พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนของกลางตาม ป.อ. มาตรา 36 ต้องยื่นภายใน 1 ปีนับจากคำพิพากษาถึงที่สุดที่สั่งริบ
การขอคืนของกลางตาม ป.อ. มาตรา 36 ซึ่งเจ้าของมีสิทธิขอคืนต่อศาลได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น คำว่า "วันคำพิพากษาถึงที่สุด" ย่อมหมายความถึงคำพิพากษาในคดีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบทรัพย์
คดีก่อนกับคดีนี้เป็นกรณีเดียวกัน แต่ฟ้องคนละคราวกัน ทรัพย์สินที่ยึดได้ก็เป็นทรัพย์สินรายเดียวกัน ทรัพย์สินต่าง ๆ รวมทั้งธนบัตรของกลางจึงเป็นของกลางที่ศาลพิพากษาให้ริบธนบัตรของกลางในคดีนี้และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ริบธนบัตรของกลาง ก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลในคดีนี้ที่จะสั่งให้ริบธนบัตรของกลางซ้ำอีก ธนบัตรของกลางจึงมิใช่ของกลางในคดีนี้ที่ศาลจะพึงวินิจฉัยสั่งด้วย เมื่อคดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาและมีคำสั่งให้ริบธนบัตรของกลางแล้ว จำเลยในคดีดังกล่าวอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีถึงที่สุด ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอคืนธนบัตรของกลางในคดีนี้เกิน 1 ปี จึงต้องห้ามตาม ป.อ. มาตรา 36
คดีก่อนกับคดีนี้เป็นกรณีเดียวกัน แต่ฟ้องคนละคราวกัน ทรัพย์สินที่ยึดได้ก็เป็นทรัพย์สินรายเดียวกัน ทรัพย์สินต่าง ๆ รวมทั้งธนบัตรของกลางจึงเป็นของกลางที่ศาลพิพากษาให้ริบธนบัตรของกลางในคดีนี้และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ริบธนบัตรของกลาง ก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลในคดีนี้ที่จะสั่งให้ริบธนบัตรของกลางซ้ำอีก ธนบัตรของกลางจึงมิใช่ของกลางในคดีนี้ที่ศาลจะพึงวินิจฉัยสั่งด้วย เมื่อคดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาและมีคำสั่งให้ริบธนบัตรของกลางแล้ว จำเลยในคดีดังกล่าวอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีถึงที่สุด ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอคืนธนบัตรของกลางในคดีนี้เกิน 1 ปี จึงต้องห้ามตาม ป.อ. มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8169/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ริบแล้ว ผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิขอคืน
ตามสัญญาเช่าซื้อเอกสารหมาย ร. 1 จะครบกำหนดระยะเวลาเช่าซื้อในวันที่ 27 สิงหาคม 2543 แต่ปรากฏในใบคู่มือจดทะเบียนเอกสารหมาย ร. 2 แผ่นที่ 3 ระบุว่า ผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์กระบะของกลางในวันที่ 7 มีนาคม 2545 จึงต้องฟังว่าบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เกียรตินาคิน จำกัด โอนรถยนต์กระบะของกลางให้แก่ผู้ร้องในวันดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้ริบรถยนต์กระบะของกลางเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2544 และไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา คำพิพากษาดังกล่าวจึงเป็นอันถึงที่สุด กรรมสิทธิ์ในรถยนต์กระบะของกลางที่ศาลสั่งริบย่อมตกเป็นของแผ่นดิน ผู้ร้องรับโอนรถยนต์กระบะของกลางในวันที่ 7 มีนาคม 2545 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังวันที่กรรมสิทธิ์ในรถยนต์กระบะของกลางตกเป็นของแผ่นดิน ผู้ร้องจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์และไม่เป็นเจ้าของรถยนต์กระบะของกลาง ผู้ร้องจึงย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์กระบะของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5045/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลเกิน การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ ทำให้ไม่มีสิทธิขอคืนได้ภายหลัง
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอค่าขึ้นศาลบางส่วนคืนโดยอ้างว่าได้ชำระเกินไปกว่าที่จะต้องชำระตามกฎหมาย ย่อมเท่ากับเป็นการยกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้คำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 168 บัญญัติยกเว้นให้สามารถใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียวได้ แต่เมื่อโจทก์มิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์และคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิมาขอค่าฤชาธรรมเนียมศาลที่ได้ชำระไปแล้วคืนได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5045/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนของกลางที่ใช้ในการกระทำความผิด ต้องรอคำสั่งริบทรัพย์สินจากศาลก่อน
คำร้องของผู้ร้องเป็นกรณีขอคืนทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลต้องมีคำสั่งให้ริบทรัพย์สินก่อน จึงจะมีคำสั่งในเรื่องขอคืนของกลางได้ เมื่อคดียังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นซึ่งยังไม่มีคำพิพากษาและมีคำสั่งให้ริบรถยนต์ของกลาง ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอให้คืนของกลางไม่ได้ ต้องรอฟังผลคำพิพากษาในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองและขอให้ริบรถยนต์ของกลางเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2684/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจมอบอำนาจ: การขอคืนของกลางต้องดำเนินการอย่างไร
ผู้ร้องทำหนังสือมอบอำนาจระบุให้ ส.มีอำนาจทำหนังสือคำร้องคำขอหรือแบบรายการของหน่วยราชการใด ๆ เพื่อขอรับและรับทรัพย์สินของบริษัทจากบุคคล นิติบุคคล หน่วยราชการ พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานอื่นใด ไม่ว่าจะเป็นการขอรับมาเพื่อเก็บรักษาไว้ชั่วคราวระหว่างดำเนินคดีหรือเป็นการขอรับคืนเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วเท่านั้น ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้มอบอำนาจให้ ส.มีอำนาจดำเนินคดีในศาล หรือยื่นคำร้องขอต่อศาลเพื่อขอรถยนต์กระบะของกลางคืน ทั้งหากกรณีคดีถึงที่สุดโดยศาลมิได้สั่งริบของกลาง หรือโจทก์มิได้ขอให้ริบของกลาง การขอของกลางหรือทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานยึดไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีคืน ก็หาจำต้องขอคืนต่อศาลไม่ การระบุให้มีอำนาจขอรับทรัพย์สินคืนเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว จึงมิใช่การมอบอำนาจให้ยื่นคำร้องขอรถยนต์กระบะของกลางคืนจากศาล ส.ย่อมไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอรถยนต์กระบะของกลางคืนจากศาลแทนผู้ร้อง และไม่มีอำนาจมอบอำนาจช่วงให้ ค.ยื่นคำร้องดังกล่าว ค.จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4687/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตมาตรา 122 ป.รัษฎากร: ผู้มีหน้าที่เสียอากร vs. ผู้ไม่มีหน้าที่เสียอากร และระยะเวลาการขอคืน
ตามบทบัญญัติ ป.รัษฎากร มาตรา 122 ที่ใช้คำว่า "ผู้ใดได้เสียค่าอากรหรือค่าเพิ่มอากรเกินไป" นั้นจะเห็นได้ชัดว่าเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรานี้ให้ใช้บังคับแก่ผู้ที่มีหน้าที่ต้องเสียค่าอากรหรือเสียค่าเพิ่มอากรของผู้ที่มีหน้าที่ต้องเสียตามที่กฎหมายกำหนด "เกินไป" เท่านั้น มิได้มีเจตนาให้ตีความขยายรวมไปถึงผู้ไม่มีหน้าที่ต้องเสียค่าอากรหรือผู้ที่ถูกพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บอากรไปโดยได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าอากรด้วยไม่ เพราะหากกฎหมายมีเจตนาให้ขยายรวมไปถึงผู้ไม่มีหน้าที่ต้องเสียค่าอากรหรือผู้ที่ถูกเจ้าพนักงานเรียกเก็บอากรไปโดยได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าอากรด้วยแล้วกฎหมายก็จะต้องบัญญัติข้อความดังกล่าวลงในตัวบทกฎหมายให้ชัดเจนไว้ด้วยดังเช่นที่ได้บัญญัติไว้ในเรื่องการขอคืนภาษีอากรตามมาตรา 27 ตรีแห่ง ป.รัษฎากรซึ่งได้ระบุในกรณีผู้ที่ไม่มีหน้าที่ต้องเสียไว้อย่างชัดเจน จึงเป็นข้อพิสูจน์สนับสนุนให้เห็นได้ว่าเจตนารมณ์ของมาตรา 122 คงให้ใช้บังคับแก่ผู้ที่ต้องมีหน้าที่ต้องเสียค่าอากรหรือเสียค่าเพิ่มอากรเกินไปตามกฎหมายเพียง 2 กรณีเท่านั้น หาได้ใช้บังคับแก่กรณีที่ผู้ไม่มีหน้าที่ต้องเสียค่าอากรหรือผู้ที่ถูกพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บอากรไปโดยได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าอากรด้วยไม่
