คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขนส่งทางอากาศ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4099/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางอากาศต่อความเสียหายของสินค้า แม้เกิดในคลังสินค้าของผู้อื่น
จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งมีหน้าที่ต้องดูแลมิให้สินค้าที่ขนส่งสูญหายหรือได้รับความเสียหายในระหว่างการขนส่งหรือในระหว่างที่สินค้านั้นอยู่ในความดูแลของตน มิฉะนั้น จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อความสูญหายหรือเสียหายนั้นต่อผู้รับตราส่ง การที่จำเลยที่ 1 ต้องฝากสินค้าที่ขนส่งไว้ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 2 เพราะถูกบังคับโดยกฎหมายศุลกากรเพื่อเสียภาษีศุลกากรและตามกฎหมายการบินระหว่างประเทศ (IATA) เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ต้องปฏิบัติเพื่อส่งมอบสินค้านั้นให้แก่ผู้รับตราส่งต่อไป สินค้าที่ขนส่งยังไม่พ้นไปจากความดูแลหรือความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง ดังนั้น แม้เหตุแห่งการสูญหายของสินค้าน้ำหอมที่ขนส่งจะเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 2 ก็ถือได้ว่าเหตุแห่งการสูญหายของสินค้าที่ขนส่งเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งหรือในระหว่างที่สินค้านั้นยังอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดสำหรับความเสียหายเนื่องจากการสูญหายของสินค้าที่ขนส่งต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้านั้น
คดีนี้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และจำเลยร่วม มิได้ทำนิติกรรมว่าจะร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าเสียหายเนื่องจากการสูญหายของสินค้าน้ำหอมที่ขนส่งแต่อย่างใด ทั้งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดบัญญัติให้ผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศ นายคลังสินค้า และผู้รับประกันภัยความรับผิดอันเกิดจากการเก็บของในคลังสินค้าร่วมกันรับผิดในหนี้ค่าเสียหายเนื่องจากการสูญหายของสินค้าที่ขนส่งอย่างลูกหนี้ร่วม ดังนี้ กรณีจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 นายคลังสินค้าและจำเลยร่วมผู้รับประกันภัยความรับผิดอันเกิดจากการเก็บของในคลังสินค้าของจำเลยที่ 2 ในหนี้ค่าเสียหายเนื่องจากการสูญหายของสินค้าน้ำหอมที่ขนส่งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2843/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขนส่งทางอากาศ: การชำระค่าระวางและสิทธิเรียกร้องเมื่อเรียกเก็บจากผู้รับไม่ได้
แม้โจทก์ผู้ขนส่งและจำเลยซึ่งเป็นผู้ส่งจะตกลงกันให้เก็บค่าระวางและค่าใช้จ่ายส่วนที่ 2 จากผู้ซื้อที่ปลายทาง แต่ก็ไม่ได้ตกลงกันไว้ว่าในกรณีที่โจทก์เรียกเก็บค่าใช้จ่ายส่วนที่ 2 จากผู้ซื้อที่ปลายทางไม่ได้ โจทก์สิ้นสิทธิที่จะเรียกร้องเอาจากจำเลย ทั้งในใบตราส่งก็ไม่ได้ระบุจำนวนค่าระวางไว้และไม่ได้มีเงื่อนไขใด ๆ ว่า หากเรียกเก็บจากผู้ซื้อไม่ได้แล้วโจทก์หมดสิทธิเรียกเอาจากจำเลย เมื่อโจทก์กับจำเลยเป็นคู่สัญญาตามสัญญารับขนของทางอากาศกันโดยตรง โจทก์จึงฟ้องจำเลยในฐานะคู่สัญญาให้รับผิดชดใช้ค่าระวางและค่าใช้จ่ายส่วนที่ยังไม่ได้รับชำระได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางอากาศ: 'NVD' แสดงเจตนา
