทึกต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับแรกเป็นลายลักษณ์อักษรโดยกำหนดวันสิ้นสุดสัญญาเช่นเดียวกับสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ 2 ดังนี้ แสดงให้เห็นว่าตั้งแต่วันที่โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ 2 โจทก์กับจำเลยตกลงเดินสะพัดตามบัญชีเดินสะพัดคือบัญชีกระแสรายวันเดิม โดยถือเงื่อนไขตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับแรกและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ 2 รวมกัน ซึ่งการคิดดอกเบี้ยต้องนำยอดหนี้ตามวงเงินของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแต่ละฉบับมาคิดดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลงกันในแต่ละสัญญาแยกกันก่อน แล้วจึงนำดอกเบี้ยมารวมยอดกันเพื่อทบเป็นต้นเงินใหม่ การปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการคิดยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่า จำเลยนำเงินเข้าบัญชีหักชำระหนี้หมดแล้วในวันที่จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ 2 แล้ว จึงเบิกถอนเงินออกไปใหม่อีกในวันเดือนกัน การคิดดอกเบี้ยจากยอดหนี้ที่เบิกถอนออกไปใหม่ยังพอที่ศาลจะพิพากษากำหนดวิธีการคิดยอดหนี้เฉพาะดอกเบี้ยตามอัตราที่ถูกต้องได้ โดยไม่ต้องคิดคำนวณเป็นตัวเลขให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามสิทธิที่โจทก์ควรได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ได้ ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6186/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี, การบอกเลิกสัญญา, ดอกเบี้ยทบต้น, และการคิดดอกเบี้ยหลังสิ้นสุดสัญญา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1ได้เปิดบัญชีกระแสรายวันกับโจทก์และได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์และเพิ่มวงเงินกู้2ครั้งรวมเป็นวงเงิน5,000,000บาทคิดดอกเบี้ยทบต้นในบัญชีเดินสะพัดตามประเพณีการค้าของธนาคารร้อยละ15ต่อปีโดยมีกำหนดเวลาสิ้นสุดของสัญญาหลังจากนั้นจำเลยที่1ได้ถอนเงินและนำเงินเข้าหักทอนบัญชีเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีกันตลอดมาจนสัญญาครบกำหนดจำเลยที่1คงเบิกเงินจากบัญชีต่อไปแต่ไม่ได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์อีกต่อไปจึงได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่1จำเลยที่1คงค้างชำระหนี้โจทก์ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน7,095,820.70บาทรายละเอียดปรากฏตามบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1ซึ่งโจทก์จะส่งศาลให้ชั้นพิจารณาขอให้จำเลยที่1รับผิดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ดังนี้คำฟ้องดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้วแม้โจทก์จะไม่มีบัญชีเดินสะพัด(บัญชีกระแสรายวัน)ของจำเลยที่1แนบมาท้ายฟ้องแต่สัญญาบัญชีเดินสะพัดรวมอยู่ในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีมีรายละเอียดปรากฏอยู่ในบัญชีกระแสรายวันที่โจทก์ไม่ได้แนบบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่1มาท้ายฟ้องจึงไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุม เอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับคำขอเปิดเลตเตอร์2ฉบับตั๋วแลกเงิน6ฉบับและทรัสต์รีซีท6ฉบับรวม15ฉบับซึ่งโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่1ได้ขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศรวม3ครั้งค่าสินค้าคิดเป็นเงินตราต่างประเทศตามจำนวนที่ระบุในฟ้องโจทก์ได้ชำระค่าสินค้าดังกล่าวแก่ผู้ขายในต่างประเทศแล้วเมื่อสินค้ามาถึงประเทศไทยจำเลยที่1ไม่ชำระค่าสินค้าจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์แต่จำเลยที่1ได้ทำสัญญาทรัสต์รีซีทกับโจทก์รวม6ฉบับเพื่อขอรับเอกสารเกี่ยวกับสินค้าดังกล่าวไปขอออกสินค้าก่อนโดยทำตั๋วแลกเงินสัญญาว่าจะชำระเงินแก่โจทก์ภายในระยะเวลาที่กำหนดรวม6ฉบับให้โจทก์ไว้เมื่อสัญญาทรัสต์รีซีททั้งหกฉบับถึงกำหนดโจทก์ทวงถามให้จำเลยที่1ชำระจำเลยที่1ชำระค่าสินค้าให้โจทก์บางส่วนคงค้างชำระค่าสินค้าและดอกเบี้ยรวมเป็นเงิน4,551,867.19บาทโดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับเลขที่คำขอเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตจำนวนเงินค่าสินค้าชื่อบริษัทผู้ขายในต่างประเทศเลขที่ตั๋วแลกเงินพร้อมจำนวนเงินตามตั๋วและรายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายอื่นๆตามใบแจ้งเรียกเก็บเงินของโจทก์กับจำนวนเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์บางส่วนแล้วคำฟ้องในส่วนนี้จึงมีรายละเอียดเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ชัดแจ้งแล้วเอกสารท้ายฟ้องหมายเลขดังกล่าวจึงเป็นเพียงหลักฐานที่โจทก์ส่งประกอบคำบรรยายฟ้องเท่านั้นแม้จะเป็นภาษาต่างประเทศก็ไม่มีผลทำให้คำฟ้องที่มีข้อความชัดแจ้งแล้วกลับกลายเป็นฟ้องเคลือบคลุม