คดีนี้ ขณะที่โจทก์จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ให้แก่ธนาคาร รายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์มีภาระภาษีธุรกิจเฉพาะทำให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรใบรับสำหรับจำนวนเงินที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามลักษณะแห่งตราสาร 28 วรรคท้าย ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีธุรกิจเฉพาะครบถ้วนแล้วหรือไม่ จึงถือได้ว่าที่โจทก์ฟ้องขอคืนอากรจากจำเลยเป็นค่าอากรที่โจทก์ได้ชำระให้แก่เจ้าพนักงานที่ดินที่ได้เรียกเก็บแทนจำเลยโดยโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียตามกฎหมาย ฉะนั้นการขอคืนค่าอากรจากจำเลยตามที่ฟ้องคดีนี้ในเรื่องระยะเวลาจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับ มาตรา 122 แห่งบทบัญญัติ ป.รัษฎากร และไม่อยู่ภายใต้บังคับ มาตรา 27 ตรี ซึ่งเป็นเรื่องการขอคืนภาษีอากรซึ่งจะต้องยื่นขอคืนนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนดด้วย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2540)
คดีนี้ ขณะที่โจทก์จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ให้แก่ธนาคาร รายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์มีภาระภาษีธุรกิจเฉพาะทำให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรใบรับสำหรับจำนวนเงินที่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามลักษณะแห่งตราสาร 28 วรรคท้าย ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งไม่ต้องคำนึงว่าโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีธุรกิจเฉพาะครบถ้วนแล้วหรือไม่ จึงถือได้ว่าที่โจทก์ฟ้องขอคืนอากรจากจำเลยเป็นค่าอากรที่โจทก์ได้ชำระให้แก่เจ้าพนักงานที่ดินที่ได้เรียกเก็บแทนจำเลยโดยโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียตามกฎหมาย ฉะนั้นการขอคืนค่าอากรจากจำเลยตามที่ฟ้องคดีนี้ในเรื่องระยะเวลาจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับ มาตรา 122 แห่งบทบัญญัติ ป.รัษฎากร และไม่อยู่ภายใต้บังคับ มาตรา 27 ตรี ซึ่งเป็นเรื่องการขอคืนภาษีอากรซึ่งจะต้องยื่นขอคืนนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนดด้วย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2540)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4687/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนค่าอากรแสตมป์สำหรับผู้ได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่ผูกพันระยะเวลาตามมาตรา 122 ประมวลรัษฎากร
ตามบทบัญญัติ ประมวลรัษฎากร มาตรา 122 ได้บัญญัติว่า "ผู้ใดได้เสียค่าอากรหรือค่าเพิ่มอากรเกินไปไม่น้อยกว่า 2 บาท สำหรับตราสารลักษณะเดียวหรือเรื่องเดียวผู้นั้นชอบที่จะทำคำร้องเป็นหนังสือยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่ออธิบดีเห็นว่าเกินไปจริงก็ให้คืนค่าอากรหรือค่าเพิ่มอากรที่เกินไปนั้นแก่ผู้เสียหายอากรได้ แต่คำร้องที่กล่าวนั้นจะต้องยื่นภายในเวลา 6 เดือน นับแต่วันเสียอากรหรือค่าเพิ่มอากร..." การที่บทกฎหมายดังกล่าวใช้คำว่า "ผู้ใดได้เสียค่าอากรหรือค่าเพิ่มอากรเกินไป" นั้น เจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรานี้ให้ใช้บังคับแก่ผู้มีหน้าที่ต้องเสียอากรหรือเสียค่าเพิ่มอากรของผู้มีหน้าที่ต้องเสียตามที่กฎหมายกำหนด "เกินไป" เท่านั้น มิได้มีเจตนาให้ตีความขยายรวมไปถึงผู้ไม่มีหน้าที่ต้องเสียหรือผู้ที่ถูกพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บอากรไปโดยได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าอากรด้วยไม่ เพราะหากกฎหมายมีเจตนาให้ขยายรวมไปถึงผู้ไม่มีหน้าที่ต้องเสียหรือผู้ที่ถูกเจ้าพนักงานเรียกเก็บอากรไปโดยได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าอากรด้วยแล้วกฎหมายก็จะต้องบัญญัติข้อความดังกล่าวลงในตัวบทกฎหมายให้ชัดเจน