ขั้นตอนการส่งสินค้าทางอากาศ ผู้ส่งสินค้าต้องจองพื้นที่บนเครื่องบินก่อน และจำเลยจะมอบแบบพิมพ์ใบตราส่งให้ผู้ส่งของกรอกข้อความใบตราส่งนี้ยังมีข้อความปรากฏชัดในด้านหน้าว่า ตามเงื่อนไขแห่งสัญญาที่อยู่ด้านหลังนี้ขอให้ผู้ส่งของรับทราบข้อสังเกตเกี่ยวกับการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งด้วย ผู้ส่งของอาจเพิ่มส่วนจำกัดความรับผิดได้โดยแจ้งมูลค่าสินค้าให้สูงขึ้น และชำระเงินเพิ่มเติมหากจำเป็น ข้อความดังกล่าวย่อมทำให้ผู้ส่งของทราบดีว่าตนมีทางเลือก 2 ทาง คือจะยอมรับข้อจำกัดความรับผิดที่มีอยู่ชัดในด้านหลังใบตราส่งหรือจะเพิ่มส่วนจำกัดความรับผิดโดยต้องเสียเงินเพิ่มก็ได้ และปรากฏว่าด้านหน้าใบตราส่งนี้มีช่องสำหรับการแจ้งมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่ง แต่ในช่องดังกล่าวมีข้อความว่า "เอ็นวีดี" (NVD)ซึ่งหมายถึงการไม่แจ้งมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่ง โดยมีการแจ้งเฉพาะน้ำหนักสินค้าและมีการคิดค่าระวางตามน้ำหนักที่แจ้งเท่านั้น การที่ผู้ส่งของระบุข้อความในช่องแจ้งมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่งว่าไม่แจ้งราคามูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่ง ซึ่งทำให้ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มเติมดังกล่าวเท่ากับเป็นการเลือกที่จะยอมรับข้อจำกัดความรับผิดหลังใบตราส่งนั่นเอง จึงถือว่าผู้ส่งของได้แสดงความตกลงด้วยโดยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งเป็นเงิน 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัมแล้ว ข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวย่อมมีผลบังคับได้ ไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 625

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาขนส่งทางอากาศ การประพฤติผิดสัญญา และการหักลบหนี้
โจทก์และจำเลยได้ร่วมดำเนินการขนส่งเอกสารหรือพัสดุภัณฑ์ย่อยทางอากาศตามสัญญาให้ดำเนินการแต่เพียงผู้เดียวโดยจำเลยเป็นผู้ดำเนินการในประเทศไทยสัญญานี้ตกลงให้ค่าตอบแทนตามตารางก.ว่าจำเลยมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนร้อยละ60ของรายรับตามที่ได้ออกใบรับให้แก่การขนส่งขาออกและต้องจ่ายค่าตอบแทนให้โจทก์ร้อยละ40ของรายรับตามที่ได้ออกใบรับนั้นทั้งจำเลยต้องดำเนินการจัดส่งสิ่งของที่โจทก์ส่งเข้ามาในประเทศไทยโดยไม่คิดค่าตอบแทนสัญญาฉบับนี้ตารางก. เรื่องค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทนกำหนดไว้ว่าโจทก์จะได้รับค่าตอบแทนอัตราร้อยละ40ของรายรับตามที่ได้ออกใบรับ(revenuesbilled)เป็นการตกลงให้โจทก์มีสิทธิจะได้รับส่วนแบ่งตามยอดรายรับตามที่ได้มีการเรียกเก็บเงินโดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยจะเก็บเงินได้น้อยกว่าใบรับหรือไม่จำเลยจึงต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แก่โจทก์ตามตัวเลขรายรับที่ได้ออกใบรับทุกรายการแม้ตามสัญญาข้อ10จะหมายถึงการเรียกเก็บเงินปลายทางซึ่งคู่สัญญาฝ่ายที่เป็นผู้ส่งของจะต้องรับผิดชอบการเรียกเก็บเงินแม้จะเรียกเก็บเงินไม่ได้ไม่ได้หมายถึงการเรียกเก็บเงินต้นทางก็ตามก็ไม่มีเหตุผลที่จะแปลสัญญาดังกล่าวไปในทางที่ว่าการคำนวณส่วนแบ่งของรายรับตามตารางก.เฉพาะกรณีเรียกเก็บเงินต้นทางเท่านั้นที่จะต้องคำนวณจากรายรับที่จำเลยเรียกเก็บได้จริงแต่กรณีเรียกเก็บเงินปลายทางจำเลยจะให้คำนวณจากรายรับที่ได้ออกใบรับแล้วโดยไม่คำนึงว่าโจทก์จะเรียกเก็บเงินได้จริงหรือไม่เพราะไม่มีข้อความใดในตารางก.