คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขยายเวลาไถ่

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายกำหนดระยะเวลาไถ่การขายฝาก: บันทึกข้อตกลงขยายเวลาถือเป็นโมฆะตามมาตรา 496
สัญญาการขายฝากทำเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538มีกำหนด 1 ปีครบกำหนดเวลาไถ่คืนวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2539เมื่อโจทก์จำเลยทำบันทึกข้อตกลงเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2539ระบุว่าจำเลยยินดีที่จะให้โจทก์ซื้อที่ดินคืนได้ในราคา550,320 บาท ภายในเวลา 1 เดือน คือตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์2539 ถึงวันที่ 21 มีนาคม 2539 หากพ้นกำหนดนี้แล้วไม่มีสิทธิใด ๆ ทั้งสิ้น และโจทก์จำเลยลงชื่อไว้ แสดงว่าขณะทำบันทึกข้อตกลงยังไม่ครบกำหนดเวลาไถ่ แม้บันทึกข้อความดังกล่าวจะไม่มีข้อความใดที่ระบุว่าให้ตกลงขยายเวลาไถ่ถอนการขายฝาก ก็ตาม แต่ข้อตกลงดังกล่าวมีคำมั่นที่จะขายทรัพย์ที่ขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยเด็ดขาดแล้วให้แก่โจทก์เมื่อราคาที่ซื้อคืน 550,320 บาท ส่วนราคาไถ่ถอนการขายฝาก544,000 บาท ราคาที่ซื้อคืนสูงกว่าราคาไถ่ถอนการขายฝากเพียง 6,320 บาท ซึ่งหากจำเลยขายคืนให้โจทก์ภายใน 1 เดือนแล้ว จำเลยต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอัตราร้อยละ 3 นอกจากนั้นจำเลยยังต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกด้วย อันจะเป็นเหตุให้จำเลยได้รับเงินสุทธิจากการขายทรัพย์คืนต่ำกว่าราคาไถ่ถอนการขายฝาก จึงไม่มีเหตุผลที่จำเลยจะให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์ที่ขายฝากซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยคืนให้แก่โจทก์ตามพฤติการณ์ที่โจทก์จำเลยทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวแสดงให้เห็นเจตนาของคู่กรณีว่าจำเลยยอมขยายกำหนดระยะเวลา ขายฝากให้แก่โจทก์อีก 1 เดือน จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496 บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนขายที่พิพาทตามข้อตกลงดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1485/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากขยายเวลาไถ่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเป็นโมฆะ
โจทก์ทั้งสองทำสัญญาขายฝากที่ดินไว้แก่จำเลยที่ 1 มีกำหนดเวลาไถ่ 3 ปี การที่โจทก์ทั้งสองตกลงกับจำเลยที่ 1 ก่อนเวลาไถ่ครบกำหนดว่ายอมให้โจทก์ซื้อในราคาเดิมเมื่อสิ้นสุดสัญญาแล้ว ข้อตกลงดังกล่าวย่อมมีผลเช่นเดียวกับให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากคืนได้ แม้จะพ้นกำหนดเวลาไถ่3 ปี ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาขายฝาก เป็นการขยายกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์สินต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 496 ข้อตกลงจึงเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินตามข้อตกลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1485/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากขยายเวลาไถ่: ข้อตกลงขัดต่อกฎหมายและเป็นโมฆะ
โจทก์ทั้งสองทำสัญญาขายฝากที่ดินไว้แก่จำเลยที่ 1 มีกำหนดเวลาไถ่ 3 ปี การที่โจทก์ทั้งสองตกลงกับจำเลยที่ 1 ก่อนเวลาไถ่ครบกำหนดว่ายอมให้โจทก์ซื้อในราคาเดิมเมื่อสิ้นสุดสัญญาแล้วข้อตกลงดังกล่าวย่อมมีผลเช่นเดียวกับให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากคืนได้ แม้จะพ้นกำหนดเวลาไถ่ 3 ปี ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาขายฝาก เป็นการขยายกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์สินต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496 ข้อตกลงจึงเป็นโมฆะโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินตามข้อตกลงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงซื้อคืนที่ดินหลังขายฝาก: โมฆะเพราะขัดมาตรา 496 (ขยายเวลาไถ่)
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์จดทะเบียนขายฝากที่ดินไว้กับจำเลยในราคา 70,000 บาท กำหนดไถ่คืนใน 1 ปี ก่อนครบกำหนดไถ่ถอนโจทก์กับจำเลยตกลงกันว่า ถ้าที่ดินหลุดเป็นสิทธิแก่จำเลยแล้ว หากโจทก์ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่จำเลย จำเลยยอมให้โจทก์ซื้อที่ดินดังกล่าวคืนในราคา 70,000 บาท โจทก์ได้ชำระดอกเบี้ยให้จำเลยแล้วแต่จำเลยไม่ยอมให้ซื้อที่ดินคืน ดังนี้ แม้จะจริงดังที่โจทก์อ้าง ข้อตกลงดังกล่าวก็เป็นโมฆะ เพราะเท่ากับเป็นการขยายไถ่ทรัพย์สิน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยให้ขายที่ดินคืนแก่โจทก์ตามข้อตกลงนั้น
ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเมื่อศาลเห็นสมควรก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2789/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงซื้อคืนที่ดินหลังสัญญาขายฝากเป็นโมฆะ หากขัดต่อกฎหมายขยายเวลาไถ่ทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์จดทะเบียนขายฝากที่ดินไว้กับจำเลยในราคา 70,000 บาท กำหนดไถ่คืนใน 1 ปี ก่อนครบกำหนดไถ่ถอนโจทก์กับจำเลยตกลงกันว่า ถ้าที่ดินหลุดเป็นสิทธิแก่จำเลยแล้ว หากโจทก์ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่จำเลยจำเลยยอมให้โจทก์ซื้อที่ดินดังกล่าวคืนในราคา 70,000 บาท โจทก์ได้ชำระดอกเบี้ยให้จำเลยแล้ว แต่จำเลยไม่ยอมให้ซื้อที่ดินคืน ดังนี้ แม้จะจริงดังที่โจทก์อ้างข้อตกลงดังกล่าวก็เป็นโมฆะ เพราะเท่ากับเป็นการขยายเวลาไถ่ทรัพย์สิน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยให้ขายที่ดินคืนแก่โจทก์ตามข้อตกลงนั้น
ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลเห็นสมควรก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงใหม่หลังสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ถือเป็นการขยายเวลาไถ่ทรัพย์สินตามกฎหมาย
การตกลงกันกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์สินกันใหม่โดยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อเลิกคดีที่พิพาทกันอยู่ในศาล ไม่ถือว่าเป็นการขยายเวลาไถ่ในภายหลังตามความหมายของมาตรา 496 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการทำความตกลงกันใหม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาไถ่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้จะได้กระทำหลังจากกำหนดเวลาตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีคำพิพากษาตามยอมนั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว ก็ไม่ถือว่าเป็นการขยายเวลาไถ่ในภายหลังตามความหมายของมาตราดังกล่าวดุจกันและข้อตกลงในประการหลังนี้ เป็นแต่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาประนีประนอมยอมความไม่นับว่าเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์อันจะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ในกรณีที่มิต้องบังคับคดีโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี ก็มิใช่เรื่องที่จะต้องออกหมายบังคับคดีเสียก่อน เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ ศาลก็มีอำนาจสั่งจับกุมและกักขังจำเลยได้ทีเดียว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 452/2491)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ถือเป็นการขยายเวลาไถ่ และการแก้ไขสัญญาไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน
การตกลงกันกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์สินกันใหม่โดยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อเลิกคดีที่พิพาทกันอยู่ในศาล ไม่ถือว่าเป็นการขยายเวลาไถ่ในภายหลังตามความหมายของมาตรา 496 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการทำความตกลงกันใหม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาไถ่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความแม้จะได้กระทำหลังจากกำหนดเวลาตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีคำพิพากษาตามยอมนั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว ก็ไม่ถือว่าเป็นการขยายเวลาไถ่ในภายหลังตามความหมายของมาตราดังกล่าวดุจกันและข้อตกลงในประการหลังนี้ เป็นแต่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาประนีประนอมยอมความไม่นับว่าเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์อันจะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ในกรณีที่มิต้องบังคับคดีโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี ก็มิใช่เรื่องที่จะต้องออกหมายบังคับคดีเสียก่อน เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ ศาลก็มีอำนาจสั่งจับกุมและกักขังจำเลยได้ทีเดียว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 452/2491)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1502/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายกำหนดเวลาไถ่ขายฝากขัดต่อกฎหมาย และสัญญานั้นเป็นโมฆะ
