พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาของผู้ให้เช่าซื้อและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในการขอคืนรถเช่าซื้อที่ถูกนำไปใช้กระทำผิด
ส. บิดาจำเลยเป็นทั้งผู้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางและผู้รับมอบอำนาจให้ยื่นคำร้องคดีนี้จากผู้ร้องผู้ให้เช่าซื้อเมื่อ ส. ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อแล้วผู้ร้องมิได้บอกเลิกสัญญาหรือติดตามยึดรถจักรยานยนต์ของกลางที่เช่าซื้อคืน จนกระทั่งจำเลยนำไปใช้กระทำความผิดในคดีนี้ และตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 10 ระบุว่า หากเกิดความเสียหายหรือสูญหายผู้เช่าซื้อยินยอมรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายและค่าเช่าซื้อที่ยังค้างชำระอยู่ทั้งสิ้นทั้งยังได้ความว่า ส.กับผู้ร้องตกลงกันว่าหากส.นำรถจักรยานยนต์ของกลางคืนให้แก่ผู้ร้องได้ ผู้ร้องยินดีจะขายให้แก่ ส. โดยคิดค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระ ดังนี้เป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าผู้ร้องมีเจตนาเพียงต้องการที่จะได้รับค่าเช่าซื้อตามสัญญาเท่านั้นและไม่ประสงค์จะขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง แต่การที่ผู้ร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนนั้นก็เพื่อประโยชน์ของ ส.ผู้เช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียว ถือได้ว่าผู้ร้องใช้สิทธิทางศาลโดยไม่สุจริต ผู้ร้องจึงไม่อาจที่จะขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในรถเช่าซื้อหลังถูกใช้กระทำผิด: ผู้เช่าซื้อมีสิทธิขอคืนได้หากไม่มีส่วนรู้เห็น
แม้ผู้ร้องเป็นเพียงผู้เช่าซื้อรถยนต์ของกลางขณะจำเลยใช้รถดังกล่าวกระทำความผิดแต่เมื่อผู้ร้องได้ผ่อนชำระค่าเช่าซื้อครบก่อนที่ศาลจะสั่งริบผู้ร้องจึงได้กรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถนั้นได้และเมื่อผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดก็ต้องคืนรถยนต์ของกลางแก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5066/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในรถเช่าซื้อ การบอกเลิกสัญญา และสิทธิในการขอคืนรถของผู้ให้เช่าซื้อ
เมื่อรถจักรยานยนต์ของกลางเป็นของผู้ร้องให้จำเลยเช่าซื้อไป โดยจำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาจนผู้ร้อง บอกเลิกสัญญาแล้วนั้น เมื่อไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่าผู้ร้องมาขอรถจักรยานยนต์คืนเพื่อประโยชน์ของจำเลยแล้ว แม้สัญญาเช่าซื้อมีข้อความระบุว่า หากทรัพย์ที่เช่าซื้อถูกริบ ผู้เช่าซื้อจะต้องชำระเงินที่เหลือจนครบก็ตาม ก็เป็นเงื่อนไขในสัญญาระบุเกี่ยวกับความรับผิดที่ผู้เช่าซื้อมีต่อผู้ให้เช่าซื้อเท่านั้น อันเป็นเงื่อนไขที่กำหนดกันไว้ได้ตามกฎหมายเช่นเงื่อนไขที่ให้สิทธิแก่ผู้ให้เช่าซื้อ ซึ่งผู้ให้เช่าซื้อจะใช้หรือไม่ก็ได้ การที่ผู้ให้เช่าซื้อไม่ใช้สิทธิดังกล่าว แต่มาขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนนั้น หาถือว่าเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยอันเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5066/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถเช่าซื้อและการขอคืนรถหลังจำเลยกระทำผิด ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิขอคืนได้หากไม่มีเจตนาช่วยเหลือจำเลย
เมื่อรถจักรยานยนต์ของกลางเป็นของผู้ร้องให้จำเลยเช่าซื้อไปโดยจำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาจนผู้ร้องบอกเลิกสัญญาแล้วนั้นเมื่อไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่าผู้ร้องมาขอรถจักรยานยนต์คืนเพื่อประโยชน์ของจำเลยแล้ว แม้สัญญาเช่าซื้อมีข้อความระบุว่า หากทรัพย์ที่เช่าซื้อถูกริบ ผู้เช่าซื้อจะต้องชำระเงินที่เหลือจนครบก็ตาม ก็เป็นเงื่อนไขในสัญญาระบุเกี่ยวกับความรับผิดที่ผู้เช่าซื้อมีต่อผู้ให้เช่าซื้อเท่านั้น อันเป็นเงื่อนไขที่กำหนดกันไว้ได้ตามกฎหมายเช่นเงื่อนไขที่ให้สิทธิแก่ผู้ให้เช่าซื้อ ซึ่งผู้ให้เช่าซื้อจะใช้หรือไม่ก็ได้ การที่ผู้ให้เช่าซื้อไม่ใช้สิทธิดังกล่าว แต่มาขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืนนั้น หาถือว่าเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยอันเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2586/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าซื้อรถยนต์และการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ผู้ร้องขอคืนรถเพื่อประโยชน์จำเลยที่ 3 ศาลไม่เห็นด้วย
เดิมรถยนต์ของกลางเป็นของ น. น.ได้กู้เงินจากผู้ร้องโดยโอนรถของกลางให้ผู้ร้องและทำสัญญาเช่าซื้อรถนั้นจากผู้ร้องกำหนดราคาเช่าซื้อ 70,800 บาท แบ่งชำระเป็นรายเดือนรวม 12เดือน ๆ ละ 5,900 บาท น. ขาดส่งค่าเช่าซื้องวดแรก 3-4 เดือนจึงขายหสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถของกลางให้แก่จำเลยที่ 3และได้แจ้งให้ผู้ร้องทราบ จำเลยที่ 3 ส่งค่าเช่าซื้อตลอดมาได้ 11 งวด คงค้างงวดสุดท้าย ปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ชำระเงินค่าเช่าซื้อผิดนัดทุกงวด แม้งวดสุดท้ายจะผิดนัด ก็เชื่อได้ว่าเมื่อจำเลยที่ 3 ชำระเงินงวดสุดท้ายผู้ร้องก็จะต้องโอนทะเบียนรถให้แก่จำเลยที่ 3 แน่ พฤติการณ์ที่ผู้ร้องขอคืนของกลางก็เพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 3 เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จะคืนรถยนต์ของกลางให้ผู้ร้องหาชอบไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์รถเช่าซื้อ: การขอคืนรถหลังจำเลยกระทำผิด ไม่ถือเป็นความไม่สุจริต
ผู้ร้องให้จำเลยเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ไปโดยไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำความผิดของจำเลย จึงต้องคืนรถจักรยานยนต์ให้แก่ผู้ร้อง การที่ผู้ร้องไม่ใช้สิทธิทางแพ่งกับจำเลยและร้องขอรถจักรยานยนต์ของกลางคืน เป็นเพียงการไม่ถือเอาประโยชน์จากข้อสัญญาที่กำหนดไว้เท่านั้น ซึ่งเป็นสิทธิที่ผู้ร้องจะใช้หรือไม่ก็ได้และเมื่อจำเลยผิดสัญญา ผู้ร้องในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาทรัพย์สินของกลางที่ให้เช่าซื้อคืนได้ กรณียังไม่พอฟังว่าเป็นการช่วยเหลือจำเลยมิให้ต้องรับโทษเต็มตามคำพิพากษา อันเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตแต่อย่างใดเพราะกฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5938/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรถยนต์ยินยอมให้บุตรใช้รถกระทำผิด ย่อมไม่มีสิทธิขอคืนรถ แม้ศาลริบ
คดีอาญา ผู้ร้องไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 252 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ค่าคำร้องเป็นพับจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องโดยให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ค่าคำร้องเป็นพับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7119/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของกรรมสิทธิ์รถจักรยานยนต์มีส่วนรู้เห็นเป็นใจกับการกระทำความผิดของผู้อื่น ทำให้ไม่มีสิทธิขอคืนรถ
ตามใบคู่มือจดทะเบียนรถจักรยานยนต์มีชื่อผู้ร้องเป็นเจ้าของ ซึ่งตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 17/1 วรรคสอง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้มีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียนรถยนต์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ผู้ร้องจึงได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว แต่พฤติการณ์การใช้รถจักรยานยนต์ของกลางของ น. แสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางมาเพื่อประโยชน์ของ น. บุตรของผู้ร้องเป็นสำคัญ เห็นได้จากการที่ น. ครอบครองใช้ขับไปทำงานอยู่เป็นประจำ และวันเกิดเหตุช่วงเวลากลางคืนยังขับรถจักรยานยนต์ของกลางไปบ้าน ว. เพื่อนของ น. โดยไม่ได้ขออนุญาตผู้ร้อง กุญแจรถจักรยานยนต์ของกลางถูกเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานซึ่งตั้งอยู่ที่ห้องโถง บุคคลทุกคนในครอบครัวต่างก็รับรู้ถึงสถานที่เก็บกุญแจรถจักรยานยนต์ และอยู่ในวิสัยที่นำไปใช้ได้ แสดงว่าผู้ร้องมิได้เข้มงวดในการอนุญาตให้ น. นำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้อย่างแท้จริง และการที่ น. สามารถนำรถจักรยานยนต์ของกลางไปใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยไม่ขออนุญาตเช่นนี้ได้ ก็ถือได้ว่าผู้ร้องอนุญาตโดยปริยายให้ น. นำรถจักรยานยนต์ไปใช้ได้ตลอดเวลา