คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขยายเวลา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 338 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอขยายเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษที่ขัดขวางการจัดทำอุทธรณ์ การเจรจาประนอมหนี้ไม่ใช่เหตุขยายเวลา
ข้ออ้างของจำเลยในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ที่ว่า โจทก์และจำเลยได้เจรจาทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กันเฉพาะในส่วนสาระสำคัญได้ผ่านการอนุมัติแล้วเหลือเพียงขั้นตอนการประเมินหลักทรัพย์ที่จำเลยตีใช้หนี้คาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 2 เดือน ก็จะสามารถโอนกรรมสิทธิ์หลักทรัพย์ตีใช้หนี้ได้ ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วัน เพื่อให้โอกาสแก่จำเลยในการประเมินราคาหลักทรัพย์ตีใช้หนี้โจทก์นั้น ข้ออ้างดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยประสงค์จะดำเนินการเพื่อชำระหนี้โจทก์ด้วยความสมัครใจของจำเลยเองมิได้เกี่ยวข้องกับการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น และมิใช่เหตุอันเป็นอุปสรรคขัดขวางในการจัดทำอุทธรณ์หรือนำอุทธรณ์มาเสนอต่อศาลแต่อย่างใด ทั้งหาใช่เหตุที่ทำให้จำเลยไม่อาจยื่นอุทธรณ์ต่อศาลได้ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไม่ ข้ออ้างดังกล่าวจึงมิใช่พฤติการณ์พิเศษตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 23 ที่จะนำมาอ้างเพื่อขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5067/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจเจ้าพนักงานประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มในการออกหมายเรียกตรวจสอบและขยายเวลาประเมิน
ในกรณีมีเหตุอันสมควรเชื่อว่าผู้ประกอบการแสดงรายการตามแบบแสดงรายการภาษีไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินโดยอนุมัติอธิบดีประเมินภาษีได้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่กำหนดเวลาตาม (1) (ก) ซึ่งตามมาตรา 88/6 วรรคท้าย บัญญัติไว้เพียงว่าให้เจ้าพนักงานประเมินโดยอนุมัติอธิบดีประเมินภาษีได้ภายใน 5 ปี นับแต่กำหนดเวลาตาม (1) (ก) เท่านั้น ไม่ได้กำหนดว่าต้องขออนุมัติภายในกำหนดเวลา 2 ปี ดังนั้นเจ้าพนักงานประเมินย่อมขออนุมัติอธิบดีประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มได้ภายในกำหนดเวลา 5 ปี แม้ขณะขออนุมัติจะเกิน 2 ปี แล้วก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 495/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตอุทธรณ์และขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียม ส่งผลให้จำเลยไม่มีสิทธิฎีกา
เดิมศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 อุทธรณ์อย่างคนอนาถา หากจำเลยที่ 1 ยังคงติดใจอุทธรณ์ ก็ให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันทราบคำสั่ง คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ออกไปอีก แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งต่อมา และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นคำสั่งต่อเนื่องจากคำสั่งที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 อุทธรณ์อย่างคนอนาถาซึ่งถึงที่สุดแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งคำสั่งของศาลอุทธรณ์ต่อไปได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2993/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ต้องยื่นต่อศาลแรงงานชั้นต้นตามกฎหมาย และการขยายเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลอันสมควร
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคสอง บัญญัติว่า " การอุทธรณ์นั้นให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลแรงงานซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง..." จากบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่าโจทก์จะต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานกลาง อันเป็นศาลที่มีคำพิพากษาคดีนี้ ไม่อาจยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1803/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลแจ้งคำสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ การไม่แจ้งถือว่าจำเลยยังไม่ทราบคำสั่ง
