พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6380/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอและขอบเขตการบังคับคดีในคดีทางจำเป็น ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาให้ชัดเจน
ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินโจทก์ แต่ก็ยังคงเป็นของจำเลยทั้งโจทก์มิได้มีคำขอให้ห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับทางพิพาทการที่ศาลพิพากษาห้ามจำเลยเกี่ยวข้องกับทางพิพาทจึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7940/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินร่วมกัน, ประเด็นนอกฟ้อง, และขอบเขตการบังคับคดี
ล.บิดาของโจทก์ทั้งสาม และ ด.เป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่พิพาทมาแต่เดิม ต่อมา ล.ยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 และ ด. แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 และ ด.ได้ที่ดินพิพาทเป็นอัตราส่วนเพียงใด ต้องถือว่าโจทก์ที่ 1 และ ด.มีส่วนในที่ดินพิพาทเท่ากันคนละกึ่งหนึ่ง ต่อมา ด.ได้ขายที่ดินพิพาทให้จำเลย ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้รู้เห็นยินยอม ด.ขายที่ดินพิพาทในส่วนของโจทก์ที่ 1 ได้ด้วยสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทจึงมีผลผูกพันเฉพาะที่ดินในส่วนของ ด.เท่านั้น หามีผลผูกพันในส่วนที่เป็นของโจทก์ที่ 1 ด้วยไม่ โจทก์ที่ 1 และจำเลยจึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่ง
โจทก์ทั้งสามฟ้องอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์รับมรดกมาจากบิดาและครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา จำเลยบุกรุกนำดินเข้ามาถม ขอให้ขับไล่จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจาก ด. และจำเลยได้เข้าครอบครองตลอดมา โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยเข้าครอบครองคำให้การจำเลยดังกล่าวเป็นการต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาแต่ต้น โดยจำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสาม คดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทด้วย จึงเป็นการนอกเหนือจากคำฟ้องและคำให้การ เป็นการไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 142 และมาตรา 183 แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในประเด็นดังกล่าว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ที่ 1 ฟ้องอ้างว่าโจทก์ทั้งสามมีสิทธิครอบครองร่วมกันในที่ดินพิพาท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองร่วมกับโจทก์ที่ 2ที่ 3 และจำเลยคนละหนึ่งส่วน โจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์ ประเด็นดังกล่าวจึงถึงที่สุดดังนั้น แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่งก็ตาม ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่งได้ คงพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองเพียงหนึ่งในสี่ส่วนแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่ 1 ที่จะฟ้องใหม่เพื่อขอให้บังคับเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในส่วนที่เหลือตามสิทธิของตนต่อไป ตาม ป.พ.พ.มาตรา 148 (3)
โจทก์ทั้งสามฟ้องอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์รับมรดกมาจากบิดาและครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา จำเลยบุกรุกนำดินเข้ามาถม ขอให้ขับไล่จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยโดยซื้อมาจาก ด. และจำเลยได้เข้าครอบครองตลอดมา โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่จำเลยเข้าครอบครองคำให้การจำเลยดังกล่าวเป็นการต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยมาแต่ต้น โดยจำเลยมิได้ให้การยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสาม คดีจึงไม่มีประเด็นในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 เพราะการแย่งการครอบครองจะเกิดมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะในที่ดินของบุคคลอื่นเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทด้วย จึงเป็นการนอกเหนือจากคำฟ้องและคำให้การ เป็นการไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 142 และมาตรา 183 แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยในประเด็นข้อนี้ให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในประเด็นดังกล่าว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ที่ 1 ฟ้องอ้างว่าโจทก์ทั้งสามมีสิทธิครอบครองร่วมกันในที่ดินพิพาท เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าโจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองร่วมกับโจทก์ที่ 2ที่ 3 และจำเลยคนละหนึ่งส่วน โจทก์ที่ 1 มิได้อุทธรณ์ ประเด็นดังกล่าวจึงถึงที่สุดดังนั้น แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าโจทก์ที่ 1 และจำเลยมีสิทธิครอบครองที่พิพาทร่วมกันคนละกึ่งหนึ่งก็ตาม ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่งได้ คงพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิครอบครองเพียงหนึ่งในสี่ส่วนแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่ 1 ที่จะฟ้องใหม่เพื่อขอให้บังคับเกี่ยวกับที่ดินพิพาทในส่วนที่เหลือตามสิทธิของตนต่อไป ตาม ป.พ.พ.มาตรา 148 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4935/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, การหักทอนบัญชี, การคิดดอกเบี้ย, และขอบเขตการบังคับคดีตามคำขอ
เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้วโจทก์กับจำเลยทั้งสองไม่ได้ทำการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อกันแต่ยังมีการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อไปอีก โดยจำเลยที่ 1 นำเงินเข้าฝากและสั่งจ่ายเช็คเบิกเงินออกไปหลายครั้ง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสองประสงค์จะต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ถึงแม้จำเลยทั้งสองได้หยุดเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์มาแล้วก็ตาม แต่เมื่อไม่มีฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดเพื่อหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อกันสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองก็ยังคงมีอยู่ตลอดไป หาได้ระงับไปเมื่อวันสัญญาครบกำหนดหรือวันที่จำเลยทั้งสองเบิกเงินเกินบัญชีครั้งสุดท้ายไม่โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนถึงวันที่ถือว่าสัญญาเลิกกัน
โจทก์หักทอนบัญชีกับจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์2536 แม้โจทก์เพิ่งจะมีหนังสือแจ้งให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม2536 ก็ต้องถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองระงับไปตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2536 อันเป็นวันหักทอนบัญชีกัน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 856,859 หลังจากนั้นโจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกไม่ได้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดจะถือว่ามีการผิดนัดก็ต่อเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อกัน โจทก์ได้หักทอนบัญชีเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์2536 แต่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวส่งไปให้จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2536ให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ภายใน 30 วันนับแต่วันถัดจากวันได้รับหนังสือบอกกล่าวจำเลยทั้งสองได้รับหนังสือบอกกล่าวในวันที่ 26 ตุลาคม 2536 ครบ 30 วันในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2536 ดังนั้นช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2536 ถึงวันที่26 พฤศจิกายน 2536 โจทก์ยังให้เวลาจำเลยทั้งสองหาเงินมาชำระหนี้อยู่ ยังไม่ถือว่าจำเลยทั้งสองผิดนัด จำเลยทั้งสองจะผิดนัดก็ต่อเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่โจทก์ให้โอกาสคือตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2536 เป็นต้นไป และเมื่อตามประกาศปรับปรุงอัตราดอกเบี้ย โจทก์จะคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีและร้อยละ 18 ต่อปี สำหรับลูกหนี้ที่ผิดนัดเท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองยังไม่ได้ผิดนัด โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยเอาจากจำเลยทั้งสองในอัตรานี้ไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระต้นเงินตามสัญญากู้เพียง2,447,837.24 บาทเท่านั้น แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ให้โจทก์ในส่วนสัญญากู้ฉบับนี้เป็นต้นเงิน 2,477,837.24 บาท และดอกเบี้ยถึงวันฟ้องจำนวน 567,157.90 บาท รวมเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องทั้งสิ้น3,044,995.14 บาท และให้ใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี จากต้นเงิน2,477,837.24 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง และศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาแก้ไขนั้น ไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้น แม้จะมิได้มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์หรือฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
โจทก์หักทอนบัญชีกับจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์2536 แม้โจทก์เพิ่งจะมีหนังสือแจ้งให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม2536 ก็ต้องถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองระงับไปตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2536 อันเป็นวันหักทอนบัญชีกัน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 856,859 หลังจากนั้นโจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปอีกไม่ได้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดจะถือว่ามีการผิดนัดก็ต่อเมื่อมีการหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้ชำระหนี้ที่มีอยู่ต่อกัน โจทก์ได้หักทอนบัญชีเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์2536 แต่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวส่งไปให้จำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2536ให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ภายใน 30 วันนับแต่วันถัดจากวันได้รับหนังสือบอกกล่าวจำเลยทั้งสองได้รับหนังสือบอกกล่าวในวันที่ 26 ตุลาคม 2536 ครบ 30 วันในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2536 ดังนั้นช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2536 ถึงวันที่26 พฤศจิกายน 2536 โจทก์ยังให้เวลาจำเลยทั้งสองหาเงินมาชำระหนี้อยู่ ยังไม่ถือว่าจำเลยทั้งสองผิดนัด จำเลยทั้งสองจะผิดนัดก็ต่อเมื่อพ้นกำหนดเวลาที่โจทก์ให้โอกาสคือตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2536 เป็นต้นไป และเมื่อตามประกาศปรับปรุงอัตราดอกเบี้ย โจทก์จะคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีและร้อยละ 18 ต่อปี สำหรับลูกหนี้ที่ผิดนัดเท่านั้น เมื่อจำเลยทั้งสองยังไม่ได้ผิดนัด โจทก์จึงคิดดอกเบี้ยเอาจากจำเลยทั้งสองในอัตรานี้ไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระต้นเงินตามสัญญากู้เพียง2,447,837.24 บาทเท่านั้น แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ให้โจทก์ในส่วนสัญญากู้ฉบับนี้เป็นต้นเงิน 2,477,837.24 บาท และดอกเบี้ยถึงวันฟ้องจำนวน 567,157.90 บาท รวมเป็นต้นเงินและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องทั้งสิ้น3,044,995.14 บาท และให้ใช้ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี จากต้นเงิน2,477,837.24 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง และศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาแก้ไขนั้น ไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้น แม้จะมิได้มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์หรือฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรหยิบยกขึ้นแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4085/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับคดีแรงงาน: ศาลแรงงานพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์กล่าวในคำฟ้องเพียงว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ขอให้บังคับให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน ให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายพร้อมด้วยดอกเบี้ย เมื่อไม่ปรากฎว่าโจทก์ได้เรียกค่าชดเชยและค่าจ้างที่ค้างจ่ายจากจำเลย ทั้งมิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยรับผิดในเงินดังกล่าวแต่อย่างใด การที่ศาลแรงงานพิพากษาล่วงเลยไปให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างที่ค้างจ่ายพร้อมด้วยดอกเบี้ยในเงินดังกล่าว จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้อง และไม่ใช่เป็นกรณีเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความซึ่งศาลแรงงานจะมีอำนาจพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอบังคับได้ ที่ศาลแรงงานพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างค้างจ่ายพร้อมด้วยดอกเบี้ยในเงินดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 996/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับคดีจำนอง: บังคับคดีเอาจากทรัพย์จำนองเท่านั้น หากสัญญามิได้ระบุขยายไปยังทรัพย์สินอื่น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยนำที่ดินมีโฉนดมาจำนองไว้กับโจทก์จำเลยรับเงินไปครบถ้วนในวันทำสัญญาจำนอง ต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยกู้เงินอีกต่อไป โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้และบังคับจำนอง และคำขอบังคับท้ายฟ้อง โจทก์ขอว่า หากจำเลยไม่ชำระเงินให้ยึดที่ดินที่จำนองออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่โจทก์แสดงว่าโจทก์ฟ้องบังคับจำนองประสงค์จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์จำนองเท่านั้น
โจทก์นำสืบพยานหลักฐานว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยถือหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมด้วย เมื่อสัญญาดังกล่าวไม่มีข้อความว่าหากโจทก์บังคับชำระหนี้เอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ ก็ให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นได้ด้วย ดังนี้ เมื่อโจทก์บังคับคดีเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ได้เงินน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันตามคำพิพากษา โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้อีก.
โจทก์นำสืบพยานหลักฐานว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์โดยถือหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมด้วย เมื่อสัญญาดังกล่าวไม่มีข้อความว่าหากโจทก์บังคับชำระหนี้เอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ ก็ให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นได้ด้วย ดังนี้ เมื่อโจทก์บังคับคดีเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ได้เงินน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันตามคำพิพากษา โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะบังคับคดีเอาจากทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้อีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 447/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องและขอบเขตการบังคับคดีในคดีแรงงาน: ศาลฎีกาอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องได้ แม้ไม่แก้ไขคำขอบังคับ
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องว่า จำเลยได้หักเงินสะสมไว้เป็นรายเดือนในระหว่างปฏิบัติงาน โจทก์ควรได้เงินสะสมดังกล่าวแต่จำเลยไม่จ่ายให้ แม้โจทก์มิได้ขอแก้ไขคำขอบังคับท้ายคำฟ้องให้รับกับคำฟ้องที่แก้ไขก็ตามแต่ตามเนื้อความที่ขอแก้ไขนั้นแสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ได้แจ้งชัดว่า โจทก์ประสงค์ที่จะเรียกร้องเงินสะสมจากจำเลย คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่โจทก์มิได้ขอแก้ไขคำขอบังคับท้ายคำฟ้องให้ครบถ้วนเพียงเท่านี้ไม่ถือว่าฟ้องโจทก์ไม่ถูกถ้วน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยแล้วพิพากษาหรือสั่งตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องที่ศาลสั่งอนุญาตแล้วนั้น หาเป็นการพิพากษาหรือสั่งที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 52 ไม่
คดีแรงงานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อเท็จจริงเสียเองไม่ได้ต้องย้อนสำนวนไปให้ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยชี้ขาด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 31 และมาตรา 56
คดีแรงงานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาข้อเท็จจริงเสียเองไม่ได้ต้องย้อนสำนวนไปให้ ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยชี้ขาด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ มาตรา 31 และมาตรา 56
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับคดีรื้อถอนอาคาร: การบังคับบุคคลภายนอกคดี
เทศบาลฟ้องขอให้จำเลยรื้ออาคารเพราะอาคารชำรุดตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างฯ ศาลพิพากษาให้จำเลยจัดการรื้อ จำเลยว่ารื้อไม่ได้เพราะมีคนเช่าอยู่และอาศัยอยู่เช่นนี้โจทก์ชอบที่จะดำเนอนการตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร มาตรา 11,12 จะมาร้องขอให้ศาลบังคับผู้อาศัย ผู้เช่าให้ออกจากที่พิพาทไม่ได้ เพราะเป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น ต้องฟ้องเขาเป็นคดีต่างหากจึงจะบังคับได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับคดีและการวินิจฉัยศาลเกินฟ้อง กรณีการจัดการศพในที่ดิน
ฟ้อง ตัดสิน ตัดสินไม่เกินคำขอ พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์คนบังคับอังกฤษเปนจำเลย คู่ความฎีกาได้แต่บัญชาข้อกฎหมาย