พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8749/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจขยายเวลาชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: ผู้คัดค้านไม่มีอำนาจขยายเวลาได้ ต้องเป็นอำนาจศาล
++ เรื่อง ล้มละลาย ++
++ (ชั้นคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ - ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า คำสั่งของผู้คัดค้านที่สั่งคำร้องของผู้ซื้อทรัพย์ฉบับลงวันที่ 9มิถุนายน 2540 เป็นคำสั่งที่สมบูรณ์มีผลบังคับแล้วหรือไม่
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ในคำร้องดังกล่าว (เอกสารหมาย ร.1) ปรากฏว่า นางอุษณีย์ อยู่แย้ม เกษียนสั่งเป็นคนแรกว่า หากผู้ซื้อทรัพย์ไม่วางเงินภายในวันดังกล่าว ถือว่าผู้ซื้อทรัพย์ผิดนัด ให้ริบเงินมัดจำจำนวน 2,145,000 บาท ประกาศขายทอดตลาดใหม่
++ ต่อมานางกรองกาญจน์สถิตมิลินทากาศ สั่งว่า ถือว่าผู้ซื้อทรัพย์ผิดนัดให้ริบเงินมัดจำ และประกาศขายทอดตลาดต่อไป และนางกรองกาญจน์ยังได้เขียนบันทึกต่อไปว่า ขอประทานเสนอ ท่านอธิบดีเพื่อโปรดทราบ
++ นอกจากเกษียนสั่งของนางอุษณีย์และนางกรองกาญจน์ดังกล่าวแล้วในคำร้องดังกล่าวยังปรากฏอีกว่า นายสำเร็จ บุษยากรณ์ รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดี กรมบังคับคดี ได้ลงลายมือชื่อรับทราบ พร้อมกับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2540ไว้ด้วย ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า อธิบดีกรมบังคับคดีเห็นด้วยกับคำสั่งของนางอุษณีย์และนางกรองกาญจน์แล้ว
++ คำสั่งของผู้คัดค้านที่สั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระเงินของผู้ซื้อทรัพย์ฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2540 จึงสมบูรณ์และมีผลว่าหากผู้ซื้อทรัพย์ไม่วางเงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่ขาดในวันดังกล่าว ต้องริบเงินมัดจำจำนวน 2,145,000 บาท ที่ผู้ซื้อทรัพย์วางไว้และประกาศขายทอดตลาดใหม่อันเป็นการยืนยันให้ผู้ซื้อทรัพย์ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นซึ่งได้ขยายระยะเวลาวางเงินให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ คำสั่งของผู้คัดค้านส่วนนี้ชอบแล้ว
++ แต่คดีนี้ ผู้ซื้อทรัพย์กลับยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 10 มิถุนายน 2540 ขอความเป็นธรรมและขอให้ผู้คัดค้านทบทวนคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอให้ขยายระยะเวลาชำระเงินใหม่ ซึ่งเท่ากับผู้ซื้อทรัพย์ขอให้ผู้คัดค้านมีคำสั่งขยายระยะเวลาชำระเงินออกไปอีก และผู้คัดค้านมีคำสั่งให้รอฟังผลการรังวัดสอบเขตจากเจ้าพนักงานที่ดินก่อน จึงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของจำเลยว่า คำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การขอขยายเวลาชำระเงินดังกล่าวเป็นการขอขยายระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้ อำนาจที่จะขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปจึงเป็นอำนาจของศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153 การที่ผู้คัดค้านสั่งให้รอฟังผลการรังวัดสอบเขตจากเจ้าพนักงานที่ดินก่อน ซึ่งมีผลเป็นการขยายระยะเวลาชำระเงินที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ออกไป ไม่มีกฎหมายให้อำนาจผู้คัดค้านกระทำได้ จึงเป็นการไม่ชอบ ++
++ (ชั้นคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ - ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
++ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า คำสั่งของผู้คัดค้านที่สั่งคำร้องของผู้ซื้อทรัพย์ฉบับลงวันที่ 9มิถุนายน 2540 เป็นคำสั่งที่สมบูรณ์มีผลบังคับแล้วหรือไม่
++
++ ศาลฎีกาเห็นว่า ในคำร้องดังกล่าว (เอกสารหมาย ร.1) ปรากฏว่า นางอุษณีย์ อยู่แย้ม เกษียนสั่งเป็นคนแรกว่า หากผู้ซื้อทรัพย์ไม่วางเงินภายในวันดังกล่าว ถือว่าผู้ซื้อทรัพย์ผิดนัด ให้ริบเงินมัดจำจำนวน 2,145,000 บาท ประกาศขายทอดตลาดใหม่
