พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10134/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาเรื่องค่าเสื่อมราคาและทุนทรัพย์ที่พิพาท ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากข้อจำกัดด้านทุนทรัพย์และขอบเขตการฎีกา
คดีนี้จำเลยฎีกาว่าที่จำเลยหักค่าเสื่อมราคาร้อยละ ๓๐ เป็นการหักที่พอสมควรและเหมาะสมแล้ว การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยคืนเงินค่าสินค้าพิพาทแก่โจทก์โดยหักค่าเสื่อมราคาออกเพียงร้อยละ ๑๐ ของราคาสินค้านั้นไม่ถูกต้อง ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงได้แก่ส่วนต่างของค่าเสื่อมราคาร้อยละ ๓๐ กับร้อยละ ๑๐ ของราคาสินค้าจำนวน ๒๙๖,๑๐๐ บาท ซึ่งคำนวณได้เป็นเงิน ๕๙,๒๒๐ บาท คดีของจำเลยจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท เมื่อจำเลยฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดเงินค่าสินค้าของศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๒๔๘ วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาของจำเลยมานั้นเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7849/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฎีกาในชั้นฎีกา, เบี้ยปรับสัญญาเช่าซื้อ, และการโต้แย้งดุลพินิจศาลอุทธรณ์
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาด-ประโยชน์จำนวน 45,000 บาท และค่าเช่าซื้อที่ขาดจำนวน 301,800 บาทศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเฉพาะค่าขาดประโยชน์เป็นเงิน 15,000 บาทแก่โจทก์ โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายเพิ่มขึ้นในส่วนค่าเช่าซื้อที่ขาดเป็นเงิน 301,800 บาท จำเลยที่ 1 แก้อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้น ข้อเท็จจริงจึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์จำนวน 15,000 บาท แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยชำระเงินเป็นค่าเช่าซื้อที่ยังขาดเพิ่มขึ้น200,000 บาท แล้วจำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้ยกฟ้องโจทก์ก็ตาม ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของจำเลยที่ 1 ย่อมต้องคำนวณหักค่าเสียหายซึ่งจำเลยที่ 1 พอใจตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำนวน 15,000 บาท ออก ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ตามข้อสัญญาเช่าซื้อที่กำหนดไว้ว่าผู้เช่าซื้อยอมชำระเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่อีกให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อจนครบ ความหมายของคำว่า "ยอมชำระเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่อีก" มีว่า ผู้เช่าซื้อจะต้องชำระราคารถยนต์ที่เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่จนครบตามที่ระบุไว้ในสัญญา เป็นสัญญาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของเจ้าของผู้ให้เช่าซื้อถือว่าเป็นข้อตกลงเรื่องค่าเสียหาย เป็นการกำหนดเบี้ยปรับกันไว้ล่วงหน้าเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่อีกนี้จึงมิใช่เป็นกรณีที่กำหนดให้ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อที่ค้าง ดังนั้น แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าโจทก์เรียกร้องมาตามสัญญาเช่าซื้อในส่วนที่เป็นค่าเสื่อมราคาหรือแทนค่าเสื่อมราคา แต่ศาลอุทธรณ์ก็ยังวินิจฉัยต่อไปว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับซึ่งถ้าสูงเกินส่วนย่อมลดลงได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องหรืออุทธรณ์ของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