โดยไม่คำนึงถึงว่า น. จะนำไปใช้ในกิจการใดหรือจะอนุญาตให้ผู้อื่นนำไปใช้ต่อด้วยหรือไม่ ถือได้ว่าผู้ร้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยคดีนี้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง ทั้งตามพฤติการณ์ผู้ร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลางโดยมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อประโยชน์ให้ น. บุตรของผู้ร้องสามารถนำรถจักรยานยนต์ของกลางกลับไปใช้ได้เท่านั้น อันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตอีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1291/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง: ผู้ร้องไม่ได้รู้เห็นเป็นใจกับการกระทำความผิดของจำเลย
แม้ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง จะบัญญัติว่า ภายใต้บังคับมาตรา 24 ศาลเยาวชนและครอบครัวต้องมีผู้พิพากษาไม่น้อยกว่าสองคน และผู้พิพากษาสมทบอีกสองคน ซึ่งอย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นสตรี จึงเป็นองค์คณะพิจารณาคดีได้.. ก็ตาม แต่การพิจารณาคดีของศาลเยาวชนและครอบครัวตามบทบัญญัติดังกล่าวนั้นก็เป็นการพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 (1) ถึง (5) คดีนี้เดิมเป็นเรื่องที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดอาญา การดำเนินกระบวนพิจารณาที่เกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชนจึงต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 เมื่อพิจารณาคดีที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดเสร็จแล้ว ในหมวด 11 การพิพากษาคดีอาญา กำหนดให้มีการประชุมปรึกษาคดีเพื่อมีคำพิพากษาตามมาตรา 134 แสดงให้เห็นว่า การพิจารณาพิพากษาคดีที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดต้องมีการประชุมปรึกษาและให้ถามความเห็นของผู้พิพากษาสมทบก่อนมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง แต่บทบาทของผู้พิพากษาสมทบในการร่วมนั่งพิจารณาคดีกับผู้พิพากษาเป็นการมุ่งเน้นไปที่พฤติกรรมการกระทำความผิดของเด็กหรือเยาวชน รวมทั้งการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กหรือเยาวชนเป็นสำคัญ เพื่อนำไปสู่การใช้วิธีการให้เหมาะสมแก่เด็กหรือเยาวชนที่กระทำความผิด ดังที่บทบัญญัติไว้ในหมวด 12 สำหรับคดีร้องขอคืนของกลางในคดีที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิด เป็นกรณีตาม ป.อ. มาตรา 36 แม้มีผลสืบเนื่องมาจากคดีที่เด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดอาญาก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงคดีสาขา เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกโดยจำเลยหาได้เป็นคู่ความในคดีร้องขอคืนของกลางไม่ และปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามคำร้องของผู้ร้องมีเพียงว่า ศาลจะสั่งคืนของกลางให้แก่เจ้าของซึ่งมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของเด็กหรือเยาวชน (จำเลย) หรือไม่ เท่านั้น ไม่มีปัญหาที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับการกระทำอันเป็นความผิด หรือต้องพิจารณาเกี่ยวกับการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเด็กหรือเยาวชนแต่อย่างใด และไม่ได้พิจารณาเนื้อหาของคดีที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดอาญาของเด็กหรือเยาวชนโดยตรง การพิจารณาพิพากษาคดีขอคืนของกลาง มิได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็กหรือเยาวชน หรือมีผลกระทบต่อเด็กหรือเยาวชนไม่ว่าในทางใด แต่เป็นการมุ่งถึงตัวทรัพย์สินที่ศาลมีคำสั่งริบเป็นสำคัญ จึงไม่มีเหตุที่จะต้องมีผู้พิพากษาสมทบร่วมเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีตามมาตรา 23 วรรคหนึ่ง รวมทั้งไม่ต้องสอบถามความเห็นของผู้พิพากษาสมทบก่อนมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา 134 ด้วย เมื่อคดีนี้มีผู้พิพากษาศาลชั้นต้นสองคนร่วมกันเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีร้องขอคืนของกลาง โดยไม่มีผู้พิพากษาสมทบร่วมเป็นองค์คณะ ก็เป็นองค์คณะที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งหรือคดีอาญาทั้งปวง ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 แล้ว