พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8979/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาวางค่าธรรมเนียมศาล: ศาลไม่อำนาจขยายหากมีเพียงเหตุผลทางการเงินและภาวะเศรษฐกิจ
จำเลยที่ 1 และที่ 6 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลแก่จำเลยที่ 1 และที่ 6 ไม่ได้อุทธรณ์ในเนื้อหาแห่งคดี ซึ่งผลของการอุทธรณ์ไม่ทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูกยกไปด้วย อันมิใช่เป็นกรณีที่จะต้องวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 6 อ้างว่า เงินค่าธรรมเนียมมีจำนวนสูง จำเลยที่ 1 และที่ 6 ได้พยายามติดต่อขอยืมเงินจากบุคคลภายนอกไว้แล้ว แต่บุคคลภายนอกซึ่งรับปากจะให้ยืมเงินประสบปัญหาธุรกิจไม่สามารถให้ยืมเงินได้ ประกอบกับปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีพฤติการณ์พิเศษตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 23 ที่ศาลจะมีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาการวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมให้ได้
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 6 อ้างว่า เงินค่าธรรมเนียมมีจำนวนสูง จำเลยที่ 1 และที่ 6 ได้พยายามติดต่อขอยืมเงินจากบุคคลภายนอกไว้แล้ว แต่บุคคลภายนอกซึ่งรับปากจะให้ยืมเงินประสบปัญหาธุรกิจไม่สามารถให้ยืมเงินได้ ประกอบกับปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีพฤติการณ์พิเศษตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 23 ที่ศาลจะมีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาการวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8969/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาวางค่าธรรมเนียมศาล: พิจารณาพฤติการณ์พิเศษและผลกระทบต่อการดำเนินคดี
คดีนี้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ในเนื้อหาแห่งคดี แต่เป็นเรื่องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลแก่จำเลย ซึ่งผลการอุทธรณ์ไม่ทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นต้องถูกยกไปด้วย จึงมิใช่เป็นกรณีที่จำเลยจะต้องวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5 ) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247
ข้ออ้างของจำเลยในคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 25 มิถุนายน 2547 ว่าจำเลยเพิ่งทราบคำสั่งศาลเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2547 ประกอบกับจำเลยมีฐานะยากจนมาก ไม่สามารถจะหาเงินค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์มาวางต่อศาลได้ทันภายในระยะเวลาที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตไว้แล้วนั้น พฤติการณ์ดังที่จำเลยอ้างนั้นยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีพฤติการณ์พิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ที่ศาลจะมีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาการวางเงินค่าธรรมเนียมให้ได้
ข้ออ้างของจำเลยในคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 25 มิถุนายน 2547 ว่าจำเลยเพิ่งทราบคำสั่งศาลเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2547 ประกอบกับจำเลยมีฐานะยากจนมาก ไม่สามารถจะหาเงินค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์มาวางต่อศาลได้ทันภายในระยะเวลาที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตไว้แล้วนั้น พฤติการณ์ดังที่จำเลยอ้างนั้นยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีพฤติการณ์พิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ที่ศาลจะมีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาการวางเงินค่าธรรมเนียมให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8694/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาชำระหนี้จากการขายทอดตลาด ไม่ขัดต่อกฎหมาย และเจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจดำเนินการได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดทรัพย์โดยกำหนดเงื่อนไขการเข้าสู้ราคาและข้อสัญญาว่า ผู้ซื้อทรัพย์ได้ต้องชำระเงินส่วนที่เหลือภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันซื้อเป็นต้นไปนั้น ระยะเวลา 15 วัน ที่กำหนดให้ผู้ซื้อทรัพย์นำเงินส่วนที่เหลือมาชำระตามข้อสัญญาดังกล่าวเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้เพื่อการชำระหนี้ มิใช่อายุความตามที่กฎหมายกำหนดซึ่งคู่กรณีจะตกลงกันให้งดใช้หรือขยายออกหรือย่นเข้าไม่ได้ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/11 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีและผู้ซื้อทรัพย์ตกลงกันขยายระยะเวลาวางเงินส่วนที่เหลือออกไปอีกจึงหาเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 510 และ 515 ไม่ จึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่ศาลจะมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งและการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี กรณีเช่นว่านี้ ศาลชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยโดยไม่จำต้องไต่สวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5239/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์เกินกำหนด และการพิจารณาอุทธรณ์ที่ยื่นเกินเวลาตามกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ครั้งที่สองเมื่อพ้นกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้ว ทั้งตามคำร้องก็อ้างเหตุแต่เพียงว่า ยังไม่ได้รับเอกสารที่ขอคัดถ่าย และใบเสร็จที่เจ้าหน้าที่ออกให้ยึดถือเป็นหลักฐานสูญหายไป ยังถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่มิอาจยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลานั้น จึงไม่มีเหตุที่จะขยายเวลายื่นอุทธรณ์ให้ตามคำร้องที่เสนอเมื่อพ้นกำหนดเวลาได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามคำร้องของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีกหลายครั้ง จนจำเลยยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 3 มิถุนายน 2546 ก็ตาม ถือได้ว่าอุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเกินกำหนดเวลาไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะรับไว้พิจารณาพิพากษา และปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5033/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาฟ้องคดีแรงงาน: ศาลมีอำนาจย่นหรือขยายได้เพื่อความยุติธรรม
