คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขยายเวลาอุทธรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์และการนับวันหยุดราชการตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2547 คู่ความย่อมยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์วันที่ 6 มีนาคม 2547 ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม 2547 ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต ระยะเวลาที่ขยายออกไปจึงเริ่มนับแต่วันที่ครบกำหนดอุทธรณ์ คือ วันที่ 6 มีนาคม 2547 โดยเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2547 แม้วันดังกล่าวจะเป็นวันหยุดราชการตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง ดังนั้น จำเลยจึงยื่นอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 5 เมษายน 2547

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8770/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์คดีแรงงาน: ศาลไม่อนุญาตหากโจทก์ละเลย ไม่ดำเนินการภายในกรอบเวลา แม้มีเหตุสุดวิสัย
โจทก์ได้แต่งตั้ง ส. เป็นทนายความของโจทก์มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งในศาลแรงงานกลางและใช้สิทธิในการอุทธรณ์ ซึ่ง ส. ได้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายความของโจทก์มาตลอดจนกระทั่งศาลแรงงานกลางได้อ่านคำพิพากษาให้คู่ความฟังแล้วโดยชอบในวันที่ 27 พฤษภาคม 2547 ต่อมาในวันที่ 14 มิถุนายน 2547 อันเป็นเวลาหลังจากสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว 3 วัน ส. ได้ยื่นคำแถลงขอคัดถ่ายสำเนาคำพิพากษาโดยมีการรับรองสำเนาถูกต้อง และโจทก์ก็ได้รับเอกสารไปแล้วในวันนั้น โจทก์มีทนายความที่จะดำเนินคดีแทนโจทก์มาตลอด แต่โจทก์เพิ่งมายื่นคำร้องขออนุญาตขยายระยะเวลาอุทธรณ์ภายหลังจากสิ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้วเกือบสองเดือน ทั้งที่ทนายโจทก์มีโอกาสที่จะยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ก่อนหน้านี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์ละเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ข้ออ้างตามคำร้องของโจทก์ที่ว่าโจทก์ต้องกลับไปภูมิลำเนาโจทก์ที่จังหวัดขอนแก่นแล้วเกิดพายุและภัยธรรมชาติทั้งโรคประจำตัวโจทก์ได้กำเริบขึ้น จึงหาใช่เป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานกลางจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง: การโต้แย้งดุลพินิจศาลอุทธรณ์เรื่องพฤติการณ์พิเศษขยายเวลาอุทธรณ์
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ว่า ในการต่อสู้คดีนี้จำเลยที่ 2 ได้เสียค่าใช้จ่ายและค่าฤชาธรรมเนียมมาโดยตลอด และยังต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายค่าเล่าเรียนบุตรอีก 3 คน ทั้งผู้ตายสามีจำเลยที่ 2 ก็มีหนี้สินเป็นจำนวนมากซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องแบกรับภาระเองทั้งสิ้นค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องวางในชั้นอุทธรณ์แม้จะมีจำนวนไม่มากแต่ก็ถือว่าสูงสำหรับจำเลยที่ 2 นอกจากนี้ ป.วิ.พ. มาตรา 23 ก็มิได้บัญญัติว่าเหตุใดเป็นพฤติการณ์พิเศษแต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจเป็นเรื่อง ๆ ไป การที่ศาลวินิจฉัยว่าเหตุที่จำเลยที่ 2 อ้างในการขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ว่าหาเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาลไม่ทันมิใช่พฤติการณ์พิเศษ จึงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ฎีกาในข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนการพิจารณาของศาลชั้นต้นซึ่งไม่เกี่ยวกับเนื้อหาของคดีที่คู่ความพิพาทกัน ก็ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3722/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย: เหตุขอขยายเวลาอุทธรณ์ไม่ชัดเจน และมิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลอุทธรณ์
จำเลยฎีกาว่า คดีของจำเลยมีทุนทรัพย์และค่าธรรมเนียมศาลสูงมาก จำเลยหาเงินยังไม่ครบ มีเอกสารหมายหลายฉบับที่ต้องใช้เวลาในการจัดทำ เป็นฎีกาที่ไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ว่าไม่ถูกต้องในข้อใดอย่างไร และที่ถูกต้องควรจะเป็นอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง และที่จำเลยฎีกาว่าคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของจำเลยมิได้เป็นการขอขยายระยะเวลาโดยอ้างว่ามีพฤติการณ์พิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 แต่เป็นการขออนุญาตให้ศาลชั้นต้นใช้อำนาจทั่วไปตามกฎหมายนั้นก็เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลอุทธรณ์ภาค 1 โดยชอบ จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความล่าช้าในการขอสำเนาคำพิพากษาเป็นเหตุให้ไม่ขยายเวลาอุทธรณ์ได้ หากเกิดจากความประมาทเลินเล่อของทนายความ
