คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขอบเขตคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนนิติกรรม: ผลกระทบต่อบุคคลภายนอกและขอบเขตการดำเนินคดี
ตามคำฟ้องโจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 195 ต. เขาทราย อ. ทับคล้อ จ. พิจิตร โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ไปไถ่ถอนจำนองที่ดินแปลงดังกล่าว แต่จำเลยที่ 1 ทำเกินขอบอำนาจโดยจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมให้ที่ดินแก่จำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ขายให้จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 จำนองต่อจำเลยที่ 3 ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นิติกรรมการซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ดังนี้ จึงเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์จากผู้ไม่มีสิทธิยึดถือได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 และการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แล้ว แม้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เพราะเป็นการฟ้องบุพการีต้องห้ามตาม ป.พ.พ. 1562 ก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุเฉพาะตัวระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น หามีผลไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกด้วยไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3461/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินหลังสมรส: สิทธิของคู่สมรสในทรัพย์สินที่ได้มาหลังจดทะเบียนสมรส และขอบเขตการยกประเด็นใหม่ในคดี
คู่ความท้ากันให้ศาลวินิจฉัยข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวโดยไม่สืบพยานว่าจำเลยมีสิทธิจะไม่ขายที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายเพราะไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยร่วมหรือไม่โดยคู่ความแถลงรับกันว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทมาเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2524 จำเลยจดทะเบียนสมรสกับจำเลยร่วมเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2525 อันถือได้ว่าคู่ความสละประเด็นข้ออื่นในคดีแล้ว การที่จำเลยและจำเลยร่วมยกข้อโต้แย้งว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกันมาในฐานะหุ้นส่วน จำเลยร่วมจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยนั้น เป็นการตั้งประเด็นใหม่อีกหาอาจกระทำได้ไม่ ข้อโต้แย้งของจำเลยและจำเลยร่วมดังกล่าวอยู่นอกคำท้าศาลไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2987/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการต่อสู้คดีภารจำยอม การวินิจฉัยนอกคำฟ้อง และประเด็นฟ้องซ้ำ
จำเลยให้การว่า ทางพิพาทไม่ใช่ทางภารจำยอมเพราะไม่เคยมีใครใช้ ทางดังกล่าว คำให้การของจำเลยย่อมมีความหมายไปถึง ว่าไม่ใช่ทางภารจำยอมแม้แต่ วาเดียว หรือศอกเดียว ไปด้วย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาไปถึง ว่าความกว้างยาวของทางภารจำยอมมีขนาดไหนจึงอยู่ในขอบเขตของคำให้การของจำเลยแล้วไม่ใช่เป็นเรื่องนอกประเด็น โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิม โจทก์ได้ใช้ ที่ดินของจำเลยดังกล่าวส่วนหนึ่งมีขนาดกว้าง 2 วา ยาว 10 วา ใช้ เป็นทางเดินเข้าออกของที่ดินโจทก์ไปสู่ทางสาธารณะเป็นระยะเวลาติดต่อ กันประมาณ35 ปีแล้ว โดย สงบ โดย เปิดเผย มีเจตนาให้ได้ ทางภารจำยอม เป็นคำบรรยายฟ้องที่ชัดเจนแล้วว่าโจทก์ได้ ภารจำยอมโดย อายุความ คดีก่อนประเด็นพิพาทมีว่า จำเลยสละการครอบครองที่พิพาทแล้วหรือไม่ ทั้งศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยยังครอบครองที่พิพาทไม่ได้สละการครอบครองโจทก์ฟ้องคดีนี้ว่า ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมซึ่ง มีประเด็นต่าง กันและเหตุที่วินิจฉัยก็ต่าง กัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1492/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาล ไม่จำกัดเฉพาะคำขอในฟ้อง หากไม่ขัดกฎหมาย ศาลต้องพิพากษาตามยอม
สัญญาประนีประนอมยอมความที่กระทำต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาตามยอมนั้น มิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทอย่างคดีธรรมดาที่ต้องพิจารณาสืบพยานกันจึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายที่ห้ามมิให้พิพากษาเกินคำขอหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องเพียงแต่ต้องตกลงกันในประเด็นแห่งคดีหรือเกี่ยวเนื่องกับประเด็นนั้นๆ หากข้อตกลงนั้นมิได้ฝ่าฝืนต่อกฎหมายแล้ว ศาลก็ต้องพิพากษาไปตามยอม ไม่ต้องย้อนไปดูว่าเกินคำขอหรือไม่
โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวทำสัญญาให้จำเลยทั้งสามถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินและตึกพิพาทแทน ได้ฟ้องจำเลยทั้งสามขอให้ยึดที่ดินและตึกพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระให้โจทก์การ ที่คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โจทก์ได้รับเงินค่าเช่าที่ดินและตึกพิพาทตลอดชีวิตของโจทก์แทนเงินจากการขายทอดตลาด โดยโจทก์ยกกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นการตกลงกันในขอบเขตแห่งประเด็นในคดีหรือเกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคดีแล้ว คำพิพากษาตามยอมก็ไม่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เพราะเป็นการที่โจทก์ได้จำหน่ายที่ดินและตึกพิพาทตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 94 และไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 และมาตรา 113 ศาลย่อมพิพากษาให้เป็นไปตามยอมได้
หมายเหตุ (โปรดดูฎีกาที่ 1848/2516, 2170/2519 และ 2487/2523)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607-608/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร้องสอดคดี: การจำกัดขอบเขตข้อพิพาท และการฟ้องคดีใหม่สำหรับที่ดินแปลงอื่น
โจทก์จำเลยพิพาทกันเรื่องที่ดิน โดยต่างฝ่ายต่างกล่าวหากันว่าอีกฝ่ายหนึ่งบุกรุกที่ดินของตน เมื่อศาลสั่งทำแผนที่แล้วปรากฎว่าตรงที่พิพาทกันมิได้เกี่ยวข้องกับที่ ๆ จำเลยนำชี้แนวเขตที่ดินทางด้านอื่นรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของนายโชติเช่นนี้ เมื่อนายโชติจะต้องการใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา55 ก้ต้องนำคดีไปฟ้องร้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตั้งข้อพิพาทกับจำเลยฝ่ายเดียวโดยเฉพาะ หามีสิทธิประการใดที่จะร้องสอดเข้ามาในคดีเรื่องนี้ไม่ ไม่ว่าในฐานะที่เป็นโจทก์ร่วมจำเลยร่วมหรือเป็นฝ่ายที่สาม มิฉะนั้นแล้วบุคคลอื่น ๆ ก็ถือสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีได้ง่าย ๆ แทนที่ศาลจะพิจารณาแต่เพียงประเด็นเดียวเฉพาะที่โจทก์จำเลยพิพาทกันโดยตรง กลับจะต้องไปพิจารณาประเด็นอื่น ๆ ซึ่งไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยนั้นเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการดำเนินคดีอาญาเมื่อข้อพิพาทเรื่องสิทธิในที่ดินยังไม่สิ้นสุด และการโต้แย้งสิทธิในที่ดินในทางแพ่ง
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยขัดคำสั่งนายอำเภอที่สั่งให้จำเลยออกจากหนองสาธารณะตาม พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ ขอให้ลงโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 334(2) จำเลยต่อสู้ว่า ที่พิพาทไม่ใช่หนองสาธารณะ หากเป็นที่ของจำเลยมีกรรมสิทธิ
ศาลชั้นต้นฟังว่า ที่พิพาทไม่ใช่หนองสาธารณะ จึงพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ฟังว่าที่พิพาทเป็นหนองสาธารณะ แต่คงเห็นว่าจำเลยไม่ผิดในทางอาญา จึงพิพากษายืนให้ยกฟ้อง ดังนี้ดดจำเลยจะฎีกาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ว่าที่พิพาทไม่ใช่หนองสาธารณะ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยให้ โดยเห็นว่าประเด็นข้อขัดคำสั่งทางอาญานั้นได้ยุติลงแล้วคู่ความชอบที่จะโต้แย้งกันในทางแพ่งได้ว่า หนองพิพาทเป็นหนองสาธารณะหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 812/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่การนำสืบในคดีแพ่ง: ประเด็นความรับผิดของลูกจ้างและขอบเขตการต่อสู้คดี
โจทฟ้องว่าลูกจ้างของจำเลยขับรถอันเปนปรกติธุระของจำเลยชนรถยนต์ของโจทเสียหายโดยประมาทเลินเล่อ จำเลยต่อสู้ว่าการชนเกิดจากความผิดของฝ่ายโจท ไม่ได้กล่าวว่าลูกจ้างของจำเลยไม่ได้ทำการไนทางการที่จ้างดังนี้ ย่อมไม่มีประเด็นที่จำเลยไม่ได้ต่อสู้นั้นและโจทไม่จำต้องนำสืบ. ไนคดีแพ่งโจทไม่ต้องนำสืบไนข้อที่ไม่มีประเด็นต้องโต้เถียงกัน ไนคดีแพ่งนั้นคำไห้การจำเลยต้องสแดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับหรือปติเสธข้ออ้างของโจททั้งสิ้นหรือแต่บางส่วนรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2479

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนยื่นใบขนสินค้าเท็จ มีความผิดเช่นเจ้าของสินค้า และศาลจำกัดขอบเขตการบังคับคดีตามคำขอ
ตัวแทนเจ้าของดินค้ายื่นใบขนสินค้าเท็จต้องมีผิดเช่นเดียวกับเป็นเจ้าของสินค้าอันแท้จริง ประมวลวิธีพิจารณาอาญา ม.192 ฟ้อง ตัดสิน โจทก์ฟ้องขอให้ริบสินค้าอย่างเดียวศาลจะบังคับให้จำเลยทำใบขนสินค้าไปขอเสียค่าภาษีใหม่ไม่ได้ เพราะเป็นการเกินคำขอ สินค้าซึ่งเสียภาษีผิดประเภทซึ่งเจ้าพนักงานเก็บมาเป็นของกลางนั้น จะควรคืนให้เจ้าของหรือไม่ ศาลไม่วินิจฉัยถึง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลอุทธรณ์ในคดีอาญา: การพิจารณาเกินเลยขอบเขตคดีเฉพาะตัว
วิธีพิจารณาอาชญา อำนาจศาลอุทธรณ์ พิจารณาคดีที่จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ขึ้นมาได้เสียงใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8917/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์, การรับข้อเท็จจริง, และขอบเขตการต่อสู้คดี: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่นอกเหนือจากที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้ว
สัญญากู้เงินมีข้อความว่า จำเลยกู้เงินไปจากโจทก์ทั้งสอง 476,720 บาท และได้รับเงินไปครบถ้วนแล้ว การที่จำเลยให้การรับว่าทำสัญญากู้จริงแต่ไม่ได้รับเงินกู้ มูลหนี้ตามฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์ตามข้อต่อสู้
ศาลชั้นต้นมิได้ชี้สองสถานและกำหนดภาระการพิสูจน์ เมื่อโจทก์และจำเลยได้สืบพยานไปจนสิ้นกระแสแล้ว ศาลล่างทั้งสอง ได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทจากพยานหลักฐานที่โจทก์ จำเลยนำสืบ และศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้วินิจฉัยครบถ้วนชัดแจ้งโดยมิได้ยกภาระการพิสูจน์เป็นเหตุพิพากษาให้แพ้หรือชนะคดีดังนั้นแม้จำเลยจะมีภาระการพิสูจน์ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลงไป การที่โจทก์ทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายว่าภาระการพิสูจน์ตกแก่ฝ่ายใดจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนี่ง
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า จำเลยกู้เงินไปจากโจทก์ทั้งสอง 476,720 บาท โดยจำเลยให้การยอมรับว่ากู้เงินโจทก์ที่ 2 จำนวน 104,600 บาท จึงเป็นการรับข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง การที่จำเลยนำสืบ ว่าความจริงจำเลยกู้เงินไปจากโจทก์ทั้งสองเพียง 50,000 บาท จึงนอกเหนือจากคำให้การของจำเลย แม้ศาลล่างทั้งสองจะได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง