พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 998/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางสาธารณะโดยปริยาย การรุกล้ำทาง และขอบเขตคำพิพากษา
เดิมทางพิพาทรวมอยู่ในที่ดินแปลงใหญ่ของ ก. แล้ว ก. แบ่งให้บุตรแยกครอบครองเป็นส่วนสัด บุคคลทั่วไปได้ใช้ทางพิพาทเดินออกสู่ทางสาธารณะเป็นเวลานานกว่า 10 ปีโดยไม่มีการหวงห้ามทางดังกล่าวจึงเป็นทางสาธารณะโดยปริยาย อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304(2) โดยไม่จำต้องมีการจดทะเบียนยกให้เป็นทางสาธารณะต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
โจทก์เพียงแต่ขอให้บังคับจำเลยรื้อรั้วคอนกรีตที่รุกล้ำออกจากทางสาธารณะและทำให้ทางอยู่ในสภาพเดิมเท่านั้น ไม่ได้มีคำขอให้มีระยะถอยร่นจากแนวรั้วนั้น คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่พิพากษาว่าโดยให้มีระยะถอยร่นจากแนวรั้วดังกล่าวเป็นระยะ 75 เซนติเมตรให้เสมอกับแนวชายคาหน้าบ้านที่ปลูกอยู่ติดกับรั้วคอนกรีตของจำเลยจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์เพียงแต่ขอให้บังคับจำเลยรื้อรั้วคอนกรีตที่รุกล้ำออกจากทางสาธารณะและทำให้ทางอยู่ในสภาพเดิมเท่านั้น ไม่ได้มีคำขอให้มีระยะถอยร่นจากแนวรั้วนั้น คำพิพากษาศาลล่างทั้งสองที่พิพากษาว่าโดยให้มีระยะถอยร่นจากแนวรั้วดังกล่าวเป็นระยะ 75 เซนติเมตรให้เสมอกับแนวชายคาหน้าบ้านที่ปลูกอยู่ติดกับรั้วคอนกรีตของจำเลยจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9524/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้อง, อัตราแลกเปลี่ยนเงิน, และขอบเขตคำพิพากษาในคดีทรัพย์สินทางปัญญา
ใบมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศไม่อยู่ในบังคับให้ต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
หนังสือมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศมีเจ้าพนักงานโนตารีปับลิกลงชื่อเป็นพยานและมีใบสำคัญของรัฐบาลต่างประเทศที่เกี่ยวข้องแสดงว่าบุคคลที่เป็นพยานนั้นเป็นผู้มีอำนาจกระทำการได้ แม้จะไม่มีกงสุลไทยเป็นพยาน ก็ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริง จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม การมอบอำนาจนั้นย่อมชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับอำนาจศาลตามสัญญาฉบับพิพาทที่กำหนดให้คู่สัญญาดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลแห่งประเทศอังกฤษเพียงแห่งเดียว จะทำขึ้นก่อนที่จะมีการจัดตั้งและเปิดทำการศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า- ระหว่างประเทศกลางก็ตาม แต่คดีนี้เกี่ยวด้วยหนี้เหนือบุคคล จำเลยทั้งหมดต่างมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหมดต่อศาลในประเทศไทย คือ ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยทั้งหมดมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(2) เดิม(มาตรา 4(1) ที่แก้ไขใหม่) ต่อมาเมื่อ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 ใช้บังคับศาลทรัพย์สิน-ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางซึ่งมีเขตศาลตลอดกรุงเทพมหานคร และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ตาม พ.ร.บ.มาตรา 5 และมาตรา 7(3) โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง หาจำต้องนำไปฟ้องยังศาลแห่งประเทศอังกฤษแต่เพียงแห่งเดียวไม่
พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 68 วรรคสอง, 80 และ 94 ซึ่งบัญญัติให้สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการหรือเครื่องหมายร่วมเฉพาะที่ได้จดทะเบียนแล้วต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนด้วย มีผลใช้บังคับในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 แต่ขณะทำสัญญาบทกฎหมายดังกล่าวยังไม่ใช้บังคับ และกฎหมายที่ใช้บังคับเกี่ยวกับเครื่องหมายบริการขณะนั้นยังไม่มี เมื่อสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือเป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้ และบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายสารบัญญัติ ไม่มีผลใช้บังคับย้อนหลังไม่ทำให้สัญญาซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วต้องเสียไปหรือตกเป็นโมฆะ
สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิระหว่างบริษัทผู้อนุญาตกับจำเลยที่ 1 ผู้รับอนุญาตมีข้อตกลงว่า "ให้ผู้อนุญาตโอนสิทธิและภาระผูกพันของตนได้อย่างอิสระ" และได้มีการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ทราบโดยทางโทรสารและไปรษณีย์ลงทะเบียนแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าสภาพแห่งสิทธินั้นเองจะไม่เปิดช่องให้โอนกันได้ บริษัทผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิจึงโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้รับโอนได้โดยชอบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคแรก และเมื่อการโอนดังกล่าวมีการแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ทราบแล้วตามมาตรา 306 วรรคแรก การโอนนั้นจึงใช้ยันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
การโอนสิทธิและอนุญาตให้ใช้สิทธิในชื่อทางการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายการค้า และสิทธิในระบบปฏิบัติการที่มีอยู่แล้วก่อนนำมาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายบริการในประเทศไทยมิใช่การโอนสิทธิในเครื่องหมายบริการที่ได้รับการจดทะเบียน จึงไม่ต้องจดทะเบียนต่อนายทะเบียนตามแบบแห่งนิติกรรมดังที่กำหนดไว้มาตรา 51 วรรคสอง และ 68 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า-ระหว่างประเทศวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ ก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐตามคำขอบังคับของโจทก์ท้ายคำฟ้องเท่านั้น
แม้ลูกหนี้มีสิทธิชำระหนี้เงินดอลลาร์สหรัฐตามคำพิพากษาเป็นเงินบาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคแรก แต่การเปลี่ยนเงินก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 196 วรรคสอง ที่ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันอันเนื่องมาจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน การชำระหนี้ด้วยเงินไทยและการเปลี่ยนเงินเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี จึงไม่ต้องกำหนดไว้ในคำพิพากษา แต่การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาเกี่ยวกับการคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินบาทโดยให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันที่มีคำพิพากษาซึ่งอาจมีอัตราแลกเปลี่ยนแตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินในเวลาที่มีการใช้เงิน หากลูกหนี้ต้องชำระหนี้เป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันอ่านคำพิพากษาซึ่งถ้าเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ แลกเป็นเงินบาทได้มากกว่าในวันชำระเงินจริง ก็จะทำให้ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ด้วยเงินบาทเป็นจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินบาทที่คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ใช้เงินและมีผลทำให้จำนวนเงินที่ต้องชำระหนี้เป็นเงินบาทนั้นคิดเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐสูงกว่าจำนวนเงินตามคำขอบังคับท้ายคำฟ้องของโจทก์อันถือเป็นการพิพากษาเกินไปหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและ วิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง และเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอุทธรณ์ขึ้นมาศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็เห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเฉพาะกรณีที่จะมีผลให้เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
หนังสือมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศมีเจ้าพนักงานโนตารีปับลิกลงชื่อเป็นพยานและมีใบสำคัญของรัฐบาลต่างประเทศที่เกี่ยวข้องแสดงว่าบุคคลที่เป็นพยานนั้นเป็นผู้มีอำนาจกระทำการได้ แม้จะไม่มีกงสุลไทยเป็นพยาน ก็ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าใบมอบอำนาจนั้นจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริง จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสาม การมอบอำนาจนั้นย่อมชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับอำนาจศาลตามสัญญาฉบับพิพาทที่กำหนดให้คู่สัญญาดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลแห่งประเทศอังกฤษเพียงแห่งเดียว จะทำขึ้นก่อนที่จะมีการจัดตั้งและเปิดทำการศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า- ระหว่างประเทศกลางก็ตาม แต่คดีนี้เกี่ยวด้วยหนี้เหนือบุคคล จำเลยทั้งหมดต่างมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งหมดต่อศาลในประเทศไทย คือ ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยทั้งหมดมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4(2) เดิม(มาตรา 4(1) ที่แก้ไขใหม่) ต่อมาเมื่อ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 ใช้บังคับศาลทรัพย์สิน-ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางซึ่งมีเขตศาลตลอดกรุงเทพมหานคร และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งเกี่ยวกับสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา จึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้ตาม พ.ร.บ.มาตรา 5 และมาตรา 7(3) โจทก์ย่อมมีสิทธินำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง หาจำต้องนำไปฟ้องยังศาลแห่งประเทศอังกฤษแต่เพียงแห่งเดียวไม่
พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 68 วรรคสอง, 80 และ 94 ซึ่งบัญญัติให้สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการหรือเครื่องหมายร่วมเฉพาะที่ได้จดทะเบียนแล้วต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนด้วย มีผลใช้บังคับในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 แต่ขณะทำสัญญาบทกฎหมายดังกล่าวยังไม่ใช้บังคับ และกฎหมายที่ใช้บังคับเกี่ยวกับเครื่องหมายบริการขณะนั้นยังไม่มี เมื่อสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือเป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือ ศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้ และบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายสารบัญญัติ ไม่มีผลใช้บังคับย้อนหลังไม่ทำให้สัญญาซึ่งสมบูรณ์อยู่แล้วต้องเสียไปหรือตกเป็นโมฆะ
สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิระหว่างบริษัทผู้อนุญาตกับจำเลยที่ 1 ผู้รับอนุญาตมีข้อตกลงว่า "ให้ผู้อนุญาตโอนสิทธิและภาระผูกพันของตนได้อย่างอิสระ" และได้มีการแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ทราบโดยทางโทรสารและไปรษณีย์ลงทะเบียนแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าสภาพแห่งสิทธินั้นเองจะไม่เปิดช่องให้โอนกันได้ บริษัทผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิจึงโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้รับโอนได้โดยชอบ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคแรก และเมื่อการโอนดังกล่าวมีการแจ้งเป็นหนังสือให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ลูกหนี้ทราบแล้วตามมาตรา 306 วรรคแรก การโอนนั้นจึงใช้ยันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้
การโอนสิทธิและอนุญาตให้ใช้สิทธิในชื่อทางการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายการค้า และสิทธิในระบบปฏิบัติการที่มีอยู่แล้วก่อนนำมาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายบริการในประเทศไทยมิใช่การโอนสิทธิในเครื่องหมายบริการที่ได้รับการจดทะเบียน จึงไม่ต้องจดทะเบียนต่อนายทะเบียนตามแบบแห่งนิติกรรมดังที่กำหนดไว้มาตรา 51 วรรคสอง และ 68 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า-ระหว่างประเทศวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ ก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐตามคำขอบังคับของโจทก์ท้ายคำฟ้องเท่านั้น
แม้ลูกหนี้มีสิทธิชำระหนี้เงินดอลลาร์สหรัฐตามคำพิพากษาเป็นเงินบาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 วรรคแรก แต่การเปลี่ยนเงินก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 196 วรรคสอง ที่ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันอันเนื่องมาจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน การชำระหนี้ด้วยเงินไทยและการเปลี่ยนเงินเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี จึงไม่ต้องกำหนดไว้ในคำพิพากษา แต่การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางมีคำพิพากษาเกี่ยวกับการคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินบาทโดยให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันที่มีคำพิพากษาซึ่งอาจมีอัตราแลกเปลี่ยนแตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินในเวลาที่มีการใช้เงิน หากลูกหนี้ต้องชำระหนี้เป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินในวันอ่านคำพิพากษาซึ่งถ้าเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ แลกเป็นเงินบาทได้มากกว่าในวันชำระเงินจริง ก็จะทำให้ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ด้วยเงินบาทเป็นจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินบาทที่คิดตามอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ใช้เงินและมีผลทำให้จำนวนเงินที่ต้องชำระหนี้เป็นเงินบาทนั้นคิดเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐสูงกว่าจำนวนเงินตามคำขอบังคับท้ายคำฟ้องของโจทก์อันถือเป็นการพิพากษาเกินไปหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและ วิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง และเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอุทธรณ์ขึ้นมาศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็เห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องเฉพาะกรณีที่จะมีผลให้เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6541/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำพิพากษา & การพิพากษาเกินคำขอ & การฟ้องแย้ง: ศาลฎีกาวินิจฉัยขอบเขตการพิพากษาเกินคำขอและพิพากษาในส่วนฟ้องแย้งที่จำเลยมิได้อุทธรณ์
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาไม่ตรงกับคำขอท้ายฟ้องที่โจทก์ มีความประสงค์ โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ให้ศาลอุทธรณ์พิพากษา ให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องได้ แต่ไม่อุทธรณ์ ดังนี้ จะอ้างว่า ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาเช่นนั้นต้องตามความประสงค์ของโจทก์ แล้วไม่ได้ เพราะเป็นข้อที่ไม่ปรากฏในคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ จึงชอบแล้ว จำเลยไม่ได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่ ยกฟ้องแย้งของจำเลย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ตามฟ้องแย้ง ให้โจทก์ที่ 1 รื้อถอนโครงเหล็กที่ต่อเติมบนดาดฟ้าของ อาคารพิพาท จึงเป็นการพิพากษาให้สิ่งใดนอกเหนือไปจากที่ ปรากฏในคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลย ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบด้วย มาตรา 246 และ 247 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 1 ย่อมจะรวมถึงในส่วนค่าเสียหายด้วย แต่ตามฎีกาของโจทก์ที่ 1 ไม่ได้ยก ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ที่ให้ยกฟ้องในส่วนนี้ จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ฎีกาของโจทก์ที่ 1 ในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมมีทั้ง คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และ ไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมกันอยู่ โจทก์ที่ 1 จึงต้อง เสียค่าขึ้นศาล 1,800 บาท ตามตาราง 1(3) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และต้องเสียค่าขึ้นศาลตามฟ้องแย้ง อีก 200 บาท รวมเป็นเงิน 2,000 บาท แต่โจทก์ที่ 1 เสียค่า ขึ้นศาลชั้นฎีกามา 6,000 บาท จึงต้องคืนส่วนที่เกิน และเมื่อ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาเกี่ยวกับฟ้องเดิมในส่วน คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลให้โจทก์ที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 แต่ให้หักไว้ 200 บาท สำหรับ คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่เสียเกินมาให้โจทก์ที่ 1จำนวน 5,600 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5801/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับคดีต้องเป็นไปตามคำพิพากษาศาลฎีกา การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเกินขอบเขตคำพิพากษา
ศาลฎีกาพิพากษาว่า เนื้อที่ส่วนพิพาทตามหลักเขตภายในกรอบเส้นสีแดงในแผนที่วิวาทเป็นของโจทก์ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ไม่ได้มีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยหรือให้ต้องออกไป หรือต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาทการที่โจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้จัดการให้โจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาทตามหมายบังคับคดีเพื่อให้รวมถึงการรื้อถอนสิ่งกีดขวางต่าง ๆ รวมทั้งสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินพิพาทออกไปด้วย จึงเป็นการบังคับที่เกินไปจากคำพิพากษาศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5801/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตบังคับคดีตามคำพิพากษา: ห้ามเกินเลยคำพิพากษาเดิม แม้ศาลพิพากษาให้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน แต่ไม่ได้สั่งรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
ศาลฎีกาพิพากษาว่าเนื้อที่ส่วนพิพาทตามหลักเขตภายในกรอบเส้นสีแดงในแผนที่วิวาทเป็นของโจทก์คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยกไม่ได้มีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยหรือให้ต้องออกไปหรือต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาทการที่โจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้จัดการให้โจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาทตามหมายบังคับคดีเพื่อให้รวมถึงการรื้อถอนสิ่งกีดขวางต่างๆรวมทั้งสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินพิพาทออกไปด้วยจึงเป็นการบังคับที่เกินไปจากคำพิพากษาศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2953/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยไม่สุจริตและขอบเขตคำพิพากษาเกินคำฟ้อง
จำเลยที่ 2 ทราบอยู่แล้วในขณะทำการจดทะเบียนรับโอนที่พิพาทว่า จำเลยที่ 1 มีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่ได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยที่ 1 ในการโอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1480 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกันในโฉนดที่ดินพิพาทโดยโจทก์มิได้กล่าวในฟ้อง เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142 ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกันในโฉนดที่ดินพิพาทโดยโจทก์มิได้กล่าวในฟ้อง เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142 ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของทายาทในการแบ่งมรดก และขอบเขตคำพิพากษาศาลที่ให้ถอนคำคัดค้านการโอน
ข้อความในคำฟ้องได้บรรยายว่า โจทก์ทั้งสอง ส.และจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ ช.เจ้ามรดกตกลงแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างกันแล้วจำเลยได้คัดค้านการโอนที่ดินมรดกซึ่งเป็นส่วนแบ่งของโจทก์ทั้งสอง จึงขอให้จำเลยถอนคำคัดค้าน ดังนี้โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องในฐานะส่วนตัวหาใช่ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช.ไม่ โจทก์ทั้งสองย่อมมีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยไปถอนคำคัดค้านการจดทะเบียนโอนที่ดินของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 มาเป็นทรัพย์มรดกของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ดังนี้ มีความหมายเพียงว่าให้จำเลยไปถอนคำคัดค้านที่จำเลยได้ยื่นคำคัดค้านไว้ในเรื่องที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนโอนที่ดินมาเป็นทรัพย์มรดกของโจทก์ที่ 1 และที่ 2เท่านั้นหาได้มีความหมายเลยไปว่าให้ที่ดินมรดกตามฟ้องตกได้แก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ด้วยไม่คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่เกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3636/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำพิพากษาและการพิพากษาเกินคำขอในคดีครอบครองปรปักษ์และการเพิกถอนนิติกรรม
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาททั้งแปลง ผู้คัดค้านทั้งสองยื่นคำคัดค้านว่า ผู้คัดค้านทั้งสองได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทบางส่วน จ. บิดาผู้ร้องจดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทในฐานะผู้รับมรดกจากเจ้าของที่ดินเดิมมาเป็นของตนคนเดียวทั้งแปลงเป็นการไม่ชอบและฟ้องแย้งขอให้ศาลมีคำสั่งว่าผู้คัดค้านทั้งสองได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทบางส่วน และขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของ จ. ด้วยศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า จ. จดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทมาโดยไม่ชอบ แล้วพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนรับโอนที่ดินของ จ. ด้วยเช่นนี้เป็นการพิพากษาตรงตามคำขอท้ายฟ้องแย้งของผู้คัดค้านทั้งสองไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ แต่คำขอท้ายฟ้องแย้งของผู้คัดค้านทั้งสองที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนรับโอนที่ดินของ จ.เป็นคำขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทของบุคคลภายนอกอันเป็นการกระทบกระเทือนถึงกรรมสิทธิ์ของบุคคลภายนอกซึ่งมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีด้วย จึงพิพากษาคดีให้ตามคำขอท้ายฟ้องแย้งในส่วนนี้ของผู้คัดค้านทั้งสองไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3120/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำพิพากษาขับไล่และห้ามเกี่ยวข้องกับที่ดิน: การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
ในคดีที่โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินและบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ได้ให้จำเลยอยู่อาศัย และมีคำขอท้ายฟ้องให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากที่ดินของโจทก์ ให้ส่งมอบที่ดินคืนโจทก์ ทั้งได้ขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องอีกด้วย ดังนี้ เมื่อศาลพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและห้ามเกี่ยวข้องอีกต่อไป ก็ย่อมมีความหมายว่าจำเลยจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่พิพาทอีกไม่ได้ ทรัพย์สินใด ๆของจำเลยที่อยู่ในที่พิพาทจำเลยต้องเอาออกไปให้พ้นที่พิพาทด้วยดังนั้น เมื่อบ้านเป็นของจำเลย การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนบ้านดังกล่าวออกไปจากที่พิพาทจึงไม่เป็นการพิพากษาเกินกว่าคำขอหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องแต่ประการใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2809/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำบังคับคดี: ศาลออกคำบังคับเกินคำพิพากษาศาลฎีกาไม่ได้ แม้คดีฟ้องเรียกอสังหาริมทรัพย์
คดีที่ศาลฎีกาพิพากษาเพียงว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์มีสิทธิ ครอบครองที่พิพาท ให้เพิกถอน น.ส.3ก.สำหรับที่ พิพาทซึ่งมีชื่อจำเลย มิได้พิพากษาให้จำเลยออกจากที่ พิพาท ศาลชั้นต้นจะออกคำบังคับให้จำเลยออกจากที่พิพาท ภายในกำหนด 30 วันไม่ได้ เพราะเป็นการ ออกคำบังคับเกิน กว่าคำพิพากษาศาลฎีกา แม้คดีนี้จะเป็นคดีฟ้องเรียก อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(1) บัญญัติว่า 'ให้พึงเข้าใจว่าเป็นประเภทเดียวกับ ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลย ถ้าศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี เมื่อศาล เห็นสมควรศาลจะมีคำสั่งให้ขับไล่จำเลยก็ได้' ย่อม หมายความว่า ศาลจะต้องเห็นสมควรและมีคำสั่งไว้ ขณะเมื่อมี คำพิพากษา หรือคำสั่งชี้ขาดคดี โดยเฉพาะคดีนี้โจทก์เป็นยายจำเลยโจทก์อาจประสงค์ให้ที่ดินตามน.ส.3 ก ที่พิพาทซึ่งมีชื่อจำเลยกลับมา เป็นชื่อของโจทก์เท่านั้น โดยไม่ประสงค์จะขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท จึงมิได้มีคำขอท้ายฟ้องให้ ขับไล่จำเลยในขณะที่ยื่นฟ้อง ฉะนั้นที่ ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้จำเลยออกจากที่พิพาทภายใน 30 วัน จึงไม่ ชอบด้วยกฎหมาย