เมื่อรายรับของโจทก์ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าอากรการขอคืนค่าอากรจากจำเลยในเรื่องระยะเวลาจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับ มาตรา 122 แห่งบทบัญญัติประมวลรัษฎากร และไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 27 ตรี ซึ่งเป็นเรื่องการขอคืนภาษีอากรซึ่งจะต้องยื่นขอคืนนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนดด้วย โจทก์จึงมีสิทธิขอคืนค่าอากรจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนอากรหลังชำระเพิ่ม-การประเมินราคาศุลกากรไม่ชอบด้วยกฎหมาย-อายุความ 10 ปี
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้ากรณีที่โจทก์จะต้องโต้แย้งหรือแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากรก็ต่อเมื่อโจทก์ชำระค่าภาษีอากรเพิ่มตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเรียกให้ชำระเพิ่มในวันนำเข้านั้นเอง แต่ในคดีนี้ที่โจทก์ได้ชำระภาษีอากรเฉพาะตามจำนวนที่ได้สำแดงไว้เท่านั้น ส่วนจำนวนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยเรียกให้โจทก์ชำระเพิ่ม โจทก์ยังมิได้ชำระแต่ได้วางหนังสือค้ำประกันของธนาคารเป็นประกันค่าอากรที่อาจต้องชำระเพิ่มเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินเพิ่มในภายหลัง อันเป็นการดำเนินการเพื่อให้สินค้าออกจากอารักของจำเลยตามที่ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 ได้บัญญัติไว้ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระอากรเพิ่ม โจทก์ได้ชำระอากรเพิ่มตามที่ได้รับแบบแจ้งการประเมิน การชำระอากรเพิ่มเป็นการชำระหลังจากได้รับมอบสินค้าแล้ว จึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469มาตรา 10 วรรคห้า การที่โจทก์ชำระอากรเพิ่มให้จำเลยตามที่เรียกเก็บเช่นนี้แม้โจทก์จะทราบดีอยู่ก่อนยื่นใบขนสินค้าแล้วว่าอาจต้องถูกประเมินราคาสินค้าเพิ่มขึ้นและต้องชำระอากรเพิ่มขึ้นและมิได้โต้แย้งหรือได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าจะเรียกร้องเงินจำนวนนี้คืนก็มิได้ตัดสิทธิโจทก์ในการฟ้องคดี โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เมื่อการขอคืนอากรของโจทก์ไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า โจทก์จึงไม่สิ้นสิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่เสียเพิ่มภายหลังแม้จะมิได้ฟ้องขอคืนภายในกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า และตาม พ.ร.บ.ศุลกากรดังกล่าวมิได้บัญญัติเกี่ยวกับกำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม และมาตรา 193/30 ใหม่ แห่ง ป.พ.พ.
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินราคาสินค้าของโจทก์โดยอาศัยเปรียบเทียบกับราคาสินค้าชนิดเดียวกัน โดยใช้ราคาสูงสุดที่มีผู้นำเข้าก่อนรายของโจทก์ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือนนั้น แม้จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในคำสั่งทั่วไปของจำเลยที่ 8/2530 และ 47/2531 แต่หลักเกณฑ์ตามคำสั่งดังกล่าวก็เป็นเพียงระเบียบปฏิบัติภายในของจำเลยเพื่อหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเท่านั้นหาเป็นเกณฑ์ตายตัวว่าราคาสินค้าที่นำเข้าจะต้องมีราคาอันแท้จริงตามนั้นไม่ ในระยะเวลา 3 เดือนดังกล่าวราคาสินค้าอาจเปลี่ยนแปลงไปในทางต่ำลงก็ได้ แต่จำเลยกลับถือเอาราคาสูงสุดเป็นเกณฑ์ประเมิน ราคาที่จำเลยนำมาเปรียบเทียบและประเมินตามคำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ตามความหมายแห่งราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 2
เมื่อการขอคืนอากรของโจทก์ไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า โจทก์จึงไม่สิ้นสิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรที่เสียเพิ่มภายหลังแม้จะมิได้ฟ้องขอคืนภายในกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า และตาม พ.ร.บ.ศุลกากรดังกล่าวมิได้บัญญัติเกี่ยวกับกำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม และมาตรา 193/30 ใหม่ แห่ง ป.พ.พ.