ที่จะแสดงให้เห็นดังกล่าว ตามสัญญาข้อ6ระบุว่าในระหว่างอายุสัญญาคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะต้องไม่เป็นผู้ดำเนินการรับส่งของให้แก่บุคคลอื่นใดซึ่งประกอบธุรกิจขนส่งทางอากาศอันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งก่อนเมื่อปรากฎว่าการขนส่งในช่วงวันที่1กรกฎาคม2533ถึงวันที่31กรกฎาคม2534ซึ่งอยู่ในช่วงอายุสัญญามีบริษัท2บริษัทรับส่งเอกสารด่วนและพัสดุภัณฑ์ย่อยจากลูกค้าในประเทศไทยไปยังต่างประเทศโดยผ่านบริษัทโจทก์ที่ประเทศสิงคโปร์ ดังนั้นการที่บริษัทโจทก์สำนักงานที่ประเทศสิงคโปร์รับส่งเอกสารด่วนและพัสดุภัณฑ์ย่อยทางอากาศจากบริษัทพ.และบริษัทอ.ซึ่งเป็นบริษัทในประเทศไทยเพื่อส่งต่อไปนั้นแม้บริษัททั้งสองจะไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือชื่อทางการค้าของโจทก์ในการประกอบธุรกิจก็ตามแต่บริษัททั้งสองบริษัทดังกล่าวก็ได้อ้างอิงเครื่องหมายการค้าหรือชื่อทางการค้าของโจทก์ในการประกอบธุรกิจด้วยจึงทำให้ผู้ส่งเอกสารด่วนหรือพัสดุภัณฑ์ย่อยทางอากาศในประเทศไทยไม่จำต้องใช้บริษัทของจำเลยแม้ใช้บริการของบุคคลอื่นก็มีผลทำให้เอกสารด่วนและพัสดุภัณฑ์ย่อยของตนได้รับการขนส่งจากโจทก์จนถึงผู้รับปลายทางในต่างประเทศได้การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงถือว่าเป็นการดำเนินการรับส่งของให้แก่บุคคลอื่นซึ่งประกอบธุรกิจขนส่งทางอากาศอันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของจำเลยต้องห้ามตามสัญญาข้อ6แล้ว ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรเรื่องใบมอบอำนาจระบุไว้ในข้อ7(ข)ว่ามอบอำนาจให้แก่บุคคลเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียวค่าอากรแสตมป์30บาทและระบุในข้อ7(ค)ว่ามอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันคิดตามรายตัวบุคคลคนละ30บาทใบมอบฉันทะพิพาทแม้จะเป็นการมอบอำนาจแก่บุคคลหลายคนก็ตามแต่เป็นกรณีร่วมกันกระทำการกล่าวคือส.และ/หรืออ.รวมกระทำการฟ้องร้องคดีนี้เพียงกิจการเดียวมิใช่ต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันฟ้องร้องหลายคดีใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์เช่นนี้จึงปิดอากรแสตมป์เพียง30บาทถูกต้องตามประมวลรัษฎากรข้อ7แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5871/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การว่าจ้างขนส่งสินค้าทางอากาศ: การร่วมประกอบธุรกิจและการรับผิดชอบค่าใช้จ่าย
จำเลยติดต่อให้โจทก์จัดส่งสินค้าเสื้อผ้าโดยทางอากาศไปยังประเทศแคนาดาและจำเลยได้มอบเอกสารต่างๆให้แก่โจทก์ได้แก่ใบสุทธิคุ้มของที่ส่งออกใบอนุญาตให้ส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักรและใบอินวอยซ์ซึ่งปรากฏว่าเอกสารเหล่านี้ต่างระบุชื่อจำเลยเป็นผู้ส่งออกทั้งสิ้นโควต้าที่ใช้ส่งสินค้าออกก็ใช้โควต้าในนามของจำเลยและตามสัญญาระหว่างจำเลยกับบริษัทซ.ก็มีข้อตกลงว่าเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ผู้ซื้อในต่างประเทศออกให้แก่ผู้ขายจะต้องออกในนามของจำเลยถ้าหากเปิดมาในนามของบริษัทซ. ก็ต้องโอนมาให้แก่จำเลยและถ้าหากจำเลยได้จ่ายเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีการเพื่อส่งสินค้าออกและค่าใช้จ่ายอื่นทุกชนิดอันเกิดขึ้นเพื่อการส่งสินค้าออกไปก่อนก็สามารถเรียกให้บริษัทซ. ชำระได้ทันทีพฤติการณ์ของจำเลยที่เข้าไปเกี่ยวข้องดำเนินงานต่างๆเพื่อให้โจทก์ดำเนินการส่งออกซึ่งสินค้ารายพิพาทนี้มีลักษณะเป็นการร่วมประกอบธุรกิจกับบริษัทซ. จำเลยจึงต้องรับผิดชำระค่าขนส่งและค่าใช้จ่ายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18929/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดขนส่งทางอากาศ: การแจ้งความเสียหายและประเด็นนอกประเด็นการวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์ว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่สุจริตโดยอ้างว่า โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องถึงที่มาแห่งสิทธิในการฟ้องคดีนี้อันเป็นปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องของโจทก์ ทั้งโจทก์ไม่ได้นำสืบพยานหลักฐานในข้อเท็จจริงที่ทำให้โจทก์มีสิทธินำคดีขึ้นสู่ศาลนั้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาอำนาจฟ้องและคำฟ้องของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งจำเลยได้ให้การโต้แย้งในเรื่องอำนาจฟ้องและคำฟ้องเคลือบคลุมไว้แล้ว แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จำเลยแถลงสละประเด็นข้อต่อสู้ดังกล่าว โดยกลับมาอุทธรณ์บ่ายเบี่ยงว่าเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่สุจริตเท่านั้น อุทธรณ์ของจำเลยย่อมถือได้ว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 38 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
ส่วนที่จำเลยให้การว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในใบรับขนของทางอากาศของจำเลย โดยตัวแทนผู้ส่งสินค้าไม่แจ้งมูลค่าสินค้าเพื่อการขนส่ง อันแสดงว่าผู้ส่งยอมรับเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่จำเลยไม่ได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าผู้ส่งตกลงโดยชัดแจ้งให้จำเลยจำกัดจำนวนเงินที่ต้องรับผิดไม่เกิน 17 ดอลลาร์สิงคโปร์ ต่อน้ำหนักสินค้า 1 กิโลกรัม ตามที่จำเลยอุทธรณ์แต่อย่างใด ทั้งการจำกัดจำนวนเงินความรับผิดของผู้ขนส่งทางอากาศเช่นนี้เป็นกรณีที่คู่สัญญาจะตกลงกัน ไม่ใช่กรณีที่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงว่ามีการตกลงกันโดยผู้ส่งตกลงยอมรับโดยชัดแจ้งหรือไม่ เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การไว้จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัย ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยประเด็นนี้มาเป็นการวินิจฉัยพยานหลักฐานนอกประเด็นโดยไม่ชอบ ไม่ถือเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
เมื่อเครื่องบินของจำเลยมาถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและมีการขนถ่ายสินค้าลงจากเครื่องบินเพื่อนำเข้าเก็บในคลังสินค้าของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) พนักงานคลังสินค้าได้ตรวจพบความเสียหายของสินค้าก่อนนำเข้าเก็บในคลังสินค้า และได้ออกรายงานความเสียหายของสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งพร้อมแจ้งเจ้าหน้าที่ของจำเลยทราบแล้วในวันที่ตรวจพบความเสียหาย อันแสดงว่าจำเลยได้ทราบถึงความเสียหายตั้งแต่วันดังกล่าวแล้ว จึงหาจำเป็นที่จะต้องให้ผู้รับตราส่งแจ้งแก่จำเลยซ้ำอีกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22319/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางอากาศ สินค้าเสียหาย และข้อจำกัดความรับผิดตามกฎหมาย