ข้อความในหนังสือมอบอำนาจเป็นเรื่องโจทก์ตั้งป. เป็นตัวแทนของโจทก์ให้มีอำนาจฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแพ่งคดีอาญาคดีล้มละลายและกิจการทั้งหลายอื่นอันเกี่ยวเนื่องกับคดีดังกล่าวภายในขอบวัตถุประสงค์ของธนาคารโจทก์ต่อศาลทั้งปวงป. จึงเป็นตัวแทนได้รับมอบอำนาจให้มีอำนาจฟ้องคดีหรือทำกิจการใดๆเกี่ยวกับคดีในศาลแทนโจทก์ได้ทุกอย่างโดยไม่มีข้อจำกัดว่าเป็นการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีเพียงคดีเดียวและหนังสือมอบอำนาจเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวกระทำการมากกว่าครั้งเดียวจึงปิดอากรแสตมป์30บาทถูกต้องตามข้อ7(ข)ของบัญชีอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรแล้วโจทก์จึงมีสิทธิที่จะใช้ตราสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีในคดีแพ่งได้ทุกคดีหาได้ฝ่าฝืนประมวลรัษฎากรมาตรา118ไม่การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบแล้ว จำเลยที่1ได้ขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์และทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์2ครั้งในวงเงิน5,000,000บาทโดยสัญญาดังกล่าวมีข้อความในข้อ2และ3ใจความว่าผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีกำหนดส่งเป็นรายเดือนทุกวันสิ้นเดือนถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ชำระดอกเบี้ยตามกำหนดดังกล่าวก็ยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินที่ค้างชำระเป็นคราวๆไปและให้ถือว่าเป็นต้นเงินที่ผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในคราวต่อไปตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวันปรากฏว่ามีการหักทอนบัญชีและคิดดอกเบี้ยทบต้นกันทุกวันสิ้นเดือนประกอบกับในบัญชีกระแสรายวันมีแต่รายการที่จำเลยที่1สั่งจ่ายเช็คถอนเงินจากบัญชีตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีกับรายการคิดดอกเบี้ยเท่านั้นดังนี้แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่1ได้ปฏิบัติต่อกันตามข้อตกลงในลักษณะเป็นลูกหนี้และเจ้าหนี้ต่อกันอันเป็นบัญชีเดินสะพัดโดยมีการถอนเงินและนำเงินเข้าเพื่อหักทอนบัญชีกับคิดดอกเบี้ยทบต้นกันตลอดมาโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นตามข้อ3ของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวข้างต้น สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดตามสัญญาที่โจทก์ยอมให้จำเลยที่1เบิกเงินเกินบัญชีและจำเลยที่1ต้องนำเงินเข้าบัญชีมีการหักทอนบัญชีกันเป็นระยะจึงมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดด้วยเมื่อสิ้นสุดกำหนดระยะเวลาตามสัญญาสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ย่อมสิ้นสุดไปด้วยปรากฏว่าเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเมื่อวันที่25เมษายน2532จำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์5,492,962.01บาทหลังจากครบกำหนดเวลาตามสัญญาโจทก์ยังคงยอมให้จำเลยที่1เบิกเงินต่อไปส่วนจำเลยที่1ก็นำเงินเข้าหักทอนบัญชีต่อมาอีกหลายครั้งโจทก์ยอมให้จำเลยที่1เบิกเงินเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่1กุมภาพันธ์2533หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่1เบิกหรือถอนเงินต่อไปส่วนจำเลยที่1ก็มิได้นำเงินเข้าหักทอนบัญชีอีกดังนี้ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่1ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดกันทางบัญชีระหว่างกันต่อไปและโจทก์ได้คิดหักทอนบัญชีในวันที่28กุมภาพันธ์2533ปรากฏว่าจำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์ทั้งสิ้นเป็นเงิน6,118,039.86บาทซึ่งถือได้ว่าเป็นการคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกันพฤติการณ์ของโจทก์และจำเลยที่1ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่28กุมภาพันธ์2533ซึ่งเป็นวันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายหลังจากวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงโจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่1อีกคงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยไม่ทบต้นได้ต่อไปเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6169/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทอัตราดอกเบี้ยตามสัญญา กู้เบิกเงินเกินบัญชี ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาให้เป็นไปตามอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกัน
โจทก์ฟ้องขอ ดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 19 ต่อปี แต่ศาลชั้นต้นให้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ปัญหาที่ว่าโจทก์มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระดอกเบี้ยในอัตราตามฟ้องได้หรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท คดีก็ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในปัญหานี้เป็นการไม่ชอบและศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยให้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4466/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ให้กู้ควบคุมวงเงิน-จำกัดความรับผิดชอบจากสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี
โจทก์สั่งซื้อบุหรี่จากโรงงานยาสูบโดยจำเลยออกหนังสือรับรองการจ่ายค่าบุหรี่ และทดรองจ่ายเงินค่าบุหรี่แต่ละงวดไปก่อนแล้วหักจากบัญชีเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีของโจทก์ภายหลังเมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยเป็นจำนวนเงินสูง จำเลยมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ดุลพินิจควบคุมยอดหนี้เงินกู้ของโจทก์ให้เป็นไปตามที่จำเลยเห็นสมควรตามสิทธิที่จำเลยมีอยู่ในฐานะผู้ให้กู้การที่จำเลยแจ้งไปยังโรงงานยาสูบขอยกเลิกวงเงินทดรองจ่ายค่าบุหรี่ก็เพื่อควบคุมจำนวนเงินกู้ของโจทก์ ไม่จำต้องแจ้งให้โจทก์ทราบ เพราะเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับโรงงานยาสูบการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5806/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยกู้เบิกเงินเกินบัญชีต้องเป็นไปตามสัญญาประธาน สัญญาจำนองเป็นอุปกรณ์ไม่อาจเพิ่มดอกเบี้ยได้
สัญญาจำนองเป็นหนี้อุปกรณ์ จำนวนหนี้และอัตราดอกเบี้ยย่อมเป็นไปตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธาน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่มีข้อตกลงให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยได้จึงเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ไม่ได้
มูลหนี้ประธานเกิดจากสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งมีรวม 5 ฉบับแต่ละฉบับกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ต่างกัน โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาแต่ละฉบับ ฉบับที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ต่ำที่สุดร้อยละ 15 ต่อปี สูงที่สุดร้อยละ 18.5 ต่อปี แต่โจทก์ฟ้องรวมกันมาโดยไม่แยกให้แน่ชัดว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับใด จำเลยที่ 1 เป็นหนี้เท่าใด นอกจากนี้โจทก์ก็มิได้นำสืบถึงประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้เกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปีด้วยโจทก์จึงมีสิทธิได้ดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 15 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2832/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันและผู้จำนองตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน 700,000 บาท จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองเป็นประกันหนี้ราย นี้เป็นจำนวนเงิน 700,000 บาท ตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่า เมื่อลูกหนี้ เบิกเงินเกินกว่ายอดเงินในบัญชีของ ลูกหนี้หรือลูกหนี้เป็นหนี้ผู้รับจำนอง อยู่ในเวลานี้หรือที่จะเป็นหนี้ต่อไปในภายหน้า ฯลฯ ผู้จำนองและ หรือลูกหนี้ยอมรับผิดชอบด้วยทั้งสิ้นเมื่อมีการบังคับจำนองเอาทรัพย์สิน ซึ่งจำนองขายทอดตลาดได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระ ฯลฯ เงินยังขาดอยู่จำนวนเท่าใด ผู้จำนองและหรือลูกหนี้ยอมรับผิดชอบรับใช้เงิน