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยประเมินราคาสินค้าของโจทก์โดยอาศัยเปรียบเทียบกับราคาสินค้าชนิดเดียวกัน โดยใช้ราคาสูงสุดที่มีผู้นำเข้าก่อนรายของโจทก์ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือนนั้น แม้จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในคำสั่งทั่วไปของจำเลยที่ 8/2530 และ 47/2531 แต่หลักเกณฑ์ตามคำสั่งดังกล่าวก็เป็นเพียงระเบียบปฏิบัติภายในของจำเลยเพื่อหาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเท่านั้นหาเป็นเกณฑ์ตายตัวว่าราคาสินค้าที่นำเข้าจะต้องมีราคาอันแท้จริงตามนั้นไม่ ในระยะเวลา 3 เดือนดังกล่าวราคาสินค้าอาจเปลี่ยนแปลงไปในทางต่ำลงก็ได้ แต่จำเลยกลับถือเอาราคาสูงสุดเป็นเกณฑ์ประเมิน ราคาที่จำเลยนำมาเปรียบเทียบและประเมินตามคำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ตามความหมายแห่งราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9374/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอที่ราชพัสดุคืนหลังโอนให้ อบต. และระยะเวลาการนับสิทธิในการขอคืน
โจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นองค์การปกครองท้องถิ่นเพื่อสร้างโรงเรียนระดับประถมศึกษาเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม2522 ก็ไม่ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 4 ซึ่งไม่ใช้บังคับกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ดินพิพาทเริ่มเป็นที่ราชพัสดุเมื่อพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารโรงเรียนประชาบาลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2523 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2523 ซึ่งเป็นไปโดยผลของพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 4 โดยไม่จำต้องให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้กระทรวงการคลังจำเลยที่ 2 ก่อน การเริ่มนับระยะเวลายื่นเรื่องราวขอที่ราชพัสดุคืนตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 5(พ.ศ. 2525) ออกตามความในพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 ข้อ 3 จึงต้องเริ่มนับเมื่อที่ดินพิพาทมีฐานะเป็นที่ราชพัสดุ และทางราชการมิได้ใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุนั้นตามวัตถุประสงค์ของผู้ยกให้ภายในสิบปีคือภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2533 โจทก์จึงมีสิทธิยื่นเรื่องราวขอที่ราชพัสดุคืนภายในหนึ่งปีนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7175/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดของผู้เช่าซื้อ และสิทธิในการขอคืนรถยนต์ที่ถูกริบ
จำเลยที่1ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่4ซึ่งจะต้องชำระภายในวันที่9กรกฎาคม2536เป็นต้นมาเพิ่งชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระหนี้ทั้งหมดในวันที่18มกราคม2537ก่อนที่จำเลยที่1จะถูกจับมาดำเนินคดีในความผิดต่อพระราชบัญญัติป่าไม้เพียง1วันรายการชำระค่าเช่าซื้องวดที่4ถึงที่8จึงไม่ถูกต้องเพราะเป็นการลงรายการชำระค่าเช่าซื้อย้อนหลังเพื่อเป็นหลักฐานว่าจำเลยที่1ไม่ได้ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อติดต่อกันหลายงวดอันเป็นการส่อถึงความไม่สุจริตในการยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์กระบะของกลางเมื่อพิเคราะห์ประกอบกับข้อตกลงระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่1ว่าหลังจากได้รับรถยนต์กระบะของกลางคืนแล้วผู้ร้องจะให้จำเลยที่1เช่าซื้อต่อไปรวมตลอดถึงข้อความตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อข้อ9ว่าในกรณีที่ผู้เช่าซื้อต้องคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อแต่ไม่สามารถส่งมอบคืนให้ได้ผู้เช่าซื้อจะต้องชดใช้ราคาทรัพย์สินเท่าราคาค่าเช่าซื้อพร้อมกับค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระและค่าเสียหายต่างๆให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าผู้ร้องมีเจตนาเพียงต้องการที่จะได้รับเงินค่าเช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อเท่านั้นผู้ร้องจึงเพิกเฉยไม่บอกเลิกสัญญาไม่ติดตามยึดรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อคืนทั้งๆที่จำเลยที่1ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อติดต่อกันมาหลายงวดจนกระทั่งจำเลยที่1นำรถยนต์กระบะของกลางไปใช้ในการกระทำความผิดและถูกริบในคดีนี้ผู้ร้องจึงมาขอรถยนต์ดังกล่าวคืนอันเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่1เข้าลักษณะเป็นผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยที่1ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนรถยนต์กระบะของกลาง