โจทก์จดทะเบียนขายฝากที่พิพาทแก่จำเลย ก่อนครบกำหนดไถ่ถอนโจทก์จำเลยทำสัญญากันว่า โจทก์ยืมเงินจำเลยจำนวนหนึ่ง โจทก์ขอต่อสัญญาขายฝากออกไปอีก 5 เดือน จำเลยจะไม่ขายที่ดินแปลงที่ขายฝากให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด ถ้าโจทก์นำเงินจำนวนดังกล่าวมาชำระจำเลยจะโอนให้จะไม่คิดเกินราคาในสัญญานี้ ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญากันอีกว่าโจทก์ได้นำเงินมาชำระให้จำเลยส่วนหนึ่ง ขอต่อสัญญาไปอีก ดังนี้ข้อตกลงตามหนังสือสัญญากู้ทั้งสองฉบับดังกล่าวเป็นการขายกำหนดเวลาไถ่ มิใช่เป็นคำมั่นว่าจำเลยตกลงจะขายที่พิพาทคืนให้โจทก์จึงเป็นโมฆะเพราะขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18460/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายเวลาไถ่ทรัพย์ขายฝาก: หนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่ผูกพันได้ แม้ไม่ได้จดทะเบียน, การมอบอำนาจโดยปริยาย
การขยายกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพียงแต่อย่างน้อยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่ จึงจะบังคับกันได้
การไม่นำหนังสือหรือหลักฐานเป็นหนังสือไปจดทะเบียนหรือจดแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ คงมีผลทำให้คู่สัญญาไม่อาจยกการขยายเวลาขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 496 วรรคสอง ดังนั้น การตกลงขยายกำหนดเวลาไถ่ตามหนังสือขอต่อสัญญาขายฝาก ซึ่งมีจำเลยที่ 1 ผู้รับไถ่ลงลายมือชื่อไว้ แม้มิได้นำไปจดทะเบียนหรือจดแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 แม้ไม่ได้ลงลายมือชื่อ แต่การที่จำเลยที่ 2 รู้เห็นยินยอมในการกระทำของจำเลยที่ 1 กรณีถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เชิดจำเลยที่ 1 หรือยอมให้จำเลยที่ 1 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการตกลงและทำหนังสือขยายกำหนดเวลาไถ่ให้แก่โจทก์ การลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับไถ่ด้วย หนังสือขยายกำหนดเวลาไถ่จึงมีผลผูกพันจำเลยทั้งสอง เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงโดยนำทรัพย์สินที่รับซื้อฝากไปขายก่อนครบกำหนดเวลาไถ่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 123/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายเวลาไถ่ทรัพย์ขายฝากต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ มิฉะนั้นสิทธิในการไถ่ขาดอายุ การครอบครองหลังครบกำหนดถือเป็นการละเมิด
แม้การขยายกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝาก กฎหมายจะมิได้บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพียงแต่อย่างน้อยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่ จึงจะบังคับกันได้ดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 496 เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการขยายเวลาไถ่โดยทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์เป็นผู้รับไถ่ไว้โดยผู้แทนของโจทก์ตามความประสงค์ของนิติบุคคลซึ่งย่อมแสดงออกโดยผู้แทนนิติบุคคลตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 กรณีการทำหลักฐานเป็นหนังสือในการขยายกำหนดเวลาไถ่ จึงเป็นสาระสำคัญ มิฉะนั้นไม่อาจบังคับกันได้ หาใช่เป็นเพียงแบบพิธีที่ต้องทำกันภายหลังครบกำหนดเวลาขายฝากดังที่จำเลยฎีกาไม่ แม้จำเลยนำสืบว่า ป. บุตรจำเลยซึ่งได้รับมอบหมายจากจำเลยให้เป็นผู้เจรจาตกลงได้ติดต่อกับ ส. ประธานกรรมการของโจทก์ ทางแอปพลิเคชันไลน์ ซึ่งมีข้อความที่ ป. ขอไปพบ ส. เพื่อทำสัญญาและนำของขวัญไปมอบให้ ส. ที่ให้โอกาสต่อสัญญาอีก 1 ปี ก็เป็นข้อความที่เกิดจากการส่งข้อความของ ป. แต่ฝ่ายเดียว โดยที่ ส. มิได้ตอบรับหรือปฏิเสธ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการสนทนาโดยการส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่จะต้องนำ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 8 ที่บัญญัติให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงแล้วมาใช้บังคับ เมื่อครบกำหนดเวลาไถ่จำเลยมิได้ชำระสินไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝาก กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งขายฝากจึงไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 492 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยยังคงครอบครองใช้ประโยชน์ทรัพย์สินซึ่งขายฝากทำให้โจทก์เสียหายจึงเป็นการละเมิด การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยจึงมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้