ที่ขาดให้แก่ผู้รับจำนองจนครบถ้วน และจำเลยที่ 2 ยังทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวจนกว่าธนาคารจะได้รับและถึงแม้ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็ตามอันทำให้ธนาคารไม่ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนก็ดี ผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดร่วมกับลูกหนี้ในอันที่จะต้องชำระหนี้ตามสัญญานั้นทันทีตีความตามสัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันดังกล่าวได้ว่าจำเลยที่ 2 รับผิดชำระหนี้จำนวน 700,000 บาท รวมทั้งดอกเบี้ยด้วยเท่านั้น หาใช่ จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2832/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันและผู้จำนองในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี วงเงินจำกัดตามสัญญา
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงิน700,000 บาท จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองเป็นประกันหนี้ราย นี้เป็นจำนวนเงิน 700,000บาทตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่าเมื่อลูกหนี้ เบิกเงินเกินกว่ายอดเงินในบัญชีของ ลูกหนี้หรือลูกหนี้เป็นหนี้ผู้รับจำนอง อยู่ในเวลานี้หรือที่จะเป็นหนี้ต่อไปในภายหน้าฯลฯผู้จำนองและ หรือลูกหนี้ยอมรับผิดชอบด้วยทั้งสิ้นเมื่อมีการบังคับจำนองเอาทรัพย์สิน ซึ่งจำนองขายทอดตลาดได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระฯลฯ เงินยังขาดอยู่จำนวนเท่าใดผู้จำนองและหรือลูกหนี้ยอมรับผิดชอบรับใช้เงิน ที่ขาดให้แก่ผู้รับจำนองจนครบถ้วนและจำเลยที่ 2 ยังทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้เงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวจนกว่าธนาคารจะได้ รับและถึงแม้ ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามสัญญาไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ ก็ตามอันทำให้ ธนาคารไม่ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนก็ดี ผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดร่วมกับ ลูกหนี้ในอันที่จะต้องชำระหนี้ตามสัญญานั้นทันทีตีความตาม สัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันดังกล่าวได้ว่าจำเลยที่ 2 รับผิดชำระหนี้จำนวน 700,000 บาท รวมทั้งดอกเบี้ยด้วยเท่านั้น หาใช่ จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2371/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดชอบหนี้จากการกู้เบิกเงินเกินบัญชีและการแบ่งปันผลกำไรจากกิจการโรงสี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เข้าหุ้นส่วนทำการค้าข้าวเปลือก ข้าวสารกับผู้ตายเพื่อแบ่งปันกำไรกัน ผู้ตายลงทุนด้วยโรงสี โจทก์ลงทุนด้วยเงินสด โดยโจทก์ได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้แก่ธนาคารแล้วขอกู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้จำนวนหนึ่ง เมื่อโจทก์ได้รับสมุดเช็คจากธนาคารแล้ว โจทก์ลงชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายในเช็คทั้งหมดมอบให้ผู้ตายไปกรอกจำนวนเงินและวันที่สั่งจ่ายเอง เพื่อใช้ซื้อข้าวเปลือกมาสี เมื่อขายข้าวที่สีได้แล้วผู้ตายนำเงินฝากเข้าบัญชีของโจทก์ ต่อมาผู้ตายถึงแก่ความตายก่อนที่จะแบ่งปันผลกำไรกัน โจทก์เป็นหนี้ธนาคารอยู่ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและโจทก์ถูกธนาคารฟ้องให้ชำระหนี้ดังกล่าว โจทก์จึงฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเป็นคดีนี้ ขอให้บังคับจำเลยแบ่งปันผลกำไรและใช้ทุนเท่าจำนวนที่โจทก์ถูกธนาคารฟ้องเรียกคืนให้แก่โจทก์ ทางพิจารณาฟังไม่ได้ว่าโจทก์เป็นหุ้นส่วนทำการค้าข้าวเปลือกข้าวสารกับผู้ตายตามฟ้อง แต่ฟังได้ว่าผู้ตายได้ขอให้โจทก์ช่วยหาเงินมาให้ผู้ตายเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการโรงสีของผู้ตายด้วยการกู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร ผู้ตายใช้เช็คของโจทก์เพื่อประโยชน์ในกิจการโรงสีของผู้ตาย ทำให้โจทก์เป็นหนี้ธนาคารตามจำนวนในฟ้อง ซึ่งเข้าใจได้โดยปริยายว่าผู้ตายต้องชำระหนี้นั้นแก่ธนาคารแทนโจทก์ มิฉะนั้นโจทก์ก็ต้องรับผิดชำระแก่ธนาคาร เมื่อข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาเป็นข้อที่โจทก์ได้บรรยายมาในคำฟ้องแล้ว ทั้งได้มีคำขอให้จำเลยชำระเงินเท่าจำนวนที่โจทก์ถูกธนาคารฟ้องด้วย ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ได้
of 2