ในการขนส่งสินค้ารายนี้ สินค้าถูกส่งมากับเที่ยวบินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งลงจอดที่สนามบินอู่ตะเภาเนื่องจากสนามบินสุวรรณภูมิถูกปิดเพราะเหตุประท้วง แล้วส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 4 จากนั้นจำเลยที่ 4 บรรทุกสินค้าที่ได้รับมอบจากสนามบินอู่ตะเภามาที่สนามบินสุวรรณภูมิเพื่อเก็บไว้ในโกดังของจำเลยที่ 4 และดำเนินพิธีการทางศุลกากรที่สนามบินสุวรรณภูมิ กับแจ้งให้บริษัท ฮ. มารับสินค้า โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 เข้าไปมีส่วนร่วมขนส่งสินค้ากับผู้ขนส่งรายอื่นในส่วนใดส่วนหนึ่ง ทั้งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกใบตราส่งทางอากาศ การบรรทุกสินค้าจากสนามบินอู่ตะเภามายังสนามบินสุวรรณภูมิเป็นเพียงการขนย้ายสินค้าเพื่อดำเนินพิธีการทางศุลกากรที่สนามบินสุวรรณภูมิเท่านั้น แสดงว่าจำเลยที่ 4 มีหน้าที่เพียงแจ้งการมาถึงของสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งมารับสินค้า ถือไม่ได้ว่าเป็นการเข้ามีส่วนร่วมในการขนส่งทอดใดทอดหนึ่ง
จำเลยที่ 4 ได้รับสินค้าและตรวจพบความเสียหายของกล่องบรรจุสินค้าจึงได้ทำรายงานสินค้าเสียหายเอาไว้ แสดงว่าสินค้าต้องถูกกระแทกได้รับความเสียหายในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งระหว่างการขนส่ง แม้จะไม่ปรากฏจากพยานหลักฐานของโจทก์ชัดเจนว่าสินค้าดังกล่าวได้รับความเสียหายในระหว่างการขนส่งของบุคคลใด แต่ได้ความจากพนักงานสำรวจและประเมินความเสียหายว่าเมื่อไปตรวจสอบความเสียหายของสินค้าที่สถานที่รับมอบสินค้าตามคำสั่งให้ส่งสินค้า (Delivery Order) พบสินค้าที่ขนส่งมาโดยเที่ยวบินของจำเลยที่ 3 ได้รับความเสียหาย อันเป็นสินค้าที่จำเลยที่ 3 ได้รับมอบหมายให้ดูแลทำการขนส่ง เมื่อผู้รับสินค้ายังไม่ยินยอมรับมอบสินค้า ถือได้ว่าสินค้าดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการดูแลของจำเลยที่ 3 ผู้ขนส่ง เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่สินค้าดังกล่าว จำเลยที่ 3 ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสูญหายหรือบุบสลายหรือส่งมอบชักช้า เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดแต่สภาพแห่งของนั้นเอง หรือเกิดเพราะความผิดของผู้ส่งหรือผู้รับตราส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 616 แต่เมื่อมีข้อความระบุข้อจำกัดความรับผิดในการขนส่งทางอากาศของจำเลยที่ 3 ไว้ ซึ่งผู้ส่งหรือผู้แทนได้ลงนามตกลงไว้โดยชัดแจ้ง และผู้ส่งหรือผู้แทนไม่ได้แจ้งต่อจำเลยที่ 3 ว่าประสงค์จะให้รับผิดตามราคาของที่อ้างว่าเสียหาย ข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 ส่วนจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏในใบตราส่งทางอากาศว่าได้ระบุข้อจำกัดความรับผิดไว้ด้วย จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเต็มจำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11695-11698/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับขนและผู้รับประกันภัยค้ำจุน กรณีสินค้าเสียหายจากการขนส่งทางอากาศ
จำเลยที่ 2 ทำสัญญารับประกันภัยค้ำจุนไว้กับจำเลยที่ 1 ตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่ 1 เพื่อความเสียหายอันเกิดแก่สินค้าที่จำเลยที่ 1 รับขนแก่ผู้เสียหาย และ ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคหนึ่ง ใช้บังคับแก่ความรับผิดตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนด้วย ห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันวินาศภัย สินค้าเกิดความเสียหายหลังจากจำเลยที่ 1 ส่งมอบสินค้าให้แก่ ก. ขนส่งทางอากาศยานกรุงเทพไปถึงท่าอากาศยานเมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย และเมื่อผู้รับตราส่งได้รับสินค้าจึงพบเห็นความเสียหายของสินค้า กรณีเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าวันที่ผู้รับตราส่งพบความเสียหายของสินค้าเป็นวันที่เกิดความเสียหายหรือวันวินาศภัย
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ไปรับมอบสินค้าจากโรงงานโจทก์และขนส่งสินค้าไปส่งมอบให้แก่ ว. ที่ประเทศออสเตรเลีย เนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่มียานพาหนะเป็นของตนเอง จึงว่าจ้าง ก. เป็นผู้ขนส่งแทน จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ขนส่งและ ก. เป็นผู้ขนส่งคนอื่นซึ่งจำเลยที่ 1 ได้มอบหมายให้ทำการขนส่งสินค้าพิพาทไปอีกทอดหนึ่ง แม้ความเสียหายของสินค้ามิได้เกิดขึ้นระหว่างที่สินค้าพิพาทอยู่ในความดูแลครอบครองของจำเลยที่ 1 แต่อยู่ในความดูแลของ ก. จำเลยที่ 1 ก็ยังคงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าในฐานะเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท
แม้สินค้าแต่ละกล่องมีน้ำหนักมากกว่า 600 กิโลกรัม แต่กล่องกระดาษมีขนาด 105 ? 98 ? 108 เซนติเมตร พร้อมฝาปิด มีความหนาของกระดาษ 1.5 เซนติเมตร กล่องที่บรรจุสินค้าพิพาทแล้วจะปิดฝากล่องแล้วผนึกด้วยผ้าเทปกาวรอบกล่องอย่างแน่นหนา รัดรอบกล่องตามแนวตั้งและแนวนอนด้วยสายรัดพลาสติก แนวละ 2 เส้น กล่องสินค้าพิพาททุกกล่องจะวางบนแผงไม้รองสินค้า 1 แผง และยึดติดกันด้วยสายรัดพลาสติกดังกล่าว นับว่าการบรรจุและหีบห่อสินค้าพิพาทมีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอและเหมาะสมแก่การขนส่งทางอากาศ
การซื้อขายสินค้าตามฟ้องเป็นสัญญาซื้อขายในเทอม DDU (Delivery Duty Unpaid) หมายความว่า ผู้ขายมีหน้าที่นำสินค้าไปส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อ ณ ที่อยู่ของผู้ซื้อ ยกเว้นหน้าที่ในการนำเข้าของสินค้าท่าปลายทาง ดังนั้นราคาสินค้ารวมค่าระวางขนส่งทั้งหมดและค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีศุลกากรนำสินค้าส่งออก และผู้ซื้อจะชำระราคาเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดชอบในค่าระวางขนส่งและค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีศุลกากรส่งออกสินค้า ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีศุลกากรในการนำเข้าสินค้าไม่ใช่หน้าที่ของโจทก์ผู้ขายที่จะต้องไปดำเนินการ การที่โจทก์ไปดำเนินพิธีศุลกากรนำเข้าสินค้าให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่งด้วย โดยโจทก์มิได้นำสืบว่ามีข้อตกลงในสัญญาซื้อขายให้โจทก์ดำเนินการดังกล่าวด้วย โจทก์จึงชอบที่จะไปทวงถามให้ผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่งรับผิดชอบ จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เฉพาะมูลค่าของสินค้าพิพาทที่เสียหายเท่านั้น
ความรับผิดของจำเลยที่ 1 เป็นไปตามสัญญารับขนของในฐานะผู้ขนส่งมิใช่ความรับผิดฐานละเมิด โจทก์จึงชอบที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดเมื่อถูกทวงถามแล้วเท่านั้น โดยเฉพาะกรณีที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดแทนจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน โจทก์จะเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้ต่อเมื่อโจทก์ทวงถามจำเลยที่ 2 ให้ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 2 ไม่ชำระ ทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่ามีการทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้เมื่อใด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องคดีเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 863/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดความรับผิดในการขนส่งทางอากาศ: เจตนาผู้ส่งสินค้าสำคัญกว่าค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
ด้านหลังของใบตราส่งทางอากาศมีข้อจำกัดความรับผิดไว้ไม่เกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อการขนส่ง 1 เที่ยว หรือ 20 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อสินค้าน้ำหนัก 1 กิโลกรัมแล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า การที่ผู้เอาประกันภัยจงใจกรอกข้อความด้านหน้าใบตราส่งทางอากาศระหว่างประเทศ ข้อ 3 ว่าขอแจ้งมูลค่าสินค้าเป็นเงิน 5,430 ดอลลาร์สหรัฐไว้เฉพาะในช่อง "Value for Customs" หรือมูลค่าเพื่อการศุลกากร ส่วนในช่อง "Total Declared Value for Carriage" หรือมูลค่าที่แจ้งทั้งหมดเพื่อการขนส่งไม่ขอแจ้งโดยขีดฆ่าออก เพราะทราบดีกว่า "Value for Customs" มีความหมายแตกต่างกับ "Total Declared Value for Carriage" แต่ผู้เอาประกันภัยก็ยังคงเลือกแสดงเจตนาที่จะไม่ระบุแจ้งมูลค่าเพื่อการขนส่งเพื่อที่จะได้เสียค่าระวางต่ำโดยยอมตกลงให้ผู้ขนส่งจำกัดความรับผิดตามเนื้อความด้านหลังใบตราส่งทางอากาศระหว่างประเทศได้ ประกอบกับในขณะเดียวกันผู้เอาประกันภัยก็ได้ทำสัญญาประกันภัยกับโจทก์ก่อนส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ขนส่งในวงเงินประกันที่คุ้มมูลค่าของสินค้าไว้ก่อนจึงไม่มีความจำเป็นต้องเสียค่าระวางเพิ่มเพื่อให้ผู้ขนส่งต้องรับผิดเพิ่มขึ้นอีกอันเป็นการลดต้นทุนของผู้เอาประกันภัย จึงเชื่อได้ว่าผู้เอาประกันภัยในฐานะผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น อันเป็นเหตุให้ข้อตกลงจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งด้านหลังใบตราส่งทางอากาศระหว่างประเทศมีผลใช้บังคับได้ เมื่อสินค้าพิพาทมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้ขนส่งจึงรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยที่เป็นผู้ส่ง 100 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงกว่าการคำนวณน้ำหนักของสินค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4674/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศกรณีสินค้าสูญหายจากการทุจริตของลูกจ้าง
พฤติการณ์แห่งคดีมีน้ำหนักน่าเชื่อว่า สินค้าสูญหายไปเพราะจำเลยทั้งสองปล่อยให้ลูกจ้าง ตัวแทนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องทุจริตลักขโมยสินค้าไป ดังนั้น แม้จำเลยทั้งสองจะมีข้อตกลงยกเว้นและจำกัดความรับผิดในความสูญหายของสินค้าจากการขนส่งทางอากาศ ก็ไม่อาจนำข้อตกลงยกเว้นและจำกัดความรับผิดในการขนส่งทางอากาศดังกล่าวมาใช้บังคับได้ มิฉะนั้นจะเป็นการขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 373 ที่ว่า "ความตกลงทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อกลฉ้อฉลหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนนั้น ท่านว่าเป็นโมฆะ" สำหรับจำนวนค่าสินไหมทดแทนนั้น เมื่อโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยไป ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวนดังกล่าวตามฟ้อง
of 2