คดีนี้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2544 แม้ทนายจำเลยจะได้ยื่นคำแถลงขอถ่ายสำเนาคำพิพากษาไว้ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2545 และยังไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษา แต่ปรากฏว่าเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2545 เจ้าหน้าที่ศาลได้บันทึกไว้ในคำแถลงของจำเลยดังกล่าวว่าได้ดำเนินการถ่ายเอกสารให้แก่จำเลยเสร็จแล้วและยังปรากฏจากรายงานเจ้าหน้าที่ฉบับลงวันที่ 31 มกราคม 2545 อีกว่า โจทก์ได้มาติดต่อขอรับสำเนาคำพิพากษาจากศาลไปแล้ว ดังนี้ทนายจำเลยย่อมสามารถมาติดต่อขอรับสำเนาคำพิพากษาได้ตั้งแต่วันดังกล่าวเช่นกัน แต่จำเลยกลับปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปโดยมาติดต่ออีกครั้งในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2545 แสดงให้เห็นว่าทนายจำเลยไม่เอาใจใส่ที่จะมาติดต่อขอรับสำเนาคำพิพากษาอย่างจริงจัง ที่ทนายจำเลยอ้างว่า เพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษา จึงยื่นอุทธรณ์ไม่ทันเพราะมีกำหนดระยะเวลาตามที่ศาลอนุญาตขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ไว้แล้วเหลือเพียง 7 วันนั้น จึงเป็นเพราะความบกพร่องของทนายจำเลยเอง ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่มีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์: เหตุสุดวิสัยที่ไม่สมเหตุผล การปฏิบัติภารกิจอื่นไม่ใช่เหตุขยายเวลา
โจทก์ซึ่งขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไว้ครั้งหนึ่งแล้ว และสามารถทำอุทธรณ์ยื่นต่อศาลได้ภายในระยะเวลาที่ศาลขยายให้ดังกล่าว แต่กลับไม่ทำ คงปฏิบัติภารกิจอื่นและเดินทางไปต่างจังหวัดจนถึงวันสุดท้ายที่ศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์จึงมีกำหนดกลับที่พัก แต่เดินทางกลับในเที่ยวบินช่วงเช้าไม่ได้เพราะเที่ยวบินเต็ม จึงเดินทางกลับในเที่ยวบินบ่าย ทำให้ไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ทัน ถือเป็นข้อบกพร่องของโจทก์เอง ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาอุทธรณ์อีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6830/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด, การพิจารณาใหม่, ขยายระยะเวลาอุทธรณ์, และอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายในคดีล้มละลาย
ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้ครบถ้วนตามประเด็นแห่งคดีของโจทก์เป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 141 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 153 แต่โจทก์ได้ยกปัญหาดังกล่าวเป็นข้อฎีกาขึ้นมาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยตามปัญหาข้อนี้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดก็ต่อเมื่อข้อเท็จจริงในทางพิจารณาได้ความว่าลักษณะของจำเลยต้องด้วยกฎเกณฑ์ตามกฎหมายที่ศาลจะพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายได้แล้ว แต่กฎหมายกำหนดให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเสียก่อน เพื่อให้จำเลยได้มีโอกาสขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย หากไม่มีการประนอมหนี้หรือการประนอมหนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากที่ประชุมเจ้าหนี้และศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้ว ศาลต้องพิพากษาให้จำเลยล้มละลายตามมาตรา 61 ทันทีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจึงเป็นคำสั่งชี้ขาดคดีมีผลเป็นคำพิพากษา ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้พิจารณาใหม่ภายหลังเมื่อมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด จึงมิใช่คำสั่งในระหว่างพิจารณาและไม่ต้องห้ามอุทธรณ์
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาใหม่แล้ว โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอคัดและถ่ายเอกสารคำเบิกความพยานโจทก์ รายงานกระบวนพิจารณารายงานเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์พร้อมเอกสารประกอบรายงาน คำสั่งให้พิจารณาใหม่เพื่อใช้ประกอบการเขียนอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แต่จนกระทั่งก่อนครบกำหนดอุทธรณ์ 1 วัน และเป็นวันที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เจ้าหน้าที่ศาลชั้นต้นก็ยังไม่สามารถจัดการให้โจทก์ได้รับสำเนาเอกสารดังกล่าวซึ่งเป็นเรื่องนอกเหนือการบังคับของโจทก์ ถือเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ประกอบพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153
เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้ถึงวันตามที่โจทก์ขอ อุทธรณ์ของโจทก์ซึ่งได้ยื่นต่อศาลชั้นต้นในวันดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ที่ได้ยื่นต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดที่ศาลฎีกาขยายระยะเวลาให้ ชอบที่จะรับฎีกาโจทก์ไว้ดำเนินการต่อไป
อุทธรณ์ในส่วนที่เป็นการโต้แย้งคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งเป็นคำสั่งที่แยกได้ต่างหากจากคำสั่งระหว่างพิจารณาในการพิจารณาคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลย โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวภายในกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายและไม่ได้ขอขยายระยะเวลาไว้ เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่อาจรับไว้ดำเนินการได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์คดีภาษีอากร: เหตุผล 'อนุมัติเบิกจ่ายล่าช้า' ไม่เพียงพอ
ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายเวลาอุทธรณ์โดยอ้างว่ายังไม่ได้รับอนุมัติเบิกจ่ายค่าฤชาธรรมเนียมในการอุทธรณ์จากจำเลย เนื่องจากกรรมการบริษัทจำเลยล้มป่วยลงหลังจากเดินทางกลับจากต่างประเทศไม่สามารถเดินทางไปทำงานที่บริษัทจำเลยได้ ข้ออ้างดังกล่าวมิใช่เหตุจำเป็นที่จะสมควรขยายเวลาให้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 19 เพราะกรรมการบริษัทจำเลยมี 2 คน ซึ่งกรรมการหนึ่งคนสามารถลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญบริษัทจำเลย และมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยได้ ซึ่งตามคำร้องของจำเลยไม่ปรากฏว่ากรรมการบริษัทจำเลยป่วยทั้ง 2 คน การที่กรรมการบริษัทจำเลยที่เหลืออยู่ไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมไปมอบให้แก่ทนายจำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยไม่ขวนขวายนำเงินค่าฤชาธรรมเนียม ในการอุทธรณ์ไปวางศาลภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4639/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพลาดของเสมียนทนายไม่ใช่เหตุสุดวิสัยในการขยายเวลาอุทธรณ์ แม้จะได้รับอนุญาตขยายเวลาไปแล้ว
เสมียนทนายจำเลยจดและจำวันครบกำหนดอุทธรณ์ที่ได้รับอนุญาตให้ขยายเวลาผิดพลาดไป เป็นความผิดพลาดที่เกิดจากความไม่รอบคอบเป็นการประมาทเลินเล่อ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายเวลาอุทธรณ์ได้เมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งแรกออกไป จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่ 2 ภายหลังจากพ้นกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตขยายให้สิ้นไปแล้ว โดยไม่ปรากฏมีพฤติการณ์พิเศษ กรณีไม่มีเหตุที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์และการนับวันสุดท้ายของกำหนดเวลาตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8 บัญญัติว่า"ถ้าวันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันหยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา" หมายถึงว่า หากไม่มีการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป วันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์ตรงกับวันหยุดราชการจำเลยสามารถยื่นอุทธรณ์ในวันอันเป็นวันแรกของการเปิดทำการปรกติได้เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วันนับแต่วันที่ครบกำหนด วันที่ครบกำหนดดังกล่าวจึงมิใช่วันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์อีกต่อไป จึงนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8มาปรับใช้มิได้
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม2541 จำเลยจะต้องอุทธรณ์ภายในวันที่ 30 มกราคม 2542 แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่ 28 มกราคม 2542 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วันนับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป 10 วัน นับแต่วันครบกำหนด จึงครบกำหนด 10 วัน ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์2542 ซึ่งเป็นวันทำการปรกติ จำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์ในวันดังกล่าว โดยยื่นอุทธรณ์วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2542 พ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้วถึง 2 วัน ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ จำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
of 5