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ว่า "เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งตามมาตรา 124 แล้ว ถ้านายจ้าง ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่พอใจคำสั่งนั้นให้นำคดีไปสู่ศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง" ซึ่งกำหนดเวลาให้นำคดีขึ้นสู่ศาลตามบทบัญญัติดังกล่าวนี้เป็นกำหนดเวลาให้ฟ้องคดี มิใช่เป็นอายุความในการเรียกร้องสิทธิใด ๆ เป็นการใช้สิทธินำคดีขึ้นสู่ศาลตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 (4) จึงอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งบัญญัติไว้ว่า "ระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่ศาลแรงงานได้กำหนด ศาลแรงงานมีอำนาจย่นหรือขยายได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม" ดังนั้น กำหนดเวลาให้ฟ้องคดีดังกล่าวจึงสามารถย่นหรือขยายได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีอนาถาและการขยายระยะเวลาวางค่าธรรมเนียมศาล คำสั่งต่อเนื่องจากคำสั่งถึงที่สุดแล้วไม่อาจฎีกาได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 อุทธรณ์อย่างคนอนาถา หากจำเลยที่ 1 ยังคงติดใจอุทธรณ์ ก็ให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ออกไปอีก แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งต่อมา และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นเพราะเห็นว่าไม่มีพฤติการณ์พิเศษหรือเหตุสุดวิสัยที่จะขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ออกไปอีกนั้น เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งต่อเนื่องจากคำสั่งที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 อุทธรณ์อย่างคนอนาถาซึ่งถึงที่สุดแล้วจำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์ต่อไปได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 394/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลพิเศษ ปัญหาการปรึกษาหารือระหว่างจำเลยและทนายไม่เพียงพอ
ตามคำร้องขอขยายเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 4 ของจำเลยทั้งสามอ้างเหตุว่า จำเลยที่ 2 ยังไม่เดินทางกลับจากอำเภอหาดใหญ่เพราะต้องดูแลหลานอายุ 4 ขวบ ซึ่งเป็นโรคภูมิแพ้ เพื่อให้น้องสะใภ้ของจำเลยที่ 2 ไปทำงาน จำเลยทั้งสามกับทนายจำเลยทั้งสามไม่สามารถที่จะร่วมปรึกษากันถึงรูปคดีและมีความเห็นให้ทนายจำเลยทั้งสามดำเนินการอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นได้ ทนายจำเลยทั้งสามจึงไม่สามารถยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาได้ภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เช่นนี้ไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2993/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์คดีแรงงานต้องมีเหตุจำเป็น การยื่นอุทธรณ์ต้องยื่นต่อศาลแรงงานกลางเท่านั้น
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตขยายระยะเวลาอุทธรณ์ แต่เหตุผลตามคำร้องไม่ใช่เหตุจำเป็นอันสมควรอนุญาตให้ขยายระยะเวลาโจทก์อุทธรณ์ แต่อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานกลางว่าสมควรอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์อีกหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง บัญญัติว่า "การอุทธรณ์นั้นให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลแรงงานกลางอันเป็นศาลที่มีคำพิพากษา ไม่อาจจะยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง บัญญัติว่า "การอุทธรณ์นั้นให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลแรงงานกลางอันเป็นศาลที่มีคำพิพากษา ไม่อาจจะยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขยายระยะเวลาอุทธรณ์คดีแรงงาน: ศาลต้องพิจารณาเหตุผลและความยุติธรรม
การย่นหรือขยายระยะเวลาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 26 นั้น บทบัญญัติดังกล่าวมิได้กำหนดให้คู่ความต้องยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานก่อนสิ้นสุดระยเวลาตามที่กำหนดไว้ แม้ระยะเวลายื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางในคดีนี่จะสิ้นสุดไปแล้ว โจทก์ก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานกลางได้ ส่วนศาลแรงงานกลางจะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์หรือไม่เพียงใด ก็ต้องพิจารณาถึงความจำเป็นหรือเหตุอันจำเป็นของโจทก์ว่ามีจริงหรือไม่เพียงใด และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมหรือไม่ ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าโจทก์ยื่นขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ตามกฎหมาย แล้วยกคำร้อง โดยมิได้พิจารณาถึงเหตุผลความจำเป็นตามคำร้องของโจทก์และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมหรือไม่ จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8658/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์: เหตุสุดวิสัยและการตรวจสอบข้อมูลของทนาย
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นยกคำร้อง จำเลยย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยและพิพากษายกอุทธรณ์เสียนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาที่ว่ามีเหตุอันควรขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยหรือไม่โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิจารณาและพิพากษาใหม่
ข้ออ้างที่ว่าทนายจำเลยเชื่อคำบอกเล่าของเจ้าพนักงานศาลและทนายคนเดิมว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้จนถึงวันที่ 20 มกราคม 2547 และทนายจำเลยต้องว่าความทุกวันไม่สามารถมาดูคำสั่งศาลด้วยตนเองได้ ถือเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง กรณีจึงมิใช่เหตุสุดวิสัย ไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ข้ออ้างที่ว่าทนายจำเลยเชื่อคำบอกเล่าของเจ้าพนักงานศาลและทนายคนเดิมว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้จนถึงวันที่ 20 มกราคม 2547 และทนายจำเลยต้องว่าความทุกวันไม่สามารถมาดูคำสั่งศาลด้วยตนเองได้ ถือเป็นความบกพร่องของทนายจำเลยเอง กรณีจึงมิใช่เหตุสุดวิสัย ไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15