แม้ท้ายคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยจะมีหมายเหตุข้อความว่า ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอถือว่าทราบแล้ว แต่การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยในวันเดียวกันกับที่จำเลยยื่นคำร้อง ศาลชั้นต้นจึงมีหน้าที่ต้องแจ้งคำสั่งให้จำเลยทราบ เมื่อไม่ได้มีการแจ้งคำสั่งของศาลชั้นต้นให้จำเลยทราบ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวแล้ว เมื่อจำเลยไม่ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยโดยมิได้เป็นความผิดของจำเลย ทำให้จำเลยทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว จึงเสียสิทธิที่จะยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาที่ยังเหลืออยู่ ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ได้ฎีกา แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควร ย่อมจะยกขึ้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 246 และ 142 (5) กรณีมีเหตุสมควรที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากรกลางขยายเวลาฟ้องคดีภาษี และการพิจารณาเบี้ยปรับตามความเหมาะสม
กำหนดเวลาการอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายใน 30 วัน เป็นกำหนดเวลาการฟ้องคดีถ้ามิได้ฟ้องภายในกำหนดย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง ฉะนั้น แม้เป็นกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 (2) แห่ง ป.รัษฎากรฯ แต่ก็ถือว่าเป็นระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำหนดไว้ใน ป.รัษฎากรฯ ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจขยายหรือย่นระยะเวลาดังกล่าวให้แก่โจทก์ได้โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 23
คำสั่งกรมสรรพากร เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นเพียงระเบียบที่กำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินถือปฏิบัติ ไม่มีผลผูกพันศาลให้ต้องถือตามระเบียบดังกล่าว ศาลมีอำนาจพิจารณาว่าการที่เจ้าพนักงานประเมินงดหรือลดเบี้ยปรับมานั้นถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ และมีอำนาจที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8659/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาอุทธรณ์คดีอาญา และเหตุขยายเวลาต้องยื่นก่อนครบกำหนด เหตุผลที่อ้างไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
ศาลชั้นอ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟังวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2547 จำเลยต้องยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ซึ่งการนับระยะเวลาเริ่มต้น การยื่นอุทธรณ์หนึ่งเดือนต้องนับวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรกตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง โดยเริ่มนับวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 ดังนั้น เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 มิได้เป็นวันต้นแห่งเดือน กำหนดระยะเวลาเป็นเดือนจึงไม่อาจคำนวณตามปีปฏิทินได้ ระยะเวลาสิ้นสุดย่อมเป็นวันที่ 18 มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/5 หาใช่ต้องนับระยะเวลาเดือนกุมภาพันธ์ 2547 มีกำหนด 11 วัน และเดือนมีนาคม 2547 มีกำหนด 19 วัน เป็น 30 วันตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/6 วรรคหนึ่งและวรรคสามไม่ เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการนับระยะเวลาที่กำหนดเป็นเดือนและวัน หรือกำหนดเป็นเดือนและส่วนของเดือนมิได้กำหนดระยะเวลาที่กำหนดเป็นเดือน การที่จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2547 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว
การขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในคดีอาญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 นั้น จะต้องกระทำก่อนสิ้นสุดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2547 หลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว จึงเป็นกรณีที่จำเลยมิได้ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนสิ้นระยะเวลายื่นอุทธรณ์ อีกทั้งเหตุที่จำเลยอ้างขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก็ไม่ถือว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยที่จะมีคำขอภายหลังจากที่ครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้ ศาลชอบที่จะไม่อนุญาตให้ขยายเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 551/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียม: ศาลพิจารณาความสมเหตุสมผลและผลของการยอมรับเงื่อนไข
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษา และลงชื่อยอมรับที่จะมาฟังคำสั่งศาลวันที่ 3 พฤษภาคม 2544 ซึ่งพ้นกำหนดที่ศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินครั้งสุดท้าย เท่ากับจำเลยยอมรับผลในกรณีที่ศาลชั้นต้นจะไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลา ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2544 โดยมิได้สั่งในวันที่ 3 พฤษภาคม 2544 ก็ย่อมมีผลเช่นเดียวกัน และไม่จำต้องกำหนดให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางอีก เพราะมิใช่เป็นกรณีชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลไม่ถูกต้องครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5187/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลเพิกถอนการไม่รับฎีกาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเหตุขอขยายระยะเวลาฎีกาที่ไม่เป็นเหตุพิเศษ
วันที่ 25 ตุลาคม 2545 จำเลยที่ 1 ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง วันที่ 31 ตุลาคม 2545 จำเลยทั้งสองยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2545 ว่าจำเลยทั้งสองยื่นฎีกาเกินกำหนดเวลาที่ศาลอนุญาตให้ขยายถึงวันที่ 28 ตุลาคม 2545 จึงไม่รับ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2545 จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาต่อมาวันที่ 27 พฤศจิกายน 2545 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาฉบับลงวันที่ 25 ตุลาคม 2545 ว่าเพื่อให้คดีเป็นไปโดยรวดเร็ว จึงถือกรณีการสั่งตามคำร้องเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2545 เป็นไปโดยหลงผิด จึงให้เพิกถอนคำสั่งเดิมและอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฎีกาถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2545 และสั่งในฎีกาของจำเลยทั้งสองฉบับลงวันที่ 31 ตุลาคม 2545 ว่า เพื่อมิให้การดำเนินคดีล่าช้าเป็นผลเสียแก่คู่ความ จึงถือว่ากรณีเป็นการสั่งโดยผิดหลง อาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 เพิกถอนคำสั่งไม่รับฎีกา สั่งใหม่ให้รับฎีกาของจำเลยทั้งสอง แล้วศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาว่า เนื่องจากศาลรับฎีกาของจำเลยทั้งสอง กรณีจึงไม่มีเหตุตามอุทธรณ์อีก อุทธรณ์ไม่เป็นสาระแก่คดีจึงไม่รับ การที่ศาลชั้นต้นเพิ่งมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาของจำเลยที่ 1 และสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2545 มีลักษณะเป็นการเพิกถอนคำสั่งเดิมย้อนหลังแทนที่จะส่งอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวมายังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาสั่งตามมาตรา 252 และเหตุผลที่สั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมไม่ใช่เกิดจากการผิดหลงไม่ต้องด้วยมาตรา 27 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยตามมาตรา 247 ประกอบมาตรา 236 และคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาก็ไม่ชอบด้วยเช่นกัน ศาลฎีกาให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวตามมาตรา 243 (1) และมาตรา 27 ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
จำเลยที่ 1 อ้างเหตุขอขยายระยะเวลาฎีกาว่า ทนายจำเลยที่ 1 จัดทำฎีกาเสร็จแล้ว แต่ต้องนำเสนอกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ตรวจก่อน ปรากฏว่ากรรมการดังกล่าวเดินทางไปประกอบธุรกิจที่ต่างจังหวัด ทนายจำเลยที่ 1 จึงไม่สามารถเสนอให้ตรวจได้เหตุดังกล่าวเป็นเรื่องธุรกิจของจำเลยที่ 1 เอง มิใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5185/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง กรณีคดีทุนทรัพย์น้อย และการโต้แย้งดุลพินิจศาลชั้นต้นเกี่ยวกับเหตุขยายเวลา
ฎีกาของจำเลยแม้เป็นฎีกาคัดค้านในเรื่องของการขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ มิใช่ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดี ก็ตกอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คดีมีทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ไม่สูงไม่น่าเชื่อว่าจำเลยจะหาเงินค่าธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ไม่ได้ และพฤติการณ์การยื่นคำร้องของจำเลยมีลักษณะเป็นการประวิงคดีกรณีไม่มีพฤติการณ์พิเศษ เท่ากับศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงและฟังว่าไม่มีเหตุตามที่จำเลยอ้างมาในคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ อันเป็นการวินิจฉัยในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่า กรณีมีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยหรือไม่ ที่จำเลยฎีกาโต้แย้งว่า ตามคำร้องของจำเลยเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ จำเลยใช้ความพยายามทุกทางแล้วแต่หาเงินค่าธรรมเนียมได้เพียงบางส่วน และจำเลยไม่มีเจตนาที่จะประวิงคดี เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
of 34