++ ต่อมานางกรองกาญจน์สถิตมิลินทากาศ สั่งว่า ถือว่าผู้ซื้อทรัพย์ผิดนัดให้ริบเงินมัดจำ และประกาศขายทอดตลาดต่อไป และนางกรองกาญจน์ยังได้เขียนบันทึกต่อไปว่า ขอประทานเสนอ ท่านอธิบดีเพื่อโปรดทราบ
++ นอกจากเกษียนสั่งของนางอุษณีย์และนางกรองกาญจน์ดังกล่าวแล้วในคำร้องดังกล่าวยังปรากฏอีกว่า นายสำเร็จ บุษยากรณ์ รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดี กรมบังคับคดี ได้ลงลายมือชื่อรับทราบ พร้อมกับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2540ไว้ด้วย ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่า อธิบดีกรมบังคับคดีเห็นด้วยกับคำสั่งของนางอุษณีย์และนางกรองกาญจน์แล้ว
++ คำสั่งของผู้คัดค้านที่สั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระเงินของผู้ซื้อทรัพย์ฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2540 จึงสมบูรณ์และมีผลว่าหากผู้ซื้อทรัพย์ไม่วางเงินค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่ขาดในวันดังกล่าว ต้องริบเงินมัดจำจำนวน 2,145,000 บาท ที่ผู้ซื้อทรัพย์วางไว้และประกาศขายทอดตลาดใหม่อันเป็นการยืนยันให้ผู้ซื้อทรัพย์ปฏิบัติตามคำสั่งศาลชั้นต้นซึ่งได้ขยายระยะเวลาวางเงินให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ คำสั่งของผู้คัดค้านส่วนนี้ชอบแล้ว
++ แต่คดีนี้ ผู้ซื้อทรัพย์กลับยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 10 มิถุนายน 2540 ขอความเป็นธรรมและขอให้ผู้คัดค้านทบทวนคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอให้ขยายระยะเวลาชำระเงินใหม่ ซึ่งเท่ากับผู้ซื้อทรัพย์ขอให้ผู้คัดค้านมีคำสั่งขยายระยะเวลาชำระเงินออกไปอีก และผู้คัดค้านมีคำสั่งให้รอฟังผลการรังวัดสอบเขตจากเจ้าพนักงานที่ดินก่อน จึงมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของจำเลยว่า คำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
++ ศาลฎีกาเห็นว่า การขอขยายเวลาชำระเงินดังกล่าวเป็นการขอขยายระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้ อำนาจที่จะขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปจึงเป็นอำนาจของศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153 การที่ผู้คัดค้านสั่งให้รอฟังผลการรังวัดสอบเขตจากเจ้าพนักงานที่ดินก่อน ซึ่งมีผลเป็นการขยายระยะเวลาชำระเงินที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ออกไป ไม่มีกฎหมายให้อำนาจผู้คัดค้านกระทำได้ จึงเป็นการไม่ชอบ ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8749/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจขยายเวลาชำระหนี้จากการขายทอดตลาดอยู่ในอำนาจศาล ผู้คัดค้านไม่มีอำนาจขยายเวลาเอง
ในคำร้องของผู้ซื้อทรัพย์ นอกจาก อ. และ ก. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เขียนเกษียนสั่งแล้ว ยังปรากฏว่า ส. รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมบังคับคดีได้ลงลายมือชื่อรับทราบพร้อมกับลงวันที่ 9 มิถุนายน 2540 ไว้ด้วย ซึ่งเป็นการแสดงว่าอธิบดีกรมบังคับคดีเห็นด้วยกับคำสั่งของ อ. และ ก. แล้ว คำสั่งของผู้คัดค้านที่สั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาชำระเงินของผู้ซื้อทรัพย์ฉบับลงวันที่ 9 มิถุนายน2540 จึงสมบูรณ์ คำสั่งของผู้คัดค้านที่มีคำสั่งว่าผู้ซื้อทรัพย์ผิดนัดให้ริบเงินมัดจำและประกาศขายทอดตลาดใหม่จึงชอบแล้ว
ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 10 มิถุนายน 2540 ขอความเป็นธรรมและขอให้ผู้คัดค้านทบทวนคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอให้ขยายระยะเวลาชำระเงินใหม่ซึ่งเท่ากับผู้ซื้อทรัพย์ขอให้ผู้คัดค้านมีคำสั่งขยายระยะเวลาชำระเงินออกไปอีกการขอขยายเวลาชำระเงินดังกล่าวเป็นการขอขยายระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้อำนาจที่จะขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปจึงเป็นอำนาจของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 การที่ผู้คัดค้านสั่งให้รอฟังผลการรังวัดสอบเขตจากเจ้าพนักงานที่ดินก่อน ซึ่งมีผลเป็นการขยายระยะเวลาชำระเงินที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ออกไปไม่มีกฎหมายให้อำนาจผู้คัดค้านกระทำได้ คำสั่งของผู้คัดค้านจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 10 มิถุนายน 2540 ขอความเป็นธรรมและขอให้ผู้คัดค้านทบทวนคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอให้ขยายระยะเวลาชำระเงินใหม่ซึ่งเท่ากับผู้ซื้อทรัพย์ขอให้ผู้คัดค้านมีคำสั่งขยายระยะเวลาชำระเงินออกไปอีกการขอขยายเวลาชำระเงินดังกล่าวเป็นการขอขยายระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้อำนาจที่จะขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปจึงเป็นอำนาจของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 การที่ผู้คัดค้านสั่งให้รอฟังผลการรังวัดสอบเขตจากเจ้าพนักงานที่ดินก่อน ซึ่งมีผลเป็นการขยายระยะเวลาชำระเงินที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ออกไปไม่มีกฎหมายให้อำนาจผู้คัดค้านกระทำได้ คำสั่งของผู้คัดค้านจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5388/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาชำระหนี้จากการประมูลซื้อทอดตลาด ศาลมีอำนาจขยายเวลาได้ แต่ต้องปฏิบัติตามสัญญาหากไม่ชำระตามกำหนด
ผู้ร้องเป็นผู้ประมูลสู้ราคาสูงสุดในการขายทอดตลาด และทำสัญญาซื้อขายไว้ จึงต้องปฏิบัติตามสัญญาคือชำระเงินส่วนที่เหลือใน15 วัน นับแต่วันทำสัญญาต่อมาผู้ร้องได้ยื่นคำแถลงขอเลื่อนการวางเงินที่เหลือออกไปอีก การที่ศาลอนุญาตให้เลื่อนการวางเงินไปได้เพียง 7 วัน เป็นการขยายเวลาชำระหนี้ตามสัญญาให้แก่ผู้ร้องซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะกระทำได้ เพราะการขายทอดตลาดกระทำไปโดยคำสั่งของศาล จึงมิใช่เป็นเรื่องที่ไม่ยึดถือระยะเวลาเป็นสำคัญซึ่งนอกจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายเวลาดังกล่าวแล้วยังมีคำสั่งต่อไปอีกว่าหากไม่ชำระให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับไปตามสัญญาซื้อขายที่ผู้ร้องได้ทำไว้ ดังนั้นเมื่อผู้ร้องไม่ชำระเงินภายในกำหนดระยะเวลาที่ได้ขยายให้ไว้ผู้ร้องก็ได้ชื่อว่าผิดนัด หมดสิทธิที่จะซื้อทรัพย์พิพาท และเจ้าพนักงานบังคับคดีก็จะต้องริบเงินที่ผู้ร้องได้วางไว้โดยศาลชั้นต้นหาต้องมีคำสั่งว่าผู้ร้องผิดสัญญา และมีคำสั่งให้ริบเงินที่ผู้ร้องได้ชำระไว้แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3246/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายเวลาชำระหนี้และผลกระทบต่อการผิดสัญญา การบอกกล่าวให้ปฏิบัติหนี้เป็นหลักฐานสำคัญ
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพร้อมทั้งพืชไร่บางส่วนในที่ดินจากจำเลยโดยโจทก์ได้วางเงินมัดจำซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาที่ซื้อขายกันให้จำเลยในวันทำสัญญา ส่วนเงินที่เหลือตกลงจะชำระในวันจดทะเบียนโอนที่ดิน ซึ่งตกลงกันว่าจะจดทะเบียนโอนกันภายในสามเดือนนับแต่วันทำสัญญา ก่อนครบกำหนดสามเดือน โจทก์ขอขยายกำหนดชำระเงินและจดทะเบียนโอนที่ดินออกไปอีกสามเดือน จำเลยยอมขยายให้เพียงหนึ่งเดือน ดังนี้มีผลเท่ากับคู่สัญญาได้ตกลงขยายกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ออกไปอีกหนึ่งเดือนแล้ว แม้โจทก์จะไม่ชำระราคาที่ดินภายในกำหนดเดิม โจทก์ก็ไม่ผิดสัญญา
ในระหว่างที่ยังไม่ครบกำหนดหนึ่งเดือนตามที่คู่สัญญาได้ตกลงขยายออกไปนั้น โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยจัดการโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันได้รับหนังสือบอกกล่าว ถือได้ว่าโจทก์ได้กำหนดเวลาให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้แล้ว เมื่อจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวภายหลังที่ครบกำหนดหนึ่งเดือนตามที่ได้ตกลงขยายระยะเวลาออกไปแล้ว มิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ทั้งมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าพร้อมจะโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์และขอให้โจทก์ชำระราคาที่ดินภายในกำหนดหนึ่งเดือนตามหนังสือบอกกล่าว ย่อมถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญาโดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีเงินชำระค่าที่ดินที่ค้างอยู่แก่จำเลยหรือไม่
