พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2903/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของทรัพย์สินไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำผิดของผู้นำไปใช้ จึงมีสิทธิขอคืนทรัพย์
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 จะมีข้อความระบุถึงความรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินที่เช่าซื้อโดยผู้เช่าซื้อจะต้องรับผิดชอบฝ่ายเดียวก็ตาม ข้อสัญญาดังกล่าวก็เป็นแต่เพียงข้อสัญญาที่กำหนดขึ้นเพื่อบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้ากับทรัพย์สินที่เช่าซื้อ ยังไม่พอที่จะถือว่าผู้ร้องต้องการแต่ราคาค่าเช่าซื้อเป็นสำคัญและใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ผู้ร้องเพิ่งทราบจากเจ้าพนักงานตำรวจว่ารถจักรยานยนต์ของกลางถูกยึดหลังจากผู้เช่าซื้อขาดผ่อนชำระเพียงงวดเดียวก็รีบมาร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางทันที เชื่อได้ว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดของจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนทรัพย์ของกลาง: เจ้าของทรัพย์ต้องฟ้องคดีแพ่งเพื่อพิสูจน์สิทธิ
กรณีที่ศาลสั่งให้คืนทรัพย์ของกลางแก่เจ้าของ หากผู้ร้องเห็นว่าตนเป็นเจ้าของทรัพย์ของกลางที่แท้จริงก็ชอบที่จะดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 48 วรรคท้ายด้วยการฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มีอำนาจชำระ ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์ของกลางในคดีเดิมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 หาได้ไม่เพราะไม่ใช่กรณีที่ศาลสั่งริบทรัพย์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1063/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนทรัพย์ของกลาง: 'วันคำพิพากษาถึงที่สุด' หมายถึงคำพิพากษาคดีริบทรัพย์เดิม แม้มีการฟ้องคดีใหม่
การขอคืนทรัพย์ของกลางตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 36 ซึ่งเจ้าของทรัพย์ที่มิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำผิด ย่อมมีสิทธิขอคืนต่อศาลได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น คำว่า"วันคำพิพากษาถึงที่สุด" ย่อมหมายถึงคำพิพากษาในคดีที่ศาลมีคำสั่งให้ริบทรัพย์
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในข้อหาฐานความผิดเดียวกันและมีคำขอให้ริบของกลางมาด้วย จำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้การรับสารภาพส่วนจำเลยที่ 3 ให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้แยกฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีใหม่ และพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 คนละ 9 เดือน ปรับคนละ 4,000 บาท ริบของกลางทั้งหมดคดีถึงที่สุด ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีใหม่ ตามคำสั่งศาลชั้นต้นแม้โจทก์จะได้บรรยายฟ้องกล่าวถึงทรัพย์สินอันเป็นของกลางในคดีก่อนมาด้วยอีก ก็เพื่อให้ฟ้องสมบูรณ์เท่านั้นหาได้นำมาอยู่ในอำนาจศาลในคดีหลังแต่ประการใดไม่ ของกลางดังกล่าวจึงมิใช่ของกลางในคดีหลัง เมื่อผู้ร้องมาร้องขอคืนของกลางภายหลังวันที่คำพิพากษาคดีแรกถึงที่สุดแล้วเกิน 1 ปี จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในข้อหาฐานความผิดเดียวกันและมีคำขอให้ริบของกลางมาด้วย จำเลยที่ 1 ที่ 2 ให้การรับสารภาพส่วนจำเลยที่ 3 ให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้แยกฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีใหม่ และพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 คนละ 9 เดือน ปรับคนละ 4,000 บาท ริบของกลางทั้งหมดคดีถึงที่สุด ต่อมาโจทก์มาฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีใหม่ ตามคำสั่งศาลชั้นต้นแม้โจทก์จะได้บรรยายฟ้องกล่าวถึงทรัพย์สินอันเป็นของกลางในคดีก่อนมาด้วยอีก ก็เพื่อให้ฟ้องสมบูรณ์เท่านั้นหาได้นำมาอยู่ในอำนาจศาลในคดีหลังแต่ประการใดไม่ ของกลางดังกล่าวจึงมิใช่ของกลางในคดีหลัง เมื่อผู้ร้องมาร้องขอคืนของกลางภายหลังวันที่คำพิพากษาคดีแรกถึงที่สุดแล้วเกิน 1 ปี จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์ในความผิดศุลกากร การพิจารณาการขอคืนทรัพย์ของผู้ร้องที่มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความผิด
ศาลลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2499 มาตรา 4 (คือมาตรา 27) ฐานพาเอาของที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นของนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษี ด้วยการพาจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งนั้น เป็นความผิดขึ้นใหม่อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละอย่างกับความผิดฐานนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษีตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2467 มาตรา 27 ซึ่งมีบัญญัติให้ลงโทษไว้แต่เดิม และมีมาตรา 32 เป็นบทบัญญัติให้ริบของกลางในความผิดฐานนั้น ฉะนั้น มาตรา 32 ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้ริบของกลางที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่เสียภาษีจึงมิใช่เป็นบทริบทรัพย์ในความผิดตามมาตรา 27 ทวิ เพราะเป็นความผิดคนละอย่าง การริบทรัพย์ตามมาตรา 27 ทวิมิได้มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร จึงอยู่ในบังคับแห่งหลักว่าด้วยการริบทรัพย์ทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 เมื่อการริบทรัพย์ในกรณีแห่งความผิดของจำเลยเป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 แล้ว การขอคืนทรัพย์ของกลางในคดีนี้ผู้ร้องย่อมร้องขอคืนได้ภายใน 1 ปีนับแต่วันคดีถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ด้วย
คดีเดิมศาลพิพากษาให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 และคดีถึงที่สุดไปแล้ว คำพิพากษาในคดีซึ่งมีอยู่แล้วแต่เดิมนั้นไม่ผูกพันผู้ร้อง ซึ่งผู้ร้องขอคืนของกลางเพราะเป็นคนภายนอก ศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15-16 และ 17/2512)
คดีเดิมศาลพิพากษาให้ริบของกลางตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 และคดีถึงที่สุดไปแล้ว คำพิพากษาในคดีซึ่งมีอยู่แล้วแต่เดิมนั้นไม่ผูกพันผู้ร้อง ซึ่งผู้ร้องขอคืนของกลางเพราะเป็นคนภายนอก ศาลย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นได้(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 15-16 และ 17/2512)