คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ของมีค่า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9437/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความหมาย 'ของมีค่า' ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 675: โทรศัพท์มือถือไม่ใช่ของมีค่า
คำว่า "ของมีค่า" ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 675 วรรคสอง หมายถึงทรัพย์สินที่มีคุณค่าอันมีลักษณะพิเศษทำนองเดียวกับเงินทองตรา ธนบัตรหรือตั๋วเงิน ส่วนรถยนต์ รถจักรยานยนต์และโทรศัพท์มือถือของโจทก์เป็นเพียงทรัพย์สินที่นำมาใช้เป็นปกติธรรมดา แม้จะมีราคาค่อนข้างสูงก็ไม่จัดว่าเป็นของมีค่าตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3767/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เครื่องประดับราคาถูก ไม่ถือเป็นของมีค่าตามกฎหมาย
เครื่องประดับจำพวกตุ้มหู สร้อย แหวน ทำด้วยเงินราคาต่ำสุดคู่ละ 7 บาท สูงสุดคู่ละ 25 บาท เป็นเพียงเครื่องประดับทำด้วยเงินมีราคาต่ำ จึงเป็นของธรรมดาทั่ว ๆ ไปเท่านั้น ถึงแม้จะมีจำนวนมากและรวมจำนวนกันแล้วมีราคา52,200 บาท ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าอย่างอื่น ๆตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3767/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ของมีค่าตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 620: เครื่องประดับราคาถูกไม่ใช่ของมีค่า
เครื่องประดับจำพวกตุ้มหู สร้อย แหวน ทำด้วยเงินราคาต่ำสุดคู่ละ 7 บาท สูงสุดคู่ละ 25 บาท เป็นเพียงเครื่องประดับทำด้วยเงินมีราคาต่ำ จึงเป็นของธรรมดาทั่ว ๆ ไป เท่านั้นถึงแม้จะมีจำนวนมากและรวมจำนวนกันแล้วมีราคา52,200 บาท ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าอย่างอื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 620 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1238/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุสุดวิสัย, ของมีค่า, และข้อจำกัดความรับผิดในการขนส่ง: ศาลฎีกาวินิจฉัยความรับผิดของผู้ขนส่ง
ได้ความแต่เพียงว่าระหว่างขนส่ง คนขับรถบรรทุกของจำเลยขับไปใกล้ถึงปลายทางได้เกิดเพลิงไหม้ตรงกลางคันรถใต้ผ้าใบคลุมสินค้าโดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่ปรากฏว่าเหตุเพลิงไหม้นั้นไม่อาจป้องกันได้เพราะเหตุใด และคนขับรถผู้ต้องประสบเหตุนั้นได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้นหรือไม่อย่างไร ยังถือไม่ได้ว่าเหตุเพลิงไหม้ดังกล่าวเป็นเหตุสุดวิสัย ลวดเชื่อมไฟฟ้าและเครื่องซักผ้าเป็นเพียงทรัพย์สินธรรมดาทั่วไป มิใช่ของมีค่าที่มีคุณค่าอันมีลักษณะพิเศษทำนองเดียวกับเงินตรา ธนบัตร ธนาคารบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ประทวนสินค้า หรืออัญมณี ผู้ส่งสินค้าจึงไม่จำเป็นต้องบอกราคาในขณะส่งมอบแก่ผู้ขนส่ง ใบกำกับสินค้าที่จำเลยออกให้โจทก์มีข้อจำกัดความรับผิดว่าจำเลยจะชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ไม่เกิน 500 บาท แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ลงลายมือชื่อยินยอมรับรู้ในข้อจำกัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2158/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความหมาย 'ของมีค่า' ตาม ป.พ.พ. มาตรา 620 และความรับผิดของผู้ขนส่ง
คำว่า 'ของมีค่า' ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 620 หมายถึงทรัพย์สินที่มีคุณค่าอันมีลักษณะพิเศษทำนองเดียวกับเงินทองตรา ธนบัตร ฯลฯ เครื่องรับโทรทัศน์เป็นเพียงทรัพย์สินตามธรรมดาทั่ว ๆ ไปเท่านั้น ถึงแม้ราคาจะค่อนข้างสูงก็ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าตามความหมายแห่งบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2158/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความ 'ของมีค่า' ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 620: เครื่องรับโทรทัศน์ไม่เข้าข่าย
คำว่า 'ของมีค่า' ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 620 หมายถึงทรัพย์สินที่มีคุณค่าอันมีลักษณะพิเศษทำนองเดียวกับเงินทองตรา ธนบัตร ฯลฯ เครื่องรับโทรทัศน์ เป็นเพียงทรัพย์สินตามธรรมดาทั่ว ๆ ไปเท่านั้น ถึงแม้ราคาจะค่อนข้างสูงก็ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าตามความหมายแห่งบทบัญญัติดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2717/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ของมีค่าตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 620 คือทรัพย์สินที่มีคุณค่าพิเศษ ยาฆ่าแมลงไม่ใช่ของมีค่า
ของมีค่าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 620หมายถึงทรัพย์สินที่มีคุณค่าอันมีลักษณะพิเศษทำนองเดียวกับเงินทองตรา ธนบัตร ธนาคารบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้า อัญมณี แต่ยาฆ่าแมลง 7 กล่อง ราคา 1 หมื่นบาทเศษ เป็นทรัพย์สินธรรมดาสามัญทั่ว ๆ ไป เท่านั้นไม่ใช่ของมีค่าตาม มาตรา 620 แม้ผู้ส่งจะไม่ได้บอกราคาไว้ ผู้ขนส่งก็ต้องรับผิดใช้ราคา เมื่อสินค้านั้น สูญหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปืนและกระสุนปืนไม่ใช่ 'ของมีค่า' ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 675
ของมีค่าตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 675 ไม่รวมถึงปืนและกระสุนปืน ซึ่งมิใช่ของมีคุณค่าพิเศษนอกเหนือไปจากทรัพย์สินธรรมดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 206-207/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของโรงแรมต่อทรัพย์สินของลูกค้า: กล้องถ่ายภาพไม่ใช่ของมีค่าพิเศษ
กล้องถ่ายภาพยนตร์และกล้องถ่ายภาพนิ่งเป็นเพียงเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับผู้ถ่ายภาพยนตร์ หรือผู้ถ่ายภาพใช้ในการบันทึกภาพเป็นภาพยนตร์ หรือถ่ายภาพนิ่งเท่านั้นเอง หาเป็นของมีคุณค่าเป็นพิเศษนอกเหนือไปจากการเป็นของใช้ตามธรรมดาไม่ ถึงแม้ว่าราคาของทรัพย์จะค่อนข้างสูงก็ตาม ก็ไม่ใช่เป็นของมีค่าตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 675 วรรคสอง
คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาพยานหลักฐานโจทก์และจำเลยตลอดทั้งสำนวนแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์เสียหายเป็นเงิน 27,650 บาท จำเลยฎีกาว่าค่าเสียหายดังกล่าวนั้นเกินกว่าค่าเสียหายที่แท้จริง โดยจะให้ศาลรับฟังคำเบิกความบางตอนของพยานบางปากเพื่อให้สมข้ออ้างของจำเลยนั้น เป็นการฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 206-207/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กล้องถ่ายภาพไม่ใช่ของมีค่าพิเศษ โรงแรมไม่ต้องรับผิดเกินค่าเสียหายที่แท้จริง
กล้องถ่ายภาพยนตร์และกล้องถ่ายภาพนิ่งเป็นเพียงเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับผู้ถ่ายภาพยนตร์ หรือผู้ถ่ายภาพใช้ในการบันทึกภาพเป็นภาพยนตร์ หรือถ่ายภาพนิ่งเท่านั้นเองหาเป็นของมีคุณค่าเป็นพิเศษนอกเหนือไปจากการเป็นของใช้ตามธรรมดาไม่ ถึงแม้ว่าราคาของทรัพย์จะค่อนข้างสูงก็ตาม ก็ไม่ใช่เป็นของมีค่าตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 675 วรรคสอง
คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาพยานหลักฐานโจทก์และจำเลยตลอดทั้งสำนวนแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์เสียหายเป็นเงิน 27,650 บาท จำเลยฎีกาว่าค่าเสียหายดังกล่าวนั้นเกินกว่าค่าเสียหายที่แท้จริง โดยจะให้ศาลรับฟังคำเบิกความบางตอนของพยานบางปากเพื่อให้สมข้ออ้างของจำเลยนั้น เป็นการฎีกาโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 2