คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขอบเขตการวินิจฉัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2598/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ - การแจ้งหนังสือ - ขอบเขตการวินิจฉัย - ค่าทนายความ
การยื่นคำร้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต้องยื่นต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีการส่งหนังสือบอกกล่าวแจ้งคำชี้ขาดไปถึงผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 30 มิใช่นับแต่วันที่อนุญาโตตุลาการทำคำชี้ขาด
ผู้ร้องยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเรียกร้องให้ผู้คัดค้านชำระต้นเงินจำนวน 6,194,347.66 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมด้วยดอกเบี้ยคำนวณถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2543 จำนวน 1,069,967.49 ดอลลาร์สหรัฐ และดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2543 จนกว่าผู้คัดค้านจะชำระเสร็จ ส่วนอนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชำระต้นเงินจำนวน 6,194,347.66 ดอลลาร์สหรัฐพร้อมด้วยดอกเบี้ยคำนวณถึงวันที่ 31 มกราคม 2544 จำนวน 1,542,263.52 ดอลลาร์สหรัฐ และดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 จนกว่าผู้คัดค้านจะชำระเสร็จ เหตุที่จำนวนดอกเบี้ยที่อนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดวินิจฉัยมากกว่าจำนวนดอกเบี้ยที่ผู้ร้องเรียกร้องเนื่องจากการคำนวณดอกเบี้ยถึงระยะเวลาชำระต่างกัน แต่จำนวนดอกเบี้ยที่ผู้คัดค้านจะต้องชำระให้แก่ผู้ร้องทั้งหมดจะเท่ากันคือคิดตั้งแต่วันที่ผู้คัดค้านผิดนัดจนถึงวันที่ผู้คัดค้านชำระเสร็จ จำนวนดอกเบี้ยที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดวินิจฉัยจึงไม่เกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ
อัตราดอกเบี้ยผิดนัดระบุไว้ในสัญญากู้เงินอยู่แล้ว แม้ผู้ร้องมิได้ระบุอัตราดอกเบี้ยที่เรียกร้องเอาแก่ผู้คัดค้านมาในคำเสนอข้อพิพาทของผู้ร้อง อนุญาโตตุลาการก็กำหนดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวให้ได้ไม่เกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ ส่วนคำชี้ขาดวินิจฉัยให้ผู้คัดค้านชำระค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการก็อยู่ในขอบเขตของคำร้องเสนอข้อพิพาท คำชี้ขาดวินิจฉัยจึงไม่เกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเช่นกัน กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลจะทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 34 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5657/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยคดี: ศาลไม่จำต้องวินิจฉัยทุกประเด็น หากไม่กระทบผลแห่งคดี
ป.วิ.พ. มาตรา 142 ที่บัญญัติห้ามมิให้พิพากษาหรือทำคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏ ในคำฟ้อง เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นตามอนุมาตรา (1) ถึง (6) เป็นการกำหนดขอบเขตของการวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาล ซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัยตามประเด็นปัญหาที่ศาลได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถาน แต่มิได้บังคับ เด็ดขาดว่าศาลจำต้องวินิจฉัยประเด็นปัญหาดังกล่าวทั้งหมด หากศาลเห็นว่าประเด็นปัญหาใดแม้วินิจฉัยให้ ก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ก็อาจใช้ดุลพินิจไม่วินิจฉัยในประเด็นปัญหาดังกล่าว อันเป็นอำนาจทั่วไปของศาล
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาท ย่อมมีความหมายอยู่ในตัวว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประเด็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์อีก การใช้ดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 246 ประกอบด้วยมาตรา 142 และ 131 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5657/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยคดี ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจไม่วินิจฉัยประเด็นที่ไม่กระทบผลคดี แม้โจทก์อ้างเรื่องอำนาจฟ้อง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 มิได้บังคับเด็ดขาดว่าศาลจำต้องวินิจฉัยประเด็นตามคำฟ้องทั้งหมดเพราะหากศาลเห็นว่าประเด็นใดแม้วินิจฉัยให้ก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปก็อาจใช้ดุลพินิจไม่วินิจฉัยได้ อันเป็นอำนาจทั่วไปของศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2509/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยคดีแรงงานต้องอยู่ภายในคำท้าของคู่ความ ศาลแรงงานใช้ดุลพินิจลงโทษเหมาะสม
ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างแถลงรับข้อเท็จจริงแล้วท้ากันให้ศาลแรงงานวินิจฉัยจากข้อเท็จจริงดังกล่าวโดยไม่สืบพยานว่า ตามกฎระเบียบเกี่ยวกับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ข้อที่ 2เพียงว่าหากศาลวินิจฉัยว่า พนักงานมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีเมื่อเริ่มทำงานในปีที่ 2 โดยมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้6 วัน การที่ผู้คัดค้านยื่นใบลาหยุดพักผ่อนประจำปีในวันที่ 15และวันที่ 21 กรกฎาคม 2539 และหยุดงานไปในวันดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิเกินกว่าที่ผู้ร้องกำหนด ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่ และขาดงานเท่านั้น หาได้มีข้อตกลงหรือคำท้าว่า หากศาลวินิจฉัย ความหมายของกฎระเบียบเกี่ยวกับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ข้อที่ 2 เป็นไปตามความหมายที่ผู้ร้องอ้างแล้ว ผู้คัดค้าน จะต้องถูกลงโทษตามที่ผู้ร้องได้ร้องขอด้วยไม่ ฉะนั้น เมื่อศาลแรงงานพิจารณากฎระเบียบดังกล่าวแล้ววินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีเกินกว่าที่ผู้ร้อง กำหนดเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ของผู้ร้องจึงเป็นการวินิจฉัยไปตามคำท้าครบถ้วนแล้ว หาใช่วินิจฉัยนอกเหนือไปจากคำท้า ศาลแรงงานใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านเพียงแต่ตักเตือนเป็นหนังสืออย่างเดียว โดยไม่อนุญาตให้ลงโทษปรับลดผู้คัดค้านมาเป็นพนักงานรายวัน เพราะเห็นว่าการที่ผู้คัดค้านฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องดังกล่าวก็โดยเข้าใจว่าสิทธิในการลาหยุดพักผ่อนประจำปีของผู้คัดค้านยังเหลืออยู่ มิใช่เป็นการจงใจละทิ้งหน้าที่ หรือขาดงานไปโดยไม่มีเหตุอันควร อันเป็นการใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ผู้ร้องลงโทษผู้คัดค้านตามความร้ายแรงแห่งพฤติการณ์ซึ่งศาลแรงงานชอบที่จะกระทำได้ ไม่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติ แห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5237/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์: ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์และการกำหนดระยะเวลาชดใช้
โจทก์ยื่นฟ้องอุทธรณ์ว่า ตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 2ใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์เดือนละ 1,500 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์คืนหรือใช้ราคาแทน โจทก์ไม่เห็นพ้องด้วย ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์เป็นเดือนละ 4,500 บาทมิได้อุทธรณ์ว่าให้สิ้นสุดลงตั้งแต่เมื่อใด ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ยื่นอุทธรณ์ ประเด็นค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ที่ศาลอุทธรณ์ควรจะวินิจฉัยก็คือสมควรจะให้จำเลยที่ 2 ชดใช้ในอัตราใดระหว่างตั้งแต่ 1,500 บาท ถึง 4,500 บาทแต่ไม่มีประเด็นให้วินิจฉัยเรื่องวันที่สิ้นสุดของการชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า อัตราค่าชดใช้ที่โจทก์ขอมานั้นสูงเกินไปส่วนอัตราค่าชดใช้ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้นั้นต่ำเกินไป จึงกำหนดให้จำเลยที่ 2ใช้ในอัตราเดือนละ 3,000 บาท ซึ่งเป็นประเด็นอยู่ในคำฟ้องอุทธรณ์จึงชอบแล้วแต่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยเพิ่มเติมต่อไปอีกว่า การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 2ชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยที่ 2 จะส่งมอบรถยนต์คืนหรือใช้ราคาแทนนั้นนานเกินไปเพราะมิได้กำหนดระยะเวลาไว้เห็นสมควรกำหนดให้ชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์นับจากวันฟ้องไปเพียงอีก 2 เดือน ข้อนี้เป็นการวินิจฉัยเกินจากคำฟ้องอุทธรณ์ เพราะไม่มีผู้ใดอุทธรณ์ประเด็นเรื่องวันที่ของการสิ้นสุดชดใช้ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ ทั้งมิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในข้อนี้จึงไม่ชอบ สมควรแก้ไขให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าขาดประโยชน์อันเกิดจากการใช้ทรัพย์นับจากวันฟ้องจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์คืนหรือใช้ราคาแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยในคดีแรงงาน: การรับผิดจากความประมาทเลินเล่อและการขยายผลทางกฎหมาย
ศาลแรงงานมิได้กำหนดประเด็นเรื่องการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไว้ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2ที่ 5 และที่ 6 ต้องรับผิดเนื่องจากเป็นความเสียหายที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นเรื่องนอกประเด็นหรือนอกจากที่โจทก์กล่าวในฟ้องเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาคดี และเนื่องจากหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งหกร่วมรับผิดนั้นเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งมิได้อุทธรณ์ด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1)ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4212/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการฎีกาและการเกินขอบเขตการวินิจฉัยของศาล
ผู้ร้องร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดลำดับที่2ถึง37ซึ่งมีราคาประเมินรวมกัน78,150บาทแต่มิได้คัดค้านการอายัดเงินจำนวน70,000บาทที่เทศบาลเมืองพะเยาจะต้องจ่ายให้แก่ร้านของผู้ร้องการที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยถึงจำนวนเงินที่อายัดด้วยนั้นจึงเป็นการเกินไปกว่าที่ปรากฎในคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดอันเป็นการมิชอบแม้ผู้ร้องจะได้เสียค่าขึ้นศาลในจำนวนเงินที่อายัดมาด้วยในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาทั้งได้อุทธรณ์ฎีกาโต้เถียงขึ้นมาก็ต้องถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองจึงต้องถือว่าคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาเพียงจำนวน78,150บาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง ผู้ร้องฎีกาว่าผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยาก่อนที่โจทก์จะฟ้องคดีนี้การที่จำเลยยังคงอยู่อาศัยกับผู้ร้องก็เนื่องจากเพื่อมิให้มารดาของผู้ร้องผิดสังเกตทั้งมีข้อตกลงกันว่าจำเลยเคยมาพักอาศัยอยู่กับผู้ร้องอย่างใดก็ให้เป็นไปเช่นนั้นและจำเลยเคยออกใบเสร็จรับเงินแทนผู้ร้องอย่างใดก็ให้คงทำเช่นนั้นต่อไปโจทก์จึงไม่มีสิทธินำเจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์นั้นฎีกาของผู้ร้องดังกล่าวเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่ฟังว่าผู้ร้องกับจำเลยได้จดทะเบียนหย่าขาดจากกันโดยเจตนาลวงซึ่งแท้จริงแล้วผู้ร้องกับจำเลยยังอยู่กินฉันสามีภรรยากันทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์ของผู้ร้องกับจำเลยที่ได้มาในระหว่างเป็นสามีภรรยาจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3035/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยคดี: ศาลต้องวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่จำเลยต่อสู้เท่านั้น
ตามคำให้การจำเลยไม่มีประเด็นเรื่องจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทของโจทก์แล้วหรือไม่ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทเป็นการโต้แย้งสิทธิครอบครองของโจทก์แล้ว โจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี จึงเป็นการวินิจฉัยนอกเหนือจากประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้และนอกเหนือจากประเด็นข้อพิพาทแห่งคดี ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยเองไม่ได้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9337/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยในชั้นร้องขัดทรัพย์: ศาลต้องพิจารณาเฉพาะเจ้าของทรัพย์สิน ไม่ใช่ข้อพิพาทเรื่องหนี้สิน
ในชั้นร้องขัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288กฎหมายประสงค์ให้ศาลที่ออกหมายบังคับคดีชี้ขาดเพียงว่าลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้หรือไม่เท่านั้น จะไปวินิจฉัยว่า ฮ.เจ้ามรดกไม่ได้กู้ยืมเงินจากโจทก์ไม่ได้ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาดังกล่าว จึงเป็นการวินิจฉัยคดีนอกประเด็นชั้นร้องขัดทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7263/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ต้องอยู่ภายในประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ การวินิจฉัยเกินกว่าอุทธรณ์เป็นกรณีที่มิชอบ
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยบุกรุกที่ดินโจทก์หรือไม่ แล้วศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยบุกรุก จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ได้ปลูกสร้างโรงเรือนและรั้วรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์ ส่วนข้อความในอุทธรณ์ที่จำเลยกล่าวถึงการจัดทำแผนที่วิวาทว่า โรงเรือนและรั้วของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์4 ตารางวา เป็นกรณีที่จำเลยกล่าวถึงข้อที่ศาลชั้นต้นอ้างไว้ในคำพิพากษาเท่านั้นมิใช่จำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าโรงเรือนและรั้วของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์จริง คดียังคงมีประเด็นว่าจำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้กระทำละเมิดโดยปลูกสร้างบ้านและรั้วรุกล้ำที่ดินของโจทก์ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยเกินกว่าอุทธรณ์ของจำเลย
of 4