พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8174/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้า กรณีไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการขอคืนอากรและสำแดงราคาต่ำกว่าราคาตลาด
การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าอีกร้อยละ 20 ตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 112 ตรี นั้น มีได้เฉพาะ 2 กรณีคือ 1. กรณีไม่ได้ชำระเงินอากรครบถ้วนตามมาตรา 112 ทวิ และ 2. กรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 40 หรือ 45 แต่คดีนี้ปรากฏว่าสินค้าพิพาทตามรายการที่ 1 จำเลย นำเข้าสินค้าโดยแสดงความจำนงว่าจะนำมาใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกภายใน 1 ปี นับแต่วันนำเข้า โดยวางหนังสือค้ำประกันของธนาคาร แล้วจำเลยไม่ได้นำสินค้าไปผลิตเพื่อส่งออกให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี จำเลยจึงไม่มีสิทธิในการขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ กรณีจึงไม่ใช่เรื่องที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามมาตรา 40 โจทก์ที่ 1 จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 112 ตรี และการที่จำเลยนำสินค้าออกไปจากอารักขาของศุลกากรโดยได้วางประกันไว้เป็นหนังสือของธนาคารซึ่งเป็นการยังไม่ได้ชำระค่าอากรไว้นั้น เมื่อเกิดกรณีที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขแล้ว โจทก์ที่ 1 ก็มีสิทธิเรียกให้ธนาคารที่เป็นประกันชำระเงินได้ทันทีอยู่แล้ว จะถือว่าการที่จำเลยไม่ชำระเงินค่าอากรเป็นการผิดบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 112 ตรี แล้วไม่ได้ ส่วนสินค้าพิพาทตามรายการที่ 2 พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่าจำเลยสำแดงราคาต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงทำการประเมินราคาสินค้าเพิ่มขึ้นการประเมินดังกล่าวเกิดจากการที่จำเลยยื่นใบขนสินค้าไม่ถูกต้อง กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการที่ผู้นำเข้าจะนำของออกจากอารักขาของศุลกากรตามมาตรา 40 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6837/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอคืนอากรและการฟ้องละเมิดจากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีตรวจสินค้าไม่ตรงกับเอกสาร
โจทก์ได้ยื่นใบขนสินค้าขาออกและแบบแสดงรายการการค้าภายใน 1 ปี นับแต่วันนำเข้า แต่ปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้เปิดตรวจสินค้าแล้วมีความเห็นว่าของที่โจทก์นำเข้าและขอส่งออกไม่ใช่ของรายเดียวกันจึงแจ้งข้อหาโจทก์ว่าสำแดงเท็จเพื่อขอคืนอากรและยึดผ้าไว้ ดังนั้น การที่โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้ากลับออกไปยังเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปี ได้นั้น จึงมิใช่ความผิดของโจทก์ แต่เป็นเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 กักยึดผ้าของโจทก์ไว้เท่ากับเป็นการไม่อนุญาตให้โจทก์ส่งออก โจทก์จึงมีสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้าเป็นจำนวนเงินพร้อมดอกเบี้ยตามฟ้อง
การฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติให้ผู้ขอคืนเงินภาษีอากรได้รับการคืนเงินภาษีโดยชอบ ย่อมเป็นคดีเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากรตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในมูลละเมิดตามฟ้อง
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1ได้ปฏิบัติงานไปตามขั้นตอน มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อ การที่มีความเห็นในตอนแรกว่า ผ้าที่โจทก์ขอส่งออกมิใช่ของรายเดียวกับที่นำเข้าก็เพราะตรวจพบว่ามีตราคาเนโบติดอยู่ที่เนื้อผ้า แต่ใบขนสินค้าขาเข้าระบุว่าไม่มีตราจึงมีเหตุอันควรสงสัยดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจกักยึดผ้าของโจทก์ไว้และสั่งดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
การฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติให้ผู้ขอคืนเงินภาษีอากรได้รับการคืนเงินภาษีโดยชอบ ย่อมเป็นคดีเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากรตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องในมูลละเมิดตามฟ้อง
จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1ได้ปฏิบัติงานไปตามขั้นตอน มิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อ การที่มีความเห็นในตอนแรกว่า ผ้าที่โจทก์ขอส่งออกมิใช่ของรายเดียวกับที่นำเข้าก็เพราะตรวจพบว่ามีตราคาเนโบติดอยู่ที่เนื้อผ้า แต่ใบขนสินค้าขาเข้าระบุว่าไม่มีตราจึงมีเหตุอันควรสงสัยดังกล่าว พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจกักยึดผ้าของโจทก์ไว้และสั่งดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งราคาฐานภาษี & ขั้นตอนการขอคืนอากร หากไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน กฎหมายกำหนด ไม่มีอำนาจฟ้อง
ราคาของที่จะนำมาเป็นฐานในการคำนวณภาษีอากรนั้น ต้องคิดจากราคาสินค้ารวมกับค่าประกันภัยและค่าระวางหรือค่าขนส่งสินค้าซึ่งเรียกว่าราคาซี.ไอ.เอฟ. ค่าระวางหรือค่าขนส่งสินค้าจึงเป็นส่วนหนึ่งของราคาของ การที่โจทก์โต้แย้งเรื่องค่าขนส่งหรือค่าระวางสินค้าถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับราคาแห่งของเมื่อโจทก์มิได้แจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบของว่าจะยื่นคำเรียกร้องขอคืนอากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกร้องขอคืนอากรขาเข้ารวมถึงค่าธรรมเนียมพิเศษที่ให้นำกฎหมายว่าด้วยการศุลกากรมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดระเบียบ•การเรียกเก็บและวิธีการชำระค่าธรรมเนียมพิเศษในการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรลงวันที่ 7 มิถุนายน 2533 แม้การที่เจ้าพนักงานประเมินได้มีคำสั่งประเมินภาษีอากรเพิ่มขึ้นจากที่โจทก์สำแดงโดยเพิ่มค่าระวางขนส่งให้สูงขึ้นจะเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้วก็ตาม แต่ในกรณีเช่นนี้กฎหมายกำหนดขั้นตอนที่โจทก์จะต้องปฏิบัติก่อน เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกคืนภาษีอากรดังกล่าว ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกคืนภาษีอากรดังกล่าว ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการขอคืนอากรขาเข้า: การประเมินราคาและกำหนดเวลาฟ้องร้อง
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่กองพิธีการและประเมินอากรของจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศกระทรวงการคลัง ฯ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่25 ตุลาคม 2513 สั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มราคาสินค้าในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้านั้น ถือได้ว่าเป็นการแจ้งการประเมินให้โจทก์ต้องชำระอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล ตามฐานราคาสินค้าที่สั่งให้โจทก์แก้นั่นเองโจทก์จึงต้องอุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน จึงจะมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา30 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 8
สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรขาเข้าเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงตามมาตรา 10 วรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ.2469 นั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะเสียไว้เกินโดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ หรือเป็นเพราะยังมีข้อโต้แย้งกันเกี่ยวกับราคาแห่งของที่นำเข้านั้นก็ตาม จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนภายในกำหนดสองปี นับจากวันนำของเข้าทั้งสิ้น แต่ในกรณีที่เสียไว้เกินเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งของที่นำเข้านั้น นอกจากจะต้องใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้นำเข้ายังต้องแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบ หรือเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พึงต้องรู้อยู่ก่อนส่งมอบว่าอากรที่ชำระไว้นั้นเกินจำนวนที่พึงต้องเสียสำหรับของที่ส่งมอบอีกด้วยจึงจะมีสิทธิขอคืนเงินอากรได้
การที่เจ้าพนักงานประเมินอากรของจำเลยสั่งให้โจทก์เพิ่มราคาของให้สูงขึ้น โจทก์ยอมปฏิบัติตามและเสียอากรตามราคาของที่เพิ่มขึ้น แล้วมาฟ้องเรียกอากรในส่วนที่เสียเพิ่มขึ้น โดยอ้างว่าราคาของที่เจ้าพนักงานประเมินสั่งให้โจทก์เพิ่มสูงขึ้นนั้นไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จำนวนอากรที่โจทก์เสียเพิ่มขึ้นตามราคาของจึงไม่ถูกต้อง จำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์นั้น ถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียโดยมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับราคาของตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 10 วรรคห้า เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ค่าอากรที่โจทก์เรียกคืนตามใบขนสินค้าขาเข้านั้น โจทก์นำเข้าเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2530 และวันที่ 24 กันยายน2530 แต่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าอากรคืนเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2532 เกินกำหนดสองปีนับแต่วันนำเข้า คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรขาเข้าเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงตามมาตรา 10 วรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ.2469 นั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะเสียไว้เกินโดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ หรือเป็นเพราะยังมีข้อโต้แย้งกันเกี่ยวกับราคาแห่งของที่นำเข้านั้นก็ตาม จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนภายในกำหนดสองปี นับจากวันนำของเข้าทั้งสิ้น แต่ในกรณีที่เสียไว้เกินเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งของที่นำเข้านั้น นอกจากจะต้องใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้นำเข้ายังต้องแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบ หรือเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พึงต้องรู้อยู่ก่อนส่งมอบว่าอากรที่ชำระไว้นั้นเกินจำนวนที่พึงต้องเสียสำหรับของที่ส่งมอบอีกด้วยจึงจะมีสิทธิขอคืนเงินอากรได้
การที่เจ้าพนักงานประเมินอากรของจำเลยสั่งให้โจทก์เพิ่มราคาของให้สูงขึ้น โจทก์ยอมปฏิบัติตามและเสียอากรตามราคาของที่เพิ่มขึ้น แล้วมาฟ้องเรียกอากรในส่วนที่เสียเพิ่มขึ้น โดยอ้างว่าราคาของที่เจ้าพนักงานประเมินสั่งให้โจทก์เพิ่มสูงขึ้นนั้นไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จำนวนอากรที่โจทก์เสียเพิ่มขึ้นตามราคาของจึงไม่ถูกต้อง จำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์นั้น ถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียโดยมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับราคาของตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 10 วรรคห้า เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ค่าอากรที่โจทก์เรียกคืนตามใบขนสินค้าขาเข้านั้น โจทก์นำเข้าเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2530 และวันที่ 24 กันยายน2530 แต่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าอากรคืนเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2532 เกินกำหนดสองปีนับแต่วันนำเข้า คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องขอคืนอากร, การประเมินราคา, และสิทธิในการอุทธรณ์ตามกฎหมายภาษีอากร
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่กองพิธีการและประเมินอากรของจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศกระทรวงการคลังฯ(ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2513 สั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มราคาสินค้าในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้านั้น ถือได้ว่าเป็นการแจ้งการประเมินให้โจทก์ต้องชำระอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล ตามฐานราคาสินค้าที่สั่งให้โจทก์แก้นั่นเอง โจทก์จึงต้องอุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน จึงจะมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 8 สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรขาเข้าเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงตามมาตรา 10 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2469 นั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะเสียไว้เกินโดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ หรือเป็นเพราะยังมีข้อโต้แย้งกันเกี่ยวกับราคาแห่งของที่นำเข้านั้นก็ตาม จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนภายในกำหนดสองปี นับจากวันนำของเข้าทั้งสิ้น แต่ในกรณีที่เสียไว้เกินเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งของที่นำเข้านั้นนอกจากจะต้องใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วผู้นำเข้ายังต้องแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบหรือเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พึงต้องรู้อยู่ก่อนส่งมอบว่าอากรที่ชำระไว้นั้นเกินจำนวนที่พึงต้องเสียสำหรับของที่ส่งมอบอีกด้วย จึงจะมีสิทธิขอคืนเงินอากรได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินอากรของจำเลยสั่งให้โจทก์เพิ่มราคาของให้สูงขึ้น โจทก์ยอมปฏิบัติตามและเสียอากรตามราคาของที่เพิ่มขึ้น แล้วมาฟ้องเรียกอากรในส่วนที่เสียเพิ่มขึ้น โดยอ้างว่าราคาของที่เจ้าพนักงานประเมินสั่งให้โจทก์เพิ่มสูงขึ้นนั้นไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จำนวนอากรที่โจทก์เสียเพิ่มขึ้นตามราคาของจึงไม่ถูกต้อง จำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์นั้น ถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียโดยมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับราคาของตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้าเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ค่าอากรที่โจทก์เรียกคืนตามใบขนสินค้าขาเข้านั้น โจทก์นำเข้าเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2530 และวันที่24 กันยายน 2530 แต่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าอากรคืนเมื่อวันที่5 ตุลาคม 2532 เกินกำหนดสองปีนับแต่วันนำเข้า คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6090/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนค่าอากรแสตมป์ต้องยื่นคำร้องภายใน 6 เดือน หากไม่ยื่นคำร้อง ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์อ้างในคำฟ้องว่า โจทก์ได้เสียค่าอากรแสตมป์ใบรับสำหรับรายรับจากการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ไป แต่ต่อมาโจทก์ทราบว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียอากรแสตมป์ จึงมาฟ้องขอให้กรมสรรพากรจำเลยคืนเงินค่าอากรแสตมป์ คำฟ้องของโจทก์ดังนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนเงินค่าภาษีอากรตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7(3) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ ซึ่งตามมาตรา 9 และ ป.รัษฎากร มาตรา 122การขอคืนอากรไม่ว่าเป็นกรณีที่เสียไปโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียหรือเสียเกินไปกว่าอัตราที่กำหนด ถ้าจะขอคืนต้องเป็นกรณีที่ค่าอากรที่จะขอคืนนั้นไม่น้อยกว่า 2 บาท และการขอคืนต้องยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเวลา 6 เดือน นับแต่วันเสียอากรหรือค่าเพิ่มอากร เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการยื่นคำร้องเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่กำหนดไว้ดังกล่าว จึงไม่อาจที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6090/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนค่าอากรต้องยื่นคำร้องภายใน 6 เดือน หากไม่ยื่นสิทธิในการฟ้องร้องจะขาดอายุความ
โจทก์อ้างในคำฟ้องว่า โจทก์ได้เสียค่าอากรแสตมป์ใบรับสำหรับรายรับจากการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ไป แต่ต่อมาโจทก์ทราบว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียอากรแสตมป์ จึงมาฟ้องขอให้กรมสรรพากรจำเลยคืนเงินค่าอากรแสตมป์ คำฟ้องของโจทก์ดังนี้เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการขอคืนเงินค่าภาษีอากรตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 7(3)แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 ซึ่งตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน และประมวลรัษฎากร มาตรา 122 การขอคืนอากรไม่ว่าเป็นกรณีที่เสียไปโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสีย หรือเสียเกินไปกว่าอัตราที่กำหนดถ้าจะขอคืนต้องเป็นกรณีที่ค่าอากรที่จะคืนนั้นไม่น้อยกว่า 2 บาทและการขอคืนต้องยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเวลา 6 เดือนนับแต่วันเสียอากรหรือค่าเพิ่มอากร เมื่อโจทก์มิได้ดำเนินการยื่นคำร้องเป็นหนังสือต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่กำหนดไว้ดังกล่าว จึงไม่อาจที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3838/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนอากรกรณีสินค้าผิดแบบ: ความล่าช้าของเจ้าหน้าที่รัฐไม่เป็นเหตุให้เสียสิทธิ
สินค้าที่โจทก์นำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นสินค้าผิดแบบโจทก์มีสิทธิที่จะขอส่งกลับคืนได้ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 7ของประกาศกรมศุลกากรที่ 9/2525 โจทก์ได้แจ้งเรื่องอุปกรณ์สินค้าที่นำเข้ามาผิดแบบให้จำเลยทราบทันที และขออนุมัติส่งคืนให้แก่ผู้ขายหลังจากทำการตรวจสอบสินค้าแล้ว แต่จำเลยมิได้มีคำสั่งเรื่องที่โจทก์ขอส่งสินค้ากลับคืนไปแต่อย่างใดเจ้าหน้าที่ของจำเลยเพิ่งจะมีคำสั่งแจ้งเรื่องให้โจทก์ทราบเมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับแต่วันที่โจทก์นำสินค้าเข้ามา ดังนั้นการที่โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้ากลับออกไปภายใน 1 ปีได้นั้น จึงมิใช่ความผิดของโจทก์โจทก์ยอมมีสิทธิขอคืนเงินอากรที่ชำระให้จำเลยพร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4181/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนอากรที่ได้รับยกเว้นและอำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: การพิจารณาคุณสมบัติของสินค้าและผลกระทบต่อการคืนอากร
พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มิได้บัญญัติว่าการขอคืนเงินอากรที่ได้รับยกเว้นอากรจะต้องยื่นคำร้องขอคืนตามแบบที่กำหนดไว้ ต่างกับการขอคนภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร ซึ่งมาตรา 27 ตรี แห่ง ป.รัษฎากรให้ยื่นคำร้องขอคืนตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น ดังนั้น การขอคืนเงินอากรที่ได้รับยกเว้นอากรจึงไม่ต้องยื่นคำร้องตามแบบที่กำหนดไว้ แม้ใบขอคืนเงินจะระบุแต่ชื่อโจทก์และจำนวนเงินอากรที่ขอคืนเท่านั้น มิได้ระบุรายละเอียดอื่น เช่น เลขประจำตัวผู้เสียภาษี เลขที่ใบขนสินค้าที่อ้างว่าได้ชำระอากรโดยผิดหลง และเลขที่บัญชีธนาคารที่ประสงค์จะให้จำเลยโอนเงินตามจำนวนที่ขอคืน แต่จำเลยก็ต้องพิจารณาว่าจะต้องคืนเงินอากรแก่โจทก์หรือไม่ เมื่อจำเลยพิจารณาแล้วไม่คืนเงินอากรแก่โจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากรฯ ภาค 4 ของที่ได้รับยกเว้นอากรประเภทที่ 13 ต้องเป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในทางราชการ เมื่อได้ความว่ามีการทำสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับกรมอู่ทหารเรือ และกระทรวงกลาโหมมีหนังสือถึงอธิบดีจำเลยขอยกเว้นค่าอากรสำหรับสินค้าพิพาทที่นำเข้าตามสัญญาซื้อขาย เนื่องจากเป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการทหาร ต่อมากรมอู่ทหารเรือบอกเลิกสัญญาเนื่องจากสินค้าที่โจทก์ส่งมอบมิใช่สินค้าตามที่กำหนดในสัญญาซื้อขาย สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับกรมอู่ทหารเรือจึงเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 สินค้าพิพาทจึงมิใช่ยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการในขณะที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตาม พ.ร.ก.ดังกล่าว แม้ภายหลังกรมอู่ทหารเรือจะทำสัญญาซื้อขายใหม่กับโจทก์โดยถือคุณสมบัติของสินค้าเหมือนเดิมทุกประการ ก็เป็นกรณีที่จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับสินค้าที่นำเข้าตามสัญญาซื้อขายใหม่ การที่โจทก์นำสินค้าพิพาทที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยผ่านพิธีการทางศุลกากรและชำระค่าอากรขาเข้าไปแล้วเพราะไม่ได้เป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในทางราชการมาส่งมอบให้กรมอู่ทหารเรือตามสัญญาซื้อขายฉบับใหม่ ไม่ทำให้สินค้าพิพาทตามสัญญาเดิมที่ไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้ากลายเป็นได้รับยกเว้นอากรขาเข้าด้วย จำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินอากรขาเข้าพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากรฯ ภาค 4 ของที่ได้รับยกเว้นอากรประเภทที่ 13 ต้องเป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในทางราชการ เมื่อได้ความว่ามีการทำสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับกรมอู่ทหารเรือ และกระทรวงกลาโหมมีหนังสือถึงอธิบดีจำเลยขอยกเว้นค่าอากรสำหรับสินค้าพิพาทที่นำเข้าตามสัญญาซื้อขาย เนื่องจากเป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการทหาร ต่อมากรมอู่ทหารเรือบอกเลิกสัญญาเนื่องจากสินค้าที่โจทก์ส่งมอบมิใช่สินค้าตามที่กำหนดในสัญญาซื้อขาย สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับกรมอู่ทหารเรือจึงเป็นอันเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 สินค้าพิพาทจึงมิใช่ยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการในขณะที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตาม พ.ร.ก.ดังกล่าว แม้ภายหลังกรมอู่ทหารเรือจะทำสัญญาซื้อขายใหม่กับโจทก์โดยถือคุณสมบัติของสินค้าเหมือนเดิมทุกประการ ก็เป็นกรณีที่จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับสินค้าที่นำเข้าตามสัญญาซื้อขายใหม่ การที่โจทก์นำสินค้าพิพาทที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยผ่านพิธีการทางศุลกากรและชำระค่าอากรขาเข้าไปแล้วเพราะไม่ได้เป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในทางราชการมาส่งมอบให้กรมอู่ทหารเรือตามสัญญาซื้อขายฉบับใหม่ ไม่ทำให้สินค้าพิพาทตามสัญญาเดิมที่ไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้ากลายเป็นได้รับยกเว้นอากรขาเข้าด้วย จำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินอากรขาเข้าพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์