ในระหว่างที่ยังไม่ครบกำหนดหนึ่งเดือนตามที่คู่สัญญาได้ตกลงขยายออกไปนั้น โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยจัดการโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันได้รับหนังสือบอกกล่าว ถือได้ว่าโจทก์ได้กำหนดเวลาให้จำเลยปฏิบัติการชำระหนี้แล้ว เมื่อจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวภายหลังที่ครบกำหนดหนึ่งเดือนตามที่ได้ตกลงขยายระยะเวลาออกไปแล้ว มิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ทั้งมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าพร้อมจะโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์และขอให้โจทก์ชำระราคาที่ดินภายในกำหนดหนึ่งเดือนตามหนังสือบอกกล่าว ย่อมถือได้ว่าจำเลยผิดสัญญาโดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าโจทก์มีเงินชำระค่าที่ดินที่ค้างอยู่แก่จำเลยหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการงดบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ใช่การขยายเวลาชำระหนี้
การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้จำเลยผัดชำระเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยยังไม่สั่งบังคับคดีทันทีเพราะมีเหตุอันสมควรนั้น เป็นการสั่งให้งดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292 (2) ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจกระทำได้ เพราะเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการบังคับคดีตามอำนาจแห่งดุลพินิจของศาลชั้นต้น หาใช่เป็นการขยายเวลาชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม อันเป็นผลให้เปลี่ยนแปลงคำพิพากษาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งงดบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่การขยายเวลาชำระหนี้
การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้จำเลยผัดชำระเงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยยังไม่สั่งบังคับคดีทันทีเพราะมีเหตุอันสมควรนั้น เป็นการสั่งให้งดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292(2) ซึ่งศาลชั้นต้นมีอำนาจกระทำได้เพราะเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการบังคับคดีตามอำนาจแห่งดุลพินิจของศาลชั้นต้น หาใช่เป็นการขยายเวลาชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม อันเป็นผลให้เปลี่ยนแปลงคำพิพากษาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2812/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขยายเวลาชำระหนี้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด ต้องยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ไม่ใช่ยื่นคำร้องใหม่ต่อศาลอุทธรณ์
ผู้ซื้อทรัพย์ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่อขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์ 2 ครั้ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องทั้งสองครั้ง ผู้ซื้อทรัพย์มิได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น แต่กลับยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 อ้างว่าเป็นการขอคุ้มครองประโยชน์ชั่วคราวในระหว่างการพิจารณา แต่ในคำร้องมีเนื้อหาเป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าซื้อทรัพย์ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี เช่นเดียวกับที่ผู้ซื้อทรัพย์เคยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ซึ่งหากศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำสั่งตามคำร้องขอของผู้ซื้อทรัพย์ก็เท่ากับเป็นการกลับคำสั่งของศาลชั้นต้น การยื่นคำร้องของผู้ซื้อทรัพย์เป็นการหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. 