คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขยายเวลาสัญญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5682/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจขยายเวลาสัญญาและลดเบี้ยปรับ: พิจารณาเหตุผลและความเสียหายที่แท้จริง
คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาและลงมติเห็นชอบตามมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้างตามที่สำนักงบประมาณได้ปรับปรุงแล้ว สำหรับการขยายเวลาสัญญาก่อสร้างนั้นให้หัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้พิจารณากำหนดระยะเวลาที่สมควรขยายตามความจำเป็นและเหมาะสม ทั้งนี้ ไม่เกิน 90 วัน เป็นมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดให้เป็นดุลพินิจของหัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้พิจารณากำหนดระยะเวลาที่สมควรขยายเวลาก่อสร้างตามความจำเป็นและเหมาะสม หาได้บังคับเด็ดขาดให้โจทก์ซึ่งเป็นส่วนราชการต้องปฏิบัติตามไม่ หากโจทก์พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรขยายเวลาก่อสร้างให้จำเลยจึงย่อมเป็นสิทธิของโจทก์ ไม่เป็นการฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรี และไม่ใช่ความผิดของโจทก์ เมื่อปรากฏว่าการที่จำเลยส่งมอบงานล่าช้า ไม่เป็นเหตุสุดวิสัยหรือพ้นวิสัย จึงชอบที่ศาลจะมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระเบี้ยปรับได้
เบี้ยปรับที่กำหนดไว้ในสัญญา กฎหมายมิได้บังคับเด็ดขาดว่าจะต้องให้เป็นไปตามนั้น ทั้งนี้ต้องพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายด้วย มิใช่แก่ทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏชัดแจ้งว่า โจทก์เสียหายเต็มจำนวนค่าปรับที่กำหนดไว้ในสัญญา ศาลย่อมใช้ดุลพินิจลดค่าปรับหรือเบี้ยปรับตามสัญญาลงได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา383 วรรคแรก
หลังจากการทำสัญญาฉบับพิพาทแล้ว ได้เกิดภาวะขาดแคลนปูนซีเมนต์ และเกิดการจลาจลในกรุงเทพมหานคร อันเป็นเหตุที่เกิดขึ้นภายหลังการเข้าทำสัญญา แม้ไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่จะทำให้จำเลยพ้นผิดก็ตามแต่พฤติการณ์ดังกล่าวนับเป็นเหตุอันสมควรที่จะลดเบี้ยปรับแก่จำเลยลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6105/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าปรับรายวันหลังขยายเวลาสัญญาและการบอกเลิกสัญญาภายใต้ข้อตกลง
จำเลยทำสัญญารับจ้างซ่อมรถยนต์กับโจทก์โดยจำเลยต้องซ่อมให้แล้วเสร็จในวันที่20ตุลาคม2530หากผิดนัดโจทก์มีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาได้ทันทีตามที่ระบุในสัญญาจ้างข้อ5หากจำเลยซ่อมไม่เสร็จตามสัญญาโดยโจทก์ยังมิได้บอกเลิกสัญญาจำเลยยอมให้โจทก์ปรับเป็นรายวันวันละ100บาทจนกว่าจำเลยจะซ่อมเสร็จและในระหว่างที่มีการปรับนั้นหากโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฎิบัติตามสัญญาต่อไปได้โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและใช้สิทธิตามสัญญาข้อ20นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยตามที่ระบุในสัญญาจ้างข้อ19(1)และวรรคสุดท้ายดังนี้ตามสัญญาจ้างข้อ5เป็นกรณีที่โจทก์บอกเลิกสัญญาเพราะไม่สามารถซ่อมรถยนต์ของโจทก์ให้เสร็จภายในกำหนดเวลาตามสัญญาแต่คดีนี้เมื่อครบกำหนดตามสัญญาแล้วโจทก์ยังให้จำเลยปฎิบัติตามสัญญาต่อไปโดยมีหนังสือแจ้งให้จำเลยปฎิบัติตามสัญญาและสงวนสิทธิเรียกค่าปรับตามสัญญาต่อมาเมื่อจำเลยไม่อาจซ่อมรถยนต์ของโจทก์ให้เสร็จได้โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาจึงเป็นการบอกเลิกสัญญาตามสัญญาจ้างข้อ19ซึ่งนอกจากโจทก์จะมีสิทธิรับหลักประกันตามสัญญาจ้างข้อ20(1)แล้วโจทก์ยังมีสิทธิที่จะเรียกค่าปรับเป็นรายวันในระหว่างที่ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญาตามสัญญาจ้างข้อ19(1)และวรรคสุดท้ายได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาค้ำประกันที่จำกัดระยะเวลา และผลของการขยายเวลาสัญญา
การที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเพื่อค้ำประกันความรับผิดในการปฏิบัติตามสัญญาที่โจทก์อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ไปศึกษาต่อมีกำหนด 2 ปี จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ภายในกำหนดเวลา 2 ปี ตามสัญญาด้วย การที่โจทก์อนุมัติขยายเวลาให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่อเพิ่มเติมภายหลังเป็นการอนุมัตินอกเหนือระยะเวลาตามสัญญาที่จำเลยที่ 2ได้ค้ำประกันความรับผิดไว้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้รับรู้เงื่อนไขในข้อนี้ด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากครบกำหนด 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการไถ่ที่ดินตามสัญญาขายฝาก: การไถ่ไม่เต็มราคาส่งผลให้สิทธิขาดอายุ และศาลไม่มีอำนาจขยายเวลาสัญญา
ฟ้องขอให้ไถ่ที่นาภายในกำหนดอายุสัญญาโดยราคาต่ำกว่าสัญญาศาลยกฟ้อง คดีถึงที่สุดไปครั้งหนึ่งแล้ว จะมาฟ้องขอไถ่เต็มราคาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อพ้นอายุสัญญาแล้ว ไม่ได้ ศาลไม่มีอำนาจสั่งขยายเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญาได้.