ที่จำเลยฎีกาว่า กรณีน่าเชื่อว่าโจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็น โจทก์ได้รับประโยชน์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อคุ้มกับเงินที่โจทก์ลงทุนแล้ว และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเพิ่มขึ้น200,000 บาท เป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ที่ฟังว่า เงินที่โจทก์ได้รับจากจำเลยมาแล้วยังไม่คุ้มกับความเสียหายในส่วนนี้ เมื่อพิจารณาทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้ว เห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้โจทก์200,000 บาท จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเห็นพ้องกับศาลล่างทั้งสองว่าตามสัญญาเช่าซื้อ ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปีเป็นเบี้ยปรับ แต่โจทก์ได้รับเงินจากจำเลยเป็นเงินจำนวนสูงมากกว่าค่าขาดประโยชน์ใช้สอยรายเดือนเป็นจำนวนมาก เงินส่วนค่าดอกเบี้ยที่เป็นเบี้ยปรับจึงซ้ำซ้อนกับเบี้ยปรับที่โจทก์ได้รับไว้และมีจำนวนมากเกินควรแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจำนวนนี้อีกนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการกำหนดเบี้ยปรับลดลงเป็นจำนวนพอสมควร โดยให้โจทก์ได้รับเบี้ยปรับเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ที่จำเลยว่า ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าขาดประโยชน์ให้จำเลยทั้งสองชำระแก่โจทก์เดือนละ 5,000 บาท เป็นเงิน 15,000 บาทค่าเสียหายในส่วนนี้สูงเกินควร เพราะโจทก์ได้รับเงินจากจำเลยไปเป็นจำนวนมากคุ้มประโยชน์ของโจทก์แล้ว ขอให้ยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้เสียนั้นเห็นว่า ปัญหาข้อนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์ และจำเลยแก้อุทธรณ์ว่า จำเลยเห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการขาดประโยชน์ของโจทก์ 15,000 บาท แล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามข้อสัญญาเช่าซื้อที่กำหนดไว้ว่าผู้เช่าซื้อยอมชำระเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่อีกให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อจนครบ ความหมายของคำว่า "ยอมชำระเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่อีก" มีว่า ผู้เช่าซื้อจะต้องชำระราคารถยนต์ที่เช่าซื้อที่ยังขาดอยู่จนครบตามที่ระบุไว้ในสัญญา เป็นสัญญาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของเจ้าของผู้ให้เช่าซื้อถือว่าเป็นข้อตกลงเรื่องค่าเสียหาย เป็นการกำหนดเบี้ยปรับกันไว้ล่วงหน้าเงินจำนวนที่ยังขาดอยู่อีกนี้จึงมิใช่เป็นกรณีที่กำหนดให้ผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อที่ค้าง ดังนั้น แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าโจทก์เรียกร้องมาตามสัญญาเช่าซื้อในส่วนที่เป็นค่าเสื่อมราคาหรือแทนค่าเสื่อมราคา แต่ศาลอุทธรณ์ก็ยังวินิจฉัยต่อไปว่า ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับซึ่งถ้าสูงเกินส่วนย่อมลดลงได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องหรืออุทธรณ์ของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
ที่จำเลยฎีกาว่า กรณีน่าเชื่อว่าโจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็น โจทก์ได้รับประโยชน์ในรถยนต์ที่เช่าซื้อคุ้มกับเงินที่โจทก์ลงทุนแล้ว และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายเพิ่มขึ้น200,000 บาท เป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วนนั้น เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ที่ฟังว่า เงินที่โจทก์ได้รับจากจำเลยมาแล้วยังไม่คุ้มกับความเสียหายในส่วนนี้ เมื่อพิจารณาทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายแล้ว เห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้โจทก์200,000 บาท จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเห็นพ้องกับศาลล่างทั้งสองว่าตามสัญญาเช่าซื้อ ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปีเป็นเบี้ยปรับ แต่โจทก์ได้รับเงินจากจำเลยเป็นเงินจำนวนสูงมากกว่าค่าขาดประโยชน์ใช้สอยรายเดือนเป็นจำนวนมาก เงินส่วนค่าดอกเบี้ยที่เป็นเบี้ยปรับจึงซ้ำซ้อนกับเบี้ยปรับที่โจทก์ได้รับไว้และมีจำนวนมากเกินควรแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจำนวนนี้อีกนั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการกำหนดเบี้ยปรับลดลงเป็นจำนวนพอสมควร โดยให้โจทก์ได้รับเบี้ยปรับเป็นดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ที่จำเลยว่า ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าขาดประโยชน์ให้จำเลยทั้งสองชำระแก่โจทก์เดือนละ 5,000 บาท เป็นเงิน 15,000 บาทค่าเสียหายในส่วนนี้สูงเกินควร เพราะโจทก์ได้รับเงินจากจำเลยไปเป็นจำนวนมากคุ้มประโยชน์ของโจทก์แล้ว ขอให้ยกคำขอของโจทก์ในส่วนนี้เสียนั้นเห็นว่า ปัญหาข้อนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์ และจำเลยแก้อุทธรณ์ว่า จำเลยเห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการขาดประโยชน์ของโจทก์ 15,000 บาท แล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 300/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสู้คดีเรื่องสัญญาเช่าและการหลอกลวงในการทำสัญญา ศาลฎีกาวินิจฉัยเรื่องการงดสืบพยานและขอบเขตการฎีกา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่เช่า จำเลยให้การว่า เดิมที่ ๆ เช่ากันเป็นของจำเลย ๆ กู้เงินโจทก์แล้ว จำเลยไม่มีเงินใช้ให้ จำเลยจึงเอาเรือนกับที่ดินจำนองโจทก์ไว้ ต่อมาโจทก์ว่าจำเลยขาดส่งดอกเบี้ย จึงให้จำเลยทำหนังสือสัญญาเช่า จำเลยก็ทำหนังสือสัญญาเช่าให้ ตอนที่โจทก์ขับไล่นี้ จำเลยรู้ว่าที่โจทก์ให้จำเลยจำนองเรือนกับที่ดินนั้น เป็นการหลอกลวงจำเลย ความจริงโจทก์ได้บอกพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าจำเลยโอนขายเรือนและที่ดินให้โจทก์ทำให้จำเลยเข้าใจผิดในสาระสำคัญ เป็นการไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ในชั้นพิจารณา จำเลยแถลงรับว่า จำเลยทำหนังสือสัญญาเช่าบ้านโจทก์จริง จะขอสืบพยานเพียงว่า เมื่อครบกำหนดตามสัญญาเช่า 1 ปี แล้ว โจทก์ยอมให้จำเลยอยู่ในบ้านเช่าต่อไป และว่านอกจากนี้จำเลยไม่มีพยานสืบดังนี้จึงเท่ากับว่าจำเลยไม่ขอต่อสู้เรื่องเข้าใจผิดในสาระสำคัญของสัญญาจำนองว่าเป็นสัญญาขาย เมื่อศาลสั่งงดสืบพยานจำเลยในข้อนี้เสียจึงเป็นการชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 472/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลสั่งห้ามประกอบการค้าตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข: การวินิจฉัยข้อเท็จจริงและขอบเขตการฎีกา
พระราชบัญญัติสาธารณะสุขพ.ศ.2484 มาตรา 68 ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งห้ามจำเลยมิให้ประกอบการค้านั้นต่อไป ซึ่งเป็นการให้อำนาจศาลใช้ดุลยพินิจวินิจฉัยตามเหตุการณ์แห่งคดี ถือว่าเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยผิดตาม พระราชบัญญัติสาธารณะสุข พ.ศ.2484 มาตรา 7,8,68 ปรับ 100 บาท ส่วนคำขอให้ห้ามจำเลยประกอบการค้าทำเต้าหู้ต่อไปนั้น ไม่บังคับให้แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ห้ามจำเลยทำการค้าเต้าหู้ต่อไป ดังนี้ จำเลยจะฎีกาในข้อห้ามทำการค้าทำเต้าหู้ไม่ได้เพราะเป็นฎีกาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยผิดตาม พระราชบัญญัติสาธารณะสุข พ.ศ.2484 มาตรา 7,8,68 ปรับ 100 บาท ส่วนคำขอให้ห้ามจำเลยประกอบการค้าทำเต้าหู้ต่อไปนั้น ไม่บังคับให้แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ห้ามจำเลยทำการค้าเต้าหู้ต่อไป ดังนี้ จำเลยจะฎีกาในข้อห้ามทำการค้าทำเต้าหู้ไม่ได้เพราะเป็นฎีกาข้อเท็จจริง