พบผลลัพธ์ทั้งหมด 11 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 138/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินเพื่อบรรเทาความเสียหายและการขอคืนเงินเมื่อศาลไม่วินิจฉัยเหตุรอการลงโทษ
การที่จำเลยให้การรับสารภาพและยื่นคำร้องขอวางเงินจำนวน 20,000 บาท ต่อศาลชั้นต้น โดยขอให้ศาลชั้นต้นแจ้งให้ผู้เสียหายมารับไปอันเป็นการบรรเทาความเสียหายบางส่วน แสดงว่าจำเลยวางเงินเพื่อจะชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายโดยมีเจตนาที่จะให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้แจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่จำเลยวางไว้ดังกล่าว และพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยไปโดยไม่ได้วินิจฉัยถึงเหตุที่จำเลยพยายามบรรเทาความเสียหายด้วยการวางเงินต่อศาลเพื่อให้ผู้เสียหายรับไป แม้ต่อมาจำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นขอให้รอการลงโทษจำคุกให้จำเลย โดยอ้างเหตุที่ได้วางเงินชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นโดยไม่รอการลงโทษจำคุกให้จำเลยและไม่ได้วินิจฉัยถึงเหตุที่จำเลยวางเงินต่อศาลชั้นต้นดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองไม่ดำเนินการแจ้งให้ผู้เสียหายมารับเงินที่วางศาลและไม่วินิจฉัยถึงเหตุที่จำเลยพยายามบรรเทาผลร้ายหรือความเสียหายด้วยการวางเงินชำระค่าเสียหายบางส่วนให้แก่ผู้เสียหายเพื่อใช้ดุลพินิจรอหรือไม่รอการลงโทษจำคุกจำเลย และเมื่อคดีนี้ถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว โดยไม่มีการดำเนินการตามคำร้องของจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะขอถอนเงินที่วางต่อศาลชั้นต้นดังกล่าวคืนไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2229/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระค่าธรรมเนียมแทนจำเลยในคดีแพ่ง ผู้ชำระไม่มีสิทธิขอคืนเงิน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้กองมรดกของจำเลยร่วมกันชำระเงิน แก่โจทก์ กับให้ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ จำเลย อุทธรณ์และยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นและมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระศาลภายในกำหนด ครบกำหนดแล้วจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 1ทิ้งอุทธรณ์ ผู้ร้องในฐานะทายาทโดยธรรมของจำเลยและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกของจำเลยจึงได้ขออนุญาตนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์มาวางศาลแทนผู้รับมรดกความแทนที่จำเลย ศาลชั้นต้นอนุญาตและได้สั่งรับอุทธรณ์จำเลยแล้วแม้ต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ผู้รับมรดกความแทนที่จำเลยขอถอนอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตและคืนค่าขึ้นศาลให้กึ่งหนึ่งไปแล้วก็ตาม แต่การที่ผู้ร้องนำเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นต้นซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลซึ่งตามคำร้องผู้ร้องระบุชัดว่า ขอวางแทนผู้รับมรดกความแทนที่จำเลย และการวางเงินดังกล่าวเป็นผลให้ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยไปแล้ว เมื่อจำเลยของถอนอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นจึงยังมีผลบังคับอยู่ โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีย่อมมีสิทธิรับเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นต้นซึ่งจำเลยจะต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้และเมื่อผู้ร้องวางเงินจำนวนดังกล่าวแทนผู้รับมรดกความแทนที่จำเลย ย่อมมีผลเท่ากับผู้รับมรดกความแทนที่จำเลยที่ 1เป็นผู้วางเอง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอรับเงินนั้นคืน แม้ว่าจะเป็นเงินส่วนตัวของผู้ร้องเองก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินอากรขาเข้าที่มิชอบ และสิทธิในการขอคืนเงินอากรที่ชำระเกิน
พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยไม่พอใจราคาสินค้าที่โจทก์สำแดงจึงให้โจทก์ชำระอากรตามสำแดงและให้วางประกันเงินค่าอากรอีกส่วนหนึ่ง ได้มีการส่งมอบสินค้าให้โจทก์รับไปแล้ว ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินให้โจทก์ชำระอากรขาเข้าเพิ่ม โจทก์ได้ชำระอากรเพิ่มตามที่ได้รับแบบแจ้งการประเมิน การชำระเงินค่าอากรเพิ่มเป็นการชำระหลังจากได้รับมอบสินค้าแล้ว จึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคห้า แม้โจทก์มิได้สงวนสิทธิในการฟ้องร้องหรือเรียกร้องเงินจำนวนนี้คืนและมิได้บอกกล่าวให้จำเลยคืนเงินตามฟ้องก่อนนั้น ก็มิได้ตัดสิทธิในการฟ้องคดี
เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดในเงินอากรขาเข้าที่เรียกเก็บตามฟ้องนั้น จำเลยย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนเงินจำนวนเท่าที่โจทก์ชำระไปให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.625 ต่อเดือนของจำนวนที่ต้องคืนโดยไม่คิดทบต้น นับแต่วันที่ได้ชำระค่าอากรหรือวางประกันค่าอากรครั้งสุดท้ายตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวาวรรคท้าย ซึ่งคดีนี้โจทก์ขอเรียกดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานของจำเลยเรียกไว้เกินจำนวนอันจะพึงต้องเสียนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จเท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การประเมินภาษีอากรขาเข้าจะชอบหรือไม่ต้องพิจารณาว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของราคาสินค้าเป็นจำนวนเท่าใด เมื่อข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่าโจทก์ได้สำแดงราคาสินค้าพิพาทเท่าที่โจทก์ซื้ออันอนุมานได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้อง-ตลาด ที่จำเลยอ้างว่าต่ำกว่าราคาประเมินที่จำเลยกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ พนักงานเจ้า-หน้าที่ของจำเลยจึงประเมินภาษีอากรขาเข้าตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 47/2531ข้อ 1.8 ที่ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาไม่เกิน 6 เดือนนั้น จำเลยไม่ได้นำสืบให้ประจักษ์ว่าสินค้าพิพาทมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นจำนวนเท่าใด หลักฐานที่ว่ามีผู้นำเข้ารายอื่นในช่วง 6 เดือนดังกล่าวไม่มีในเอกสารที่ส่ง จึงเป็นการไม่แน่นอนว่าจะเป็นสินค้าชนิดและประเภทเดียวกับสินค้าพิพาทหรือไม่ ยังฟังไม่ได้ว่าราคาที่เจ้า-พนักงานของจำเลยประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด การประเมินราคาสินค้าพิพาท และประเมินภาษีอากรขาเข้าของจำเลยจึงไม่ชอบ
เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิอย่างใดในเงินอากรขาเข้าที่เรียกเก็บตามฟ้องนั้น จำเลยย่อมมีหน้าที่จะต้องคืนเงินจำนวนเท่าที่โจทก์ชำระไปให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.625 ต่อเดือนของจำนวนที่ต้องคืนโดยไม่คิดทบต้น นับแต่วันที่ได้ชำระค่าอากรหรือวางประกันค่าอากรครั้งสุดท้ายตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวาวรรคท้าย ซึ่งคดีนี้โจทก์ขอเรียกดอกเบี้ยมาในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินที่เจ้าพนักงานของจำเลยเรียกไว้เกินจำนวนอันจะพึงต้องเสียนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จเท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การประเมินภาษีอากรขาเข้าจะชอบหรือไม่ต้องพิจารณาว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดของราคาสินค้าเป็นจำนวนเท่าใด เมื่อข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่าโจทก์ได้สำแดงราคาสินค้าพิพาทเท่าที่โจทก์ซื้ออันอนุมานได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้อง-ตลาด ที่จำเลยอ้างว่าต่ำกว่าราคาประเมินที่จำเลยกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ พนักงานเจ้า-หน้าที่ของจำเลยจึงประเมินภาษีอากรขาเข้าตามคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 47/2531ข้อ 1.8 ที่ใช้ราคานำเข้าสูงสุดก่อนรายที่พิจารณาไม่เกิน 6 เดือนนั้น จำเลยไม่ได้นำสืบให้ประจักษ์ว่าสินค้าพิพาทมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นจำนวนเท่าใด หลักฐานที่ว่ามีผู้นำเข้ารายอื่นในช่วง 6 เดือนดังกล่าวไม่มีในเอกสารที่ส่ง จึงเป็นการไม่แน่นอนว่าจะเป็นสินค้าชนิดและประเภทเดียวกับสินค้าพิพาทหรือไม่ ยังฟังไม่ได้ว่าราคาที่เจ้า-พนักงานของจำเลยประเมินเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด การประเมินราคาสินค้าพิพาท และประเมินภาษีอากรขาเข้าของจำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4049/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง การวางประกัน และสิทธิในการขอคืนเงินภาษีอากรเมื่อส่งออกคืน
โจทก์นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานจำนวน 7,197,397 ลิตรจากประเทศสิงคโปร์เข้ามาในราชอาณาจักร แต่ไม่สามารถทำใบขนที่สมบูรณ์และปฏิบัติการเสียภาษีได้ทันที จึงทำเรื่องขอผ่อนผันนำน้ำมันออกไปก่อนและเสียภาษีอากรภายหลัง จำเลยอนุญาตโดยให้โจทก์วางเงินสดจำนวนหนึ่งไว้เพื่อเป็นประกันภาษีและอากรขาเข้าต่อมาปรากฏว่าน้ำมันที่โจทก์นำเข้ามีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ โจทก์จึงไม่ได้สูบถ่ายน้ำมันจากเรือที่นำเข้าขึ้นไปเก็บในถังบนบก และโจทก์ได้รับอนุมัติจากจำเลยให้ส่งน้ำมันดังกล่าวคืนไปยังผู้ขายที่ประเทศสิงคโปร์ ดังนี้ ถือว่าโจทก์ได้นำน้ำมันเข้ามาในราชอาณาจักรสำเร็จตั้งแต่ขณะที่เรือนำน้ำมันดังกล่าวเข้ามาในเขตท่าที่จะสูบถ่ายน้ำมันจากเรือไปเก็บในถังบนบก โจทก์มีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีอากรให้จำเลย แต่เงินประกันที่โจทก์วางไว้กับจำเลยดังกล่าวมิใช่เงินค่าภาษีอากรขาเข้า จึงไม่อยู่ในเงื่อนไขของมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 ทั้งมาตรา 112 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ได้กำหนดว่าในการวางเงินประกันเช่นนี้ พนักงานศุลกากรจะต้องทำการประเมินและแจ้งให้โจทก์ผู้นำของเข้านำภาษีอากรไปชำระเสียก่อนดังนั้น โจทก์จึงไม่ต้องขอคืนเงินภาษีอากรภายใน 6 เดือน นับแต่วันส่งของนั้นกลับออกไปตามบทบัญญัติดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3909/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทุเลาการชำระค่าปรับของกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย: ศาลไม่อนุญาตเนื่องจากมีกลไกขอคืนเงินได้
กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายตั้งขึ้นโดยกฎหมายมีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม คณะกรรมการบริหารกองทุนตั้งขึ้นและมีหน้าที่ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 23,24 และ 25 แห่ง พ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาลทรายฯ หากโจทก์ชนะคดีย่อมไม่เป็นการยากที่จะขอคืนเงินค่าปรับที่โจทก์ชำระไว้กับกองทุนดังกล่าวได้จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะอนุญาตให้โจทก์ได้ทุเลาการที่จะต้องชำระเงินค่าปรับตามคำสั่ง ของจำเลยที่ 5 ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนอ้อยและ น้ำตาลทรายตาม พ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาลทรายฯ มาตรา 58 ไว้ก่อนพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3909/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทุเลาการชำระค่าปรับของกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย: ศาลไม่เห็นเหตุผลเพียงพอเนื่องจากสามารถขอคืนเงินได้หากชนะคดี
กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายตั้งขึ้นโดยกฎหมายมีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม คณะกรรมการบริหารกองทุนตั้งขึ้นและมีหน้าที่ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 23,24 และ 25 แห่ง พ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาลทรายฯ หากโจทก์ชนะคดีย่อมไม่เป็นการยากที่จะขอคืนเงินค่าปรับที่โจทก์ชำระไว้กับกองทุนดังกล่าวได้จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะอนุญาตให้โจทก์ได้ทุเลาการที่จะต้องชำระเงินค่าปรับตามคำสั่ง ของจำเลยที่ 5 ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารกองทุนอ้อยและ น้ำตาลทรายตาม พ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาลทรายฯ มาตรา 58 ไว้ก่อนพิพากษา.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3908/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอทุเลาการชำระค่าปรับกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย: ศาลไม่อนุญาตเนื่องจากสามารถขอคืนเงินได้หากชนะคดี
โจทก์ขอทุเลาการชำระค่าปรับตามคำสั่งของจำเลยที่ 5ในฐานะคณะกรรมการบริหารกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายซึ่งสั่งให้โจทก์ชำระค่าปรับแก่กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายกองทุนดังกล่าวตั้งขึ้นโดยกฎหมาย มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกระทรวงอุตสาหกรรม คณะกรรมการบริหารกองทุนตั้งขึ้นและมีหน้าที่ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23,24 และ 25 แห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 หากโจทก์ชนะคดีก็ไม่เป็นการยากที่จะขอคืนเงินค่าปรับที่โจทก์ชำระได้จึงไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะอนุญาตให้โจทก์ได้ทุเลาการที่จะต้องชำระเงินค่าปรับตามคำสั่งของจำเลยที่ 5 ก่อนพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความขอคืนเงินอากรศุลกากร และการประเมินราคาที่ชอบด้วยกฎหมาย
การขอคืนเงินอากรในจำนวนที่เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงภายในสองปีนับแต่วันนำของเข้า ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 วรรคท้าย นั้น จะต้องโต้แย้งหรือแจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าจะขอคืนเงินอากรในจำนวนที่เห็นว่าเสียไว้เกินจำนวนที่พึงเสียจริงก่อนการส่งมอบ มิฉะนั้นย่อมไม่มีสิทธิขอคืนไม่ว่าจะอยู่ในระยะเวลา 2 ปี หรือไม่ การขอคืนหนังสือค้ำประกันมิใช่การขอคืนเงินอากร จึงไม่ต้องห้ามด้วยบทบัญญัติของมาตรา 10 วรรคท้าย แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ. 2469 จึงต้องบังคับด้วยอายุความทั่วไป 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเสียอายุความทางภาษีอากร: หนังสือแจ้งให้ขอคืนเงินถือเป็นการยอมรับหนี้และสละสิทธิเรียกร้องอายุความ
สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุอันเกี่ยวกับอัตราอากรที่ได้เสียเกิน ย่อมสิ้นไปเมื่อครบกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2468 มาตรา 10 วรรคห้าแต่การที่หัวหน้าฝ่ายกลาง กองพิธีการและประเมินอากร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามที่จำเลยมอบหมายมีหนังสือถึงโจทก์หลังจากครบกำหนดอายุความเรียกร้องขอคืนเงินอากรว่าโจทก์เสียอากรไว้เกินให้ไปติดต่อขอรับเงินที่ชำระไว้เกินคืน ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความอันครบบริบูรณ์แล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 จำเลยจึงยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์หาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4929/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องขอคืนค่าอากรที่ชำระเกิน การประเมินราคาศุลกากร และการพิสูจน์ราคาอันแท้จริง
ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 40 โจทก์สามารถนำสินค้าออกจากอารักขาของศุลกากรได้ โดยชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกันก็ได้ แต่โจทก์เลือกชำระค่าภาษีอากรตามจำนวนที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนด ดังนี้จึงถือได้ว่าโจทก์ได้ชำระค่าภาษีอากรส่วนที่เกินโดยสมัครใจ การฟ้องเรียกร้องขอคืนเงินอากรส่วนที่เสียไว้เกิน จึงต้องนำอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 10 วรรค 5มาใช้บังคับ โจทก์มาฟ้องเรียกร้องขอคืนค่าอากรที่เสียไว้เกินจำนวนเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า คดีของโจทก์ส่วนนี้จึงขาดอายุความ.