223 ที่บัญญัติว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นนั้นให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ จึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับวินิจฉัยให้ก็เป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาชำระหนี้ตามมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ COVID-19 และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 700
มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งไปยังสถาบันการเงินตามสำเนาหนังสือธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่มีลักษณะเป็นคำสั่งการที่บังคับให้สถาบันการเงินต้องปฏิบัติ หากแต่เป็นเพียงการขอความร่วมมือจากสถาบันการเงินเท่านั้น และตามสำเนาหนังสือธนาคารแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 26 มีนาคม 2563 ข้อ 2 (3) ระบุชัดเจนว่าการดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ตามมาตรการนี้ สถาบันการเงินไม่จำเป็นต้องขยายระยะเวลาการชำระหนี้เสร็จสิ้นตามสัญญา แต่หากมีการขยายระยะเวลาการชำระหนี้เสร็จสิ้นตามสัญญาออกไปก็ขอให้ถือปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวกับหลักประกันและผู้ค้ำประกัน การที่โจทก์มีหนังสือแจ้งผลการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไปยังจำเลยที่ 1 ว่า โจทก์ผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ตามที่กำหนดในสัญญาเช่าซื้อตั้งแต่งวดเดือนเมษายน 2563 ถึงงวดเดือนกันยายน 2563 รวม 6 งวด แล้วให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดเดือนตุลาคม 2563 ถึงงวดเดือนมิถุนายน 2568 แทนนั้น แม้จะไม่ได้เปลี่ยนแปลงจำนวนงวดที่ต้องชำระค่าเช่าซื้อ เพราะจำเลยที่ 1 ยังต้องชำระค่าเช่าซื้อให้เสร็จสิ้นภายใน 72 งวด แต่ก็เป็นผลให้ในระหว่างนี้โจทก์ไม่อาจใช้สิทธิฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อโดยถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดได้ และการจะพักชำระหนี้ตามมาตรการดังกล่าวหรือไม่ยังต้องคำนึงถึงเจตนาของคู่สัญญาเป็นสำคัญ ดังจะเห็นได้จากข้อความตอนท้ายของหนังสือที่โจทก์มีไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ให้จำเลยที่ 1 แสดงความไม่ประสงค์ให้โจทก์ทราบภายในกำหนดด้วย อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าการพักชำระหนี้ค่าเช่าซื้อแต่ละงวดเป็นเพียงชะลอการผิดนัดของลูกหนี้ในระหว่างสัญญาเท่านั้น เมื่อค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายที่เดิมถึงกำหนดชำระเดือนธันวาคม 2567 ถูกขยายระยะเวลาไปอีก 6 เดือน เป็นเดือนมิถุนายน 2568 การพักชำระหนี้ตามมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมีลักษณะเป็นการผ่อนเวลาชำระหนี้ อันเป็นผลให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันต้องรับภาระผูกพันตามสัญญายาวนานขึ้นจากที่ระบุในสัญญา หากโจทก์จะให้ความช่วยเหลือจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อ ด้วยการขยายระยะเวลาชำระหนี้เสร็จสิ้นอันเป็นการผ่อนเวลาออกไปในส่วนของจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันนั้นก็ต้องอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 700 วรรคหนึ่ง คือ ต้องให้จำเลยที่ 2 ตกลงด้วยในการผ่อนเวลานั้น การที่โจทก์เพียงมีหนังสือแจ้งผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ด้วยการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ให้จำเลยที่ 1 โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ตกลงยินยอมในการขยายระยะเวลาชำระหนี้ด้วย จึงมีผลให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันไปตามบทกฎหมายดังกล่าว