พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3978/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การพิพากษาค่าเสียหายและขอบเขตคำขอให้ระงับการกระทำละเมิด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งห้าละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยมีคำขอให้บังคับจำเลยทั้งห้าระงับหรือละเว้นการปลอมสินค้าหรือปลอมเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วย ซึ่งคำขอในส่วนนี้หมายถึงการระงับหรือละเว้นการกระทำดังกล่าวหลังจากวันที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นต้นไป กรณีจึงเป็นเรื่องการกระทำในอนาคตซึ่งยังมิได้เกิดมีการโต้แย้งสิทธิของโจทก์อยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยทั้งห้าดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 55 จึงเป็นคำขอบังคับที่ไม่อาจพิพากษาบังคับจำเลยทั้งห้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1228/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำขอในฟ้อง: ศาลมีอำนาจพิพากษาให้คืนรถยนต์หรือชดใช้ราคาได้ แม้คำขอท้ายฟ้องจะเน้นการชดใช้ราคา
ฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องกล่าวหาว่าจำเลยผิดสัญญา ไม่อาจส่งมอบรถยนต์ที่โจทก์ฝากขายไว้คืนแก่โจทก์ ในสภาพเรียบร้อยได้ แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยใช้ราคารถยนต์แก่โจทก์ 70,000 บาท ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ มีความประสงค์หลักให้จำเลยคืนรถยนต์นั่นเอง หากคืนไม่ได้จึงให้ใช้ราคาเท่าราคารถยนต์ การที่ศาลล่างทั้งสองมี คำพิพากษาให้จำเลยคืนรถยนต์แก่โจทก์ในสภาพที่เรียบร้อย หากคืนไม่ได้ก็ให้ใช้ราคาแทนโดยตีราคารถยนต์ต่ำกว่า ที่โจทก์ขอ จึงมีอำนาจที่จะพิพากษาได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือนอกจากที่ปรากฏในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฟ้องร้องและการบังคับคดี: ศาลพิพากษาตามคำขอได้หากสอดคล้องกับสภาพแห่งหนี้
คำฟ้องของโจทก์มุ่งประสงค์ที่จะให้ศาลเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์อาคารพร้อมที่ดิน แต่เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และโจทก์ได้ขอให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้จำนวน14,560,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย หากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับได้ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวรวมถึงราคาพร้อมที่ดินที่ค้างชำระรวมอยู่ด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามเช็คซึ่งเป็นราคาอาคารพร้อมที่ดินที่ค้างชำระตามที่โจทก์ได้กล่าวบรรยายมาในฟ้องแล้ว ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินที่ค้างชำระตามจำนวนที่ระบุในเช็ค ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่า, อำนาจฟ้อง, และขอบเขตคำพิพากษาเกินคำขอ
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า การเคหะแห่งชาติเคยมีหนังสือบอกเลิกการเช่าห้องพิพาทแก่จำเลยแล้ว จำเลยก็ยอมรับ แต่ปฏิเสธว่าหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าไม่มีผลบังคับ เพราะได้มีบัญชาของนายกรัฐมนตรีขณะนั้นให้ระงับโครงการรื้อถอนและให้ผู้เช่ารวมทั้งจำเลยเช่าอยู่ต่อไป แต่จำเลยไม่มีพยานมาสืบให้เห็นเป็นดังที่จำเลยอ้างเพียงกล่าวอ้างลอย ๆ ถือว่าการบอกเลิกการเช่ามีผลสมบูรณ์ จำเลยอยู่ในห้องพิพาทโดยละเมิด การที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์และโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยเนื่องจากการบอกเลิกการเช่าห้องพิพาทไม่มีผลตามกฎหมายนั้นเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงว่า หนังสือบอกเลิกสัญญาไม่มีผลบังคับเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยมีสิทธิการเช่าในห้องพิพาทดีกว่าโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 543 (3) อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ฎีกาของจำเลยในข้อที่ว่า โจทก์จะเรียกสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้ามาเป็นโจทก์ร่วม ไม่ต้องด้วยเหตุตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57(3) (ก) เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า กรณีที่โจทก์เรียกสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้ามาเป็นโจทก์ร่วมต้องด้วยเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) (ข) แล้ว ดังนี้ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงไม่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
ตามสัญญาเช่าระบุว่า ผู้เช่าสัญญาจะเป็นผู้ดำเนินการให้ผู้ครอบครองผู้บุกรุก หรือบุคคลอื่นออกจากสถานที่เช่าและสิ่งปลูกสร้างในสถานที่เช่าจนสามารถครอบครองสถานที่เช่าได้ทั้งหมด โดยผู้ให้เช่าเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆตามที่ผู้เช่าจ่ายจริงภายในวงเงินไม่เกินสิบล้านบาทนั้น สัญญาได้ระบุไว้ชัดเจนว่าผู้เช่าคือโจทก์เป็นผู้ดำเนินการโดยผู้ให้เช่าคือโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายจึงเป็นเรื่องการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของโจทก์ มิใช่เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วมด้วยนั้น เมื่อปรากฏตามคำร้องเข้าเป็นโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมเพียงแต่ขอให้บังคับจำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากห้องพิพาทและห้ามเข้าไปเกี่ยวข้องอีกเท่านั้น ดังนั้น คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองในส่วนนี้จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำขอ อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเป็นจำเลยไม่ต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วม
ฎีกาของจำเลยในข้อที่ว่า โจทก์จะเรียกสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้ามาเป็นโจทก์ร่วม ไม่ต้องด้วยเหตุตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57(3) (ก) เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยว่า กรณีที่โจทก์เรียกสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เข้ามาเป็นโจทก์ร่วมต้องด้วยเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) (ข) แล้ว ดังนี้ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยจึงไม่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
ตามสัญญาเช่าระบุว่า ผู้เช่าสัญญาจะเป็นผู้ดำเนินการให้ผู้ครอบครองผู้บุกรุก หรือบุคคลอื่นออกจากสถานที่เช่าและสิ่งปลูกสร้างในสถานที่เช่าจนสามารถครอบครองสถานที่เช่าได้ทั้งหมด โดยผู้ให้เช่าเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆตามที่ผู้เช่าจ่ายจริงภายในวงเงินไม่เกินสิบล้านบาทนั้น สัญญาได้ระบุไว้ชัดเจนว่าผู้เช่าคือโจทก์เป็นผู้ดำเนินการโดยผู้ให้เช่าคือโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายจึงเป็นเรื่องการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของโจทก์ มิใช่เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วมด้วยนั้น เมื่อปรากฏตามคำร้องเข้าเป็นโจทก์ร่วมว่า โจทก์ร่วมเพียงแต่ขอให้บังคับจำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากห้องพิพาทและห้ามเข้าไปเกี่ยวข้องอีกเท่านั้น ดังนั้น คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองในส่วนนี้จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าคำขอ อันเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142ศาลฎีกาสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเป็นจำเลยไม่ต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5469/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคุ้มครองชั่วคราวต้องเป็นไปตามคำฟ้อง การขอคุ้มครองเกินคำฟ้องเป็นเหตุให้ศาลยกคำร้อง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาททั้ง4แปลงให้กลับไปใช้โฉนดที่ดินเดิมเลขที่3472แต่ระบุเนื้อที่เพียง17ไร่เศษมิใช่18ไร่เศษตามเนื้อที่ในโฉนดเดิมเนื่องจากที่ดินถูกการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเวนคืนแล้วจำนวน2ไร่เศษทั้งตามคำขอท้ายฟ้องก็มิได้เรียกให้จำเลยใช้ค่าเสียหายหรือให้จำเลยนำเงินค่าเวนคืนที่ดินจำนวน22,837,000บาทมาส่งมอบแก่โจทก์แต่อย่างใดเช่นนี้การที่โจทก์ขอคุ้มครองชั่วคราวโดยขอให้จำเลยนำเงินค่าเวนคืนที่ดินจำนวนดังกล่าวไปฝากธนาคารแล้วนำสมุดเงินฝากมาวางศาลจึงเป็นการขอคุ้มครองประโยชน์เกินกว่าคำขอในคำฟ้องของโจทก์แม้ผลแห่งคดีในที่สุดโจทก์ชนะศาลก็จะพิพากษาเพิกถอนการได้มาซึ่งที่โฉนดของจำเลยตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เท่านั้นไม่มีผลบังคับไปถึงเงินค่าเวนคืนจำนวนดังกล่าวซึ่งจำเลยได้รับไปจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยตามที่โจทก์ร้องขอคุ้มครองได้กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา254(2)และมาตรา264ที่โจทก์จะขอคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำขอท้ายฟ้อง: ศาลแรงงานพิพากษาเกินกว่าที่ฟ้องได้
แม้ศาลแรงงานจะฟังว่าจำเลยต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงิน 64,285.71 บาทก็ตาม แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยจ่ายเงินดังกล่าวเพียง 56,000 บาท ดังนั้นการที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายเงินนั้นแก่โจทก์ 64,285.71 บาท โดยไม่ได้อ้างเหตุอันสมควรเพื่อความเป็นธรรมแต่อย่างใด จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ฯ มาตรา 52.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4539/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกและขอบเขตคำขอ ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอหรือไม่
โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์สินเฉพาะส่วนของตน การที่ศาลพิพากษาให้แบ่งทรัพย์พิพาทออกเป็น 18 ส่วน โดยคำนวณจากจำนวนทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมดเพื่อกำหนดส่วนแบ่งของโจทก์ตามฟ้อง มิได้พิพากษาให้จำเลยโอนหรือแบ่งทรัพย์พิพาทให้ทายาทอื่นด้วย ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3223/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทแรงงาน: การคำนวณค่าชดเชยต้องรวมเบี้ยเลี้ยงชีพ, การบังคับใช้กฎหมายสัญชาติคู่กรณี, และขอบเขตคำขอในฟ้อง
บุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยย่อมจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายไทย ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายมหาชนหรือกฎหมายเอกชนโดยเฉพาะในทางอาญา ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 4 บัญญัติว่าผู้ใดกระทำผิดในราชอาณาจักรต้องรับโทษตามกฎหมาย ส่วนในทางแพ่งข้อขัดแย้งระหว่างบุคคลต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในบางกรณีหากมีปัญหาว่าจะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับ ก็ต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ
ปัญหาแรงงานส่วนใหญ่ต้องบังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 โดยเฉพาะพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ หมวด 10มีบทบัญญัติกำหนดโทษทางอาญาแก่ผู้ฝ่าฝืน หากมีการกระทำผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ ภายในราชอาณาจักรก็ต้องฟ้องร้องต่อศาลไทยและบังคับตามกฎหมายไทยไม่มีเหตุผลใดที่จะแยกฟ้องและบังคับตามกฎหมายของประเทศไทยเฉพาะในทางอาญาแต่ปัญหาแรงงานแท้ ๆ ให้ฟ้องร้องและบังคับตามกฎหมายของประเทศอื่น ดังนั้น เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานในประเทศไทย แม้จะมีการตกลงจ้างกันในประเทศอื่น ก็ต้องฟ้องร้องและบังคับคดีตามกฎหมายไทยโดยไม่ต้องคำนึงว่าคู่กรณีเจตนาให้ใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับ
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ที่ประเทศสิงคโปร์ ต่อมามีการผิดสัญญาในประเทศไทย โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินเดือนค่าเบี้ยเลี้ยง เงินโบนัส ค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทางค่าใช้พาหนะของโจทก์ ค่าซ่อมรถ ค่าภาษีและค่าปรับภาษีจากจำเลย กรณีต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย ฯ มาตรา 13 คือต้องถือตามเจตนาของคู่กรณี แต่เมื่อไม่อาจทราบได้ว่าขณะทำสัญญาคู่กรณีประสงค์จะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับและปรากฏว่าคู่กรณีมีสัญชาติอเมริกันทั้งสองฝ่าย กฎหมายที่ใช้บังคับแก่กรณีตามฟ้องจึงต้องเป็นกฎหมายสัญชาติอันร่วมกันของคู่กรณีคือกฎหมายของสหรัฐอเมริกา แต่ไม่มีฝ่ายใดนำสืบว่ากฎหมายของสหรัฐอเมริกาในเรื่องนี้มีอยู่อย่างไร กรณีจึงต้องบังคับตามมาตรา 8 คือให้ใช้กฎหมายของประเทศไทย
อุทธรณ์ว่าที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงตามคำพยานโจทก์นั้นเป็นการรับฟังขัดกับพยานหลักฐานในสำนวนเพราะเป็นการฟังพยานบอกเล่า โจทก์สืบไม่ได้ตามที่ตนมีหน้าที่นำสืบจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามคำให้การของจำเลย ดังนี้ เป็นอุทธรณ์ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 55
เบี้ยเลี้ยงชีพที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างมีจำนวนแน่นอนและจ่ายให้เป็นประจำเป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือนจึงเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง จึงต้องนำมารวมกับเงินเดือนเพื่อคำนวณค่าชดเชยด้วย
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแม้โจทก์นำสืบฟังได้ว่าจำเลยบอกเลิกจ้างและเลิกจ้างในวันเดียวกันก็ยังไม่พออนุมานได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์จึงเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52
ปัญหาแรงงานส่วนใหญ่ต้องบังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518 โดยเฉพาะพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ หมวด 10มีบทบัญญัติกำหนดโทษทางอาญาแก่ผู้ฝ่าฝืน หากมีการกระทำผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ ภายในราชอาณาจักรก็ต้องฟ้องร้องต่อศาลไทยและบังคับตามกฎหมายไทยไม่มีเหตุผลใดที่จะแยกฟ้องและบังคับตามกฎหมายของประเทศไทยเฉพาะในทางอาญาแต่ปัญหาแรงงานแท้ ๆ ให้ฟ้องร้องและบังคับตามกฎหมายของประเทศอื่น ดังนั้น เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานในประเทศไทย แม้จะมีการตกลงจ้างกันในประเทศอื่น ก็ต้องฟ้องร้องและบังคับคดีตามกฎหมายไทยโดยไม่ต้องคำนึงว่าคู่กรณีเจตนาให้ใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับ
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ที่ประเทศสิงคโปร์ ต่อมามีการผิดสัญญาในประเทศไทย โจทก์จึงฟ้องเรียกเงินเดือนค่าเบี้ยเลี้ยง เงินโบนัส ค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทางค่าใช้พาหนะของโจทก์ ค่าซ่อมรถ ค่าภาษีและค่าปรับภาษีจากจำเลย กรณีต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย ฯ มาตรา 13 คือต้องถือตามเจตนาของคู่กรณี แต่เมื่อไม่อาจทราบได้ว่าขณะทำสัญญาคู่กรณีประสงค์จะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับและปรากฏว่าคู่กรณีมีสัญชาติอเมริกันทั้งสองฝ่าย กฎหมายที่ใช้บังคับแก่กรณีตามฟ้องจึงต้องเป็นกฎหมายสัญชาติอันร่วมกันของคู่กรณีคือกฎหมายของสหรัฐอเมริกา แต่ไม่มีฝ่ายใดนำสืบว่ากฎหมายของสหรัฐอเมริกาในเรื่องนี้มีอยู่อย่างไร กรณีจึงต้องบังคับตามมาตรา 8 คือให้ใช้กฎหมายของประเทศไทย
อุทธรณ์ว่าที่ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงตามคำพยานโจทก์นั้นเป็นการรับฟังขัดกับพยานหลักฐานในสำนวนเพราะเป็นการฟังพยานบอกเล่า โจทก์สืบไม่ได้ตามที่ตนมีหน้าที่นำสืบจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามคำให้การของจำเลย ดังนี้ เป็นอุทธรณ์ดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางจึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 55
เบี้ยเลี้ยงชีพที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างมีจำนวนแน่นอนและจ่ายให้เป็นประจำเป็นรายเดือนเช่นเดียวกับเงินเดือนจึงเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง จึงต้องนำมารวมกับเงินเดือนเพื่อคำนวณค่าชดเชยด้วย
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแม้โจทก์นำสืบฟังได้ว่าจำเลยบอกเลิกจ้างและเลิกจ้างในวันเดียวกันก็ยังไม่พออนุมานได้ว่าโจทก์ฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์จึงเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำขอในคดีที่ดินและค่าใช้จ่ายทำแผนที่วิวาท ศาลพิพากษาตามข้อเท็จจริงเกินคำขอไม่ได้
คำร้องให้แสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินระบุเนื้อที่ประมาณ 243 ตารางวา แต่ได้ความตามแผนที่วิวาทเกินออกไปอีก 40 ตารางวา ศาลพิพากษาให้ตามที่ได้ความ ไม่เป็นการเกินคำขอ
ค่าใช้จ่ายในการทำแผนที่วิวาท ซึ่งศาลสั่งเจ้าพนักงานที่ดินทำตามที่คู่ความตกลงกัน เป็นค่าฤชาธรรมเนียมตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ซึ่งศาลสั่งให้เป็นพับแก่โจทก์ผู้แพ้คดีได้
ค่าใช้จ่ายในการทำแผนที่วิวาท ซึ่งศาลสั่งเจ้าพนักงานที่ดินทำตามที่คู่ความตกลงกัน เป็นค่าฤชาธรรมเนียมตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 ซึ่งศาลสั่งให้เป็นพับแก่โจทก์ผู้แพ้คดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้ซื้อของเชื่อ vs. การฟ้องเรียกทรัพย์คืนฐานลาภมิควรได้ และขอบเขตคำขอท้ายฟ้อง
โจทก์ฟ้องเรียกหนี้สินเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ซื้อของเชื่อไปจากบริษัท ส. มิใช่ฟ้องขอให้ชำระหนี้ฐานลาภมิควรได้ ถึงแม้โจทก์จะเขียน ฟ้องตั้งรูปคดีเป็นประการใดก็ตาม แต่กรณีตามฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องฟ้องเรียกหนี้สินที่ค้างชำระเกี่ยวกับจำเลยซื้อเชื่อน้ำสุราไปจากบริษัท ส. ฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด และตามฟ้องก็ฟ้องเรียกทรัพย์คืน จากจำเลยฐานลาภมิควรได้ เนื่องจากจำเลยยึดถือทรัพย์เหล่านั้นไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จึงต้องถือว่าของเหล่านั้น ตกอยู่ในความยึดถือครอบครองของจำเลยที่ 1 เท่านั้น จำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการมิได้ยึดถือครอบครอง ทรัพย์เป็นการส่วนตัวแต่อย่างใด จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
ฎีกาโจทก์มิได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่า โจทก์จะได้ดอกเบี้ย ตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน 2502 ด้วยเหตุใดจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำให้การข้อ 3 จำเลยยกอายุความขึ้นต่อสู้โดยชัดแจ้งว่า ฟ้องข้อ 3 ของโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)(17) ซึ่งเป็นเรื่องซื้อของเชื่อ ส่วนคำให้การข้อ 6 ซึ่งจำเลยให้การต่อสู้เกี่ยวกับฟ้องข้อ 4 นั้น จำเลยให้การว่าทรัพย์ไปตกอยู่ที่จำเลยที่ 1 และโจทก์ขอมาในคำขอท้ายฟ้องข้อ 1 ให้จำเลยใช้เงินค่าทรัพย์สินฐานลาภมิควรได้ จำเลยขอต่อสู้และตัดฟ้องว่า โจทก์ไม่มีสิทธิและอำนาจขอให้จำเลยใช้ค่าทรัพย์สินได้ตามกฎหมายเพราะไม่ใช่เรื่องการซื้อขายทรัพย์สินหรือเรื่องละเมิดหรือในกรณีพิพาทที่จะฟ้องร้องเอาเงินได้ตามกฎหมายแต่เป็นเรื่องลาภมิควรได้ และในเรื่องลาภมิควรได้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิหรืออำนาจฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าทรัพย์สิน ดังนี้ เห็นว่า จำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นสู้ในเรื่องลาภมิควรได้เลย
โจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้รับขวด หีบและกระสอบไปโดยไม่มีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จึงเป็นการได้ในฐานลาภมิควรได้ ซึ่งตามธรรมดาก็จะฟ้องขอให้คืนตัวทรัพย์ก่อน เมื่อไม่สามารถคืนได้ จึงให้ใช้ราคาแทน แม้คำขอท้ายฟ้องจะมิได้ขอให้จำเลยคืนตัวทรัพย์ ก็ตาม ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยคืนตัวทรัพย์ ถ้าไม่สามารถ คืนได้ก็ให้ใช้ราคา ไม่เป็นการนอกเหนือหรือเกินคำขอ
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด และตามฟ้องก็ฟ้องเรียกทรัพย์คืน จากจำเลยฐานลาภมิควรได้ เนื่องจากจำเลยยึดถือทรัพย์เหล่านั้นไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จึงต้องถือว่าของเหล่านั้น ตกอยู่ในความยึดถือครอบครองของจำเลยที่ 1 เท่านั้น จำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการมิได้ยึดถือครอบครอง ทรัพย์เป็นการส่วนตัวแต่อย่างใด จึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1
ฎีกาโจทก์มิได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่า โจทก์จะได้ดอกเบี้ย ตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน 2502 ด้วยเหตุใดจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำให้การข้อ 3 จำเลยยกอายุความขึ้นต่อสู้โดยชัดแจ้งว่า ฟ้องข้อ 3 ของโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)(17) ซึ่งเป็นเรื่องซื้อของเชื่อ ส่วนคำให้การข้อ 6 ซึ่งจำเลยให้การต่อสู้เกี่ยวกับฟ้องข้อ 4 นั้น จำเลยให้การว่าทรัพย์ไปตกอยู่ที่จำเลยที่ 1 และโจทก์ขอมาในคำขอท้ายฟ้องข้อ 1 ให้จำเลยใช้เงินค่าทรัพย์สินฐานลาภมิควรได้ จำเลยขอต่อสู้และตัดฟ้องว่า โจทก์ไม่มีสิทธิและอำนาจขอให้จำเลยใช้ค่าทรัพย์สินได้ตามกฎหมายเพราะไม่ใช่เรื่องการซื้อขายทรัพย์สินหรือเรื่องละเมิดหรือในกรณีพิพาทที่จะฟ้องร้องเอาเงินได้ตามกฎหมายแต่เป็นเรื่องลาภมิควรได้ และในเรื่องลาภมิควรได้ โจทก์ก็ไม่มีสิทธิหรืออำนาจฟ้องขอให้จำเลยใช้ค่าทรัพย์สิน ดังนี้ เห็นว่า จำเลยไม่ได้ยกอายุความขึ้นสู้ในเรื่องลาภมิควรได้เลย
โจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้รับขวด หีบและกระสอบไปโดยไม่มีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จึงเป็นการได้ในฐานลาภมิควรได้ ซึ่งตามธรรมดาก็จะฟ้องขอให้คืนตัวทรัพย์ก่อน เมื่อไม่สามารถคืนได้ จึงให้ใช้ราคาแทน แม้คำขอท้ายฟ้องจะมิได้ขอให้จำเลยคืนตัวทรัพย์ ก็ตาม ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยคืนตัวทรัพย์ ถ้าไม่สามารถ คืนได้ก็ให้ใช้ราคา ไม่เป็นการนอกเหนือหรือเกินคำขอ