คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขยายอุทธรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1917/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาขยายอุทธรณ์: การกำหนดวันเริ่มต้นและผลของการขยายต่อเนื่อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2536 โจทก์ต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา229 ซึ่งการนับเวลายื่นอุทธรณ์ 1 เดือน ต้องนับวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรกตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/3 โดยอุทธรณ์ของโจทก์จะครบกำหนดวันที่ 29 มกราคม 2537โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์มีกำหนด 15 วัน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 15 วัน นับแต่วันครบกำหนดอุทธรณ์คือวันที่ 31 มกราคม 2537 เนื่องจากวันที่ 29 และ 30 มกราคม 2537 เป็นวันหยุดราชการ ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นระบุในคำสั่งให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไปอีก 15 วัน โดยให้นับแต่วันที่ 31 มกราคม 2537 จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นกำหนดวันเริ่มต้นแห่งระยะเวลาที่ขยายออกไปว่าจะต้องเริ่มนับจากวันที่ 1กุมภาพันธ์ 2537 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/7 โจทก์จึงสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2537 อันเป็นวันครบกำหนดที่ได้ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไป ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีกครั้งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วัน นับแต่วันครบกำหนด โดยมิได้กำหนดวันเริ่มต้นแห่งระยะเวลาที่ขยายออกไป กรณีดังกล่าวนี้จึงต้องนับกำหนดระยะเวลาเดิมกับระยะเวลาที่ขยายออกไปติดต่อกันซึ่งจะครบกำหนดขยายระยะเวลาที่โจทก์มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์2537 เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2537 ภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลต้องรับอุทธรณ์โจทก์ไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128-129/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาขยายอุทธรณ์: เริ่มนับจากวันสุดท้ายเดิม แม้มีวันหยุดราชการ
วันสุดท้ายที่จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้คือวันที่ 12 เมษายน2533 เมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาไป 15 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดจึงต้องนับต่อจากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเดิมคือเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2533 มิใช่วันที่ 17 เมษายน 2533 แม้ว่าวันที่12 ถึง 15 เมษายน 2533 เป็นวันหยุดราชการ และก่อนที่ศาลมีคำสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 16 เมษายน2533 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ได้ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7685/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เป็นสิทธิเฉพาะตัวของคู่ความร่วม ย่อมไม่ผูกพันคู่ความอื่น
การที่คู่ความร่วมคนหนึ่งขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ของคู่ความร่วมคนนั้น ไม่มีผลไปถึงคู่ความร่วมคนอื่นที่มิได้ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ด้วย กรณีมิใช่เรื่องที่จะนำมาตรา 59 (1) แห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับได้การที่โจทก์ที่ 1 ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เพียงคนเดียว และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์แก่โจทก์ที่ 1 จึงเป็นประโยชน์แก่โจทก์ที่ 1 แต่เพียงผู้เดียวที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาต ดังนั้นที่โจทก์ทั้งสองยื่นอุทธรณ์ฉบับเดียวกันภายในระยะเวลาดังกล่าวโดยโจทก์ที่ 2 มิได้ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไว้ ย่อมเป็นอุทธรณ์ที่ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งรับอุทธรณ์ในส่วนของโจทก์ที่ 2 ด้วย เป็นการไม่ชอบและที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 2 จึงเป็นการไม่ชอบเช่นกัน ต้องถือว่าคดีในส่วนของโจทก์ที่ 2 ได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและไม่ถือว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง